• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563

    5 กุมภาพันธ์ 2563 | Economic News

· สถานการณ์โคโรนาไวรัส

- รายงานจาก New York Times เผยว่า ยอดผู้เสียชีวิตไม่มีท่าทีว่าจะปรับตัวลงเลยในกลุ่มของผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้นมาแล้วเกือบ 500 ราย ในช่วง 11 วัน โดยยังไมมีสัญญาณว่าจะชะลออัตราการเสียชีวิตได้

ซึ่งการแพร่ระบาดในครั้งนี้ เรียกได้ว่ามีจำนวนมากกว่าการแพร่ระบาดของไวรัสซาร์ส ในปี 2002-2003 ที่เกิดขึ้นในจีนเช่นกัน ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีผู้เสียชีวิตในจีนประมาณ 349 ราย

รายงานยืนยันจากคณะกรรมาธิการกระทรวงสาธรณสุขจีน เผยว่า มียอดผู้เสียชีวิตแล้ว 65 ราย และผู้ติดเชื้ออย่างเป็นทางการ 24,324 ราย

- นักวิเคราะห์บางส่วนเริ่มมีการประกาศปรับลดคาดการณ์จีดีพีจีนปี 2020 อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดอย่างหนักของไวรัสโคโรนา โดยที่จีดีพีจีนในปี 2019 อยุ่ที่ระดับ 6.1% ลดลงจาก 6.6% ในปีก่อน

* นักวิเคราะห์จาก ANZ หั่นคาดการณ์จีดนีพีจีนปีนี้ลงสู่ 5.8% ขณะที่จีดีพีไตรมาสแรกคาดจาก 5.9% จะเหลือเพียง 5.0% อันเนื่องจากกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมและภาคส่งออกจะปรับลดลง และลดลงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางกิจกรรมห่วงโซ่อุปทานในอู่ฮั่น ซึ่งเป็นศูนย์กลางภาคอุตสาหกรรมในจีนปิดทำการ

* นักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup คาดว่า จีดีพีจีนปีนี้จะชะลอตัวลงจากคาดการณ์เดิมที่ 5.8% ปรับลงสู่ 5.5%

* หน่วยงาน Economist Intelligence Unit (EIU) ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีนี้ลง 0.5 – 1% สู่ระดับ 5.9% หากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนามีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อเทียบกับ SARS ขณะที่มาตรการคุมเข้มด้านการท่องเที่ยวและการขนส่งดูจะเป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดดังกล่าวจะยิ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพให้แก่รัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งอาจเกิดการจำกัดงบประมาณการใช้จ่ายภายในพื้นที่ได้ โดยแผนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆก็อาจไม่เพียงพอช่วยหนุนเศรษฐกิจได้

* สถาบัน Mcquarie ปรับลดคาดการณ์จีดีพีจีนไตรมาสแรกลงจากคาดการณ์เดิมที่ 5.9% โดยปรับลงมาที่ 4% และหั่นคาดการณ์จีดีพีปี 2020 จาก 5.9% ลงสู่ระดับ 5.6% โดยแนวโน้มปีนี้ดูจะค่อนข้างย่ำแย่ก่อนจะฟื้นตัวขึ้น

* Mizuho ปรับลดคาดการณ์จีดีพีจีนจาก 5.9% สู่ 5.6% ขณะที่ช่วงไตรมาสแรกคาดจะเคลื่อนไหวในกรอบ 4.8 – 5.2% ก่อนจะฟื้นตัวได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี ที่ 5.8 – 6.3%

* Moody’s คงคาดการณ์จีดีพีจีนปีนี้ไว้ที่ระดับ 5.8% แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตามผลกระทบของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลร้ายต่อกระทบการอุปโภคบริโภค จึงจะช่วยชดเชยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ

* บรรดานักเศรษฐศาสตร์ Natixis ปรับลคาดการณ์จีดีพีจีนจาก 5.7% ลดเหลือ 5.5% โดยจากประสบการณ์เรื่อง SARS ที่เคยเกิดขึ้น จะเห็นว่าภาคบริการมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบสูงกว่าภาคการผลิต โดยเฉพาะภาคการขนส่งซึ่งเป็นส่วนสำคัญในกลุ่มบริการ และนั่นจะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ผลกระทบจากไวรัสโคโรนาดูจะทำให้เศรษฐกิจจีนอ่อนแอกว่ากรณีที่เคยเกิดขึ้นของ SARS

* Nomura คาดจีดีพีจีนปี 2019 จะทรงตัวที่ 6.1% แต่ผลกระทบที่จะตามมาจากกรณีไวรัสโคโรนาก็ดูจะเลวร้ายกว่าไวรัสซาร์สที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2002-2003

ที่ปรึกษาด้านการลงทุนจาก Richard Bernstein กล่าวว่า ปัญหาไวรัสโคโรนาดูจะสร้างความวิตกกังวลไปทั่ว และน่าจะทำให้จีดีพีจีนช่วงไตรมาสแรกออกมาไม่ดีนัก รวมไปถึงโอกาสจะกระทบต่อจีดีพีไตรมาสที่ 2 และผลประกอบการบริษัทต่างๆ ซึ่งอาจนำมาซึ่งมาตรการทางการเงินและการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม แต่หากสามารถควบคุมไวรัสดังกล่าวได้ ก็อาจเห็นจีดีพีจีนกลับมาเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งมากขึ้นในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า

* Vanguard คาดจีดีพีจีนจะยังขยายตัวได้ 5.8% ในปีนี้แม้ว่าจะมีความเสี่ยงขาลงค่อนข้างชัดเจน แต่จะเห็นได้ว่ารัฐบาลจีนมีการดำเนินมาตรการอย่างรวดเร็วและจริงจัง จึงคาดว่าผลกระทบจากไวรัสโคโรนาที่จะคุกคามการเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะเป็นเพียงระยะสั้นๆเท่านั้น และเศรษฐกิจจีนจะสามารถรีบาวน์กลับได้ในช่วงครึ่งปีหลัง จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของภาครัฐบาล

* UBS ปรับลดคาดการณ์จีดีพีจีนปีนี้จาก 6.0% เหลือเพียง 5.5% เพราะได้รับผลกระทบจากเที่ยวบินที่ถูกยกเลิก มาตรการควบคุมการเข้าประเทศ และอื่นๆที่เกิดขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลลบทางเศรษฐกิจในระยะสั้นๆ และผลที่ตามมาจะมาจากอุปสงค์ของกลุ่มผู้บริโภคและอุปสรรคของภาวะห่วงโซ่อุปทาน

- สหรัฐฯกำลังร่วมมือกับบริษัทยาในการพัฒนายารักษาไวรัสโครโรนา ด้วยการทดลองยาที่มีสรรพคุณในการช่วยเหลือผู้ป่าวยที่เป็นอีโบล่า โดยที่กระทรวงสาธารณสุขสหรัฐฯ (HHS) ร่วมกับบริษัท Regeneron กำลังพัฒนาแอนตี้บอดี้ในกลุ่มไวรัสเดียวกัน

- การที่ธนาคารกลางจีนทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Reverse Repo ช่วง 7 วัน ลง 0.1% จาก 2.50% สู่ระดับ 2.40% และช่วง 14 วันปรับลงจาก 2.65% สู่ 2.55% เมื่อวันจันทร์ พร้อมเสริมสภาพคล่องด้วยการอัดฉีดเม็ดเงิน 1.7 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 2.42 แสนล้านเหรียญเข้าสู่ตลาดเมื่อวันจันทร์และวันอังคาร ขณะที่วันพุธ ทางธนาคารกลางจีนตัดสินใจไม่จัดการเพิ่มเนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารปัจจุบันเพียงพอแล้ว

อย่างไรก็ดี บรรดานักเศรษฐศาสตร์บางส่วน มองว่า ความพยายามของธนาคารกลางจีนอาจไม่เพียงพอที่จะช่วยชดเชยผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 490 รายในจีน

- นักวิเคราะห์บางรายมองว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากไวรัสโคโรนาดูจะกระเทือนต่อในแถบเอเชีย และสหรัฐฯ ซึ่งหากการแพร่ระบาดยังดำเนินต่อไป 5 กลุ่มภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ก็กดูจะได้รับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และจะส่งผลกระทบตามมาจลุกลามสู่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการขนส่งและโกดัง, ภาคการค้าส่งและปลีก, กลุ่มเรียลเอสเตทท์, อุตสาหกรรมบันเทิง, ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่ง 5 หมวดอุตสาหกรรมข้างต้นจะส่งผลให้จีดีพีปี 2020 ปรับตัวลงไปประมาณ 1.2% หรือคิดเป็น 0.3% ตั้งแต่ต้นปีที่ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบอย่างหลากหลายในภาคอุตสาหกรรมแล้ว ยังส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นในระยะยาวได้ หรือแม้แต่ระยะยาวจะสูญเสียเครดิตความน่าเชื่อถือต่างๆอีกด้วย

· ค่าเงินดอลลาร์ยังคงปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน ท่ามกลางนักลงทุนที่ลดการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยตอบรับกับมาตรการจีนที่พยายามควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา จึงช่วยฟื้นความเชื่อมั่นนักลงทุน แม้ว่าจะมียอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นใหม่ก็ตาม

ทั้ง ราคาทองคำและค่าเงินเยนร่วงลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ไปทำต่ำสุดรอบเกือบ 6 เดือน ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นรายวันมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงส.ค. โดยเงินเยนอ่อนค่าไปแถว 109.43 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินหยวนแข็งค่ากลับลงมาแนว 6.9943 หยวน/ดอลลาร์

- นักวิเคราะห์จาก J.P. Morgan ระบุว่า นักลงทุนต่างต้องการที่จะเห็นความมีเสถียรภาพเพิ่มขึ้น และหากสถานการณ์ดีขึ้นก็อาจเห็นสินทรัพย์เสี่ยงปรับขึ้นต่อได้ แต่ตราบเท่าที่เรายังไม่เห็นจำนวนผู้เสียชีวิตหรือติดเชื้อลดลง และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก การปรับตัวขึ้นก็มีแนวโน้มจะเบาบางลงไป

· รายงานจาก Reuters ระบุว่า ยอดการส่งออกและนำเข้าของจีนประจำเดือนม.ค.อาจจะปรับตัวลดลง หลังจากฟื้นตัวได้ช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างรวดเร็วอาจส่งผลกระทบต่องการค้าโลกในอีกหลายเดือนข้างหน้า โดยยอดส่งออกเดือนม.ค. คาดว่าจะลดลง 4.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่ยยอดนำเข้าอาจจะลดลง 6% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าเช่นเดียวกัน

นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs ระบุว่า การลดลงดังกล่าวมีสาเหตุมาจากความผิดเพี้ยนจากวันหยุดยาวช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยทั่วไปกิจกรรมทางธุรกิจจะช้าลง โดยผลกระทบของไวรัสที่มีต่อการค้าจะเริ่มขึ้นในเดือนก.พ.นี้ ขณะที่ตอนนี้มีผู้เสียชีวิตจากการระบาดของไวรัสไปแล้วเกือบ 500 รายและมีผู้ติดเชื้อกว่า 24,000 ราย


· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่าโอเปกและพันธมิตรผู้ผลิตกำลังหารือเกี่ยวกับการลดการผลิตออกไปอีก เพื่อรับมือกับความต้องการน้ำมันทั่วโลกที่ลดลงซึ่งเป็นผลมาจากไวรัสโคโรนาที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 0.6% ที่ระดับ 54.27 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.4% ที่ระดับ 49.82 เหรียญ/บาร์เรล โดยน้ำมันดิบทั้งสองชนิดสามารถปรับตัวสูงขึ้นได้มากกว่า 1% ในช่วงก่อนหน้านี้


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com