• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563

    24 กุมภาพันธ์ 2563 | Economic News

· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา






รายงานล่าสุดเมื่อวันเสาร์พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาเพิ่มขึ้นแตะ 2,456 ราย และผู้ติดเชื้อทั่วโลกกว่า 78,442 ราย และการติดเชื้อล่าสุดกระจายสู่ 33 ประเทศทั่วโลก และเรือสำราญ Diamond Princess อีก 1 ลำที่เทียบท่าที่เมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น

ทางด้านตุรกี ปากีสถาน และอาร์เมเนียมีการปิดพรมแดนอิหร่าน หลังมีรายงานการพบผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ทางด้านประเทศอัฟกานิสถานประกาศมาตรการควบคุมการเข้าเมือง หลังจากอิหร่านพบผู้ติดเชื้อ 43 ราย และเสียชีวิต 8 ราย

ขณะที่อิตาลีและเกาหลีใต้ก็เป็นอีก 2 ประเทศที่น่าเป็นห่วงรองจากจีนและอิหร่าน หลังพบผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกาหลีใต้ประกาศยกระดับการเตือนภัยขั้นสูงสุด หลังจากพบผู้ติดเชื้อ 602 ราย และมีการเสียชีวิต 5 ราย ด้านอิตาลีติดเชื้อ 132 ราย และเสียชีวิต 2 ราย จึงทำให้รัฐบาลต้องมีการประกาศมาตรการจำกัดการควบคุมการแพร่ระบาด ในส่วนของญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อ 130 ราย และเสียชีวิต 4 ราย



- นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน กล่าวว่า จีนจะเดินหน้าปรับนโยบายให้เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเวลานี้ ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่พยายามควบคุมสถานการณ์ เพราะคาดว่าการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวจะสร้างความเสียหายต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรก

ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีน มีแนวโน้มจะเพิ่มมาตรการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มการอัดฉีดสภาพคล่อง การปรับลดค่าใช้จ่ายของกองทุนภาคบริษัท เป็นต้น

- เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอาวุโสของจีน ระบุว่า ผลกระทบของไวรัสโคโรนาต่อเศรษฐกิจจีนน่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้นๆ และเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากจีนยังคงมีความมั่นใจเต็มกำลังว่าจะเอาชนะการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นได้ พร้อมกันนี้ธนาคารกลางจีนจะหาเครื่องมือต่างๆมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและยังคงแนวทางการดำเนินนโยบายในลักษณะผ่อนคลายทางการเงินเอาไว้

- หลังจบการประชุม G20 นายสตีเวน มูนชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ กล่าวว่า ธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกมีแนวโน้มจะหามาตรการหรือทางเลือกในการรับมือกับการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสโคโรนาหากจำเป็น ซึ่งในเวลานี้ยังคงเร็วเกินไปที่จะคาดการณ์ถึงผลกระทบระยะยาวจากผลของไวรัสดังกล่าว ซึ่งอาจต้องรอดูสถานการณ์อีก 3-4 สัปดาห์จากนี้

- การประชุมผู้นำทางการเงินระดับสูงทั่วโลกอย่าง G20 ดูจะให้ความสำคัญต่อเรื่องผลกระทบของไวรัสโคโรนาที่จะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก และจะมีหามาตรการรับมือต่างๆหากจำเป็น ท่ามกลางการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินในปัจจุบันและภาวะตึงเครียดทางการค้าที่ผ่อนคลายมากขึ้นที่จะทำให้ทิศทางเศรษฐกิจในปี 2020 และ 2021 นั้นฟื้นตัวขึ้นได้

ขณะเดียวกันบรรดาผู้นำทางการเงินและธนาคารกลางต่างๆ รวมทั้งไอเอ็มเอฟ ต่างปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงอีก 0.1% ในส่วนของจีนคาดจะอ่อนตัวลงจากคาดการณ์เดิมในเดือนม.ค.อีก 0.4% สู่ระดับ 5.6% ขณะที่ญี่ปุ่นเรียกร้องให้มีการเพิ่มมาตรการทางการเงินเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฟื้นตัวจากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจโลก ที่ได้รับผลกระทงบจากไวรัสโคโรนาเป็นสำคัญ

- ไอเอ็มเอฟ ระบุว่า การแพร่ระราดของไวรัสโคโรนาในจีนมีแนวโน้มจะสร้างผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งหากสามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วก็มีแนวโน้มที่จะเตรียมรับมือกับผลกระทบที่จะตามมาได้มากขึ้น พร้อมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันเพื่อดำเนินการควบคุมประชาชนและป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจจากไวรัสที่เกิดขึ้น

- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของซาอุดิอาระเบีย เห็นพ้องกับที่ประชุม G20 ในการเฝ้าจับตาความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาและการปรับนโยบายต่างๆให้เหมาะสมเพื่อจำกัดผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก

- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของฝรั่งเศส คาดว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวจะปรับตัวลง 30 – 40% เป็นอย่างน้อยจากการแพร่ระบาดของไวรัสในปัจจุบัน ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวคิดเป็นร้อยละ 8% ของจีดีพีประเทศ

- นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการบีโอเจ กล่าวว่า เตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบจากไวรัสโคโรนาอย่างเต็มรูปแบบเพื่อป้องกันการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และจะไม่ลังเลหากต้องเดินหน้าผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมหากจำเป็น ขณะเดียวกันทางบีโอเจยังคงคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในรัดบปานกลาง และคาดว่าจะเห็นเศรษฐกิจโลกสามารถรีบาวน์ได้ในช่วงกลางปีนี้

นอกจากนี้ ผู้ว่าการบีโอเจยังมีการกล่าวถึงการอ่นอค่าของค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ท่ามกลางตลาดที่ลดความสนใจต่อมุมมองการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างของไวรัสโคโรนาที่ดูจะทำให้เม็ดเงินทุนต่างๆไหลออกจากเอเชีย

· นางลาเอล เบรนาร์ด ผู้ว่าการเฟด กล่าวว่า สำหรับภาวะขาลงต่อไปของเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่เฟดและธนาคารกลางอื่นๆอาจจำเป็นต้องรับมือครั้งใหญ่ในเร็วๆนี้ และอาจใช้มาตรการที่มีความเข้มงวดมากขึ้นหรือการจัดการความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดภาวะเงินฝืดหรือสถานการณ์ที่เลวร้ายกว่านี้

· ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินส่วนใหญ่ หลังจากที่ข้อมูล PMI แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมภาคธุรกิจของสหรัฐฯในกลุ่มภาคการผลิตและบริการชะลอตัวในเดือนก.พ. ขณะเดียวกันกลุ่มนักลงทุนมีความกังวลต่อภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

สถาบัน HIS Markit เผยว่า ดัชนีภาคบริการ PMI ลดดลงไป 49.4 จุดในเดือนนี้ ซึ่งถือเป็นระดับชะลอตัวลงมากที่สุดตั้งแต่ต.ค. ปี 2013 และภาคส่วนดังกล่าวคิดเป็น 2 ใน 3 ของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ดูจะสะท้อนถึงการหัดตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016

ขณะที่ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าเล็กน้อย 0.68% จากกิจกรรมภาคธุรกิจในยูโรโซนปรับขึ้นเกินคาดในเดือนก.พ. ประกอบกับตลาดตอบรับข่าวที่ว่าเจ้าหน้าที่อีซีบีกำลังพยายามที่จะหามาตรการฟื้นเศรษฐกิจ รวมทั้งเงินเฟ้อในระดับต่ำ

ดัชนีดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงมาแตะ 99.428 จุด จากระดับสูงสุดในสัปดาห์ที่แล้วบริเวณ 99.9 จุด ด้านเงินเยนอ่อนค่าขึ้นไปอีกแตะ 111.5 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 110.4 เยน/ดอลลาร์

สำหรับตัวแทนผู้ท้าชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯจากพรรคเดโมแครต มีแนวโน้มว่าจะเป็น นายเบอร์นีย์ แซนเดอร์ส เนื่องจากล่าสุดเขาสามารถคว้าชัยชนะได้เกินครึ่งจากเขตรัฐเนวาดา และดูจะเหลืออีกเพียง 15 เขตสำคัญในช่วง 10 วันสำหรับการหาตัวแทนผู้ท้าชิงดังกล่าว

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงประมาณ 1% ท่ามกลางความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับภาวะอุปสงค์น้ำมันที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลกจากไวรัสโคโรนา ขณะที่กลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตรดูจะไม่เร่งจำกัดการผลิตใดๆ

น้ำมันดิบ Brent ร่วงลกว่า 2% ในช่วงการซื้อขายก่อนจะปิดปรับลง 81 เซนต์ หรือคิดเป็น -1.4% ที่ 58.5 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้านน้ำมันดิบ WTI ปิดปรับลง 50 เซนต์ หรือ -0.9% ที่ 53.38 เหรียญ/บาร์เรล

ทั้งนี้ น้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิด ยังปรับตัวรายสัปดาห์ได้ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 โดยน้ำมันดิบ Brent ปิดรายสัปดาห์ที่ +2% และ WTI ปิด +2.6%

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com