• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563

    19 กุมภาพันธ์ 2563 | Economic News

· ค่าเงินเยนอ่อนค่าหลังจีนรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ออกมาลดลง ท่ามกลางการที่รัฐบาลจีนพยายามควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดมีความมั่นใจมากขึ้นว่าอัตราการติดเชื้อเริ่มที่จะชะลอตัวลง

ในขณะที่รายงานจาก Bloomberg ระบุว่ารัฐบาลจีนกำลังพิจารณาอัดฉีดเม็ดเงินให้กับสายการบินที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส จึงเป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงวันนี้

ค่าเงินเยนอ่อนค่า 0.2% แถว 110.05 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินยูโรทรงตัวแถว 1.08 ดอลลาร์/ยูโร หลังอ่อนค่าลงมาทำระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีเมื่อคืนนี้

ด้านค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์และออสเตรเลียต่างอ่อนค่าลงค่าเงินละ 0.1%

ตลาดจะจับตารายการการประชุมเฟดวาระวันที่ 28-29 ม.ค. ที่จะเปิดเผยในคืนนี้ เพื่อวิเคราะห์มุมมองของเฟดที่มีต่อการระบาดของไวรัส


· นักวิเคราะห์จาก Commerzbank คาดการณ์ว่า ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่าลงทดสอบแนวรับสำคัญที่ระดับ 1.0763 ดอลลาร์/ยูโร และค่าเงินจะฟื้นตัวได้หลังลงทดสอบระดับดังกล่าว แต่ยังไม่มีแนวโน้มที่ค่าเงินจะฟื้นตัวได้ในระยะสั้นๆนี้





· รายงานจาก DailyFX ระบุว่า ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯล่าสุดที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่ว่าจะเป็น CPI และ Core CPI โดยจะเห็นได้ว่าภาพรวมเงินเฟ้อรายปีปรับขึ้นมาสูงกว่าปีที่แล้วที่ระดับ 2.5% จึงเป็นสัญญาณว่าตอบรับได้ดีกับนโยบายปรับลดดอกเบี้ยของเฟดในปีที่แล้ว

แต่ท่าทีของเฟดก็ดูจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์ไม่ได้ตอบรับอะไรกับข้อมูลดังกล่าวมากนัก เนื่องจากมีโอกาสเพียง 14% ณ เวลาที่วิเคราะห์ที่เฟดจะไม่ทำการปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มในช่วงสิ้นปีนี้ ขณะที่ภาพรวมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีการปรับขึ้นได้บ้างจากที่ร่วงลงไป

หากถามว่าดัชนีดอลลาร์นั้นมีความแข็งแกร่งหรือไม่ ก็มีแนวโน้มจะปรับแข็งค่าขึ้นได้ต่อ แม้ว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยโดยปราศจากข้อมูลใดๆมาสนับสนุน ซึ่งดอลลาร์มีการทำสูงสุดในรอบ 4 เดือนครึ่ง และมีการทดสอบแนวต้านที่ 99.67 จุด ซึ่งเป็นสูงสุดในรอบ 2 ปี โดยหากผ่านระดับนี้ไปได้ มีโอกาสเห็นดอลลาร์ปรับทดสอบแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยาบริเวณ 100 จุดได้ ซึ่งระดับนี้ก็ยังคงเป็นระดับแนวต้านที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง



สถานการณ์ไวรัสโคโรนา


· Morgan Stanley คาดเศรษฐกิจจีนชะลอตัว 3.5% จากปัญหาไวรัส

นักวิเคราะห์จาก Morgan Stanley ประเมินว่าเศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงที่จะชะลอการเติบโตลงอย่างมากที่สุดที่ระดับ 3.5% เฉพาะสำหรับไตรมาสที่ 1/2020 หากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาได้รวดเร็วพอที่จะช่วยอุตสาหกรรมกลับมาดำเนินงานในระดับปกติได้โดยเร็ว

ทั้งนี้ ทาง Morgan Stanley ยังคาดว่าอัตราการผลิตของภาคอุตสาหกรรมจีนจะสามารถดำเนินการได้เพียง 60-80% ของอัตราการดำเนินงานตามปกติ และฟื้นกลับมา 100% ได้ภายในเดือน มี.ค. แต่ก็ได้เตือนว่าการระบาดของไวรัสยังมีความไม่แน่นอนอีกมาก



· รายงานจาก WHO ระบุว่า ยังไม่พบการติดเชื้อไวรัสโคโรนาภายในเกาหลีเหนือ แม้รายงานจากทางเกาหลีใต้ระบุว่าเชื้อไวรัสได้ระบาดเข้าสู่เกาหลีเหนือแล้วก็ตาม



· ทีมนักวิเคราะห์จากสถาบัน Raymond James มีมุมมองว่ารัฐบาลจีนตอบสนองต่อการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาค่อนข้างช้า และเปรียบเทียบได้กับกรณีของเมืองเชอร์โนบิลในสมัยสหภาพโซเวียต ซึ่งหมายความว่าการระบาดของเชื้อไวรัสและผลกระทบต่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะย่ำแย่ลงไปมากกว่านี้ และมีมุมมองว่าตลาดกำลังประเมินผลกระทบของเชื้อไวรัสค่อนข้างดีกว่าแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นจริง



· ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) เปิดเผยว่า สหรัฐฯไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารหรือลูกเรือจากเรือสำราญ Diamond Princess ที่ได้รับการกักตัวในญี่ปุ่น เดินทางกลับเข้าสหรัฐฯเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน ขณะที่ยังมีผู้โดยสารตกค้างอยู่เรือลำดังกล่าว รวมถึงผู้ที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลของญี่ปุ่น

โดยผู้โดยสารทั้งหมดจะต้องรอให้ผ่านระยะเวลา 14 วันหลังออกจากเรือ จึงจะเดินทางเข้าสหรัฐฯได้ ซึ่งจะต้องไม่มีอาการป่วย หรือติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

ทั้งนี้ CDC ระบุว่า แม้จะมีการกักตัวบนเรือสำราญแล้ว แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่เชื้อจะแพร่จากคนสู่คนได้ และสหรัฐฯมองว่าอัตราการติดเชื้อบนเรือยังคงอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยง



· ยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักรในประเทศญีปุ่นปรับลดลงด้วยอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2018 และเป็นการชะลอตัวติดต่อกัน 14 เดือน ท่ามกลางผลกระทบจากไวรัสโคโรนาและการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มของรัฐบาลเมื่อปีก่อน

โดยยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักรเดือน ม.ค. ประกาสออกมาลดลง 2.6% น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 6.9% เทียบกับในเดือน ธ.ค. ที่ลดลง 6.3% ท่ามกลางคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯที่ลดลง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มยานยนต์และเครื่องจักรสำหรับการขุดเจาะ



· สภาอุตสาหกรรมและการพาณิชย์แห่งเยอรมนี (DIHK) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเยอรมนีปีนี้จะขยายตัวได้ 0.7% เร็วขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 0.6% ของปี 2019 โดยที่ภาคการส่งออกจะยังเผชิญแรงกดดันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภาวะ Brexit



· ทรัมป์เผย สหรัฐฯ-อินเดียกำลังร่วมมือทำข้อตกลงครั้งใหญ่

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เปิดเผยว่าสหรัฐฯและอินเดียกำลังร่วมมือกันเพื่อจะที่สร้างข้อตกลงทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมา แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถทำให้สำเร็จได้ก่อนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือน พ.ย. ปีนี้หรือไม่

นายทรัมป์มีกำหนดเดินทางเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯและอินเดียต่างพยายามเจรจาเพื่อให้เกิดข้อตกลงฉบับชั่วคราว ที่จะมาช่วยให้สหรัฐฯสามารถเข้าถึงสินค้าในกลุ่มผลิตภันฑ์จากนมวัวและสัตว์ปีกของอินเดียมากขึ้น รวมถึงการลดภาษีสินค้าในกลุ่มอื่นๆ

แต่การเจรจาดังกล่าวยังคงไร้ความคืบหน้าที่สำคัญ และแผนเดินทางเยือนอินเดียของนายโรเบิร์ต ไรท์ไฮเซอร์ ตัวแทนการค้าสหรัฐฯ ก็ถูกยกเลิกออกไปก่อน บ่งชี้ถึงความยากลำบากของทั้ง 2 ฝ่ายในการเจรจาหาข้อตกลงทางการค้าก่อนหน้าการเดินทางของนายทรัมป์



· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้นติดต่อกัน 7 วันทำการ ท่ามกลางมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ชะลอตัวติดต่อกันเป็นวันที่ 2 และความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่เพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่สหรัฐฯทำการปรับลดน้ำมันดิบของเวเนซุเอลาในตลาดน้ำมันให้ลดลงกว่าเดิม

ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 51 เซนต์ หรือ 0.9% ที่ระดับ 58.26 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 55 เซนต์ หรือ 1.1% ที่ระดับ 52.60 เหรียญ/บาร์เรล

เศรษฐกิจจีนยังคงประสบความยากลำบาก ท่ามกลางการปิดเมืองสำคัญและคุมเข้มการเดินทางเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสที่มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 2,000 ราย แต่นักลงทุนยังคมมีมุมมองในเชิงบวกว่าเศรษฐกิจจะแย่แค่ช่วงระยะสั้นๆเท่านั้น

สถาบันจัดอันดับ S&P Global Ratings คาดการณ์ว่า ไวรัสโคโรนาอาจส่งผลกระทบครั้งใหญ่ ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนในระยะสั้น หรือในช่วงไตรมาสแรก

ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวขึ้นได้เกือบ 10% นับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่แล้วหลังไปทำต่ำสุดรอบหนึ่งปี โดยได้รับแรงหนุนจากการที่สหรัฐฯตัดสินใจเพิ่มบริษัท Russia's Rosneft ขึ้นบัญชีดำ หลังทีมบริหารทรัมป์ตัดสินว่าบริษัทดังกล่าวเตรียมช่องทางการเงินให้แก่รัฐบาลเวเนซุเอลา

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com