• เปรียบเทียบสภาพเศรษฐกิจสหรัฐ-จีน ในสงครามการค้าปีที่ 2

    2 มกราคม 2563 | Economic News
 

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนในปี 2019 ถือว่าเป็นปีที่ 2 นับแต่ทั้งสองประเทศเริ่มขึ้นภาษีตอบโต้กันจนความขัดแย้งบานปลาย และได้กดดันภาวะเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่ายไปจนถึงทั่วโลก

โดยกราฟทั้ง 6 ต่อไปนี้ คือสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯและจีนในปีที่ 2 ของสงครามการค้า



การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

การขยายตัวของ GDP ซึ่งเป็นมาตรวัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ชะลอตัวลงทั้งในสหรัฐฯและจีนตลอดปี 2019



นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากต่างคาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจทั้งสองประเทศน่าจะอยู่ในระดับปานกลางสำหรับปี 2020 เนื่องจากยังคงมีความขัดแย้งทางการค้ากันอยู่ จึงเป็นปัจจัยที่จะยิ่งกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่กำลังชะลอตัวอยู่แล้ว



ปริมาณซื้อขายถดถอย

ภาพรวมการส่งออกและนำเข้าของทั้งสองประเทศต่างปรับลดลงในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2019 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ท่ามกลางการซื้อขายทั่วโลกที่ชะลอตัว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางส่วนมองว่า การชะลอตัวของการค้าโลกได้ชะลอตัวลงเสียก่อนที่สงครามการค้าจะเริ่มขึ้นด้วยซ้ำ



จากข้อมูลจากหน่วยงานด้านสถิติของสหรัฐฯ พบว่า ภาพรวมยอดขาดดุลทางการค้าของสหรัฐฯที่เกิดจากการค้าที่ไม่สมดุลกับจีน ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากนักในปี 2019 แม้ดุลการค้าระหว่างทั้งสองประเทศจะปรับลดลงจาก 3.445 แสนล้านเหรียญ ในช่วงเดือน ม.ค. – ต.ค. 2018 สู่ระดับ 2.945 แสนล้านเหรียญ ในช่วงเดือนเดียวกันของปี 2019 ก็ตาม


ภาคอุตสาหกรรมขาลง

ภาคอุตสาหกรรมของทั้งสหรัฐฯและจีน เป็นอีกภาคหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และซ้ำร้ายยังมาโดนผลกระทบจากสงครามการค้า



ดัชนี PMI (Purchasing Managers’ Index) ของทางการจีน ซึ่งเป็นดัชนีตัวหนึ่งที่สามารถชี้วัดภาวะของภาคอุตสาหกรรม ได้เคลื่อนไหวอยู่ในแดนถดถอยหรือต่ำกว่าระดับ 50 จุด ตลอดปี 2019 ขณะที่ดัชนีของฝั่งสหรัฐฯจะเห็นได้ว่าดัชนีย่อตัวลงสู่แดนถดถอยในเดือน ส.ค.



ยอดค้าปลีกทรงตัว

การใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯและจีนต่างอยู่ในแดนที่ค่อนข้างสดใสในปี 2019 โดยมีแรงหนุนมาจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งของทั้ง 2 ประเทศ



อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงที่ว่าภาคผู้บริโภคอาจไม่สามารถคงทิศทางที่สดใสได้ตลอด

นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า การขึ้นภาษีเพิ่มเติมของสหรัฐฯอาจเป็นปัจจัยกดดันการใช้จ่ายของชาวสหรัฐฯเสียเอง ขณะที่ในประเทศจีน ราคาเนื้อหมูที่สูงขึ้นจากเหตุโรคระบาดอาจเป็นปัจจัยกดดันการใช้จ่ายในบางพื้นที่



การเคลื่อนไหวของค่าเงิน

เนื่องด้วยความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อค่าเงินในฐานะ Safe-haven จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าอย่างบต่อเนื่องตลอดปี 2019



ในทางกลับกัน รัฐบาลจีนกลับปล่อยให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าตลอดปี ส่งผลให้เกิดคำกล่าวหาจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าจีนจงใจลดค่าเงินของตัวเองลง เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้าระหว่างประเทศ แต่ทางกองทุ นIMF ได้ออกมาระบุว่า สาเหตุที่ทำให้ค่าเงินหยวนค่าเงินอ่อนค่า เป็นเพราะปัจจัยทางเศรษฐกิจภายในประเทศจีนต่างหาก



หุ้นขึ้น

ในตลาดการเงิน การปรับลดดอกเบี้ยของเฟดและความกังวลในสงครามการค้าที่ผ่อนคลายลงเป็นบางช่วงของปี ได้สนับสนุนให้หุ้นในตลาดสหรัฐฯปรับสูงขึ้นทำระดับสูงสุดใหม่ติดต่อกัน แม้รายงานผลประกอบการของภาคบริษัทจะไม่สดใสเท่าไหร่นักก็ตาม



ทางฝั่งจีน การที่ MSCI ได้เพิ่มหุ้นจีนลงไปในดัชนีวัดหุ้นทั่วโลก เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ดัชนี Shanghai Stock Exchange Composite ปรับสูงขึ้นได้เป็นประวัติการณ์ในปี 2019



ที่มา : CNBC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com