• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 29 เมษายน 2563

    29 เมษายน 2563 | SET News
 

· S&P 500 Price Analysis: ดัชนีเมื่อคืนขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 2,900 จุด

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าดัชนี S&P 500 เมื่อคืนนี้พยายามที่จะปรับขึ้นเหนือแนวต้านที่ระดับ 2,900 จุด หากคืนนี้ดัชนีสามารถปรับขึ้นระดับดังกล่าวได้ จะเปิดโอกาสให้ดัชนีสามารถฟื้นตัวกลับไปแถวระดับ 3,000 และ 3,130 จุดได้ในระยะยกลาง ขณะที่แนวรับมองไว้ที่ 2,850 และ 2,800 จุด

· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน เนื่องจากเหล่านักลงทุนได้รับแรงหนุนจากการที่หลายๆประเทศจะทำการผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มในการจำกัดการระบาดของไวรัสโคโรนา และผลประกอบการภาคบริษัทที่ออกมาดีกว่าที่คาด รวมทั้งการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน

โดยสินทรัพย์เสี่ยงรวมถึงหุ้นได้ปรับตัวขึ้นเกือบตลอดเดือนนี้เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลังและนโยบายการเงินทั่วโลกซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อลดความรุนแรงทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ข่าวเชิงบวกเกี่ยวกับการรักษาที่มีศักยภาพเช่นเดียวกับความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนได้เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับเหล่านักลงทุนเมื่อเร็วๆ นี้

ยิ่งไปกว่านั้นนักลงทุนเริ่มมีความเชื่อมั่นว่าการติดเชื้ออาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากบางรัฐของสหรัฐฯ ยุโรปและออสเตรเลียค่อย ๆ คลายข้อจำกัด ขณะที่นิวซีแลนด์ในสัปดาห์นี้อนุญาตให้ธุรกิจบางส่วนเปิดใหม่ได้

ขณะที่วันนี้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะปิดทำการเนื่องในวันโชวะ

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น 0.7%

· ตลาดหุ้นจีนปิดแดนบวก ท่ามกลางการประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกของบรรดาธนาคารรายใหญ่ในประเทศที่ออกมาแข็งแกร่งกว่าที่คาด รวมทั้งความหวังเกี่ยวกับการกลับมาเปิดเศรษฐกิจในหลายๆประเทศ ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสยังเป็นปัจจัยที่จำกัดการฟื้นตัวของตลาดหุ้น

โดยดัชนี Shanghai Composite ปิด +0.44% ที่ระดับ 2,822.44 จุด ขณะที่ดัชนี Blue-chip CSI300 ปิด +0.46%

· หุ้นยุโรปเปิดปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ก่อนหน้าการประกาศผลการประชุมเฟดในคืนนี้ โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.2% ด้านหุ้นกลุ่มยานยนต์และภาคธนาคารเพิ่มขึ้น 1.5% ขณะที่หุ้นเพื่อสุขภาพปรับลดลง 1%

อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมี.ค.63 อยู่ที่ 102.79 หดตัว -11.25% (YoY) จากในเดือน ก.พ.63 ดัชนี MPI หดตัว -4.24% ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 67.22% ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 1/63 หดตัว -6.63% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 66.68%

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการ สศอ. เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมีนาคม 2563 หดตัวลง -11.25% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับผลกระทบเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและภัยแล้ง ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ไตรมาสแรกปี 2563 หดตัวลง -6.63% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

- บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) หรือเอสซีจี แจ้งว่าบริษัทคาดการณ์รายจ่ายลงทุนและเงินลงทุนที่จะเกิดขึ้นในปี 63 ปรับลงอยู่ที่ประมาณ 55,000 - 65,000 ล้านบาท จากเดิมที่คาดการณ์ในช่วง 60,000-70,000 ล้านบาท โดยพิจารณาจากปัจจัยสภาพการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และการดำเนินงานด้านโครงการขยายกำลังการผลิต การก่อสร้างโรงงานใหม่ และการปรับปรุงประสิทธิภาพ

ขณะที่ในไตรมาส 1/63 มีรายจ่ายลงทุนและเงินลงทุน ในระดับ 12,261 ล้านบาท โดยสัดส่วนการลงทุนเป็นของธุรกิจเคมิคอลส์ 55% ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง 21% ธุรกิจแพ็คเกจจิ้ง 20% และส่วนงานอื่น 4%

- น.ส.วชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการกำกับกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (BSF) เปิดเผยว่า ในวันนี้ คณะกรรมการกำกับกองทุน BSF ได้ออกประกาศเรื่อง นโยบาย แนวทางการดำเนินงาน กรอบการลงทุน และกรอบการบริหารความเสี่ยงของกองทุน BSF ตาม พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุน BSF

- "กสิกรไทย" เผยความเชื่อมั่นนักลงทุนเริ่มฟื้น หลังสถานการณ์โควิดเริ่มดีขึ้น พบกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งเริ่มโยกเงินฝากลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพิ่ม คาดมูลค่าไม่น้อยกว่า 2.5 แสนล้าน ชี้ส่วนใหญ่ ยังเน้นลงทุนบอนด์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ขณะ "ซิตี้แบงก์" มั่นใจปีหน้าตลาดฟื้นเร็ว

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ของทุกสถาบันการเงินได้ช่วยลูกหนี้แล้วกว่า 11 ล้านราย คิดเป็นยอดหนี้ 3.7 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ขณะที่สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) วงเงิน 5 แสนล้านบาท มีสถาบันการเงินยื่นคำขอเพื่อนำไปปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอี เมื่อวันที่27 เม.ย. ซึ่งเป็นวันแรกแล้ว 24,200 ล้านบาท จำนวน 16,934 ราย โดยมีทั้งสิ้น 8 ธนาคาร พบมากที่สุด เป็นธนาคารกรุงเทพธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นต้น

- ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลกและไทย คาดว่า จีดีพีประเทศไทยในปี 2563 นี้คาดว่าจะติดลบกว่า -5% แต่การล็อกดาวน์ประเทศ ยิ่งจะทำให้จีดีพีถูกล็อกดาวน์ตามไปด้วย ในส่วนของการท่องเที่ยวของไทย มองว่าเป็น ภาคธุรกิจที่น่าเป็นห่วง โดยในช่วงสถานการณ์รายได้หายไปกว่า 30-40% ซึ่งได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก

อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ

- กทม. ไฟเขียว! คลายล็อค 8 กิจการ กลับมาเปิดได้ แต่ยังไม่ระบุวัน

1.ร้านอาหาร นั่งทานที่ร้านได้ แต่ต้องจัดที่นั่งห่างกัน 1.5 เมตร และห้ามมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เปิดตามเวลาพ.ร.ก.ฉุกเฉิน

2.ตลาดและตลาดนัด ให้ขายสินค้าได้ทุกประเภท

3.สถานที่ออกกำลังกาย เป็นประเภทที่มีระยะห่างกัน รวมถึงศูนย์กีฬาและศูนย์เยาวชนให้เข้าไปออกกำลังกายได้เฉพาะกีฬาที่ไม่ใกล้ชิดกัน เช่น เดิน วิ่ง สนามแบตมินตัน เทนนิส เทเบิลเทนนิส เป็นต้น ไม่อนุญาตกีฬาประเภททีม เช่น ฟุตบอล ซอฟบอลวอลเลย์บอล บาสเกตบอล กีฬาที่ต้องใกล้ชิดกัน

4.สวนสาธารณะ ให้เข้าใช้ออกกำลังกาย พักผ่อนได้ แต่ห้ามจับกลุ่มสังสรรค์

5.ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย อนุญาตเฉพาะตัด สระ ไดร์ และต้องหยุดทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุกๆ 2 ชม.ให้จองคิวเข้ารับบริการ ไม่ให้มีการนั่งรอในร้าน ช่างใส่หน้ากาก และ Face Shield ด้วย

6.ร้านตัดขนสัตว์และคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ นำสัตว์เข้าร้านได้ 1 คน/1 ตัว

7.โรงพยาบาล คลินิก และสถานพยาบาล

และ8.สนามกอล์ฟ และสนามฝึกซ้อม

อ้างอิงจากสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

'บล.โนมูระ พัฒนสิน' หั่นเป้า SET Index ปีนี้เหลือ 1,042 จุด หลังประเมินจีดีพีไทยปีนี้รูดหนักติดลบ 6.3% กดกำไรบจ.เหลือ 60.80 - 65.60 บ./หุ้น เป็นเหตุกดดันเงินทุนไหลออก พร้อมเปิดโผหุ้นที่จะเข้าคำนวณ MSCI รอบ 12 พ.ค.นี้ นำโดย AWC-KTC-TOA ส่วน BANPU คาดหลุดโผ ด้าน KKP รับหากโควิด-19 ระบาดรอบสองอาจทำจีดีพีติดลบ 10%

*** โนมูระ หั่นเป้า SET ปีนี้เหลือ 1,042 จุด รับจีดีพีติดลบ 6.3%

บริษัทหลักทรัพย์(บล.)โนมูระ พัฒนสิน ระบุ ได้ปรับเป้าหมาย SET Index ปีนี้ใหม่เหลือ 1,042 จุด อิง PER ปี 63 ระดับค่าเฉลี่ยที่ 15.9 เท่า หลังจากที่ประเมินว่าจีดีพีไทยปี 63 จะหดตัว -6.3% จากเดิมคาด +1.4% ตามภาพรวมการลงทุนภายในยังไม่สดใส โดยปัจจัยที่ยังคงเป็นแรงกดดันยังคงเป็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงว่าจะสามารถควบคุมได้เมื่อใด ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดการขยายเวลามาตรการปิดเมืองในหลายจังหวัดเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงภาวะภัยแล้งอาจส่งผลกระทบเศรษฐกิจภายในยาวนานกว่าที่ประเมินไว้

โดยจีดีพีในไตรมาส 2/63 จะหดตัวอย่างมีนัยสำคัญ และคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 0.25% ในไตรมาส 2 นี้(เดิม 0.50%) และปรับเพิ่มคาดการณ์จีดีพีในปี 64 เป็น 3.8% จากเดิม 3.3%

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com