• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 7 พฤษภาคม 2563

    7 พฤษภาคม 2563 | Economic News



·         สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 3,818,791

Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 264,811 ราย

Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 212 ประเทศ

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 1,262,887 ราย (+25,254) และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 74,795 ราย (+2,524)

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,989 ราย (+1) และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นรวมสะสม 55 ราย

 ·         ค่าเงินเยนและดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในฐานะ Safe-Haven ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ให้ความสนใจไปยังความอ่อนตัวของข้อมูลเศรษฐกิจโลก โดยเงินเยนแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 7สัปดาห์เมื่อเทียบค่าเงินดอลลาร์ และแข็งค่ามากสุดรอบ 3 สัปดาห์ครึ่งเมื่อเทียบค่าเงินยูโร ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่ามากที่สุดในรอบเกือบสัปดาห์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่

ข้อมูลการผลิตในยูโรโซนและอังกฤษดูจะกดดันค่าเงินยูโรและเงินปอนด์  ขณะที่ข้อมูลจ้างงานเอกชนสหรัฐฯที่ประกาศวานนี้พบว่ามีการจ้างงานแย่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีการจ้างงานหดตัวกว่า 20 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. แต่ดอลลาร์ก็ยังแข็งค่าได้

นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโสจาก Western Uninon Business Solution กล่าวว่า ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยดูจะช่วยให้ดอลลาร์ยังแข็งค่าได้ แต่ตลาดก็ยังรอดูผลกระทบจากข้อมูลภาคแรงงานในช่วงปลายสัปดาห์นี้ เพราะถึงแม้ ADP จะเปิดเผยข้อมูลภาคเอกชน แต่ตลาดก็ยังรอข้อมูลภาครัฐบาลในคืนวันศุกร์ด้วยที่คาดว่าจะเห็นการจ้างงานหดตัวลงไปมากถึง 22 ล้านตำแหน่งและอัตราการว่างงานที่คาดจะพุ่งไปที่ 16%

นักเศรษฐศาสตร์บางรายมองว่า ตลาดดูจะพร้อมรับกับข้อมูลที่ย่ำแย่ที่สุดเนื่องจากน่าจะเห็นการจ้างงานลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนเม.ย. ซึ่งเหตุการณ์นี้จะไม่เหมือนกับเหตุการณ์ในปี 2008 หรือปี 1930 และหากข้อมูลว่างงานที่เกิดขึ้นเป็นเพียงชั่วคราว เราก็อาจเห็นการรีบาวน์ทางเศรษฐกิจได้รวดเร็ว

เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในแถบยุโรปจะเห็นว่ากิจกรรมภาคธุรกิจของยูโรโซนส่วนใหญ่จะชะงักงันในเดือนที่ผ่านมา และมียอดค้าปลีกออกมาแย่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมี.ค. ท่ามกลางภาวะ Lockdown ของประเทศในแถบยุโรปไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ ที่ก่อให้เกิดภาคก่อสร้างร่วงลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ติดต่อกัน 2 เดือน แม้ว่าภาคก่อสร้างจะไม่ได้อยู่ภายใต้คำสั่งของรัฐบาลในการหยุดทำการก็ตาม

ดัชนีดอลลาร์รีบาวน์ได้ 0.3กลับมายืนเหนือ 100 จุด ที่ 100.07 จุดอีกครั้ง หลังจากที่ช่วงต้นตลาดทำสูงสุดรอบ 1 สัปดาห์บริเวณ 100.20 จุด

ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง 0.4% ที่ 106.1 เยน/ดอลลาร์ หลังจากไปทำแข็งค่ามากสุดรอบ 7 สัปดาห์ที่ 106.06 เยน/ดอลลาร์

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 0.7ที่ 114.6 เยน/ยูโร หลังจากที่ช่วงต้นตลาดปรับลงไปแตะ 114.43 เยน/ยูโร ซึ่งเป็นรัดบอ่อนค่ามากที่สุดตั้งแต่พ.ย. ปี 2016

ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.3ที่ 1.0801 ดอลลาร์/ยูโร และช่วงต้นตลาดร่วงลงไปทำต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ โดยยูโรถูกกดดันจากการที่ศาลเยอรมนีสั่งสอบนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรของทางอีซีบี

ขณะที่กองทุนต่างๆมีการลดการถือครองสถานะ Long ในค่าเงินยูโรลงไป แต่จำนวนสถานะ Long ในตลาดก็ยังคงอยู่ใกล้กับระดับสูงสุดรอบ 2 ปี

 

·         ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯหดตัวลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์แตะ 20.236 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. จากการปิดทำการชั่วคราวในภาคธุรกิจเพื่อสกัดกั้นการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ดูจะกระเทือนเศรษฐกิจของประเทศ และทำให้ตลาดแรงงานมีภาพรวมการตกงานมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์



ขณะที่ข้อมูลการจ้างงานในเดือนมี.ค. มีการปรับทบทวนให้มีการจ้างงานหดตัวลงมากขึ้นแตะ 149,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่หดตัวที่ 27,000 ตำแหน่ง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นระดับการหดตัวที่มากที่สุดครั้งแรกนับตั้งแต่ก.ย. ปี 2017

 

·         นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ วิจารณ์จีนอย่างรุนแรงว่าเป็นต้นเหตุให้ผู้คนกว่าร้อยล้านเสียชีวิตจากไวรัสโคโรนา และต้องการให้จีนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดอีกครั้ง ปอมเปโอได้กล่าวว่า ประเทศจีนสามารถป้องกันไม่ให้ผู้คนกว่าร้อยล้านรายทั่วโลกต้องเสียชีวิต และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดเศรษฐกิจซบเซาทั่วโลกได้ อย่างไรก็ตาม จีนยังคงปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นต่อการช่วยชีวิตผู้คน

รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีน กล่าวว่า นโยบายภาษีไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นอาวุธ หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำการข่มขู่จะขึ้นภาษีจีนเพื่อตอบโต้การระบาดของไวรัสโคโรนาที่มีจุดกำเนิดจากประเทศจีน

ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ยังกล่าวว่า การขึ้นภาษีมีแต่จะนำมาซึ่งผลกระทบต่อทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และสหรัฐฯควรยุติแนวความคิดดังกล่าว

 

·         คณะกรรมาธิการอียูกล่าวย้ำว่าสหภาพยุโรปและสภาระดับประเทศต่างเป็นหนึ่งเดียวกัน หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีสั่งสอบว่าการใช้มาตรการ QE ของอีซีบีนั้นถูกต้องตามกฎหมายของเยอรมนีหรือไม่  โดยคณะกรรมาธิการอียูยังคงกล่าวยืนยันว่าอีซีบีนั้นถือเป็นองค์กรอิสระและทุกฝ่ายต่างให้การสนับสนุนแลเคารพในการตัดสินใจในเรื่องการใช้นโยบายทางการเงิน

ทั้งนี้ ศาลเยอรมนีพิจารณาว่าธนาคารกลางเยอรมนีหรือบุนเดสก์แบงก์จะต้องหยุดการเข้าซื้อพันธบัตรภายใต้เงื่อนไขของอีซีบีภายในระยะเวลา 3 เดือนนี้เว้นแต่ว่าทางอีซีบีจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าการเข้าซื้อดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็น

 

·         ธนาคารกลางอังกฤษหรือ BoE ยังไม่มีแนวโน้มจะเพิ่มนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแต่ข้อมูลการผลิตและแรงงานที่ออกมาแย่นั้นดูจะเพิ่มโอกาสให้เกิดการเพิ่มการเข้าซื้อพันธบัตรได้ โดยตั้งแต่เผชิญภาวะ Lockdown ทั่วโลก BoE ก็มีการเข้าซื้อพันธบัตรไปแล้วด้วยวงเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2 แสนล้านปอนด์ (2.47 แสนล้านเหรียญ)

 

·         นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เผยว่า อังกฤษจะเริ่มผ่อนคลายนโยบาย Lockdown เร็วที่สุดในวันจันทร์หน้านี้ หากเป็นไปได้ โดยคาดจะเห็นแถลงการณ์ในวันอาทิตย์นี้ หลังจากที่ทางรัฐบาลมีการทบทวนข้อมูลล่าสุดเป็นที่เรียบร้อยและนั่นอาจเป็นเรื่องที่ดี

อย่างไรก็ดี อังกฤษ ณ ขณะนี้ถือเป็นประเทศที่มียอดผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนมากที่สุดในยุโรป ซึ่งสูงกว่าอิตาลีและสเปน


·         องค์การอนามัยโลกหรือ WHO กล่าวเตือนว่า หลายๆประเทศที่กำลังเร่งผ่อนคลายมาตรการอาจสร้างความเสี่ยงให้เกิดการระบาดครั้งใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น หลายๆประเทศจึงควรต้องมั่นใจก่อนว่าการผ่อนคลายมาตรการจะอยู่ในสภาวะที่สามารถรับมือหรือรวบคุมกับการระบาดของไวรัสได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบต่างๆ และการกักตัว เนื่องจากยังมีความเสี่ยงที่ว่าหากผ่อนปรนมาตรการเร็วเกินไป ก็อาจทำให้การระบาดของไวรัสกลับมาได้อีกครั้ง

ทั้งนี้ รัฐบาลในหลายๆประเทศดูจะมีแนวคิดเรื่องการผ่อนปรนมาตรการมากขึ้นหลังจากที่คนว่างงานเพิ่มสูงขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก เพราะได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว โดยที่ยูโรโซนถูกคาดว่าจะเห็นเศรษฐกิจหดตัวเป็นประวัติการณ์แถว -7.7ในปีนี้ ทางด้านการจ้างงานเอกชนสหรัฐฯล่าสุดก็สะท้อนถึงภาวะคนว่างงานที่เพิ่มขึ้น โดยการจ้างงานเองก็มีตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครหดตัวลงไป 20.2 ล้านตำแหน่งเป็นประวัติการณ์อันเนื่องจากภาคธุรกิจปิดทำการ


·         ราคาน้ำมันดิบปิดร่วงลงกว่า 4ต่ำกว่า 30 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯและสต็อกน้ำมันดีเซลปรับตัวลง จึงบดบังข้อมูลการปรับลดกำลังการผลิตของบรรดากลุ่มโอเปกที่ทำให้เกิดความหวังจะเห็นอุปสงค์น้ำมันเพิ่มขึ้น ท่ามกลางบางประเทศที่มีการผ่อนปรนมาตรการ Lockdown

น้ำมันดิบ Brent ปรับลง 1.25 เหรียญ หรือ -4ที่ 29.72 เหรียญ/บาร์เรล  ด้าน WTI ปิดปรับลง 57 เซนต์ ที่ 23.99 เหรียญ/บาร์เรล

น้ำมันดิบ Brent ยังคงร่วงลงเป็นเท่าตัวหลังจากที่ไปทำต่ำสุดในรอบ 21 ปีเมื่อ 22 เม.ย. แต่ตลาดก็ยังคงจับตาอย่างระมัดระวังต่อข้อตกลงของกลุ่มโอเปก โดยหลายๆประเทศมีการลดกำลังการผลิตเป็นประวัติการณ์ประมาณ 9.7 ล้านบาร์เรล/วัน ตั้งแต่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา หรือคิดเป็นประมาณ 10ของความต้องการทั่วโลกในช่วงก่อนเกิดวิกฤตไวรัสโคโรนา

อิรักเองก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่จะปรับลดกำลังการผลิตแต่อาจน้อยกว่าข้อตกลง ขณะที่ผู้ผลิตน้ำมันบางรายอย่างไนจีเรียและอังโกลาร์ ก็มีแนวโน้มจะลดน้อยกว่าประเทศอื่นๆจึงทำให้ดูเหมือนความพยายามในการทำข้อตกลงของกลุ่มโอเปกกับรัสเซียและประเทศอื่นๆอาจไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องการลดอุปทานน้ำมันในตลาดได้ ขณะเดียวกันรายงานจาก EIA ก็ดูจะสะท้อนว่าอุปสงค์มีแนวโน้มจะฟื้นตัวขึ้นทีละน้อย เนื่องจากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 15 โดยล่าสุดปรับขึ้นประมาณ 4.6 ล้านบาร์เรล

 

·         นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯใช้สิทธิ์วีโต้ตอบโต้การลงมติที่อนุมัติโดยสภาคองเกรสทั้งสองเพื่อจำกัดไม่ให้นายโดนัลด์ ทรัมป์ทำสงครามกับอิหร่าน เนื่องจากนายทรัมป์เพิ่มความกดดันสูงสุดให้แก่อิหร่าน

นายทรัมป์ระบุว่า นี่เป็นการลงมติที่เป็นการดูถูกกันมากซึ่งออกโดยพรรคเดโมแครต โดยมติดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่จะทำให้พรรคเดโมแครตชนะการเลือกตั้งในวันที่ 3 พ.ย. ด้วยการแบ่งแยกพรรคริพับลิกัน ส่วนสมาชิกพรรคริพับลิกันที่ออกเสียงให้มตินี้ก็คงไม่ได้เต็มใจนัก


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com