• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 7 เมษายน 2563

    7 เมษายน 2563 | SET News

· ตลาดหุ้นสหรัฐฯคืนวันศุกร์ปิดปรับลงกว่า 1.5% ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ทำให้ตลาดแรงงานสหรัฐฯย่ำแย่ สร้างความกังวลว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงอย่างมาก เนื่องจากข้อมูล Non-Farm Payrolls ในเดือนมี.ค. ยังไม่บ่งชี้ถึงความเสียหายทั้งหมดจากไวรัส แต่เป็นเพียงการสะท้อนผลของการ Lockdown ประเทศสหรัฐฯ

ดัชนีดาวโจนส์ปิด -360.91 จุด หรือ -1.96% ที่ 21,052.53 จุด

ดัชนี S&P500 ปิด -1.51% ที่ 2,488.65 จุด

ดัชนี Nasdaq ปิด -1.53% ที่ 7,373.08 จุด

ภาพรวมดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลงมาเกือบ 27% จากช่วงกลางเดือนก.พ. ที่ไปทำระดับปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือคิดเป็น 7 ล้านล้านเหรียญ ของมูลค่าตลาด ท่ามกลางบรรดานักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่หั่นคาดการณ์จีดีพีสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้ Morgan Stanley คาดว่าจีดีพีสหรัฐฯ Q2/20 จะหดตัวลงมากถึง 38%

เมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯรีบาวน์ปิดแดนบวก ท่ามกลางยอดผู้เสียชีวิตและติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนีดาวโจนส์ปิด +1,627.46 จุด หรือคิดเป็นกว่า +7% ที่ระดับ 22,679.99 จุด

ดัชนี S&P500 ปิด +7% ที่ 2,663.68 จุด และ Nasdaq ปิด +7.3% ที่ 7,913.24 จุด โดยตลาดกลับมาปิดบวกได้ในช่วงปลายตลาดนำโดยดาวโจนส์ที่รีบาวน์ขึ้นไปกว่า 1,700 จุด

ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วดัชนีดาวโจนส์ปรับลดลงมา 2.7% ทางด้าน S&P500 ปรับลง 2.1% ขณะที่ Nasdaq ปรับลงน้อยที่สุดที่ 1.7% และทำให้ภาพรวมของตลาดยังคงเป็นตลาดหมี จากความกังวลเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ดูจะฉุดให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และความเชื่อมั่นภาคธุรกิจปรับลง รวมถึงผลประกอบการในภาคบริษัทด้วย

· สำหรับดัชนี Futures ของสหรัฐฯในเช้านี้อ่อนตัวลง นำโดยดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สที่เปิดลงกว่า 140 จุด ก่อนจะรีบาวน์ได้ แต่ก็ทำให้ภาพรวมยังมีการปรับลงอยู่ประมาณ 70 จุด และฉุดให้ดัชนี S&P500 และ Nasdasq เช้านี้ไม่สดใสตาม

ทั้งนี้ กลุ่มนักลงทุนมีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้นว่าสหรัฐฯจะเข้าสู่จุดพีคสุดของไวรัสโคโรนาในเร็วๆนี้

· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวสูงขึ้นวานนี้ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อในแถบยุโรปที่ชะลอตัวลง โดยดัชนี Stoxx600 ปิด +3.75% ท่ามกลางหุ้นกลุ่มยานยนต์ที่รีบาวน์ได้กว่า 9% จึงหนุนให้หุ้นอื่นๆขยับขึ้นตาม

อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าในอิตาลี ที่เป็นศูนย์กลางการระบาดของยุโรปมีอัตราผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตรายวันชะลอตัวลงแตะระดับต่ำสุดเมื่อวันอาทิตย์ จากช่วง 2 สัปดาห์ก่อน ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตในสเปนและเยอรมนีก็มีอัตราชะลอตัวลงเมื่อวันอาทิตย์ติดต่อกันเป็นวันที่ 3

· ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางความหวังที่ว่าการแพร่ระบาดทั่วโลกจะมีอัตราชะลอตัวลง โดยดัชนีนิกเกอิเปิด +3.09% ขณะที่ Topix เปิด +2.66% ทางด้าน Kospi เปิด +2.18% ในส่วนของดัชนี S&P/ASX200 เปิด +2.1% และดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นเปิด +0.73%

· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- นักบริหารการเงิน ประเมินว่า ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70 – 33.20 บาท/ดอลลาร์ โดยจับตาปัจจัยสำคัญของไทย ได้แก่ เงินเฟ้อเดือนมี.ค., มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 3 และการบรรเทาผลกระทบต่อภาคเอกชนของธปท. ตลอดจนมาตรการรับมือกับความเสี่ยงจากไวรัสโคโรนา

สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคและผู้ผลิตในเดือนมี.ค., ความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นในเดือนเม.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ และรายงานประชุมเฟดล่าสุด

- คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการดำเนินมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากไวรัสโคโรนา (Covid-19) ของกระทรวงพลังงานกระทรวงพลังงานได้พิจารณามาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากไวรัสโคโรนา (Covid-19) เพิ่มเติม ประกอบด้วย

1. การลดค่าครองชีพของประชาชนและช่วยเหลือผู้ประกอบการ

2. การส่งเสริมการลงทุนและส่งเสริมอาชีพด้านพลังงาน

3. การจัดหาแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันโควิด-19 ให้ประชาชนทั้งประเทศผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. การจำหน่ายแอลกอฮอล์ทำความสะอาด

- ศบค. แถลง พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 51 ราย ตายเพิ่ม 3 ราย ผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันจำนวน 2,220 รายเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 63 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าว สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวันนี้ ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 51 ราย รวมยอดสะสม 2,220 ราย เสียชีวิตเพิ่มอีก 3 ราย รวม 26 ราย กระจายไปยัง 66 จังหวัด รักษาหายกลับบ้านเพิ่ม 119 ราย รวมเป็น 793 ราย

- EIC ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 20 เป็นหดตัวที่ –5.6% ต่ำสุดนับจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 1998 จากเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอย มาตรการปิดเมืองของไทย และจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มลดลงมากและฟื้นตัวล่าช้า จากคาดการณ์เดิมที่ -0.3%

- ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมเสนอมาตรการออก พ.ร.ก.เพื่อจัดทำโครงการซอฟท์โลนพิเศษโดยตรงให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วยเงินของ ธปท.เอง ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโครงการสินเชื่อของธนาคารออมสินที่ช่วยเหลือเอสเอ็มอีขนาดเล็ก, การออก พ.ร.ก.เพื่อจัดทำมาตรการสร้างหลังพิงให้กับตลาดตราสารหนี้เอกชนเพื่อให้ดำเนินการต่อไปได้,มาตรการขยายระยะเวลาคุ้มครองเงินฝาก เสนอให้ยืดระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี,ลดการนำเงินสมทบกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เหลือ 0.23% ในระยะเวลา 2 ปี ให้คณะรัฐมตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการในวันนี้

- กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โดย KKP Research ปรับประมาณการอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจลงอีกครั้งจาก -2.4% เป็นลงลึกถึง –6.8% จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม และมาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หดตัวลึกและยาวนานยิ่งขึ้นกว่าที่เคยประเมินไว้

- บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ชี้การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ภาคการธนาคารไทยอยู่ในช่วงที่วัฎจักรของธุรกิจค่อนข้างมีความท้าทายสูง ผลการดำเนินงานของภาคการธนาคารได้มีการปรับตัวอ่อนแออย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างซบเซา ระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำต่อเนื่อง และการแข่งขันที่เข้มข้น ซึ่งส่งผลให้

รายได้เติบโตในระดับที่ลดลง ปัญหาของการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันอย่างมากยิ่งขึ้นต่อแนวโน้มดังกล่าวของภาคการธนาคาร โดยการประกาศปิดสถานที่ต่างๆในช่วงที่ผ่านมาจะยิ่งส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจที่ได้ชะลอตัวลงแล้วตั้งแต่ช่วงท้ายของปี 62 เนื่องจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ความล่าช้าของงบประมาณประจำปี และภัยแล้ง ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้คุณภาพสินทรัพย์และผลประกอบการของภาคการธนาคารปรับตัวแย่ลงอย่างมากเมื่อเทียบกับระดับที่ฟิทช์เคยคาดการณ์ไว้

ดัชนี S&P500 ปิด +7% ที่ 2,663.68 จุด และ Nasdaq ปิด +7.3% ที่ 7,913.24 จุด โดยตลาดกลับมาปิดบวกได้ในช่วงปลายตลาดนำโดยดาวโจนส์ที่รีบาวน์ขึ้นไปกว่า 1,700 จุด

ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วดัชนีดาวโจนส์ปรับลดลงมา 2.7% ทางด้าน S&P500 ปรับลง 2.1% ขณะที่ Nasdaq ปรับลงน้อยที่สุดที่ 1.7% และทำให้ภาพรวมของตลาดยังคงเป็นตลาดหมี จากความกังวลเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ดูจะฉุดให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และความเชื่อมั่นภาคธุรกิจปรับลง รวมถึงผลประกอบการในภาคบริษัทด้วย

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com