• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 7 พฤษภาคม 2563

    7 พฤษภาคม 2563 | Economic News

·      ค่าเงินเยนทรงตัวใกล้ระดับแข็งค่าที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ท่ามกลางนักลงทุนที่เลี่ยงการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงท่ามกลางตัวเลขทางเศรษฐกิจในหลายๆประเทศที่อ่อนแอ รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดทางการค่าและความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจในยูโรโซน

โดยค่าเงินทรงตัวแถวระดับ 106.15 เยน/ดอลลาร์ หลังจากเมื่อวานทำระดับแข็งค่าที่สุดไปที่ระดับ 105.985 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าที่สุดตั้งแต่ช่วงกลางเดือน มี.ค.

 

ขณะที่ค่าเงินหยวนแข็งค่าประมาณ 0.1% แถว 7.0959 หยวน/ดอลลาร์ ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่า 0.25% แถว 0.6420 ดอลลาร์

 

ค่าเงินยูโรค่อนข้างทรงตัวแถวระดับ 1.0801 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากอ่อนค่าติดต่อกันถึง 3 วันทำการในช่วงสัปดาห์นี้ โดยถูกกดดันจากการที่ศาลเยอรมนีตัดสินให้ทางอีซีบีต้องชี้แจงให้เห็นถึงความจำเป็นที่ทางธนาคารกลางของเยอรมนีจะเข้าร่วมแผนการเข้าซื้อพันธบัตร

 

ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าเล็กน้อยแถว 1.2322 ดอลลาร์/ปอนด์ เคลื่อนไหวใกล้ระดับอ่อนค่าที่สุดในรอบ สัปดาห์


·      ค่าเงินตุรกีอ่อนค่าเป็นประวัติการณ์

ค่าเงินลีราของตุรกีทำระดับอ่อนค่าที่สุดที่ 7.49 ลีรา/ดอลลาร์ อ่อนค่ายิ่งกว่าสมัยวิกฤตค่าเงินของตุรกีในเดือน ส.ค. ปี 2018 ที่ 7.236 ลีรา/ดอลลาร์  โดยมีปัจจัยกดดันหลักๆมาจากการอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อัตราว่างงานที่สูงขึ้น รวมถึงการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และยังเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนามากที่สุดในแถบตะวันออกกลาง



·      EUR/USD Forecast: คาดยูโรอ่อนค่าต่อเนื่อง

บทวิเคราะห์ทางเทคนิคจาก FX Street ประเมินว่าค่าเงินยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีกเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ท่ามกลางแรงกดดันในทิศทางขาลง โดยค่าเงินในช่วงสายวันนี้กำลังเคลื่อนไหวแถวระดับ 1.0800 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ในกราฟ 4 ช.ม. จะเห็นได้ถึงเส้นค่าเฉลี่ยราย 20 วันที่เริ่มเคลื่อนไหวในทิศทางขาลงค่อนข้างแรง และกำลังจะตัดผ่านเส้นค่าเฉลี่ยราย 100 และ 200 วัน ขณะที่ Indicators ต่างๆค่อนข้างทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดรายวัน บ่งชี้ว่าไม่มีแนวโน้มที่ทิศทางขาลงจะเปลี่ยนแปลงในเร็วๆนี้โดยมองแนวรับวันนี้ไว้ที่ 1.0790 ดอลลาร์/ยูโร หากหลุดระดับนี้ลงมา จะทำให้มีโอกาสย่อตัวลงลึก

 

แนวรับ:  1.0790 1.0755 1.0710

แนวต้าน: 1.0830 1.0865 1.0900


 

สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

Ø จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 3,822,295 ราย

Ø จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 265,116 ราย

Ø จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 212 ประเทศ

Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 1,263,224 ราย (+132) และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 74,809 ราย (+10)

Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,992 (+3) ราย และมีผู้เสียชีวิตรวมสะสม 55 ราย


·      รัฐบาลจีนเผยยอด ส่งออกในหน่วยเงินดอลลาร์สำหรับเดือน เม.ย. ออกมาเพิ่มสูงขึ้น 3.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เทียบกับคาดการณ์ที่คาดว่าจะหดตัว 15.7% ขณะที่ยอดนำเข้าประกาศลดลง 14.2% เทียบคาดการณ์ที่คาดว่าจะลดลง 11.2%

บรรดาผู้ประกอบการในประเทศจีนเริ่มกลับมาทำงานกันมากขึ้น ท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่ชะลอตัวลง แต่สถานการณ์ไวรัสทั่วโลกก็ยังดูไม่ค่อยสดใสนัก เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมกันสูงกว่า 3.74 ล้านรายตามข้อมูลจาก Johns Hopkins University ส่งผลให้เศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังคงปิดทำการตามคำสั่ง Lockdown ประเทศ ส่งผลกระทบต่อการบริโภคและปริมาณอุปสงค์


·      ทรัมป์เตรียมตัดสินว่าจีนทำตามข้อตกลงการค้าหรือไม่ ภายใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่าเขาจะสามารถรายงานได้ว่าจีนดำเนินการตามข้อตกลงทางการค้าร่วมกับสหรัฐฯได้จริงหรือไม่ในอีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า โดยข้อตกลงดังกล่าวคือข้อตกลงในเฟส 1 ว่าด้วยเรื่องการเข้าสินค้าจากสหรัฐฯที่ลงนามร่วมกันเมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะเกิดวิกฤตไวรัสระบาดทั่วโลก

 

นายทรัมป์ระบุว่าจีนเพิ่มการเข้าซื้อสินค้าจากสหรัฐฯจริง แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าพวกเขาเข้าซื้อด้วยปริมาณที่สอดคล้องกับข้อตกลงหรือไม่ ทั้งสินค้าในกลุ่มการเกษตร รวมไปถึงกลุ่มพลังงาน บริการ และอุตสาหกรรมอื่นๆด้วย

 

ก่อนหน้านี้ ทางรัฐบาลสหรัฐฯได้ระบุว่าจะเริ่มการเจรจากับจีนในข้อตกลงเฟสที่ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการจ่ายเงินสนับสนุนจากรัฐบาลให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงเรื่องการบังคับโอนถ่ายเทคโนโยลีที่เป็นปัญหาสำคัญในความขัดแย้งของทั้งสองประเทศ แต่ในปัจจุบัน ยังคงไม่มีรายงานว่าสหรัฐฯเริ่มดำเนินการแล้วแต่อย่างใด ท่ามกลางวิกฤตไวรัสที่ยังระบาดหนักในสหรัฐฯ


·      รัฐบาลนิวซีแลนด์ประกาศว่า ร้านค้าปลีก ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และการกีฬาท้องถิ่น จะสามารถกลับมาดำเนินการได้ หากรัฐบาลประกาศผ่อนคลายมาตรการทางสังคมภายในสัปดาห์หน้า


·      โพล Refinitiv คาด การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯจะร่วงเป็นประวัติการณ์

โพลสำรวจโดยสถาบัน Refinitiv ที่มีบรรดานักเศรษฐศาสตร์แนวหน้าร่วมตอบคำถาม คาดการณ์ว่าการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯที่จะเปิดเผยตัวเลขในคืนวันศุกร์นี้จะประกาศออกมามีการจ้างงานลดลงถึง 21.85 ล้านตำแหน่ง นับเป็นการจ้างงานที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ที่เริ่มเก็บสถิติมาในปี 1939 ขณะที่อัตราว่างงานถูกคาดว่าจะพุ่งสูงขึ้นสู่ระดับ 16%


หากการจ้างงานลดลงด้วยอัตราเท่ากับที่คาดการณ์หรือมากกว่า เมื่อรวมกับการจ้างงานที่ลดลง 21.85 ล้านตำแหน่งในเดือน เม.ย. จะเท่ากับว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯได้สูญเสียตำแหน่งงานที่สามารถสร้างเพิ่มขึ้นมาได้ตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยในช่วง มี.ค. ปี 2010 ถึง ก.พ ปี 2020 เศรษฐกิจสหรัฐฯสามารถสร้างตำแหน่งงานเพิ่มรวมกันได้ 22.8 ล้านตำแหน่ง ตามข้อมูลจากสำนักงานด้านสถิติแรงงานของสหรัฐฯ



·      การประกาศจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯที่จะประกาศในคืนนี้ ยังคงถูกคาดการณ์ว่าจะมีคนว่างงานเพิ่มขึ้นอีกหลายล้านตำแหน่ง ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา ส่งผลให้บรรดาผู้ประกอบการเป็นวงกว้างมากขึ้นจำเป็นต้องปลดพนักงานออก แม้ว่าเศรษฐกิจจะเริ่มมีสัญญาณของการกลับมาเปิดทำการกันอีกครั้งมากขึ้นก็ตาม

นักวิเคราะห์จาก Naroff Economics มีมุมมองว่า ถึงแม้เศรษฐกิจจะเริ่มกลับมาเปิดทำการได้มากขึ้น แต่จำนวนคนว่างงานยังคงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วยอัตราที่มากเป็นพิเศษต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง เนื่องจากยังมีผู้ประกอบการที่ไม่สามารถทนพิษเศรษฐกิจไหวและจำเป็นต้องปิดกิจการหรือปลดพนักงานออกเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ

 

สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่จะประกาศออกมาที่ 3 ล้านตำแหน่งตามคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ ลดน้อยลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ 3.839 ล้านตำแหน่ง และยังเป็นการปรับลดลงติดต่อกัน 5 สัปดาห์  นับตั้งแต่สัปดาห์ของวันที่ 28 มี.ค. ที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ 6.867 ล้านราย

หากตัวเลขคืนนี้ประกาศออกมาตรงกับคาดการณ์ จะทำให้จำนวนคนว่างงานในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเป็น 33.3 ล้านรายนับตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. หรือคิดเป็นประมาณ 22% ของประชากรวัยทำงานในสหรัฐฯ


·      เอกอัครราชทูตของสหภาพยุโรป กล่าวว่า ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนถือเป็นปัญหาที่ส่งผลรวมและไม่ถือเป็นการช่วยเหลือด้านการจัดการระดับประเทศที่จำเป็นต้องทำข้อตกลงในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนาเวลานี้

ทั้งนี้ จีนจำเป็นต้องบรรเทาความตึงเครียดที่เกิดขึ้นและเร่งปฏิรูประบบทางเศรษฐกิจเพื่อหลีกเลี่ยงการบั่นทอนห่วงโซ่อุปทานของโลก รวมทั้งนโยบายกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้น


·      ธนาคารกลางอังกฤษหรือบีโออี มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.1% ในการประชุมวันนี้ แต่ได้ส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หากเศรษฐกิจยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรนาและชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง

นับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตไวรัส ทางบีโออีได้มีการปรับลดดอกเบี้ยลงมาแล้ว ครั้ง จากเดิม 0.75% สู่ระดับ 0.1% รวมถึงประกาศมาตรการ QE เป็นวงเงิน แสนล้านปอนด์ (2.4755 แสนล้านเหรียญ) ทำให้ทางบีโออีมีมูลค่าการเข้าซื้อพันธบัตรรวมอยู่ที่ระดับ 6.45 แสนล้านปอนด์


·      ผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลของตนเองในการจัดการกับวิกฤตไวรัสโคโรนาในแต่ละประเทศโดยสถาบัน Blackbox Research และ Toluna พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่พึงพอใจกับระบบการจัดการของรัฐบาลตนเอง

อย่างไรก็ตาม โพลสำรวจที่เก็บข้อมูลจากประชาชนกว่า 12,500 ราย จาก 23 ประเทศระหว่างวันที่ 3 เม.ย. – 19 เม.ย. พบว่ารัฐบาลที่ประชาชนมีความพึงพอใจกับการจัดการกับวิกฤตไวรัสมากที่สุดคือรัฐบาลจีน ที่ได้คะแนนไป 85 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน รองลงมาคือ เวียดนาม ที่ 77 คะแนนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 59 คะแนนอินเดีย 59 คะแนน เป็นต้น

 

ขณะที่สหรัฐฯอยู่อันดับที่ 14 จากทั้งหมด 23 อันดับ ได้คะแนนไป 41 คะแนน  ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับที่ 18 ได้คะแนนไป 36 คะแนน


·      Bloomberg เผย ตัวแทนสหรัฐฯ-จีนจะมีประชุมข้อตกลงการค้าสัปดาห์หน้า

รายงานจาก Bloomberg เปิดเผย เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งรัฐบาลสหรัฐฯและจีน จะมีการประชุมผ่านทางโทรศัพท์เกี่ยวกับข้อตกลงทางการค้าอย่างเร็วที่สุดภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะเป็นการประชุมเกี่ยวกับการติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการค้าในเฟสแรก


·      JPMorgan ชี้ ไม่มีใครต้องการความตึงเครียดทางการค้าในตอนนี้

นักวิเคราะห์จาก JPMorgan ระบุว่า ความขัดแย้งทางการค้าที่รุนแรงขึ้นระหว่างสหรัฐฯและจีน ในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังเผชิญผลกระทบจากวิกฤติไวรัสโคโรนา คือ สิ่งสุดท้ายที่ตลาดต้องการ

 

ถ้อยแถลงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่จีนเปิดเผยข้อมูลการส่งออกในเดือน เม.ย. ออกมาสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าเป็นการประกาศตัวเลขที่ออกมาน่าประหลาดใจมากทีเดียว

 

โดยระบุว่านี่อาจเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิขอาจอยู่ในสภาพที่ดีกว่าที่หลายๆฝ่ายเคยคาดไว้ แต่การประกาศตัวเลขดังกล่าวก็มาพร้อมกับความเสี่ยง ซึ่งก็คือเรื่องของยอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ซึ่งหากทางรัฐบาลสหรัฐฯมองว่าตัวเลขดังกล่าวเกิดจากความไม่ยุติธรรมทางการค้ากับสหรัฐฯ ก็อาจนำไปสู่การที่รัฐบาลสหรัฐฯพิจารณาเพิ่มแรงกดดันทางการค้ากับจีนมากขึ้นแทน ซึ่งนั้นคือสิ่งไม่มีผู้ใดต้องการในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้





·      WTI Price Analysis: ราคาเผชิญแรงกดดันจากเส้นค่าเฉลี่ยราย 50 วัน

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน WTI เริ่มชะลอตัวลงหลังจากที่ไม่สามารถปรับขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยราย 50 วันติดต่อกัน 2 ครั้งในช่วง 24 ช.ม.ที่ผ่านมา

โดยราคาในช่วงสายวันนี้เคลื่อนไหวแถว 24.22 เหรียญ/บาร์เรล หลังขึ้นไปทำระดับสูงสุดที่เส้นค่าเฉลี่ยราย 50 วันที่ 24.56 เหรียญ/บาร์เรลในช่วงต้นตลาด

เมื่อวานนี้ราคาก็ย่อลงประมาณ 2% หลังจากขึ้นไปชนระดับดังกล่าวเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ราคาปิดตลาดในแดนลบเป็นวันแรก หลังจากที่ปรับสูงขึ้นมาได้ติดต่อกันถึง 5 วันทำการ

ในขณะที่ทิศทางขาขึ้นของราคากำลังถูกกดดันโดยเส้นค่าเฉลี่ยราย 50 วัน ทำให้ไม่สามารถปรับขึ้นไปหาเป้าหมายแถว 25.00 เหรียญ/บาร์เรล ทิศทางขาขลงก็ถูกจำกัดโดยเส้นค่าเฉลี่ยราย 50 ช.ม. เช่นกัน โดยในช่วงสายวันนี้ เส้นค่าเฉลี่ย 50 ช.ม. กำลังเคลื่อนไหวแถว 23.67 เหรียญ/บาร์เรล

หากราคาสามารถคงทิศทางฟื้นตัวโดยมีแรงหนุนจากเส่นค่าเฉลี่ยราย 50 ช.ม. และปรับขึ้นเหนือระดับ 25.00 เหรียญ/บาร์เรลได้ จะเป็นการยืนยันสัญญาณ Bull flag breakout และจะทำให้ราคามีโอกาสขึ้นต่อไปถึงระดับ 33 เหรียญ/บาร์เรลได้ (เมื่อพิจารณาจากลักษณะทางเทคนิคของราคา)

ในขณะเดียวกัน หากราคาย่อตัวหลุดเส้นค่าเฉลี่ยราย 50 ช.ม. ก็มีโอกาสที่ราคาจะถูกเทขายและย่อลงลึก โดยมีแนวรับแรกอยู่ที่ 22.58 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่แนวรับสำคัญจะอยู่ที่ระดับ 20.48 เหรียญ/บาร์เรล (ระดับต่ำสุดของ Bull flag)


·      ราคาน้ำมันปรับลดลง ท่ามกลางสัญญาณว่าภาคอุตสาหกรรมยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด ขณะที่ปริมาณอุปสงค์อ่อนแอลงอย่างมากจากวิกฤตไวรัสโคโรนา และภาพรวมทางเศรษฐกิจก็ยังดูหม่นหมองแม้จีนจะมีการรายงานตัวเลขการนำเข้าที่ออกมาสูงกว่าที่คาดก็ตาม

โดยราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 0.24 เหรียญ หรือประมาณ 0.8% แถว 29.48 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากเมื่อวานนี้ปรับลดลง 4%

 

ส่วนราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 0.34 เหรียญ หรือประมาณ 1.4% แถว 23.65 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากเมื่อวานนี้ปรับลดลง 2%




บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com