ปี 1953 – CIA ชักใยรัฐประหาร
หน่วยงาน CIA ของสหรัฐฯ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการก่อรัฐประหารในสมัยของนายกรัฐมนตรีโมฮัมหมัด มอสซาเดก และหนุนหลังให้กษัตริย์โมฮัมหมัด เรซา ปาห์เลวี ขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่
ปี 1968 – อิหร่านลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์
อิหร่านลงนามในข้อตกลงนิวเคลียร์ที่อนุญาตให้อิหร่านสามารถพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อใช้ในด้านสาธารณสุข แลกกับการไม่พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
ปี 1979 – การปฏิวัติอิหร่าน
กองกำลังปฏิวัติอิหร่านกดดันกษัตริย์เรซา ปาห์เลวี จนต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ และเชิญอายะตุลลอฮ์ รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี กลับเข้ามาในประเทศและขึ้นเป็นผู้นำทางด้านศาสนา ขณะที่กลุ่มชาวคริสต์แบบมูลฐานนิยม (Fundamentalism) เข้ายึดสถานทูตสหรัฐฯในกรุงเตหะราน เมืองหลวงของอิหร่าน และจับเจ้าหน้าที่เป็นตัวประกัน
เม.ย. ปี 1980 – สหรัฐฯตัดสัมพันธ์
สหรัฐฯประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่าน ยึดทรัพสินย์บางส่วนและกีดกันการค้าส่วนใหญ่กับอิหร่าน ขณะที่ภารกิจช่วยเหลือตัวประกันที่ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เทอร์ ออกคำสั่ง ล้มเหลว
ม.ค. ปี 1981 – ปล่อยตัวประกัน
อิหร่านปล่อยตัวประกันชาวสหรัฐฯทั้งหมด 52 คน หลังประธานาธิบดีคาร์เทอร์ออกจากตำแหน่ง และประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ขึ้นรับตำแหน่งแทน
ม.ค. ปี 1984 – สหรัฐฯบันทึกชื่ออิหร่านเป็นประเทศผู้ก่อการร้าย
สหรัฐฯบันทึกชื่ออิหร่านในฐานะผู้สนับสนุนการก่อการร้าย
พ.ย. ปี 1986 – เรแกนละเมิดกฏหมายห้ามซื้อขายอาวุธ
ประธานาธิบดีเรแกนเปิดเผยว่ามีการซื้อขายอาวุธกับรัฐบาลอิหร่าน ซึ่งเป็นการละเมิดกฏหมายห้ามซื้อขายอาวุธกับอิหร่านที่สหรัฐฯเป็นผู้ออก โดยเหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า “กรณีอื้อฉาวอิหร่าน-คอนทรา”
ก.ค. ปี 1988 – เรือรบสหรัฐฯยิงเครื่องบินพาณิชย์ของอิหร่านตก
เรือรบวินเซนเนสของสหรัฐฯยิงเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินอิหร่านตกด้วยความผิดพลาด ส่งผลให้ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 290 คน เสียชีวิต หลังจากนั้น ชาวอิหร่านกว่า 10,000 คน ร่วมเดินขบวนและแบกโลงศพกว่า 72 โลงในเมืองเตหะราน เพื่อประกอบพิธีทางศาสนาให้กับผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้
ม.ค. ปี 2002 – ประธานาธิบดีบุช กล่าวหาอิหร่านเป็น “ศูนย์กลางแห่งความชั่วร้าย”
ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประกาศให้อิหร่าน อิรัก และเกาหลีเหนือ เป็น “ศูนย์กลางแห่งความชั่วร้าย” และทางเจ้าหน้าที่สหรัฐฯยังกล่าวหาว่าอิหร่านพยายามพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อย่างลับๆ
ปี 2006 – สหรัฐฯเชิญอิหร่านเจรจา
รัฐบาลสหรัฐฯประกาศว่าพวกเขาต้องการที่จะร่วมเจรจาแบบพหุภาคีร่วมกับอิหร่าน เกี่ยวกับการระงับพัฒนานิวเคลียร์
ก.ค. ปี 2008 – ประธานาธิบดีบุชส่งตัวแทนไปเจรจา
ประธานาธิบดีบุชส่งตัวแทนไปยังกรุงเจเนวา เมืองหลวงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อร่วมเจรจากับอิหร่านเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์
ปี 2009 – อิหร่านแอบสะสมแร่ยูเรเนียมอย่างลับๆ
อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ ประกาศว่า อิหร่านพยายามก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ใต้ดินฟอร์ดอ เพื่อสะสมแร่ยูเรเนียมอย่างลับๆ
ปี 2009 - ประธานาธิบดีโอบามาเสนอความร่วมมือ
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เสนอจะให้ความร่วมมือกับอิหร่าน หากอิหร่าน “ยอมวางมือลงก่อน”
มิ.ย. ปี 2013 – สหรัฐฯเพิ่มมาตรการคว่ำบาตร
ทีมบริหารของโอบามาประกาศจะคว่ำบาตรธนาคารต่างประเทศที่มีการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน ส่งผลให้ยอดขายน้ำมันของอิหร่านร่วงและเศรษฐกิจเข้าสู่ขาลง
มิ.ย. ปี 2013 – ประธานาธิบดีโรฮานี รับตำแหน่ง
ประธานาธิบดีฮัสซัน โรฮานี ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง โดยมีนโยบายที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและทั่วโลก ร่วมถึงกอบกู้เศรษฐกิจอิหร่าน ขณะที่ตัวแทนของสหรัฐฯและอิหร่านยังคงดำเนินการเจรจาเกี่ยวกับนิวเคลียร์อย่างลับๆ
ก.ค. ปี 2015 – ลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์ ผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร
อิหร่านร่วมลงนามในข้อตกลงนิวเคลียร์กับประเทศมหาอำนาจทั้ง 6 โดยเป็นข้อตกลงที่จะจำกัดกิจกรรมทางด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน แลกกับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร
พ.ค. ปี 2018 – ทรัมป์ถอนสหรัฐฯออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนสหรัฐฯออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ พร้อมประกาศกลับมาใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับอิหร่านอีกครั้ง
พ.ค. ปี 2019 – อิหร่านเดินหน้าสะสมแร่ยูเรเนียม
อิหร่านประกาศจะเพิ่มการถือครองแร่ยูเรเนียม แต่ยังเป็นปริมาณถือครองที่อยู่ภายในกรอบของข้อตกลง
พ.ค. – มิ.ย. ปี 2019 – เหตุโจมตีเรือบรรทุกน้ำมัน
เรือบรรทุกน้ำมันหลายลำถูกโจมตีในอ่าวตะวันออกกลาง สหรัฐฯกล่าวหาเป็นฝีมืออิหร่าน ขณะที่อิหร่านปฏิเสธ
มิ.ย. ปี 2019 –โดรนสหรัฐฯถูกยิงตก
กองทัพอิหร่านยิงทำลายโดรนของสหรัฐฯที่ล่วงล้ำเข้ามาในพื้นที่ของอิหร่าน และในเดือน ก.ค. ปี 2019 กองทัพอิหร่านได้เข้ายึดเรือบรรทุกน้ำมันของอังกฤษ
ก.ย. ปี 2019 – เหตุโจมตีบ่อน้ำมันซาอุฯ
บ่อน้ำมันของซาอุดิอาระเบียถูกโจมตีโดยโดรนและขีปนาวุธที่ต้องสงสัยว่ามาจากอิหร่าน อิหร่านปฏิเสธความเกี่ยวข้อง
ธ.ค. ปี 2019 – ฐานทัพสหรัฐฯถูกโจมตี
เกิดเหตุโจมตีฐานทัพสหรัฐฯหลายแห่งในพื้นที่ของประเทศอิรัก ส่งผลให้มีชาวสหรัฐฯเสียชีวิต สหรัฐฯกล่าวหาว่าเป็นฝีมือของกองกำลังที่รัฐบาลอิหร่านหนุนหลัง และมีการยิงตอบโต้กัน ขณะที่สถานทูตสหรัฐฯในกรุงแบกแดดถูกโจมตีโดยกลุ่มผู้ประท้วงที่สนับสนุนรัฐบาลอิหร่าน
ม.ค. ปี 2020 –โซเรมานีถูกสังหาร
การโจมตีทางสหรัฐฯของสหรัฐฯในพื้นที่สนามบินนานาชาติของกรุงแบกแดด ได้สังหารพลตรีคาเซม โซเลมานี ผู้บัญชาการกองกำลังคุดส์ของอิหร่าน ผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการขยายตัวทางกำลังทหารในพื้นที่ตะวันออกกลาง อิหร่านประกาศยกเลิกการปฏิบัติตามข้อตกลงด้านการจำกัดปริมาณถือครองแร่ยูเรเนียม
ที่มา : Reuters