• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563

    14 กุมภาพันธ์ 2563 | Economic News



สถานการณ์ไวรัสโคโรนา



รายงานจาก CNN รายงานว่า สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุดพบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 116 ราย ส่งผลให้ยอดรวมผู้เสียชีวิตอยู่ทั่วโลกปรับขึ้นแตะ 1,486 ราย ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อพบว่าเพิ่มขึ้นอีกกว่า 4,823 ราย ปัจจุบันมียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกรวมทั้งสิ้น 65,191 ราย

- นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวว่า รัฐบาลจะทำการตัดสินใจเรื่องการอัดฉีดเม็เงิน 1.03 หมื่นล้านเยนเพื่อเป็นงบประมาณการต่อสู้กับไวรัสโคโรนา ขณะที่คณะทำงานพิเศษในการรับมือกับไวรัสโคโรนาอาจทำให้มีงบประมาณในการใช้จ่ายสูงถึง 1.53 หมื่นล้านเหรียญ

- รายงานจาก CNBC ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและคาดว่าการจองตั๋วเดินทางในช่วงเดือนมี.ค.และเม.ย. จะปรับตัวลดลงไปประมาณ 10.5% โดยไม่รวมการเดินทางไปและกลับจากจีนและฮ่องกง

ขณะที่วันที่ 9 ก.พ. ที่ผ่านมาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่พบข้อมูลยอดการจองการท่องเที่ยวในเดือนมี.ค.และเม.ย. ลดลง 17.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

- รายงานจากสมาคมภาคการผลิตกลุ่มรถยนต์ของจีน เปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นว่า ยอดขายรถยนต์ของจีนในเดือนม.ค.ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงไปประมาณ 18% อันเป็นผลตั้งแต่ช่วงที่รัฐบาลเริ่มต้นใช้มาตรการกักกันที่เข้มงวดในช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายของเดือน

- รายงานจากกระทรวงพลังงานสหรัฐฯหรือ IEA ระบุว่า อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกในไตรมาสแรกคาดว่าจะหดตัวลงในรอบกว่า 10 ปี โดยคาดว่า Q1/2020 อุปสงค์น้ำมันจะปรับลง 435,000 รายเมื่อเทียบกับปีก่อน อันได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนประสบภาวะ Shutdown รวมทั้งกระทบต่ออุปสงค์น้ำมัน

- Bank of America และมุมมองจากสถาบันวิจัย MetLife Investment Management กล่าวในเชิงเดียวกันว่า กองทุนตราสารหนี้ของตลาดเกิดใหม่ดูจะได้รับผลกระทบครั้งใหญ่จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่จะทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเสียหายจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวลดลง, การดำเนินนโยบายผ่อนคลายของบรรดาธนาคารกลางต่างๆทั่วโลก และอาจทำให้การเลือกลงทุนในกองทุนดังกล่าวเป็นตัวเลือกที่ค่อนข้างแย่ จึงทำให้เราเห็นเม็ดเงินที่ไหลเข้าสู่กองทุนดังกล่าวปรับตัวลดลง ควบคู่กับมีเม็ดเงินไหลออกตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา

- นายแลรี่ คุดโลว์ ผู้อำนวยการคณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประจำทำเนียบขาว เผยว่า สหรัฐฯค่อนข้างผิดหวังกับแนวทางการรับมือของจีนกรณีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา จากที่ทีมบริหารของนายทรัมป์เคยมีความคิดว่าจีนมีความโปร่งใสมากขึ้น นอกจากนี้ สหรัฐฯยังผิดหวังต่อการที่จีนไม่ยอมตอบรับคำเชิญจากสหรัฐฯในการส่งทีมผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) เพื่อช่วยจีนรับมือกับการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น

- ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจาก Wharton Finance มีมุมมองว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะเป็นเรื่องง่ายที่ทำให้ดัชนีดาวโจนส์ไม่สามารถฝ่า 30,000 จุดไปได้ หากตลาดยังคงมีความไม่แน่นอนอย่างมาก

- หัวหน้าภาคส่วนกลุ่มธุรกิจของสหรัฐฯ แสดงความมั่นใจว่าจีนจะยังเดินหน้าทำตามข้อตกลงเฟสแรกในการเพิ่มกำลังการเข้าซื้อสินค้าและบริการของสหรัฐฯ แม้ว่าจะเผชิญกับวิกฤตไวรัสโคโรนาก็ตาม โดยภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 ก.พ. หรือวันเสาร์นี้ มีการระบุว่า จีนจะต้องทำการเข้าซื้อสินค้าสหรัฐฯเพิ่ม 7.7 หมื่นล้านเหรียญในปีนี้ และ 1.23 แสนล้านเหรียญในปี 2021

แต่เมื่อวานนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยของรัฐบาลจีน เผยคาดการณ์ที่ระบุว่า เศรษฐกิจจีนปีนี้จะได้รับผลกระทบเชิงลบจากการแพร่ระบาดของไวรัส โดยอาจหั่นจีดีพีลงไปถึง 1% และกำลังกดดันกระแสเงินสดในภาคบริษัทต่างๆที่อาจต้องเข้าซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ

สำนักงาน USCBC เผยว่า จำนวนสามาชิกภาคบริษัทกว่า 60 แห่งทำการร่วมสนับสนุนและบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ ประกอบด้วยหน้ากากอนามัยกว่า 2 ล้านชิ้น รวมทั้งอุปกรณ์จำเป็นแก่โรงพยาบาลต่างๆในอู่ฮั่น ไม่ว่าจะเป็นบริษัทประกันภัยอย่าง Chubb, บริษัทค้าปลีกอย่าง Walmart และ FedEx Corp ที่ให้การช่วยเหลือด้านการบริการค่วๆ

· ค่าเงินยูโรปรับตัวลงทำระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปีเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ จากความกังวลของตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในจีนที่ทำให้นักลงทุนเลือกเข้าถือครองค่าเงินดอลลาร์ โดยค่าเงินยูโรดิ่งลงทำต่ำสุดตั้งแต่ พ.ค. ปี 2017 ที่ระดับ 1.0835 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่หลุดแนวรับสำคัญที่เป็นจุดต่ำสุดเดิมเมื่อเดือนต.ค. บริเวณ 1.0877 ดอลลาร์/ยูโรลงมา ด้านดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้นแตะ 99.067 จุด หลังจากที่ไปทำต่ำสุดแนว 98.9 จุด และค่าเงินเยนแข็งค่าลงมาจากความกังวลล่าสุด โดยกลับแข็งค่าลงมาแถว 109.78 เยน/ดอลลาร์

นอกจากนี้ กระแสคาดการณ์เกี่ยวกับการที่บรรดาธนาคารกลางต่างๆจะเลือกคงดอกเบี้ย และเตรียมผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มหากไวรัสโคโรนาส่งผลเชิงลบกับเศรษฐกิจโลกเพิ่มเติม ประเด็นดังกล่าวแม้จะเป็นปัจจัยหนุนความต้องการในสินทรัพย์เสี่ยง แต่ก็อาจสร้างแรงเทขายในตลาดหุ้นได้เนื่องจากโดยภาพรวมเป็นผลลบในทางเศรษฐกิจ




· ผลการประกาศข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ หรือ CPI ประจำเดือนม.ค. พบว่าได้แรงหนุนจากค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในส่วนของค่าเช่าและสินค้าประเภทเสื้อหา จึงน่าจะหนุนให้เฟดปรับมุมมองว่าเงินเฟ้อน่าจะปรับขึ้นสู่เป้าหมาย 2% ได้

ทั้งนี้ ดัชนี Core CPI ขยายตัวได้ 0.2% ในเดือนม.ค. จากที่ขยายตัวได้ 0.1% ในเดือนธ.ค. ทางด้าน CPI อ่อนตัวลงเล็กน้อยมาที่ 0.1% จากเดิมที่ 0.2% ในเดือนธ.ค.

· ธนาคารกลางเม็กซิโกทำการปรับลดดอกเบี้ยลงติดต่อกันเป็นครั้งที่ 5 ในการประชุมเมื่อวานนี้ โดยปรับลดลงอีก 0.25% สู่ระดับ 7.0% ตามคาด ท่ามกลางสัญญาณชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อที่สูงเกินเป้า

· น้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่คาดหวังว่าบรรดากลุ่มโอเปกจะทำการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่ม จากคาดการณ์ที่ว่าอุปสงค์น้ำมันจะเผชิญกับผลกระทบเชิงลบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่จะทำให้การนำเข้าน้ำมันของจีนลดน้อยลง

น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 25 เซนต์ หรือ +0.5% ที่ 51.42 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้าน WTI ปิดปรับขึ้น 55 เซนต์ หรือ +1% ที่ระดับ 56.34 เหรียญ/บาร์เรล

ทั้งนี้ กลุ่มโอเปกคาดการณ์ว่า อุปสงค์น้ำมันปีนี้จะปรับตัวลง 200,000 บาร์เรล/วัน ดังนั้น จึงอาจเห็นกลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตรในนาม OPEC+ ทำการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com