• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 18 กันยายน 2560

    18 กันยายน 2560 | Economic News


 

·         ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ เพราะได้รับแรงกดดันจากข้อมูลยอดค้าปลีกสหรัฐฯที่ออกมาแย่ลงกว่าที่ตลาดคาด จึงลดโอกาสการปับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในเดือนธ.ค.

คืนวันศุกร์ดัชนีดอลลาร์ร่วงลงประมาณ 0.4% ที่ระดับ 91.779 จุด ขณะที่ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.33% ขึ้นมาที่ระดับ 1.1957 ดอลลาร์/ยูโร และค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้น 1.46ที่ระดับ 1.3591 ดอลลาร์/ปอนด์ ขณะที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าขึ้น 0.56% มาบริเวณ 110.86 เยน/ดอลลาร์

·         ขณะที่เช้านี้ค่าเงินดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์เมื่อเทียบกับค่าเงินเยน โดยได้รับอานิสงส์จากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯในเช้านี้ ขณะที่ค่าเงินปอนด์ก็ยังมีแรงหนุนจากกระแสคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นว่าบีโออีจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ โดยเช้านี้ค่าเงินเยนอ่อนค่าขึ้นอีก 0.3% ที่ระดับ 111.17 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่วันศุกร์ทำระดับอ่อนค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนก.ค.บริเวณ 111.33 เยน/ดอลลาร์

อย่างก็ดี ปริมาณการซื้อขายในตลาดน่าจะค่อนข้างเบาบางในวันนี้ เนื่องจากตลาดญี่ปุ่นจะปิดทำการในวันหยุดประจำชาติ หรือหยุดในวันผู้สูงอายุ

·         ยอดค้าปลีกประจำเดือนส.ค. ออกมาแย่กว่าที่คาด ท่ามกลางช่วงที่เกิดพายุเฮอริเคนฮาวีย์ ที่มีแนวโน้มจะสร้างผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จึงทำให้ยอดค้าปลีกนั้นออกมาที่ระดับ -0.2จากข้อมูลในเดือนก่อนหน้าที่ปรับทบทวนลงมา 0.3%

·         ข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯก็ปรับตัวลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 2009 โดยออกมาที่ระดับ -0.9%จากเดิมที่ระดับ 0.4ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นระดับอ่อนตัวมากที่สุดนับตั้งแต่พ.ค. ปี 2009 และเป็นการอ่อนตัวลงหลังจากที่ขยายตัวได้ติดต่อกันยาวนาน 6 เดือน เพราะได้รับความเสียหายจากพายุเฮอริเคนฮาวีย์เช่นกัน จึงบ่งชี้ว่า พายุเฮอริเคนอาจเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ขณะทีนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯจะกลับมาขยายตัวได้ในไตรมาสที่ 4

·         รายงานล่าสุดจากธนาคารกลางสหรัฐฯสาขานิวยอร์ก มีการปรับลดประมาณการณ์จีดีพีสหรัฐฯในไตรมาสที่ 3 และ 4 ลงต่ำกว่าระดับ 2% หลังข้อมูลยอดค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.ออกมาแย่กว่าที่คาดการณ์ โดยคาดว่าไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวได้ที่ระดับ 1.34จากเดิม 2.06ขณะที่ไตรมาสที่ 4 ประมาณการณ์ไว้ที่ระดับ 1.82จากสัปดาห์ก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.62%

·         สภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ได้รับความเสียหายจากพายุเฮอริเคนฮาวีย์และเออร์มา มีแนวโน้มจะฉุดแนวโน้มการปรับขึ้นอัตรดอกเบี้ยของเฟด โดยเครื่องมือ FedWatch ของ CME Group ล่าสุด บ่งชี้ให้เห็นว่า เฟดมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.เพียง 41โดยลดลงจากระดับ 50%

·         รายงานจากรอยเตอร์ส แสดงให้เห็นว่า ประเด็นสำคัญที่ตลาดให้ความสำคัญคือการประชุมเฟด 19-20 ก.ย.นี้ โดยมีแนวโน้มว่า เฟดจะประกาศแผนการเริ่มต้นปรับลดยอดงบดุลบัญชีในการประชุมวาระนี้ แต่ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยใดๆ

·         นักเศรษฐศาสตร์จาก Goldman Sachs ปรับลดประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาสที่ 3 ลงสู่ระดับ 1.6% จากระดับ 2.0% อันเนื่องมาจากผลกระทบของพายุเฮอริเคนที่น่าจะสร้างความเสียหายต่อกิจกรรมภาคธุรกิจ แต่เชื่อว่าในไตรมาสที่ 4 กิจกรรมภาคธุรกิจจะมีการรีบาวน์กลับโดยเฉพาะในรัฐเท็กซัส

·         นักเศรษฐศาสตร์จาก Barclays หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาสที่ 3 ลงเช่นกันสู่ระดับ 2.0จากระดับ 2.8%หลังทราบข้อมูลเงินเฟ้อภายในประเทศ ยอดค้าปลีก และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมา

·         นายไมเคิล โคเฮ่น หนึ่งในที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า เขาจะทำการปฏิญาณตนในวันอังคารนี้ต่อหน้าคณะกรรมาธิการวุฒิสภาด้านหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ สำหรับกรณีการมีส่วนรู้เห็นว่ารัสเซียมีการแทรกแซงผลการเลือกตั้งสหรัฐฯในช่วงปลายปี 2016


·         เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายฌอง คล็อด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการอียู ได้เรียกร้องให้ทั้ง 30 ประเทศในอียู ใช้ค่าเงินยูโรร่วมกันหลังจากที่อังกฤษถอนตัวออกไปจากสหภาพ ล่าสุด เกิดกระแสต่อต้านขึ้นภายในรัฐสภาเยอรมนี โดยประธานคณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจของเยอรมนี ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความพร้อมของแต่ละประเทศที่จะเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินเดียวกัน โดยเฉพาะประเทศในยุโรปแถบตะวันออกที่ค่อนข้างยากจนอย่าง บัลแกเรีย และโรมาเนีย เป็นต้น ขณะเยอรมนีจะมีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีในอีก สัปดาห์


·         น้ำมันดิบ Brent ยังคงปิดตลาดแถวระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน และถือเป็นสัปดาห์ที่มีการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนก.ค. จากกระแสคาดการณ์ที่ว่าภาวะอุปสงค์น้ำมันจะเพิ่มขึ้น และโรงกลั่นน้ำมันสหรัฐฯจะทยอยกลับมาเปิดทำการได้อีกครั้ง

น้ำมันดิบ Brent ปิดลดลง 3 เซนต์ ที่ระดับ 55.44 เหรียญ/บาร์เรล แม้ว่าการซื้อขายในวันศุกร์จะเป็นไปอย่างผันผวน โดยมีระดับต่ำสุดที่ 54.86 เหรียญ/บาร์เรล และระดับสูงสุดของวันที่ 55.85 เหรียญ/บาร์เรล แต่ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วน้ำมันดิบ Brentปรับขึ้นได้ 3.1ซึ่งถือเป็นระดับการเพิ่มขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดนนับตั้งแต่ปลายเดือนก.ค.

ด้านน้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 21 เซนต์ ที่ระดับ 49.68 เหรียญ/บาร์เรล และดูเหมือนสัญญาน้ำมันดิบ WTI จะปิดปรับตัวขึ้นได้เกือบ 5% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นสัปดาห์ที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบเกือบ 2 เดือน

·         รายงานจากกลุ่มโอเปก คาดการณ์ว่า อุปสงค์นำมันดิบในปี 2018 จะเพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางสัญญาณของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น และเป็นการแสดงให้เห็นว่าข้อตกลงของกลุ่มโอเปกและสมาชิกนอกโอเปกในการปรับลดกำลังการผลิตนั้นมีส่วนช่วยลดภาวะอุปทานในตลาด

·         เช่นเดียวกับรายงานจากองค์การ IEA ที่ระบุว่า ภาวะอุปทานน้ำมันมีการชะลอตัวลงจากภาวะอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในยุโรปและสหรัฐฯ ควบคู่ไปกับการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกและสมาชิกนอกโอเปก

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com