• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563

    20 กุมภาพันธ์ 2563 | Economic News

· รายงานจาก Financial Times เผยว่า ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นแตะ 75,000 ราย โดยล่าสุดอยู่ที่ 75,147 ราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มมาที่ 2,007 ราย จากระดับ 2,004 รายในวันก่อน




· ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้นใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีเมื่อเทียบกับค่าเงินในกลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่เยนอ่อนค่ามากสุดรอบ 9 เดือน โดยตลาดตอบรับข่าวที่จำนวนการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาชะลอตัวลง โดยมีอัตราผู้ติดเชื้อลดลงนับตั้งแต่ 29 ม.ค. ประกอบกับจีนจะเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังรายงานจาก Bloomberg เผยถึงข้อมูลวงในที่พบว่าทางการจีนกำลังมีการพิจารณาจะอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อช่วยเหลือสายการบินต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส จึงช่วยหนุนความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง


นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์ยังได้รับปัจจัยบวกจากการที่เฟดยังคงดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนทิศทางเศรษฐกิจปีนี้ ประกอบกับข้อมูลยอดก่อสร้างบ้านสหรัฐฯแม้จะออกมาแย่ลงกว่าที่คาดในเดือนม.ค. เล็กน้อย แต่ยอดขออนุมัติก่อสร้างบ้านกลับเพิ่มขึ้นใกล้ระดับสูงสุดรอบเกือบ 13 ปี จึงยังบ่งชี้ถึงภาวะตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังคงแข็งแกร่ง รวมทั้งดัชนี PPI สหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้นในรอบกว่า 1 ปีในเดือนที่แล้ว


ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.24% ที่ 99.688 จุด ซึ่งเป็นสูงสุดตั้งแต่ 12 พ.ค. ปี 2017 ด้านค่าเงินเยนอ่อนค่าไป 0.96% ที่ 110.91 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นอ่อนค่ามากที่สุดตั้งแต่พ.ค. ปีที่แล้ว


ค่าเงินยูโรร่วงลงหลุด 1.08 ดอลลาร์/ยูโร ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจยูโรโซนโดยเฉพาะเยอรมนีออกมาอ่อนแอ และเงินปอนด์เคลื่อนไหวต่ำกว่า 1.30 ดอลลาร์/ปอนด์ เนื่องจากอตลาดให้ความสำคัญกับการเจรจาของอังกฤษและอียูเกี่ยวกับแผนกาะตุ้นค่าใช้จ่าย

· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปรับตัวลงแตะ 1.558% จาก 1.564% หลังทราบรายงานปรชุมเฟด

· รายงานประชุมเฟดเดือนม.ค. สะท้อนว่า บรรดาสมาชิกเฟดมีท่าทีระมัดระวังต่อมุมมองเชิงบวกที่จะส่งผลต่อการคงดอกเบี้ยในปีนี้ โดยพวกเขาต่างตระหนักดีถึงความเสี่ยงใหม่ๆที่กำลังเข้ามา อันหมายรวมถึงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาด้วย ขณะที่ในปีนี้ค่อนข้างแน่ชัดว่าหลังจากที่เฟดปรับลดดอกเบี้ยในปีที่แล้วมากถึง 3 ครั้ง ปีนี้ก็เลือกจะคงดอกเบี้ยมากกว่า เว้นเสียว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

ขณะที่โดยองค์รวม สมาชิกเฟดระบุถึงการดำเนินนโยบายที่เหมาะสม และมีมุมมองเชิงบวกต่อค่าใช้จ่ายผู้บริโภคสหรัฐฯที่ยังอยู่ในระดับสูง ควบคู่กับการผ่อนคลายความตึงเครียดทางการค้าและการผ่อนคลายเงื่อนไขทางการเงินที่ยังเป็นมุมมองบวกต่อเขา แต่ระยะยาวก็อาจมีการประเมินต่อมุมมองเศรษฐกิจโลกอีกครั้งจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาที่มีจุดเริ่มต้นมาจากจีน


- สมาชิกเฟดอาวุโสกล่าวว่ามีแนวโน้มจะสิ้นสุดการปล่อยกู้ระยะยาวแก่ภาคธนาคารหลังจากเดือนเม.ย. เป็นต้นไป โดยเฟดจะหาวิธีในการทยอยปรับลดการสนับสนุนตลาดการเงินดังกล่าว ทั้งในเรื่องของ Repeurchase และ Repo Rate รวมทั้งค่อยๆชะลอการขยายงบดุลของเฟด

- นายนีล คาร์ชคาริ ประธานเฟดสาขามินนีแอโพลิส กล่าวว่า เฟดมีแนวโมจะคงดอกเบี้ยไปจนถึงช่วงกลางปีนี้ แต่อาจจะมีการปรับลดอีกครั้งหลังจากนั้น โดยมาจากไวรัสโคโรนาที่ดูจะสร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯได้ ดังนั้นในภาพรวมช่วง 3-6 เดือนนี้ เฟดน่าจะยังไม่ทำอะไร แต่หากมีความเสี่ยงขาลงมากกว่าขาขึ้น ก็อาจยุติการคงดอกเบี้ย เนื่องจากภาวะการชะลอตัวทั่วโลกมีผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และนั่นอาจจำเป็นต้องใช้การปรับลดดอกเบี้ย

· Bank of America Corp กล่าวย้ำถึงความเป็นไปได้ที่ระดับดอกเบี้ยติดลบในสหรัฐฯจะสร้างความเสี่ยงต่อภาคธุรกิจในสหรัฐฯ

· รายงานจาก CNBC เผยร่างข้อมูลการประชุม 22-23 ก.พ.นี้ ของกลุ่มผู้นำทางการเงินทั่วโลกหรือกลุ่ม G20 ที่มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มมุมมองการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้า แต่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาก็ดูจะเป็นความเสี่ยงขาลงต่อการเติบโตได้ เนื่องจากส่งผลต่อภาคการท่องเที่ยวและการพาณิชย์

อย่างไรก็ดี ภาพรวมการเติบโตทางเศรษฐกิจพบว่ามีเสถียรภาพตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2019 จึงคาดว่าปี 2020 และ 2021 จะฟื้นตัวได้ในระดับปานกลาง อันเนื่องจากการผ่อนปรนเงื่อนไขทางการเงินต่อเนื่อง รวมทั้งการผ่อนคลายในเรื่องสงครามการค้า แต่ภาวะความเสี่ยงขาลงก็ยังคงมีอยู่ ทั้งจากผลกระทบของไวรัสโคโรนา, ความตึงเครียดทางการเมือง และความไม่แน่นอนในการดำเนินนโยบายต่างๆ ดังนั้น ร่างดังกล่าวที่ถูกเปิดเผยล่าสุดนี้จึงมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ก่อนการประชุมในวันเสาร์-อาทิตย์นี้

· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับขึ้นกว่า 2% ท่ามกลางภาวะคลายกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในจีน ท่ามกลางภาวะอุปทานที่ตึงตัว และสหรัฐฯมีการขึ้นบัญชีดำบริษัทน้ำมันรัฐวิสาหกิจพลังงานรายใหญ่ของรัสเซีย หลังพบว่ามีการช่วยเหลือรัฐบาลเวเนซุเอลา



น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 1.37 เหรียญ หรือ +2.4% ที่ 59.12 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้าน WTI ปิดปรับขึ้น 1.24 เหรียญ หรือ +2.4% ที่ 53.29 เหรียญ/บาร์เรล

แม้จะมีข้อมูลบ่งชี้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาชะลอตัวลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 แต่องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็กล่าวว่ามันยังไม่เพียงพอที่จะทราบว่าการแพร่ระบาดนั้นควบคุมได้

ทางการจีนถูกคาดว่าจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในวันนี้ เพื่อจำกัดความเสียหายในภาคธุรกิจที่ปิดทำการและมาตรการควบคุมการเข้าออกประเทศ

สถาบัน S&P Global Ratings คาดว่า ไวรัสโคโรนาอาจส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นการชั่วคราวในระยะสั้นๆในช่วง Q1/2020 สอดคล้องกับคาดการณ์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ หรือ IEA



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com