• สรุปข่าวราคาทองคำ ประจำวันที่ 1 กันยายน 2566

    1 กันยายน 2566 | Gold News


ข่าวเกี่ยวกับทองคำ


  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และความกังวลเกี่ยวกับตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)


  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -2.57 เหรียญ หรือ -0.13% อยู่ที่ระดับ 1,939.86 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 7.10 เหรียญ หรือ 0.36% ปิดที่ 1,965.90 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 29.20 เซนต์ หรือ 1.16% ปิดที่ 24.812 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 8.90 เหรียญ หรือ 0.91% ปิดที่ 974.40 เหรียญ
  • สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 10.30 เหรียญ หรือ 0.8% ปิดที่ 1,218.70 เหรียญ
  • ตลอดเดือนส.ค. สัญญาทองคำปรับตัวลงทั้งสิ้น 2.2%
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 890.1 ตันภาพรวมเดือนสิงหาคม ขายสุทธิ 22.83 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 27.54 ตัน

ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง 


  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.51 จุด หรือ 0.49% มาอยู่ที่ระดับ 103.62 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.01 % มาอยู่ที่ระดับ 4.11% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.02 % มาอยู่ที่ระดับ 4.867% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.76% 


  • FedWatch Tool ของ CME Group ระบุว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 88.5% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมเดือนก.ย. และให้น้ำหนัก 51% ที่เฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมในการประชุมเดือนพ.ย.


  • นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในวันที่ 1 พ.ย. แทนที่จะเป็นวันที่ 20 ก.ย. เพราะว่าเฟดต้องการจะรอดูข้อมูลเศรษฐกิจเป็นเวลานานอีก 2 เดือน ก่อนที่จะตัดสินใจว่าวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่


  • นายมาริโอ เซนเตโน สมาชิกสภาบริหารธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และผู้ว่าการธนาคารกลางโปรตุเกสกล่าวว่า อีซีบีต้องระมัดระวังอย่างมากกับการคุมเข้มนโยบายอีก เนื่องจากเศรษฐกิจยูโรโซนชะลอตัวลงมากเกินคาดในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และได้ดำเนินการไปมากมายแล้ว ทั้งนี้ เขาไม่ได้ระบุว่า เขาจะสนับสนุนแนวทางใดสำหรับการประชุมอีซีบีในเดือนหน้า แต่ก็ชี้ว่า ถ้าอีซีบีหยุดพักการขึ้นดอกเบี้ย นั่นก็จะเป็นเรื่องผิดพลาดที่จะระบุว่า การขึ้นดอกเบี้ยเสร็จสิ้นแล้ว "เราจะทำงานเสร็จก็ต่อเมื่ออัตราเงินเฟ้ออยู่ในทิศทางที่จะทำให้เราไปสู่ระดับ 2% ดังนั้น เราจึงต้องชัดเจนมากๆว่า นี่เป็นกระบวนการที่กำลังเกิดขึ้น"


  • นายโทโยอากิ นากามูระ สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กล่าวว่า เร็วเกินไปที่จะคุมเข้มนโยบายการเงิน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมาส่วนใหญ่เกิดจากต้นทุนนำเข้าที่สูงขึ้น แทนที่จะเป็นการขึ้นค่าจ้าง


  • นายโทโยอากิ นากามูระ สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กล่าวว่า บีโอเจจะตรวจสอบผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและราคาจากการร่วงลงของค่าเงินเยน ขณะที่เยนที่ร่วงลงส่งเสริมผลกำไรของผู้ส่งออก และการท่องเที่ยวขาเข้า แต่ก็กระทบบริษัทภาคบริการและภาคครัวเรือนเพราะทำให้ต้นทุนนำเข้าเพิ่มขึ้น


ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ


  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี ขณะที่ดัชนี Nasdaq ยังคงปิดในแดนบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 5 หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด


  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,721.91 จุด ลดลง 168.33 จุด หรือ -0.48%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,507.66 จุด ลดลง 7.21 จุด หรือ -0.16% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,034.97 จุด เพิ่มขึ้น 15.66 จุด หรือ +0.11%


  • ดัชนี Nasdaq ดีดตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 สัปดาห์ หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.3% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ ปรับตัวขึ้น 4.2% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์เช่นกัน


  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.3% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3.0% ในเดือนมิ.ย. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ ปรับตัวขึ้น 4.2% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 4.1% ในเดือนมิ.ย.


  • นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนส.ค.ของสหรัฐในวันนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 170,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 187,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนส.ค.จะทรงตัวที่ระดับ 3.5%


  • China Beige Book ซึ่งเป็นรายงานสำรวจภาวะเศรษฐกิจจีน ระบุว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคจีนฟื้นตัวขึ้นในเดือนส.ค. หลังจากชะลอการใช้จ่ายในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ การจ้างงานในจีนขยายตัวรวดเร็วขึ้นในเดือนส.ค. โดยการจ้างงานมีการขยายตัวในทุกภาคส่วน อย่างไรก็ดี ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังคงอยู่ในภาวะที่ย่ำแย่ในเดือนส.ค.


  • คันทรี การ์เดน (Country Garden) หนึ่งในบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนรายใหญ่ที่สุดของจีนเปิดเผยว่า บริษัทอาจผิดนัดชำระหนี้ และแสดงความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจต่อ หลังจากบริษัทขาดทุนเกือบ 7 พันล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ซึ่งเป็นตัวเลขขาดทุนสูงสุดเป็นประวัติการณ์


  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนส.ค.ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 49.7 จากระดับ 49.3 ในเดือนก.ค. แต่ดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่า ภาคการผลิตของจีนอยู่ในภาวะหดตัว อย่างไรก็ดี ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนส.ค.อยู่ในระดับสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 49.4 ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการเดือนส.ค.ของจีนลดลงสู่ระดับ 51.0 จากระดับ 51.5 ในเดือนก.ค. อย่างไรก็ดี ดัชนีที่อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคบริการของจีนยังคงมีการขยายตัว


  • นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ยอดส่งออกเดือนส.ค.ของเกาหลีใต้จะลดลง 11.6% เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่ดิ่งลง 16.4% ในเดือนก.ค.ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรุนแรงที่สุดในรอบ 6 เดือน โดยการส่งออกของเกาหลีใต้ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนต.ค.ปีที่แล้ว


ข่าวเกี่ยวกับน้ำมัน


 

  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเหนือระดับ 83 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี ขานรับการคาดการณ์ที่ว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ซึ่งนำโดยซาอุดีอาระเบีย จะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้


  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 2 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 83.63 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์ หรือ 1.2% ปิดที่ 86.86 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ตลอดเดือนส.ค. สัญญาน้ำมัน WTI พุ่งขึ้น 2.2% และสัญญาน้ำมันเบรนท์เพิ่มขึ้น 1.5% ซึ่งต่างก็ปรับตัวขึ้นเป็นรายเดือนติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3


  • ตลาดยังขานรับการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สอดคล้องกับการคาดการณ์ โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.3% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์


  • โกลบอล วิทเนส (Global Witness) ซึ่งเป็นองค์กร NGO ระดับโลกด้านทรัพยากรธรรมชาติ ระบุว่า สหภาพยุโรป (EU) วางแผนนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากรัสเซียมากเป็นประวัติการณ์ แม้ตั้งเป้าไว้ว่าจะลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลจากรัสเซียภายในปี 2570

ข่าวเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ


  • โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐเปิดเผยว่า สหรัฐมีความกังวลว่า การเจรจาเกี่ยวกับอาวุธระหว่างรัสเซียและเกาหลีเหนือนั้นกำลังความคืบหน้าอย่างมาก


  • เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธพิสัยไกล 2 ลูกเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกซ้อมโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธี เพื่อตอบโต้ต่อการประจำการของเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐ ณ คาบสมุทรเกาหลีระหว่างการซ้อมรบร่วมกับเกาหลีใต้

ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท


  • นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวันนี้เปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.01 บาทต่อดอลลาร์ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.90 -35.10 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงก่อนตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ  และประเมินกรอบเงินบาท ในช่วง 34.80-35.30 บาทต่อดอลลาร์ หลังตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ


  • สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ปรับประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปี 66 คาดหดตัว 2.8 – 3.8% และ GDP ภาคอุตสาหกรรมหดตัว 1.5-2.5% หลังดัชนี MPI 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.) หดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 4.5% ขณะที่ ดัชนี MPI เดือนก.ค. อยู่ที่ระดับ 91.14 ลดลง 4.43% ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต (CapU) เดือนก.ค.66 อยู่ที่ 58.19%


  • ฝ่ายวิจัยของธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC Global Research) ประเมินการขาดดุลทางการคลังในปีงบประมาณ 67 เพิ่มขึ้นเป็น 4.4% ของจีดีพี (จากเดิมที่คาดไว้ที่ 4.1%) และลดการคาดการณ์ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 67 ลงเหลือ 2.2% ของจีดีพี ซึ่งเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 2.8%

 

 

 

ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews

Tags : ข่าวทอง, ข่าวทอง , ทอง , ราคาทอง

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com