• สรุปข่าวราคาทองคำ ประจำวันที่ 8 กันยายน 2566

    8 กันยายน 2566 | Gold News


ข่าวเกี่ยวกับทองคำ


  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันพฤหัสบดี โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และความกังวลว่าตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานในสหรัฐที่ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือนจะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้


  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 3.17 เหรียญ หรือ 0.17% อยู่ที่ระดับ 1,919.66 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 1.70 เหรียญ หรือ 0.09% ปิดที่ 1,942.50 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 26.30 เซนต์ หรือ 1.12% ปิดที่ 23.24 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 5.70 เหรียญ หรือ 0.62% ปิดที่ 909.60 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 886.64 ตันภาพรวมเดือนกันยายน ขายสุทธิ 3.46 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 31.0 ตัน

ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง


  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.2 จุด หรือ 0.19% มาอยู่ที่ระดับ 105.06 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.03 % มาอยู่ที่ระดับ 4.25% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.07 % มาอยู่ที่ระดับ 4.955% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.71% อยู่ในภาวะ inverted yield curve   


  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจทั้ง 12 เขตหรือ Beige Book โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวเล็กน้อย ขณะที่ตลาดแรงงานคลายความร้อนแรงลง และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อชะลอตัวลงในช่วงเดือนก.ค.-ส.ค. ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจใกล้ยุติวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 


  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐแห่งบอสตัน ออกมาสนับสนุนขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างความระมัดระวังในสภาวะทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน โดยตระหนักถึงความเสี่ยงและขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดเริ่มกังวลว่าในเดือนพฤศจิกายนมีความน่าจะเป็นมากกว่า 40% ที่ธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย และขณะเดียวกันโอกาส 93%


  • นายโทห์รุ ซาซากิ หัวหน้าฝ่ายวิจัยตลาดญี่ปุ่นของธนาคารเจพีมอร์แกน เชสคาดการณ์ว่า การทรุดตัวของค่าเงินเยนยังไม่สิ้นสุด แม้มีกระแสคาดการณ์ว่า ดอลลาร์อาจจะชะลอการแข็งค่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ โดยคาดการณ์ว่า เงินอาจจะทรุดตัวลงแตะระดับ 152 เยนต่อดอลลาร์ในปีนี้ และแตะระดับ 155 เยนต่อดอลลาร์ในปี 2567 และต่อให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยกเลิกนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (YCC) ในปีนี้ ก็จะไม่ช่วยให้เงินเยนฟื้นตัวมากนักในระยะยาว                                


ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ


  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเพียงเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ต่างก็ปิดในแดนลบ โดยตลาดถูกกดดันจากการร่วงลงของหุ้นแอปเปิ้ล หลังมีรายงานเกี่ยวกับการควบคุมการใช้โทรศัพท์ iPhone ในจีน นอกจากนี้ นักลงทุนยังกังวลว่าตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานในสหรัฐที่ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือนจะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานเพื่อสกัดเงินเฟ้อ


  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,500.73 จุด เพิ่มขึ้น 57.54 จุด หรือ +0.17%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,451.14 จุด ลดลง 14.34 จุด หรือ -0.32% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,748.83 จุด ลดลง 123.64 จุด หรือ -0.89%


  • ตลาดหุ้นยุโรปปรับฟื้นตัวขึ้น จากการประเมินแนวโน้มนโยบายการเงิน ในด้าน GDP ของกลุ่มประเทศยูโร บ่งชี้ว่ามีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสที่ 2 และตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีก็ออกมาลดน้อยลง นักวิเคราห์จึงมองว่า ECB มีโอกาสจะคงอัตราดอกเบี้ยให้คงที่ในสัปดาห์หน้า เนื่องจากมีโอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ในฝั่งยุโรป ในส่วนของประเทศจีนยังคงชี้ให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่ชะลอตัวลง และสหรัฐฯ เศรษฐกิจยังคงมีความยืดหยุ่น ซึ่งคาดว่าเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงต่อไป


  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 13,000 ราย สู่ระดับ 216,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือนหรือนับตั้งแต่เดือนก.พ. และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 234,000 ราย


  • นักลงทุนให้น้ำหนัก 45.3% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.50-5.75% ในการประชุมวันที่ 1 พ.ย. หลังจากที่ให้น้ำหนักเพียง 37.1% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และ 28.6% เมื่อเดือนที่แล้ว


  • นักยุทธศาสตร์การลงทุนของ JPMorgan Private Bank กล่าวว่ายังไม่เห็นสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีแนวโน้มว่าอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น แต่สนับสนุนให้ใช้การทำ ”soft landing”เพื่อให้เกิดการชะลอตัว แต่ไม่ได้หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างกะทันหัน


  • สำนักงานศุลกากรจีน (GAC) รายงานว่า ยอดส่งออกเดือนส.ค.ของจีนลดลง 8.8% แตะระดับ 2.849 แสนล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 เนื่องจากอุปสงค์สินค้าจีนในต่างประเทศชะลอตัวลง และสร้างความท้าทายเพิ่มขึ้นให้กับเศรษฐกิจจีนซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก อย่างไรก็ดี ยอดส่งออกเดือนส.ค.ปรับตัวลงน้อยกว่าในเดือนก.ค.ที่ร่วงลง 14.5% และน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่าอาจลดลง 9.2% ส่วนยอดนำเข้าลดลง 7.3% ในเดือนส.ค. สู่ระดับ 2.165 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งน้อยกว่าในเดือนก.ค.ที่ร่วงลง 12.4% และน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าอาจลดลง 9% ทั้งนี้ จีนมียอดเกินดุลการค้าในเดือนส.ค.อยู่ที่ 6.84 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดลงจากระดับ 8.06 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.ค.


  • ฮาลิแฟ็กซ์ ผู้ให้สินเชื่อจำนองรายใหญ่ของอังกฤษ เปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น


  • การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ค.ของเยอรมนีปรับตัวลง 0.8% ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดไว้ว่าอาจลดลง 0.5% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนียังคงเผชิญกับความท้าทายหลังจากเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลงในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา


  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบทางการเงินระดับโลกได้กำหนดแผนงาน เพื่อร่วมดำเนินมาตรการป้องกันไม่ให้สินทรัพย์คริปโทเคอร์เรนซีบ่อนทำลายเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจมหภาค


  • สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2566 ของญี่ปุ่นขยายตัว 4.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งลดลงจากตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่ระบุว่ามีการขยายตัว 6.0% และต่ำกว่าที่ตลาดคาดว่าอาจขยายตัว 5.5%


ข่าวเกี่ยวกับน้ำมัน


  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ลดลงสู่ระดับต่ำกว่า 90 ดอลลาร์ ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันอ่อนแอลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า


  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 67 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 86.87 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ย. ลดลง 68 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 89.92 ดอลลาร์/บาร์เรล


  • นักวิเคราะห์จากบริษัท BOK Financial กล่าวว่า ตลาดน้ำมันถูกกดดันจากดัชนีดอลลาร์ที่พุ่งทำนิวไฮ และข้อมูลที่บ่งชี้ถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของยูโรโซนที่ขยายตัวเพียง 0.1% เมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 0.3% ขณะที่จีนเปิดเผยยอดส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง


  • สำนักงานศุลกากรจีน (GAC) รายงานว่า ยอดนำเข้าน้ำมันดิบพุ่งขึ้นในเดือนส.ค. เนื่องจากโรงกลั่นของจีนทำการเพิ่มสต็อกและเพิ่มกำลังการกลั่น โดยคาดหวังว่าจะได้ประโยชน์จากกำไรที่สูงขึ้นจากการส่งออกเชื้อเพลิงไปขายยังต่างประเทศ ทั้งนี้ ยอดการนำเข้าน้ำมันดิบของจีนในเดือนส.ค.อยู่ที่ 52.8 ล้านตัน หรือ 12.43 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นอัตราการนำเข้ารายวันสูงสุดเป็นอันดับ 3


ข่าวเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ


  • สหรัฐและสหภาพยุโรป (EU) กำลังดำเนินการเกี่ยวกับข้อตกลงที่จะเรียกเก็บภาษีใหม่กับการผลิตเหล็กกล้าส่วนเกินจากจีนและประเทศอื่น ๆ รวมถึงยุติความขัดแย้งทางการค้าที่เกิดขึ้นในยุคที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ


  • รัสเซียประณามแผนของสหรัฐในการส่งมอบกระสุนบรรจุยูเรเนียมด้อยสมรรถนะ (depleted uranium) ให้แก่กองทัพยูเครน ในฐานะส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือรอบใหม่มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์แก่ทางการยูเครน โดยระบุว่าการตัดสินใจส่งมอบอาวุธดังกล่าวเป็นเรื่องไร้มนุษยธรรม


  • จีนวางแผนส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปเยือนเกาหลีเหนือเป็นครั้งที่ 2 ในเวลาไม่ถึง 2 เดือน เพียงไม่กี่วันก่อนที่นายคิม จองอึน ผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือจะเดินทางเยือนรัสเซีย ซึ่งเกาหลีเหนือกับรัสเซียอาจใช้โอกาสนี้ทำข้อตกลงด้านอาวุธ


ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท


  • นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า "ค่าเงินบาทวันนี้"เปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.64 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  35.61 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.50-35.70 บาทต่อดอลลาร์


  • ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประเมินว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอ่อนแรงลงอย่างเห็นได้ ชัดโดยเศรษฐกิจไทยในปี 2566 มีแนวโน้มเติบโตได้ที่ 2.5-3.0% ซึ่งต่ำกว่าประมาณการเดิม โดยเศรษฐกิจในไตรมาส 2 เติบโตได้ เพียง 1.8% ต่ำกว่าประมาณการที่ 3.1% อย่างมาก ภาคเศรษฐกิจที่อ่อนแรง ได้แก่ ภาคการผลิตอุตสาหกรรม ที่มีการหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นไปในทิศทาง เดียวกันกับมูลค่าการส่งออกที่ติดลบต่อเนื่องมา 10 เดือน และติดลบแทบทุกหมวด โดย กกร.ได้ปรับลดคาดการณ์การส่งออกของไทยปีนี้ลง เหลือ -2.0 ถึง -0.5% จากเดิมที่ -2.0 ถึง 0% อีกทั้งการใช้จ่ายภาครัฐที่หดตัวต่อเนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณที่มีแนวโน้มล่าช้า


  • ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวถึงทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนั้น มองว่าได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อลดลง ขณะที่ธนาคารต่างมีต้นทุนสูงขึ้น และตลาดเริ่มเข้าสู่จุดสมดุล โดยกลุ่มธนาคารสามารถปรับตัวรับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ ซึ่งจะเห็นว่าหลังจาก คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นดอกเบี้ยในรอบที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ก็ไม่ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ตาม

 

 

 



ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews

Tags : ข่าวทอง, ข่าวทอง , ทอง , ราคาทอง

 

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com