• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 3 มีนาคม 2563

    3 มีนาคม 2563 | Economic News


· ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ท่ามกลางตลาดที่คาดหวังต่อการเดินหน้าผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกจากความวิตกกังวต่อผลกระทบที่จะได้รับจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่จะเข้าบั่นทอนเศรษฐกิจ

ขณะที่รัฐมนตรี G7 และผู้ว่าธนาคารกลางต่างๆจะเริ่มประชุมร่วมกันเป็นการด่วนในวันนี้เพื่อหารือถึงมาตรการและข้อตกลงสำหรับทิศทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มอ่อนตัว ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟดมีแนวโน้มจะเป็นผู้นำเทรนในการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินใดๆก่อน

ค่าเงินเยนแข็งค่าอีก 0.5% ที่ 107.8 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางเงินสวิสฟรังก์ที่แข็งค่ามาที่ 0.9576 ฟรังก์/ดอลลาร์ หลังจากที่รอยเตอร์ส รายงานถึงแหล่งข่าวจากG7 ที่คาดว่าจะไม่เห็นถ้อยแถลงใหม่ใดๆทางการเงินจากที่ประชุมดังกล่าว

· ขณะที่รายงานถ้อยแถลงผลประชุมคาดว่าจะเกิดขึ้นในวันอังคารหรือวันพุธนี้ ท่ามกลาง G7 ที่จะหาทางร่วมมือกันเพื่อยับยั้งการปรับตัวลงทางเศรษฐกิจ และนั่นทำให้นักลงทุนกลับมาสนใจต่อการแพร่ระบาดของไวรัสอีกครั้งที่ว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง

ในส่วนของเฟด ถูกคาดว่าจะลดดอกเบี้ยลงจากกรอบ 1.5 - 1.75% และอีซีบีที่ต่ำกว่า 0% ซึ่งปัจจัยนี้กดดันดอลลาร์

แต่เงินยูโรเองก็ยังคงเผชิญกับความกังวลของนักลงทุนในตลาดด้วยเช่นกัน โดยที่ล่าสุดทรงตัวต่ำกว่าระดับสูงสุดรอบ 1 เดือนที่ทำไว้เมืื่อคืนนี้ ล่าสุดอยู่ที่ 1.1145 ดอลลาร์/ยูโร

ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์แข็งค่าขึ้นหลังจากที่ RBA ตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% ตามคาด ขณะที่ธนาคารกลางแคนาดามีกำหนดการประชุมนโยบายเรื่องดอกเบี้ยในวันพรุ่งนี้

· นักเศรษฐศาสตร์จาก Citi EM Asia ระบุว่า การเดินหน้าผ่อนคลายทางการเงินและสภาพคล่องเพื่อสนับสนุนคามเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจถือเป็นผลดีระยะสั้นๆ เนื่องจากความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนายังอยู่ในระดับสูง และเราต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ดี ภาคบริษัทรายใหญ่ต่างๆทั่วโลกดูจะมีการกล่าวเตือนถึงผลประกอบการและยอดขายเมื่อไม่นานมานี้ อันเป็นผลสะท้อนจากพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคที่กลายมาเป็นอุปสรรคสำคัญของตลาด ขณะที่บางภาคธุรกิจดูจะมีปัญหาจากการเปิดโรงงาน รวมทั้งนโยายคุมเข้มทางการด้านการเงินทาง ที่ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาต่อภาวะห่วงโซ่อุปทาน

ธนาคารกลางต่างๆพร้อมที่จะพยายามทำให้นักลงทุนมั่นใจว่ามาตรการของพวกเขาจะช่วยยับยั้งการปรับตัวลงทางเศรษฐกิจได้


สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

· สหรัฐฯรายงานผู้เสียชีวิตรายใหม่จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาภายในรัฐซีแอตเทิลออกมาเพิ่มขึ้น 6 ราย ขณะที่ทางรัฐบาลกำลังเร่งยกระดับกระบวนการตรวจคัดกรองโรคภายในประเทศ โดยให้ความสำคัญไปยังจำนวนผู้ป่วยสูงสุดที่สามารถได้รับการตรวจคัดกรองโรคในแต่ละวันได้

ทั้งนี้ ผู้เสียชีวิต 4 ใน 6 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว หรือทั้งสองปัจจัย

· รัฐจอร์เจียแห่งสหรัฐฯประกาศพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2 รายแรก ซึ่งเป็นคนจากครอบครัวเดียวกัน โดยมีคนหนึ่งที่เคยเดินทางไปยังกรุงมิลาน ประเทศอิตาลี

· เกาหลีใต้รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่ออกมาเพิ่มขึ้น 600 ราย ทำให้ยอดรวมของประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 4,812 ราย ขณะที่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 6 ราย ยอดรวมจึงเป็น 28 ราย

· เมืองเซี่ยงไฮ้ประกาศให้ผู้ใดก็ตามที่เดินทางมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสในระดับสูง ต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคและถูกกักบริเวณเพื่อสังเกตุอาการเป็นเวลา 14 วัน

นอกจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ทางมณฑลกวางตุ้งและฮ่องกงก็มีการประกาศมาตรการในลักษณะเดียวกันออกมาในวันนี้

· ผู้อำนวยการองค์กรอนามัยโลก มีความเห็นว่าการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่มีอัตราการระบาดในต่างประเทศรวมมากกว่าในประเทศจีนเกือบ 8 เท่าในระยะเวลาเพียง 24 ช.ม. ที่ผ่านมา ดังนั้นการระบาดของเชื้อไวรัสตัวนี้จึงมีความเสี่ยงในระดับโลก

ขณะที่เกาหลีใต้ อิตาลี อิหร่าน และญี่ปุ่น เป็นประเทศที่น่าเป็นห่วงที่สุดสำหรับสถานการณ์การระบาด ณ ปัจจุบัน แต่ก็มีข่าวที่ค่อนข้างดีอย่างการรัฐบาลเกาหลีใต้พยายามดำเนินการอย่างหนักเพื่อควบคุมการระบาด และมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

· นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวว่ารัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมที่จะออกนโยบายการใช้จ่ายเพิ่มเติม หากมีความจำเป็นสำหรับการปกป้องเศรษฐกิจจากผลกระทบของไวรัสโคโรนา โดยในช่วงสัปดาห์ถัดไป รัฐบาลจะหันมาความสำคัญกับการควบคุมการระบาดภายในประเทศอย่างเต็มที่ ท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อในญี่ปุ่นที่สูงขึ้นเกือบถึง 1,000 ราย และเสียชีวิตไปแล้ว 12 ราย

· การแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา ในประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่นอาจเป็นผลกระทบลูกที่สองของการหยุดชะงักในโรงงานของจีน หลังจากที่ภาคการผลิตหดตัวเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือนที่ผ่านมา

กรณีของการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวได้เพิ่มสูงขึ้นในเกาหลีใต้และญี่ปุ่นทำให้ผู้ผลิตบางรายต้องหยุดดำเนินการบางส่วนและยอมเสี่ยงลดการจัดหาชิ้นส่วนอะไหล่ที่มาจากโรงงานในจีนระหว่างที่พวกเขากำลังเริ่มกลับมาดำเนินงานใหม่อีกครั้ง

โดยประเทศจีนซึ่งเป็นศูนย์กลางของการแพร่ระบาดของไวรัส พบว่ามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงอย่างมาก และทางการอนุญาตในด้านการเดินทางและเปิดใช้งานบางธุรกิจอีกครั้ง

แต่การนำเข้าจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่ตอนนี้ประสบปัญหาการระบาดของไวรัสโคโรนาอยู่ มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจการผลิตของจีน โดยเฉพาะการผลิตและประกอบสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

· ไม่ใช่แค่หน่วยงานของ OECD ที่เป็นรายแรกในการปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจ แต่บรรดาผู้นำทางการเงินในกลุ่ม G20 ก็ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการกล่าวเตือนถึงเศรษฐกิจที่จะเผชิญกับปัญหาด้านกลยุทธ์และความเปราะบางของทุกภาคส่วนที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในส่วนของห่วงโซ่อุปทาน

โดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังฝรั่งเศส กล่าวเมื่อวานนี้ว่า จะเห็นได้ชัดถึงอุปสรรคต่อห่วงโซ่อุปทานที่กำลังดำเนินไปในต่างประเทศและจีน ดังนั้น ฝรั่งเศสจะทำการปรับทบทวนข้อมูลภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดที่ได้รับผลจากห่วงโซ่อุปทานที่กำลังดำเนินไปเพื่อประเมินถึงแนวทางการหากลยุทธ์ที่เหมาะสมกับภาคธุรกิจ

· ตลาดจับตาการประชุม G7 ฉุกเฉินคืนนี้

ตลาดจะให้ความสนใจไปยังการประชุมฉุกเฉินของบรรดาผู้นำทางการเงินจากประเทศกลุ่ม G7 เพื่อหารือเกี่ยวกับความเสี่ยงของไวรัสโคโรนาที่มีต่อเศรษฐกิจ นำโดยนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีการคลังสหรัฐฯ และนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ที่จะจัดการประชุมทางโทรศัพท์ขึ้นในคืนนี้ เวลา 19.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

ทั้งนี้ ทาง FX Street คาดว่าจะไม่มีความเคลื่อนไหวสำคัญใดๆออกมาจากการประชุมครั้งนี้ นอกเหนือไปจากการที่ทุกฝ่ายตกลงที่จะใช้เครื่องมือทุกอย่างที่มีเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ แต่การที่ประเทศแนวหน้ามีมุมมองที่สอดคล้องกัน รวมถึงการตกลงที่จะให้ความร่วมมือกัน จะเป็นปัจจัยที่สามารถฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาดขึ้นมาได้อย่างแข็งแกร่ง

· แหล่งข่าววงในของ Reuters เผย ร่างถ้อยแถลงของที่ประชุม G7 มีการกล่าวถึงการให้ความร่วมมือกันเพื่อข่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แต่ร่างถ้อยแถลงดังกล่าวไม่ได้ระบุถึงรายละเอียดใดๆเกี่ยวกับการใช้จ่ายของภาครัฐหรือการร่วมมือกันปรับลดภาษีของแต่ละธนาคารกลางแต่อย่างใด

· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ทวีตข้อความเรียกร้องให้เฟดพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นปัจจัยที่กำลังกดดันการส่งออก และทำให้สหรัฐฯเสียเปรียบประเทศอื่นๆ

· ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศลดดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.50% เพื่อรับมือกับความเสี่ยงของโคโรนาไวรัส

· บริษัท Foxconn ที่เป็นซัพพลายเออร์ของ Apple ประกาศว่าจะสามารถกลับมามีกำลังการผลิตในระดับปกติได้ภายในเดือน มี.ค. นี้ ขณะที่แรงงานมากกว่าครึ่งในโรงงานภายในประเทศจีนเริ่มกลับมาทำงานหลังหยุดยาวไปเนื่องจากการะบาดของไวรัสโคโรนาแล้ว

· ราคาน้ำมันปรับขึ้นต่อเป็นวันที่ 2 ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่าบรรดาธนาคารกลางทั่วโลกจะพิจารณาออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา รวมถึงกระแสคาดการณ์ว่ากลุ่มโอเปกจะประกาศลดกำลังการผลิตลงมากกว่าเดิมในการประชุมสัปดาห์นี้

ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 2.4% หรือ 1.26 เหรียญ แถวระดับ 53.16 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 2.7% หรือ 1.24 เหรียญ แถวระดับ 47.99 เหรียญ/บาร์เรล

ราคาน้ำมันดิบ Brent และ WTI สามารถรีบาวน์ขึ้นมาได้บางส่วน หลังจากที่ปรับร่วงลงไปมากถึง 20% จากระดับสูงสุดของปี 2020 ที่ขึ้นไปได้ในเดือน ม.ค. เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสเป็นปัจจัยที่กดดันปริมาณอุปสงค์ในน้ำมัน

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com