• 5 กราฟที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บอบบางยิ่งกว่าสมัยซาร์สระบาด

    6 กุมภาพันธ์ 2563 | Economic News


ในขณะที่ทั่วโลกกำลังกังวลกับการระบาดของโรคปอดอักเสบที่มีต้นเหตุมาจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในประเทศจีน และถึงแม้รัฐบาลจีนจะมีมาตรการที่รัดกุมเพื่อจำกัดการระบาดของเชื้อไวรัส แต่นักวิเคราะห์บางส่วนมีมุมมองว่า ผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนาที่มีต่อเศรษฐกิจโลก อาจเลวร้ายยิ่งกว่าสมัยที่โรคซาร์สระบาดในปี 2003

โรคซาร์ส หรือ SARS (Severe Acute Respiratory Syndrome) เริ่มระบาดในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีนก่อนที่จะระบาดออกไปสู่ประเทศอื่นๆ คร่าชีวิตคนทั่วโลกไปกว่า 800 ชีวิต และกดดันให้เศรษฐกิจจีนชะลอการเติบโตลงไป 0.5 – 1% ในปี 2003

ขณะที่เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่เริ่มระบาดออกมาจากเมืองอู่ฮั่น เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจจีนเติบโตขึ้นอย่างมากและมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก ดังนั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจจีนก็จะส่งผลกระทบที่รุนแรงกว่าเดิมไปยังเศรษฐกิจโลก


5 กราฟดังต่อไปนี้ จะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนเปลี่ยนไปจากสมัยโรคซาร์สระบาดอย่างไร


เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2

นับตั้งแต่ปี 2003 เศรษฐกิจจีนเติบโตจากอันดับ 6 ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ตามสหรัฐฯมาติดๆ จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยผลักดันภายรวมเศรษฐกิจโลก ซึ่งทางองค์กร IMF ประเมินว่า เศรษฐกิจจีนเพียงเศรษฐกิจเดียวก็คิดเป็นการขยายตัวของ GDP ทั่วโลกไปแล้วกว่า 39%




นักเศรษฐศาสตร์และผู้บริหารจากธนาคาร DBS ของสิงคโปร์ ระบุว่า ณ ตอนนั้น ทั่วโลกแทบจะไม่รู้สึกอะไรเลย เมื่อเศรษฐกิจจีนชะลอการเติบโตลงไปกว่า 1% จากโรคซาร์ส โดยเศรษฐกิจโลกยังคงดำเนินต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่คราวนี้ เศรษฐกิจจีนคิดเป็น 1 ใน 5 ของทั้งโลก หากจีนชะลอการเติบโตลงเพียง 0.5% ทั่วโลกก็จะรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือน



ภาคบริการมีบทบาทสำคัญมากขึ้น

เมื่อกับโรคซาร์สเมื่อ 17 ก่อน การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาน่าจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคก่อนเป็นอันดับแรก แต่การชะลอตัวของภาคการบริโภคคราวนี้น่าจะรุนแรงยิ่งกว่าในปี 2003 ตามที่นักวิเคราะห์บางส่วนประเมินไว้ โดยเฉพาะหลังจากรัฐบาลจีนประกาศปิดเมืองหลายแห่งเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัส



การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลงจะกดดันการเติบโตของอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งปัจจุบันเป็นภาคธุรกิจที่มีส่วนแบ่งทาง GDP ของประเทศมากกว่าในปี 2003 ดังนั้น หากการใช้จ่ายของผู้บริโภคชะลอตัวก็จะยิ่งกดดันภาพรวมเศรษฐกิจจีนให้ชะลอตัวลงยิ่งกว่าในอดีต



การท่องเที่ยวต่างประเทศ

นักท่องเที่ยวชาวจีนมีการใช้จ่ายในต่างประเทศมากเป็นอันดับแรกๆของโลก โดยในปี 2014 นักท่องเที่ยวชาวจีนถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่สุดของธุรกิจการท่องเที่ยวในแต่ละประเทศ ขยับขึ้นจากอันดับ 7 ในปี 2003 ตามข้อมูลขององค์การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization)




หัวหน้าฝ่ายการลงทุนจาก UBS Global Wealth ระบุว่า การที่หลายๆประเทศประกาศปิดกั้นการเดินทางเข้า-ออกประเทศจีน รวมถึงการยกเลิกเที่ยวบินของสายการบินต่างๆ เพื่อช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส จะกลายเป็นปัจจัยที่กดดันเศรษฐกิจของหลายประเทศ โดยเฉพาะในทวีปเอเชียเกือบทุกประเทศ



ผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลก

ในการค้าขายระหว่างประเทศ ปริมาณอุปสงค์ที่มหาศาลในประเทศจีนได้ผลักดันให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีการนำเข้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก นับตั้งแต่ปี 2009 ตามข้อมูลขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization)


โดยจีนถือเป็นประเทศที่มีการนำเข้าสินค้าโภคภันฑ์อย่างน้ำมัน แร่เหล็ก และเมล็ดถั่วเหลือง ตลอดจนชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิคอย่างแผงวงจรไฟฟ้า มากเป็นอันดับแรกๆของโลก

ปริมาณอุปสงค์ในสินค้ากลุ่มดังกล่าวมีโอกาสปรับร่วงลงไปอย่างมาก ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งทางองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก หรือ โอเปก และประเทศพันธมิตรอย่างรัสเซีย ก็กำลังพิจาณณาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันลง ท่ามกลางผลกระทบที่น่าจะเกิดขึ้นกับปริมาณอุปสงค์ในน้ำมันจากประเทศจีน



ผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก

การแร่ระบาดของไวรัสอาจกระทบเศรษฐกิจโลกผ่านการส่งออกของจีนได้เช่นกัน



สถาบัน DBS ระบุว่า จีนถือเป็นประเทศที่มีการส่งออกมากที่สุดในโลกนับตั้งแต่ปี 2009 ขยับขึ้นจากอันดับ 4 ในปี 2003 ตามข้อมูลของ WTO ในขณะที่ต่างประเทศอย่างญี่ปุ่น หรือเวียดนาม “จำเป็นต้องพึ่งพากำลังการผลิตของประเทศจีนอย่างมาก” หมายความว่าประเทศเหล่านี้จำเป็นต้องพึ่งพาชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศจีน เพื่อนำมาผลิตสินค้าสำหรับการส่งออกของพวกเขา

ดังนั้น จึงไม่ใช่แค่เศรษฐกิจจีนและปริมาณอุปสงค์ที่จะชะลอตัวลงเท่านั้น แต่ประเทศที่จำเป็นต้องพึ่งพาจีนก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย


ที่มา: CNBC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com