• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 15 กรกฎาคม 2562

    15 กรกฎาคม 2562 | Economic News

· ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.2% ที่ 0.7024 ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากข้อมูลเศรษบกิจจีนที่แข็งแกร่งเกินคาด โดยข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีนรีบาวน์ในเดือนมิ.ย. จากระดับต่ำสุดรอบ 17 ปี โดยเดือนมิ.ย.ปรับขึ้น 9.8% เทียบกับที่ชะลอตัวลงไปกว่า 8.3% ในเดือนพ.ค.

ขณะที่โอกาสการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดในเดือนนี้ ควบคู่กับตลาดที่มองว่ามีโอกาส 20% ที่จะเห็นเฟดลดดอกเบี้ยมากถึง 0.50% ก็ดูจะกดดันดัชนีดอลลาร์ให้ทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดรอบ 10 วันทำการที่ 96.865 จุด

· ทางด้านกลุ่มนักลงทุนรอคอยข้อมูลยอดค้าปลีกที่จะประกาศในวันอังคารนี้ ประกอบกับรายงานผลประกอบการของภาคบริษัทที่จะสะท้อนถึงภาวะกลุ่มนักช็อปปิ้งและภาคธุรกิจว่าชะลอตัวลงเช่นไร


· ค่าเงินเยนหลังจาก Break 108 เยน/ดอลลาร์ ก็ดูจะมีแนวต้านถัดไปที่ 108.98 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ในวันนี้เป็นวันหยุดของญี่ปุ่น จึงทำให้เราเห็นปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบาง



· นักวิเคราะห์ FXStreet กล่าวว่า ค่าเงินยูโรยังคงเคลื่อนไหว Sideways หลังจากที่ค่าเงินรีบาวน์กลับใกล้ 1.1240 ดอลลาร์/ยูโร ภาพรวมยังเป็นขาลงหลังจากที่ราคาอ่อนค่าหลุด 1.1275 ดอลลาร์/ยูโร ท่ามกลางการรีบาวน์กลับของดอลลาร์ที่เป็นปัจจัยกดดันยูโร

Levels to watch

OVERVIEW

Today last price 1.1271

Today Daily Change 0.0002

Today Daily Change % 0.02

Today daily open 1.1269



TRENDS

Daily SMA20 1.1287

Daily SMA50 1.1243

Daily SMA100 1.1256

Daily SMA200 1.1326




· FXStreet ระบุว่า ค่าเงินปอนด์มีการทำสถานะ Short ระยะสั้นๆ แต่ภาพรวมยังคงแข็งแกร่งและเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดรอบ 10 วันทำการ แต่ก็ยังอยู่ต่ำกว่า 1.2600 ดอลลาร์/ปอนด์ ก่อนที่ตลาดลอนดอนจะเปิดในวันนี้ โดยกลุ่มผู้ซื้อต้องมีกำลังพอที่จะดันให้ราคายืนเหนือ 1.2579-1.2582 ดอลลาร์/ปอนด์ ซึ่งเป็นจุดใกล้ระดับเส้นค่าเฉลี่ย 100 EMA ในกราฟราย 4 ชั่วโมงและกราฟราย 20 วัน ที่ 1.2590 ดอลลาร์/ปอนด์ เพราะหากฝ่าไปได้มีโอกาสกลับขึ้นทดสอบ 1.2612 ดอลลาร์/ปอนด์

ในทางกลับกันหากเงินปอนด์ร่วงลงตร่ำกว่า 1.2540 ดอลลาร์/ปอนด์ ซึ่งเป็นเส้นค่าเฉลี่ย Fibonacci Retracement ราย 23.6% โดยหากตกลงมาก็มีโอกาสกลับทดสอบ 1.2520 ดอลลาร์/ปอนด์ และ 1.2480 - 1.2477 ดอลลาร์/ปอนด์

· จีนเผยตัวเลขอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/2019 ออกมาชะลอตัวลงสู่ระดับ 6.2% สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่และรัฐบาลจีนคาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 27 ปี เทียบกับอัตราเติบโตในไตรมาสที่ 1/2019 ที่ 6.4% ท่ามกลางแรงกดดันจากสงครามการค้าร่วมกับสหรัฐฯ

นักวิเคราะห์ประเมินว่า ธนาคารกลางจีนมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนไม่ให้เศรษฐกิจชะลอการเติบโตเร็วเกินไป พร้อมคาดว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนตลอดปี 2019 จะทรงตัวอยู่แถวระดับ 6.2% – 6.3%

นักกลยุทธ์และนักเศรษฐศาสตร์จาก Mizuho Bank กล่าวว่า การอ่อนตัวของจีดีพีจีนไตรมาสที่ 2 อาจเป็นปัจจัยกดดันหลักของประเทศเอเชียที่เหลือ หากว่าการชะลอตัวเป็นผลมาจากปัญหาความตึงเครียดทางการค้า ขณะท่ี่ยอดส่งออกจีนที่ชะลอตัวลงเป็นสิ่งที่ดูจะตอกย้ำถึงความกังวลว่าจะเผชิญกับยอดนำเข้าที่ดิ่งลงต่อเนื่องด้วย ซึ่งจะกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานสำหรับประเทศเอเชียที่เหลือที่มีจีนเป็นพี่ใหญ่ในตลาดเหล่านั้น

· คณะกรรมการในสหภาพยุโรปกำลังอยู่ในกระบวนสรรหาผู้ที่จะมาเป็นผู้นำองค์กร IMF ก่อนที่นางคริสทีน ลาการ์ด ประธาน IMF คนปัจจุบัน จะสละตำแหน่งเพื่อหันไปกำกับดูแลธนาคารกลางยุโรปแทนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ทั้งนี้ บรรดารัฐมนตรีในสหภาพยุโรปยืนกรานว่าพวกเขาต้องการให้ผู้ที่จะมาเป็นผู้นำองค์กร IMF วาระถัดไปหรือ 5 ปี ยังเป็นคนที่มาจากภายในทวีปยุโรป ตามขนบธรรมเนียมขององค์กรที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 1945 โดยนับตั้งแต่ก่อตั้งมา ประธาน IMF จะเป็นผู้ที่มาจากทวีปยุโรปเสมอ

สำหรับรายชื่อของผู้ที่ถูกกล่าวถึง และอาจเป็นผู้นำองค์กร IMF คนต่อไป ได้แก่

1. นายมาร์ค คาร์นีย์ ผู้ว่าธนาคารกลางอังกฤษ

2. นางคริสทิน่า จอร์เจียวา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหนึ่งในผู้บริหารของธนาคารโลก

3. Jeroen Dijsselbloem อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งสาธารณรัฐดัตช์ และประธาน Eurogroup

4. นายมาริโอ ดรากี้ ประธาน ECB คนปัจจุบันที่กำลังจะหมดวาระ

5. Benoit Coeure คณะกรรมการบอร์ดบริหารของ ECB ที่จะหมดวาระลงในเดือน ธ.ค.

6. Wolfgang Schaeuble อดีตรัฐมนตรีการคลังเยอรมนี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกประจำรัฐสภาเยอรมนี

7. Euclid Tsakalotos อดีตรัฐมนตรีการคลังกรีซ



· บิทคอยน์ดิ่งลงต่อเนื่่องในวันนี้ตอบรับกับการวิจารย์เรื่องค่าเงินคริปโตของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดย CoinDesk ระบุว่า ค่าเงินดิจิทัลทั่วโลกผันผวนดิ่งลงประมาณ 10% แตะ 10,175 เหรียญ โดยระหว่างวันร่วงหลุดต่ำกว่า 10,000 จุด ไปทำต่ำสุดที่ 9,872 เหรียญ
หนึ่งเหตุผลสำคัญของการร่วงลงค่อนข้างชัดเจน คือการที่สัปดาห์ที่แล้ว นายทรัมป์ ออกมาตำหนิเรื่องค่าเงินสกุลดิจิทัลที่ไม่ใช่เงินจริงและมีความผันผวนเป็นอย่างมาก โดยเป็นสินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับจ่ายได้ในชีวิตจริง รวมทั้งยังเป็นการผิดกฎหมายอีกด้วย

· บริษัทสหรัฐฯหลายแห่งได้ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตสินค้าออกจากจีน หลังจากที่ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ยังไม่คลี่คลายลง

บริษัทชื่อดังผู้ผลิตรองเท้า Crocs, กล้อง GoPro และแก้วเก็บความเย็น Yeti ได้ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆเพื่อเลี่ยงการเก็บภาษีนำเข้าสหรัฐฯที่ระดับ 25% ขณะที่แอปเปิล อิงค์ อยู่ในระหว่างการพิจารณาที่จะย้ายโรงงานประกอบผลิตภัณฑ์ของบริษัทออกจากจีนเช่นกัน

ขณะที่บริษัทเฟอร์นิเจอร์ชื่อดังอย่าง Lovesac Co. ได้ปรับลดสัดส่วนการผลิตในจีนลงเหลือ 60% จากระดับ 75% เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยทางบริษัทได้ตัดสินใจย้ายโรงงานผลิตไปยังเวียดนาม และวางแผนที่จะเลิกผลิตสินค้าในจีนทั้งหมดภายในสิ้นปีหน้า

· นายมุน แจ-อิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ตอบโต้กรณีที่ญี่ปุ่นกล่าวหาว่าเกาหลีใต้ละเมิดมาตรการคว่ำบาตรขององค์การสหประชาชาติด้วยการส่งสินค้าที่ถูกแบนไปยังเกาหลีเหนือ โดยระบุว่าเป็น “ภัยคุกคามที่รุนแรง” ต่อเกาหลีใต้

พร้อมระบุว่า การจำกัดการส่งออกสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นมายังเกาหลีใต้ จะยังเป็นการสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจญี่ปุ่นเสียเอง พร้อมเรียกร้องให้ญี่ปุ่นกลับมาร่วมโต๊ะเจรจา

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังจากที่จีนประกาศตัวเลขอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/2019 ออกมาชะลอตัวลงสู่ระดับ 6.2% สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่และรัฐบาลจีนคาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 27 ปี จึงตอกย้ำความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ในผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก


โดยสัญญาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.2% ที่ระดับ 66.57 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 0.4% ที่ะรดับ 59.97 เหรียญ/บาร์เรล

· นักวิเคราะห์จากสถาบัน Facts Global Energy เตือนว่า เหลือเวลาอีกไม่ถึง 6 เดือนที่จะเกิดการ “เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่” ในตลาดน้ำมันโลก เนื่องจากองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ หรือ IMO กำลังจะประกาศมาตรการควบคุมการเผาผลาญน้ำมันเพื่อลดการผลิตกำมะถัน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 1 ม.ค. 2020

มาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบให้เกิดภาวะอุปทานล้นตลาด สำหรับน้ำมันกลุ่มที่ผลิตสารกำมะถันในปริมาณสูง ขณะที่สินค้าในกลุ่มที่ไม่ละเมิดมาตรการจะมีปริมาณความต้องการพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะครอบคลุมเฉพาะการเดินเรือเท่านั้น ดังนั้นการขนส่งสินค้าทางเรือ โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าสำหรับผู้บริโภค น่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการ์ว่า บรรดาผู้ขนส่งเหล่านี้อาจมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นในภาพรวมมากถึง 1 หมื่นล้านเหรียญ



· นักวิเคราะห์จาก DailyFX มองว่า ราคาน้ำมันชะอตัวหลังจากที่ไปทดสอบแนวต้านซึ่งเป็น High เดิมช่วงปลายเดือนเม.ย. บริเวณ 60.04 - 60.84 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งหาก Break ได้ก็มีโอกาสทดสอบระดับสูงสุด 63.59 - 64.43 เหรียญ/บาร์เรล แต่หากหลุดต่ำกว่าแนวรับก็มีโอกาสเห็นน้ำมันดิบกลับลงทดสอบ 54.84 เหรียญ/บาร์เรล


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com