• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 29 เมษายน 2563

    29 เมษายน 2563 | Economic News



·         สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 3,136,232 ราย
Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 217,799 ราย
Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 210 ประเทศและติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam
Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 1,035,454 ราย (+25,098) และมีผู้เสียชีวิตสู่ระดับ 59,252 ราย (+2,456)
Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดเพิ่มอีก 7 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,938 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 2 ราย รวมสะสม 54 ราย

·         เมื่อวานนี้ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เป็นวันที่ 2 ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ต้องการปิดสถานะพอร์ตการลงทุนให้สมดุลในช่วงสิ้นเดือน โดยดัชนีดอลลาร์ปิด -0.16ที่ 99.88 จุด แต่ก็ยังอยู่ระดับสูงกว่าที่ปิดสิ้นเดือนมี.ค. ไว้ที่ 99 จุด

นักลงทุนในตลาดหุ้นตอบรับกับรายงานผลประกอบการที่ดีขึ้นเกินคาด และเศรษฐกิจมีทิศทางสดใสมากขึ้นจากหลายๆรัฐในสหรัฐฯมีแผนจะกลับมาเปิดทำการภาคธุรกิจหลังจากที่ปิดทำการเพื่อสกัดการระบาดของไวรัสโคโรนา

นักกลยุทธ์ค่าเงินจาก TD Securities กล่าวว่า การปรับพอร์ตในช่วงสิ้นเดือนดูจะเป็นผลลบต่อค่าเงินดอลลาร์ และทำให้ดอลลาร์มีแนวโน้มจะถูกแรงเทขายออกมาเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร, เงินปอนด์, เยน และออสเตรเลียดอลลาร์

บรรดาเทรดเดอร์ให้ความสนใจไปยังประชุมเฟดคืนนี้และประชุมอีซีบีพรุ่งนี้


·         เฟดอาจมีการให้รายละเอียดเพิ่มเกี่ยวกับการใช้นโยบายขนานใหญ่เสมือน “บาซูกา” เพื่อช่วยเหลือตลาดต่างๆ

รายงานจาก CNBC ระบุถึงกระแสคาดการณ์ที่เฟดอาจไม่ทำการประกาศนโยบายการเงินใหม่ใดๆ ในการประชุมวาระนี้ แต่อาจมีการให้รายละเอียดต่อการเคลื่อนไหวจำนวนมหาศาลเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจและตลาดการเงินที่เผชิญภาวะความไม่แน่นอนในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา

เฟดจะทำการเปิดเผยรายละเอียดการประชุมในคืนนี้ประมาณตี 1 ซึ่งอาจเห็นความชัดเจนมากขึ้นต่อมุมมองความเสียหายทางเศรษฐกิจของไวรัสโคโรนา จึงอาจเห็นเขากล่าวถึงนโยบายแต่ยังไม่ปิดเผยถึงนโยบายใหม่ๆ หรือการระบุว่าจะคงดอกเบี้ยระดับต่ำยาวนานเท่าไหร่

นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ เชื่อว่า เดือนมิ.ย. จะเป็นช่วงที่ดีสำหรับการระดมความคิดเห็นของเฟดเกี่ยวกับเรื่องอัตราการว่างงานและการปรับตัวลดลงของเศรษฐกิจหลังจากที่เริ่ Shutdown เป็นการฉุกเฉิน

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Barclays กล่าวว่า การประชุมที่จะมาถึงอาจเป็นการสิ้นสุดการใช้มาตรการฉุกเฉินหลังจากที่มีการจัดการด้านระบบการกู้ในสัปดาห์ที่แล้วหรือปัญหาสภาพคล่องที่เกิดขึ้น ดังนั้น เฟดน่าจะหารือต่อมุมมองผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดสัญญาณชี้นำใดๆ เนื่องจากอาจต้องใช้เวลา 30 – 40 วันในการพิจารณาผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่มาจากการ Lockdown

บรรดานักเศรษฐศาสตร์ ยังคาดว่า เศรษฐกิจจะเผชิญกับความเสียหายตั้งแต่ไตรมาสแรก และค่อยๆลุกลามสู่การเติบโตในช่วงไตรมาสที่ 2/2020 ที่มีแนวโน้มจะเห็นจีดีพีหดตัวไปมากถึง -45% ได้ และอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะขาลง


·         การระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะส่งผลให้เป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี ที่เฟดสาขาแคนซัสซิตี้จะเลื่อนการจัดกประชุมธนาคารกลงประจำปีในเมือง Jackson Hole รัฐไวโอมิงออกไปก่อน เพื่อเลี่ยงการรวมตัวกันในสถานการณ์เวลานี้ และยังไม่มีแนวโน้มที่จะเปิดประชุมในปีนี้เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ยังมีอยู่ โดยเจ้าหน้าที่กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะประกาศถึงการจัดประชุม Economic Symposium ประจำปีอย่างไร และจะให้รายละเอียดเมื่อพวกเขามีข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้


·         ทำเนียบขาวกล่าวเตือนภาวะเศรษฐกิจติดลบก่อนรีบาวน์กลับได้ในช่วงปลายปีนี้

เจ้าหน้าที่ทีมบริหารของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯจะกลับมาแข็งแกร่งได้อีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 4/2020 เมื่อการระบาดของไวรัสโคโรนาบรรเทาลงไป แต่ที่ปรึกษาอาวุโสทางเศรษฐกิจของทำเนียบขาว กล่าวเตือนว่า ในระยะสั้นๆจีดีพีและคนว่างานจะเข้าสู่ผลเสียอย่างร้ายแรง

โดยนายเควิน แฮสเซ็ทท์ ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของนายทรัมป์ กล่าวให้สัมภาษณ์กับทาง CNN ว่าอัตราว่างงานมีโอกาสแตะ 16-20ขณะที่จีดีพีสหรัฐฯมีแนวโน้มจะหดตัว 30-40% ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ซึ่งเป็นคาดการณ์ที่สอดคล้องกับบรรดาสถาบันการเงินชั้นนำและสำนักคณะกรรมาธิการด้านงบประมาณของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ในช่วงก่อนหน้า นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ คาดว่า เศรษฐกิจอาจรีบาวน์ได้ในช่วงปลายซัมเมอร์นี้ ท่ามกลางการอนุญาตให้กลับมาเปิดทำการในภาคธุรกิจ

ด้าน นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มองว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะคลี่คลายมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และน่าจะกลับมาแข็งแกร่งได้จริงๆ ในปีหน้า โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างไตรมาส


·         เมื่อวานนี้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีแผนว่าจะออกคำสั่งให้เปิดโรงงานเนื้อสัตว์แปรรูปเพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหารและการหยุดชะงักของซัพพลายในสหรัฐฯ เนื่องจากวิกฤตไวรัสโคโรนา โดยใช้มาตรการการผลิตเพื่อการป้องกัน ขณะที่เจ้าหน้าที่เตือนให้เพิ่มการป้องกันให้แก่พนักงานที่เผชิญความเสี่ยง


·         บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯจะไม่เข้าทำเนียบที่วอชิงตันในสัปดาห์หน้าตามกำหนดการเดิม โดยประกาศล่าสุดออกได้เพียงแค่ วัน เนื่องจากยังคงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนา


·         โพล Ipsos ของสำนักข่าวรอยเตอร์ส ที่สำรวจเมื่อวันที่ 27 ถึง 28 เม.ย. เผย ชาวอเมริกัน 98% สูญเสียความเชื่อมั่นในสิ่งที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ พูดเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา โดยไม่เชื่อคำพูดของทรัมป์ที่ว่า โควิด-19 สามารถรักษาได้โดยการฉีดสารฟอกขาวหรือสารฆ่าเชื้ออื่น ๆ ให้กับผู้ติดเชื้อ


·         สถาบัน IFO คาดว่าเยอรมนีจะเผชิญกับภาวะจ้างงานที่ลดลงอย่างไม่คาดคิด โดยอัตราจ้างงานอาจลดลงแตะ 86.3 จุดในเดือนเม.ย. หลังจากที่พุ่งไปแตะ 93.4 จุดในเดือนมี.ค. ซึ่งจะถือเป็นข้อมูลที่ออกมาต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากการจ้างงานใน 4 ภาคส่วนสำคัญปรับลดลง (การผลิต, ก่อสร้าง, บริการ, การค้า)

ขณะที่ช่วงต้นเดือนนี้ ไอเอ็มเอฟ เผยคาดการณ์จีดีพีเยอรมนีที่อาจจะหดตัว 7% ในปีนี้ พร้อมมองอัตราว่างงานเยอรมนีจะปรับขึ้นแตะ 3.9ในปีนี้ จากปีที่แล้วที่อยู่ที่ 3.2%


·         สถาบันจัดอันดับ Fitch Ratings ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศอิตาลีลงสู่ระดับ BBB- แต่ก็ยังสูงกว่าระดับขยะ โดยการปรับลดล่าสุดเป็นผลมาจากการระบาดของไวรัสโคโรนา


·         สเปนประกาศแผนเฟส 4 ในการผ่อนปรนมาตรการ Lockdown ที่คาดจะเข้าสู่ภาวะปกติได้ในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ ท่ามกลางอัตราการเสียชีวิตรายวันที่ลดลงแตะ 301 ราย น้อยกว่าระดับสูงสุดเป็นประวัติการ์ที่ทำไว้ในช่วงต้นเดือนเม.ย.ที่ 950 ราย


·         ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเกาหลีใต้ย่ำแย่ที่สุดเป็นประวัติการณ์จากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับภาวะ Lockdown โดยดัชนีล่าสุดออกมาที่ 45 จุด จากเดิมที่ 52 จุด


·         น้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงไปประมาณ 3% หลังจากที่ข้อมูลจากหน่วยงาน API เผยสต็อกน้ำมันดิบไม่ได้เพิ่มขึ้นต่างจากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ แม้ว่าจะมีการประกาศข้อตกลงในการปรับลดกำลังการผลิตที่จะมีผล 1 พ.ค. นี้ก็ตาม

น้ำมันดิบ WTI ปิดลดลงไป 44 เซนต์ หรือ -3.4ที่ 12.34 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่วันจันทร์ร่วงลงไปเกือบ 25%

น้ำมันดิบ Brent ยังได้รับแรงหนุนจากความหวังที่ว่าการคลายมาตรการ Lockdown จะช่วยให้อุปสงค์น้ำมันกลับมาฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าอังกฤษจะออกโรงเตือนถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจาการผ่อนคลายดังกล่าวก็ตาม โดยที่น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 47 เซนต์ หรือ +2.3ที่ 20.46 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่วันจันทร์ปิดลดลงไป 6.8%

หน่วยงาน API ของสหรัฐฯ เผยผลสำรวจสต็อกน้ำมันดิบที่ปรับขึ้น 10 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้วแตะ 510 ล้านบาร์เรล/วัน โดยไม่ได้ต่างจากที่คาดว่าจะปรับขึ้น 10.6 ล้านบาร์เรล

ขณะที่ตลาดรอคอยข้อมูลจากหน่วยงานรัฐหรือ EIA ในคืนนี้ ท่ามกลางสต็อกน้ำมันทั่วโลกที่ดูจะปรับขึ้นไปแล้วประมาณ 85% ใกล้เต็มคลังเก็บน้ำมันแล้ว



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com