• สมาชิกเฟดมีมุมมองแตกต่างกันในปัจจัยกดดันเงินเฟ้อสหรัฐฯ

    25 กันยายน 2560 | Economic News


บรรดาสมาชิกเฟดต่างมีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯในปัจจุบันที่ปรับร่วงลงไปเล็กน้อย ว่าจะเป็นเพียงแค่ผลในระยะสั้นๆที่มีไม่ส่งผลใดๆต่อการดำเนินนโยบายการเงิน หรืออาจจะเป็นปัจจัยจากเศรษฐกิจโลกที่อาจทำให้จังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดต้องหยุดชะงัก

การโต้วาทีระหว่างสมาชิกในหัวข้อดังกล่าวจะปัจจัยที่สำคัญอย่างมากกับโอกาสการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค.ปีนี้ รวมไปถึงการขึ้นดอกเบี้ยในปีต่อๆไป ซึ่งเฟดจะนำปัจจัยนี้มาประเมินร่วมกับระดับของอัตราว่างงาน ว่าอัตราว่างงานระดับใด ที่จะเริ่มผลักให้ค่าจ้างและราคาสินค้าเริ่มเพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ

นายโรเบิร์ต แคฟแลน ประธานเฟดสาขาดัลลัส กล่าวว่า เฟดกำลังวิเคราะห์ว่า เพราะเหตุใดอัตราว่างงานของาหรัฐฯที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 4% ในปัจจุบัน ถึงไม่ช่วยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัว ผิดกับหลักทฤษฏี “Phillips Curve” ที่กล่าวว่าตลาดแรงงานที่ขยายตัวจะนำสู่ราคาสินค้าที่สูงขึ้น

ท่ามกลางคาดการร์ของเฟดที่ว่าอัตราว่างงานจะลดลงไปที่ระดับ 4.1% ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่อัตราเงินเฟ้อก็ยังคงไม่ถึงระดับเป้าหมายที่ 2% นายโรเบิร์ต จึงวิเคราะห์ว่าอาจมีปัจจัยภายนอกกำลังส่งผลกระทบอยู่ก็เป็นไปได้

โดยเขาระบุว่า อาจเป็นเรื่องของกระแสอุปทาน หรือเทคโนโลยีมีผลช่วยให้บรรดาผู้บริโภคมีอำนาจในการควบคุมราคาได้ อย่างไรก็ตาม เฟดยังสามารถปล่อยให้อัตราว่างงานลดลงไปต่ำกว่านี้ได้ โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่จะขยายตัวขึ้นเร็วเกินไป

นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด กล่าวว่า พฤติกรรมการขยายตัวของเงินเฟ้อในปัจจุบันถือเป็น “ปริศนา” แต่เธอก็ยังเชื่อตามหลักทฤษฏีว่าตลาดแรงงานที่อิ่มตัวจะนำไปสู่ราคาสินค้าที่สูงขึ้น

ขณะที่การประชุมครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นว่าสมาชิกเฟดส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.

นางเอสเธอร์ จอร์จ ประธานเฟดสาขาแคนซัส กล่าวว่า ระดับเงินเฟ้อในปัจจุบันที่อยู่ที่ระดับ 1.4% ยังคงไม่ถือเป็นเหตุผลที่จะทำให้เฟดยกเลิกการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปในปีนี้ได้

นอกจากนี้นางเอสเธอร์ยังระบุอีกว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะสามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯไม่เติบโตเท่าที่คาด แม้ตลาดแรงงานจะแข็งแกร่งประกอบกับความมั่นใจผู้บริโภคที่อยู่ในระดับสูงก็ตาม



ที่มา: Reuters


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com