• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 27 เมษายน 2563

    27 เมษายน 2563 | Economic News

สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 3,002,887

Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 207,080 ราย

Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 210 ประเทศ

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 987,322 (+162) ราย และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 55,415 (+2) ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,931 (+9) ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นรวมสะสม 52 (+1) ราย


- อิตาลีเตรียมประกาศอนุญาตให้โรงงานและสถานประกอบการสามารถเปิดทำการได้ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. เป็นต้นไป รวมถึงจะอนุญาตให้ประชาชนสามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาได้ แต่เป็นแบบจำกัดจำนวนครอบครัว

 

·       ค่าเงินเยนแข็งค่าหลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศเพิ่มนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในการประชุมวันนี้ เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจจากผลกระทบของไวรัสโคโรนา ขณะที่ค่าเงินปอนด์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์และเงินยูโรหลังมีสัญญาณว่าอังกฤษอาจออกจากภาวะ Lockdown เร็วกว่าคิด

ในการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่นวันนี้ คณะกรรมการมีมติยกเลิกขีดจำกัดในการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลรวมถึงเพิ่มการเข้าตราสารหนี้ของภาคเอกชน ซึ่งตลาดก็ได้คาดการณ์เอาไว้บ้างแล้วและยังสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางอื่นๆที่มีการผ่อนคลายนโยบายลงด้วยกันทั้งสิ้น

ทั้งนี้ ตลาดจะหันไปให้ความสนใจกับการประชุมของเฟดและอีซีบีในคืนพุธและวันพฤหัสบดีนี้ตามลำดับ โดยตลาดคาดการณ์เป็นวงกว้างว่าอีซีบีจะมีการประกาศเข้าซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติมอีก ขณะที่ยังไม่มีคาดการณ์อะไรเกี่ยวกับการประชุมเฟดเป็นพิเศษ

ทั้งนี้ ค่าเงินเยนแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์แถว 107.28 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเมื่อเทียบกับเงินยูโรแข็งค่าแถวระดับ 116.36 เยน/ยูโร ซึ่งใกล้กับระดับแข็งค่าที่สุดในรอบ 3 ปี

ค่าเงินปอนด์แข็งค่าเมื่อเทียบดอลลาร์และยูโร ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่ารัฐบาลอังกฤษจะประกาศผ่อนคลายภาวะ Lockdown อย่างเร็วที่สุดภายในสัปดาห์นี้ หลังนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้รับการรักษา COVID-19 จนหายดีและกำลังจะกลับมาทำงานตามปกติในวันนี้

 

·       อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนจับตาความเป็นไปได้ของเศรษฐกิจรอบโลกว่าจะมีการเริ่มต้นเปิดการทำการ หลังจากประสบภาวะ shutdown จากการระบาดไวรัสโคโรนา โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีสูงขึ้นแตะที่ 0.6210% ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 30 ปีสูงขึ้นแตะที่ 1.1947%

ทั้งนี้ หลายรัฐในสหรัฐฯ อาทิ รัฐโคโลราโด รัฐมิสซิสซิปปี รัฐมอนทานา และรัฐเทนเนสซี มีแผนผ่อนคลายข้อบังคับทางการค้าที่เป็นผลเนื่องมาจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญได้เตือนการกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจที่ปราศจากระบบการตรวจสอบหาผู้ติดเชื้อที่แน่ชัด ในขณะเดียวกัน Kevin Hassett ที่ปรึกษาประจำทำเนียบขาวระบุกับสำนักข่าว ABC ว่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจครั้งประวัติศาสตร์ที่เกิดจากการ Lockdown อาจส่งผลให้อัตราการว่างงานของสหรัฐฯในเดือนนี้สูงขึ้16% หรือมากกว่านั้น ทำให้เกิดการกระตุ้นทางการเงินมากขึ้น

 

·       EUR/USD Forecast: ตลาดจับตาการประชุมธนาคารกลางและตัวเลขเศรษฐกิจ



บทวิเคราะห์ทางเทคนิคจาก FX Street ระบุว่าค่าเงินยูโรกำลังทรงตัวต่ำกว่าระดับ 1.0830 ดอลลาร์/ยูโรลงมาเล็กน้อย โดยระดับดังกล่าวเป็นระดับ 61.8% Retracement จากที่ปรับขึ้นครั้งล่าสุดในภาพรวมรายวัน ขณะที่ภาพรายวัน เส้นค่าเฉลี่ยราย 20 วันยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางขาลง บรรจบกับเส้น Fibonacci resistance ถัดไปที่ 1.0890 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยอื่นๆที่มีระยะยาวกว่าก็ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางขาลงเหนือเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นกว่า ส่วนสัญยาณทางเทคนิคเริ่มมีการฟื้นตัวบ้างเล็กน้อย แต่ดูยังมีแรงหนุนไม่พอสำหรับการฟื้นตัว ส่วนในภาพราย 4 ช.ม. ค่าเงินกำลังเคลื่อนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยราย 20 วันเล็กน้อย แต่ยังต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวกว่า ทำให้ภาพรวมระยะสั้นไร้ทิศทางที่ชัดเจน เส้น RSI เริ่มเคลื่อนไหวแถวระดับ 51 จุด บ่งชี้ถึงแรงหนุนขาขึ้นที่ยังอ่อนแอ ดังนั้นต้องจับตาว่าค่าเงินจะสามารถฟื้นตัวเหนือระดับ 1.0900 ดอลลาร์/ยูโรไปได้หรือไม่ แต่สำหรับวันนี้มองว่ามีความเป็นไปได้ต่ำ

แนวรับ: 1.0790 1.0750 1.0710 

แนวต้าน: 1.0830 1.0860 1.0900

 

·       USD/JPY short-term technical outlook



บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าภาพรวมระยะสั้นทางเทคนิคของค่าเงินดอลลาร์เทียบกับเงินเยนกำลังเป็นทิศทางขาลง เนื่องจากกำลังเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยทั้งหมดที่ไม่มีทิศทางชัดเจน ขณะที่ Technical Indicators ต่างๆกำลังส่งสัญญาณของทิศทางขาลง แม้จะมีความชัดเจนไม่เท่ากันก็ตาม ดังนั้นภาพรวมระยะ 4 ช.ม. ค่าเงินกำลังเคลื่อนไหวแบบ Neutral-to-bearish

แนวรับ: 107.30 106.95 106.50 

แนวต้าน: 107.70 108.10 108.50 

 

·       BOJ ประกาศผ่อนคลายนโยบาย เพิ่มการเข้าซื้อพันธบัตร

การประชุม BOJ วันนี้ คณะกรรมการมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ -0.10% และเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีไว้ที่ 0.00% แต่ได้ประกาศผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม ผ่านการเข้าซื้อตราสารหนี้ของภาคธุรกิจเอกชนและภาครัฐเพิ่มขึ้น โดยก่อนหน้านี้ทาง BOJ ได้ระบุว่าจะทำการเข้าซื้อพันธบัตรของภาครัฐแบบไม่จำกัดวงเงิน ทำให้ปริมาณการถือครองพันธบัตรของ BOJ เพิ่มขึ้นราวๆ 80 ล้านล้านเยน

 

·       ตลาดจับตานโยบายเยียวยาจากสหรัฐฯรอบต่อไป

หลังจากที่สหรัฐฯได้ผ่านร่างนโยบายเยียวยาเศรษฐกิจจากผลกระทบของไวรัสเป็นมูลค่ารวมถึง 3 ล้านล้านเหรียญ ล่าสุดบรรดาตัวแทนจากพรรครีพับลิกันและเดโมแครตได้กลับมาเจรจาร่วมกันอีกครั้ง เกี่ยวกับการออกนโยบายเยียวยาเศรษฐกิจในขขั้นตอนถัดไป โดยจะเกี่ยวกับงบประมาณช่วยเหลือให้กับรัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละรั

ซึ่งทางฝั่งเดโมแครตได้เสนอให้ใช้งบประมาณช่วยเหลือมากถึง 2 ล้านล้านเหรียญ ขณะที่ทางฝั่งรีพับลิกันไม่เห็นด้วย เนื่องจากมองว่าเป็นงบประมาณที่สูงเกินความจำเป็น

สำหรับนโยบายเยียวยาครั้งที่ผ่านๆมา รัฐบาลสหรับฯได้มากรออกนโยบายช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กไปเป็นมูลค่าประมาณ 7.30 แสนล้านเหรียญ ซึ่งนโยบายล่าสุดเป็นนโยบายช่วยเหลือบรรดาธุรกิจขนาดเล็กเพิ่มเติมเป็นวงกว้างมูลค่าอีกกว่า 3.8 แสนล้านเหรียญ ซึ่งได้รับการลงนามจะประธานาธิบดีสหรัฐฯเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

 

·       นักวิเคราะห์จาก TD Ameritrade ระบุว่าในช่วงสัปดาห์ต่อๆไปนี้ ตลาดจะให้ความสนใจไปยังรายงานที่เกี่ยวกับผลวิจัยหรือความคืบหน้าเกี่ยวกับการพัฒนายาหรือวิธีรักษา COVID-19 ค่อนข้างมาก ท่ามกลางความหวังว่าเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้โดยเร็วที่สุด

แต่ถึงแม้จะมีรายงานเกี่ยวกับความคืบหน้า นักวิเคราะห์ก็มองว่าตลาดก็น่าจะฟื้นความเชื่อมั่นขึ้นมาได้อย่างจำกัด เนื่องจากผลกระทบของวิกฤติไวรัสได้ฝังรากลึกลงไปในเศรษฐกิจแล้

 

·       ผลกำไรของภาคอุตสาหกรรมในประเทศจีนชะลอตัวลงอีกในเดือน มี.ค. แต่ชะลอตัวลงด้วยอัตราที่น้อยกว่า 2 เดือนก่อนหน้า ขณะที่หลายๆภาคธุรกิจยังคงเผชิญกับการชะลอตัวลง จึงบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนยังไม่สามารถฟื้นตัวได้มากนัก หลังจากวิกฤติการระบาดของไวรัสโคโรนา

โดยภาคอุตสาหกรรมจีนมีรายได้ในเดือน มี.ค. รวมกันที่ 3.7066 แสนล้านหยวน ลดลง 34.9% จากปีก่อน เทียบกับของเดือน ม.ค. ก.พ. ที่ลดลงไป 38.3% ซึ่งเป็นการชะลอตัวของผลประกอบการที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010

สำหรับภาพรวมไตรมาสที่ 1/2020 ผลกำไรของภาคอุตสาหกรรมจีนลดลงไป 36.7% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7.8145 แสนล้านหยวน

 

·       สถาบัน Moody’s Analytics มีมุมมองว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นและสิงคโปร์น่าจะเป็นเศรษฐกิจเอเชียที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนาหนักที่สุด เนื่องจากทั้งสองเศรษฐกิจอยู่ในภาวะอ่อนแออยู่แล้ว ก่อนที่จะเกิดวิกฤติขึ้นเสียอีก และยิ่งมีการใช้มาตรการ Lockdown ประเทศ เศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศก็จะยิ่งอ่อนแอลงไปอีก

ทั้งนี้ ข้อมูลอย่างเป็นทางจากรัฐบาลญี่ปุ่น พบว่าเศรษฐกิจญีปุ่นชะลอตัวลง 6.3% ในช่วงไตรมาสที่ 4/2019 ขณะที่รัฐบาลสิงคโปร์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของพวกเขาจะชะลอตัวลง 2.2% ในไตรมาสที่ 1/2020

 

·       ดอยซ์แบงก์ (Deutshe Bank) กล่าวเตือนถึงการระบาดของไวรัสโคโรนาที่อาจส่งผลต่อเป้าหมายผลประกอบการเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยคาดรายได้ในช่วงไตรมาสแรกอาจจะปรับตัวลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว พร้อมคาดจะเผยรายละเอียดผลประกอบการในวันพุธนี้

นอกจากนี้ ทางธนาคารยังกล่าวเตือนถึงการอาจพลาดเป้าหมายในอนาคตอันเป็นผลจากการระบาดของไวรัส โดยในไตรมาสแรกของปีนี้คาดจะมีรายได้อยู่ที่ 66 ล้านยูโร (71.56 ล้านเหรียญ) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วที่อยู่ที่ 201 ล้านเหรียญ และคาดผลกำไรในอนาคตจะอยู่ที่ 6.4 ล้านยูโร

อย่างไรก็ดี สำหรับ Credit Losses คาดจะอยู่ที่ราว 500 ล้านยูโร ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนจับตาใกล้ชิดว่าผลประกอบการของแต่ละภาคธนาคารจะส่งผลกระทบอย่างไรในสภาวะเศรษฐกิจโลกได้รับผลจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

 

·       ราคาน้ำมันปรับลดลงอีกครั้ง ท่ามกลางแรงกดดันจากภาวะปริมาณน้ำมันล้นตลาด ทำให้ตลาดเกิดความกังวลว่ามาตรการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC+ อาจไม่เพียงพอต่อการปรับสมดุลให้กับตลาดที่กำลังเผชิญภาวะอุปสงค์ที่อ่อนแอลงอย่างมากจากวิกฤติไวรัสโคโรนา

มีรายงานว่าคลังน้ำมันของสหรัฐฯในรัฐโอคลาโฮมากำลังจะมีปริมาณน้ำมันสูงแตะขีดจำกัดของคลังในเร็วๆนี้ ขณะที่ภาพรวมปริมาณน้ำมันทั่วสหรัฐฯเมื่อสองสัปดาห์ก่อนได้เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 518.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 535 ล้านบาร์เรล

ทั้งนี้ ราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 2.05 เหรียญ หรือประมาณ 12.1% แถว 14.89 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 1.08 เหรียญ หรือประมาณ 5.0% แถว 20.36 เหรียญ/บาร์เรล โดยสัญญาน้ำมันดิบ Brent ส่งมอบเดือน มิ.ย. กำลังจะหมดอายุลงในวันพฤหัสบดีนี้

ภาพรวมราคาน้ำมันเมื่อสัปดาห์ก่อน เป็นการปิดตลาดในแดนลบติดต่อกัน 3 สัปดาห์ โดยที่ Brent ปิด -24% ส่วน WTI ปิด -7%

 

·       Goldman Sachs คาดราคาน้ำมันร่วงต่อ

นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs มีมุมมองว่าราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่จะปรับร่วงลงอีกครั้ง เนื่องจากยังมีความเสี่ยงจากภาวะปริมาณน้ำมันล้นตลาดอยู่ โดยมองว่ามาตรการปรับกำลังการผลิตของผู้ผลิตไม่เพียงพอที่จะปรับให้มีความสุมดุลกับปริมาณอุปสงค์ในน้ำมันที่ตกต่ำลงอย่างมาก

นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าบรรดาผู้ผลิตจะถูกสถานการณ์บังคับให้ปรับลดกำลังผลิตน้ำมันลงอีกราวๆ 18 20 ล้านบาร์เรล/วัน ภายในช่วงกลางเดือน พ.ค. ขณะที่ปริมาณอุปสงค์ในน้ำมันจะยังคงอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง และจะลงไปทำระดับต่ำสุดภายใน 4 8 สัปดาห์ข้างหน้า



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com