• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 7 เมษายน 2563

    7 เมษายน 2563 | SET News

· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 2 รวมทั้งค่าเงินปรับแข็งค่าขึ้น ท่ามกลางสัญญาณที่บ่งชี้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอาจจะปรับลดลงในนิวยอร์กและยุโรป

อย่างไรก็ตาม ผลกำไรไม่มีแรงหนุนในวันนี้เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนายังคงเพิ่มขึ้นทั่วโลกและเศรษฐกิจตกต่ำในระดับที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรัยตัวสูงขึ้น 1.4%

· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากสัญญาณที่บ่งชี้ว่ายอดผู้ติดเชื้อจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในนิวยอร์กและประเทศอื่นๆทั่วโลกปรับตัวลดลง ขณะที่นักลงทุนระยะยาวกำลังรอคอยรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลญี่ปุ่น

โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 2% ที่ระดับ18,950.18 จุด ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค. โดยปรับเพิ่มข้นตามตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมา

ด้านดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 2%เช่นเดียวกัน ที่ระดับ 1,403.21 จุด ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดในรอบสัปดาห์

· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 2% เนื่องจากตลาดกลับมาซื้อขายอีกครั้งหลังจากที่หยุดยาว ท่ามกลางความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดของรัฐบาลเพื่อหนุนเศรษฐกิจ รวมทั้งการปรับลดลงของยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา

โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 2.05% ที่ระดับ 2,820.76 จุด


· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเหล่านักลงทุนที่คาดหวังว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาในทวีปยุโรปอาจจะเริ่มชะลอตัวลง

โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 2.6% ขณะที่หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 8% ท่ามกลางตลาดหุ้นส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนบวก

อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ล่าสุดวันนี้ว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่มอีก 38 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย ส่งผลให้ยอดผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสมรวม 2,258 ราย จาก 66 จังหวัด ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 27 ราย รักษาหายกลับบ้านได้แล้ว 824 ราย

สำหรับผู้เสียชีวิตเป็นชายวัย 54 ปี ไม่มีโรคประจำตัว แต่มีประวัติไปสังสรรค์หลายที่สถานบันเทิงย่านทองหล่อ เริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.รักษาตัวที่รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ต่อมาวันที่ 14 มี.ค.มีอาการเหนื่อยมากขึ้นต้องใช้ท่อช่วยหายใจ และได้มีการส่งตัวอย่างการตรวจเชื้อพบว่าติดเชื้อโควิด-19 เอ็กซเรย์พบปอดอักเสบรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวานนี้ด้วยอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว

ส่วนผู้ป่วยใหม่ 38 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ 17 ราย ส่วนใหญ่ เป็นกรุงเทพฯ 11 ราย มีทั้งติดจากในบ้านที่ทำงานและกลุ่มเพื่อน

- "คลัง" เตรียมเสนอ ครม. อัดฉีดเงินเข้าระบบเพิ่มอีก 1.96 ล้านล้าน หวังดูแลเศรษฐกิจท่ามกลางวิกฤติโควิด ผ่าน

การออก พ.ร.ก.กู้เงิน 1.1 ล้านล้าน พร้อมดัน "แบงก์ชาติ" ออก พ.ร.ก.อีก 2 ฉบับ ทำซอฟท์โลน 5 แสนล้าน และทำ "คิวอี" เข้า

ซื้อหุ้นกู้เอกชนอีก 4 แสนล้าน หวังสร้างความเชื่อมั่นในตลาดบอนด์ ด้าน "ทีเอ็มบี" เผยปีนี้มีหุ้นกู้ครบดีลกว่า 5.44 แสนล้าน

- ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถาบันยังคง

ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งใกล้ชิดเนื่องจากมีการคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาว่าไทยจะต้องเผชิญกับฝนแล้งที่ยาวนานและผลกระทบอาจรุนแรงกว่าปี 2558 ทิศทางดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรของไทยปี 2563 ลดลงจากปีก่อนเฉลี่ย 20-30%

- ประธานกรรมการบริหารศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เสนอคณะรัฐมนตรี

(ครม.) ให้เลื่อนการคุ้มครองเงินฝากประชาชนเหลือ 1 ล้านบาทออกไปอีก 1 ปี จากต้องเริ่มมีผลในเดือน ส.ค. 63 เป็นเดือน ส.ค.64 มองว่าเพื่อลดผลกระทบคนแห่ถอนเงินฝาก จากความกังวลของประชาชน เพราะเมื่อใกล้เวลามีผลบังคับใช้จะเริ่มมีข่าวถูกส่งต่อจำนวนมากบนโซเชียลออนไลน์ว่าการคุ้มครองเงินฝากของธนาคารลดลง ซึ่งจะยิ่งให้ประชาชนตื่นตระหนกได้ในช่วงเวลานั้นท่ามกลางความไม่แน่นอนว่าสถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายแล้วหรือไม่

- รมว.คลัง เปิดเผยว่ากระทรวงการคลังได้อนุมัติให้ขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษีอากรตาม

ประมวลรัษฎากร ออกไปให้ครอบ คลุมผู้ประกอบการเป็นการทั่วไปในทุกกลุ่มจากเดิมที่ให้สิทธิเฉพาะผู้ประกอบการที่ต้องปิดสถานประกอบ

การตามคำสั่งของทางราชการ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบการทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ

การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานในวันนี้ (7เม.ย.)มีมติเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ชุดที่ 3 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท

พล.อ.ประยุทธ์ เปิดเผยว่ามาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุดที่ 3 ที่ออกมาประกอบด้วย 1. ออกพ.ร.บ.โอนงบประมาณ 8 หมื่นถึง 1 แสนล้านบาท

ส่วนที่ 2 คือ การออกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.)ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)วงเงิน 9 แสนล้านบาท แต่ไม่ได้กู้รอโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้แถลง

ส่วนที่ 3 การออกพ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทของกระทรวงการคลัง เพื่อใช้สำหรับการเยียยวยา และด้านสาธารณสุข 6 แสนล้านบาท และการฟื้นฟูเศรษฐกิจอีก 4 แสนล้านบาท

นอกจากนี้จะมีวเงินที่มาจากการโยกงบประมาณจากส่วนราชการต่างๆอีก 80,0000-100,000 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากจะอัดฉีดเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน หรือซอฟท์โลน เพื่อดูแลภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ในวงเงิน 500,000 ล้านบาท จะเป็นสินเชื่อใหม่ ดอกเบี้ย 2% สำหรับเอสเอ็มอีที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท

นอกจากนี้ให้ให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของรัฐ พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 เดือน ให้แก่เอสเอ็มอี ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com