• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559

    18 กุมภาพันธ์ 2559 | Economic News

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯในเดือนมกราคมปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบ 14 เดือน ท่ามกลางภาคการผลิตและสาธารณูปโภคที่ปรับตัวขึ้น จึงเป็นสัญญาณทางเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐฯที่สามารถฟื้นตัวได้ในช่วงต้นปีนี้ขณะที่ข้อมูลอื่นๆ แสดงให้เห็นถึงความน่าประหลาดใจ จากการร่วงลงของยอดการเริ่มก่อสร้างบ้านในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ โดยเฉพาะทางตะวันออกเฉียงเหนือ และทางตะวันตกของสหรัฐฯ ด้านยอดรออนุมัติก่อสร้างบ้านยังปรับตัวขึ้น และมีแนวโน้มว่าการก่อสร้างบ้านจะปรับตัวขึ้นในอีกหลายๆเดือนจากนี้

อย่างไรก็ดี การปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกของภาคอุตสาหกรรมการผลิตกว่า 5 เดือน ช่วยขจัดความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ จากกความผันผวนในตลาดหุ้น รวมทั้งกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ที่ยังมีโอกาสปรับขึ้นได้ในปีนี้การส่งออกของญี่ปุ่นประจำเดือน ม.ค. ปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน เนื่องจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวลงจากจีนและประเทศคู่ค้ารายสำคัญ

ทั้งนี้การส่งออกของญี่ปุ่นปรับตัวลดลง 12.9% y/y (ตลาดคาด 11.3%) หดตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่ ต.ค. 2009 และเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 นำโดยการหดตัวของเหล็กและผลิตภัณฑ์น้ำมันตัวเลขการส่งออกได้กระตุ้นให้เกิดความกังวลต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น แม้ว่าทางการญี่ปุ่นจะพยายามออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรวมถึงบีโอเจที่ประกาศใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบก็ตาม

การชะลอตัวลงของจีนซึ่งเป็นคู่ค้ารายสำคัญที่สุดของญี่ปุ่น ได้ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศญี่ปุ่นรวมถึงหลายๆประเทศในโลกชะลอตัวลง โดยการส่งออกจากญี่ปุ่นสู่จีน หดตัวลง 17.5% y/y หดตัวลงติดต่อกัน 6 เดือนทั้งนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวลง 1.4% ในไตรมาสที่ 4/2015 

ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะสามารถกลับมาเติบโตได้ในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ตามการส่งออกและการใช้จ่ายผู้บริโภคที่อ่อนแอ ได้กดดันให้ผู้กำหนดนโยบายต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถเติบโตต่อไปได้

นาย อิชิดะ เจ้าหน้าที่ของบีโอเจ กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยระดับติดลบในญี่ปุ่นไม่จำเป็นจะต้องส่งผลกระทบกับค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน (Capex) และไม่สามารถคาดหวังได้ว่าอัตราดอกเบี้ยระดับติดลบจะส่งผลให้เห็นในช่วงเวลานี้ แต่เขาก็ไม่แน่ใจว่าอัตราดอกเบี้ยระดับติดลบจะเป็นความคิดที่ดีในขณะที่ตลาดต่างๆมีความผันผวนส่วนนาย คุโรดะ ผู้ว่าการบีโอเจ ไม่คิดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากส่วนบุคคลจะปรับตัวสู่ระดับติดลบตาม ส่วนการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อนั้นชะลอตัวออกไปเพราะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบ

บริษัทจัดอันดับเรทติ้ง Moody’s ระบุว่า ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อ พ.ย. ปีที่ผ่านมา และกลุ่มผู้นำประเทศต่างๆเองก็มีความสามารถในการใช้เครื่องมือทางการเงินและการคลังเพื่อขจัดความเสี่ยงเหล่านี้ไม่มากนักโดยในรายงานของ Moody’s Global Macro Outlook 2016-17 ที่เปิดเผยออกมาในวันนี้ ระบุว่าความสามารถในการเติบโตของเศรษฐกิจโลกกำลังถูกกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน, การร่วงลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และปัจจัยทางการเงินที่ตึงเครียดในบางประเทศตลาดเกิดใหม่

ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ส่งผลกระทบทางลบมากกว่าผลกระทบทางบวก เช่น การผ่อนคลายทางการเงินจาก ยุโรป จีน หรือ สหรัฐฯทั้งนี้ Moody’s ได้คาดการณ์เศรษฐกิจจีนในปี 2016 ว่าจะสามารถเติบโตได้ 6.3%, คาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2015 ไว้ที่ 2.4%

ราคาสัญญาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นในช่วงการซื้อขายของตลาดเอเชียวันนี้ หลังจากที่อิหร่านยินดีจะเข้าร่วมแผนการคงระดับการผลิตน้ำมันดิบ จากรัสเซียและซาอุดิอาระเบีย

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์จาก BMI Research ระบุว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะสามารถช่วยลดสภาวะอุปทานล้นตลาดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และการปรับสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2016

หัวหน้านักวิเคราะห์จาก CMC Markets ระบุว่า เหล่าผู้ผลิตน้ำมันไม่น่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ เนื่องจากการบรรลุข้อตกลงดังกล่าวต้องสามารถผ่านเงื่อนไข ทั้ง 2 ข้อ ดังนี้ 1.ราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นต้องสามารถชดเชยปริมาณการผลิตที่ลดลงได้ และ 2.ผู้ผลิตน้ำมันรายสำคัญรายอื่นต้องเข้าร่วมข้อตกลงนี้ทั้งหมด ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ทั้ง 2 ข้อ

นอกจากราคาน้ำมันจะได้รับปัจจัยบวกจากการเข้าร่วมข้อตกลงของอิหร่านแล้ว ยังได้รับผลบวกจากการที่เมื่อวานนี้ สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯโดยสถาบันปิโตรเลียมอเมริกา (American Petroleum Institute) ปรับตัวลดลง 3.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมาสู่ระดับ 499.1 ล้านบาร์เรล และในวันนี้จะมีการประกาศตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯอีกครั้งโดยหน่วยงานสารสนเทศพลังงาน (Energy Information Administration) ซึ่งหากเป็นไปได้ทิศทางเดียวกัน ก็จะยิ่งช่วยหนุนราคาน้ำมันมากขึ้น

บริษัทน้ำมันรายใหญ่ (IOTC) ของอิหร่าน กล่าวว่า อิหร่านมีปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบที่ระดับ 7.1 ล้านบาร์เรลในช่วงเวลาเพียง 2 วัน ซึ่งถือเป็นยอดส่งออกสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ในรอบหลายปี ( โดยจำนวน 4 ล้านบาร์เรลถูกส่งออกไปยังยุโรป ขณะที่อีก 3.1 ล้านบาร์เรลส่งออกไปยังคู่ค้าเดิมของอิหร่าน)

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com