• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2564

    6 ธันวาคม 2564 | Gold News


ทองคำขยับขึ้น 1% ท่ามกลางกังวลไวรัส และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรต่ำ หนุนความต้องการ Safe-Haven

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.9% ที่ 1,785.29 เหรียญ

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนก.พ. ตลาด Comex ปิด +1.2% ที่ระดับ 1,783.90 เหรียญ

 

·         นักวิเคราะห์ฝ่ายการตลาดอาวุโสจาก OANDA ระบุว่า ทองคำได้รับอานิสงส์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย โดยนักลงทุนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับ การที่เฟดจะเร่งขึ้นลด QE และสถานการณ์ Covid-19 ในเวลานี้ทั้งการระบาดของ Delta  และ Omicron ที่จะเป็นตัวกดดันเศรษฐกิจระยะสั้นๆ

 

 

·         ภาพรวมความเชื่อมั่นในตลาดการเงินต่างๆยังอ่อนแอ จะเห็นได้จาก Nasdaq ที่ทรุดตัวกว่า 2% ประกอบกับข้อมูลแรงงานที่ผสามผสาน โดยจะเห็นได้ถึงข้อมูลจ้างงานเดือนพ.ย. ชะลอตัว แต่อัตราว่างงานปรับลงทำต่ำสุดรอบ 21 ปี ที่สะท้อนตลาดแรงงานแข็งแกร่ง ในขณะที่ตลาดก็มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับ Omicron  

 

·         อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงหลุดต่ำกว่า 1.4% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ย. จึงช่วยหนุนความต้องการทองคำมากขึ้น แต่ภาพรวมทองคำสัปดาห์ที่ผ่านมายังปิด -0.4% จากกระแสสมาชิกเฟด Hawkish เรื่องการเร่งทำ Tapering QE และขึ้นดอกเบี้ย

 

·         บรรดาสมาชิกเฟดมีแนวโน้มที่จะเร่งทำการลด QE หลังจากที่มีการตัดสินใจจะดำเนินการในการประชุมเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา และพวกขาดูจะตอบรับกับท่าทีที่แข็งแกร่งของตลาดแรงงาน รวมถึงมีการเปิดกว้างต่อการเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่พวกเขาได้เคยประเมินไว้

 


·         SPDR ขายทองออก 1.79 ตัน ปัจจุบันลดการถือครองมาที่ 984.38 ตัน ส่งผลให้ภาพรวมช่วง วันทำการแรกของเดือนธ.ค. กองทุน SPDR ขายต่อเนื่องรวมกว่า 8.47 ตัน และทำให้ภาพตั้งแต่ต้นปี 2021 จนถึงปัจจุบัน ขายสุทธิ 193.04 ตัน

 

·         ซิลเวอร์ปิด +0.6% ปิดที่ 22.51 เหรียญ

 

·         แพลทินัมปิด -1.1% ที่ 927.07 เหรียญ

 

·         พลาเดียมปิด +1.2% ที่ 1,802.51 เหรียญ

 

·         ตลาดหุ้นและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรร่วงหลังรายงานจ้างงานรัฐบาลสหรัฐฯ และการปรากฎรายงานติดเชื้อ Omicron ขณะที่นักลงทุนเริ่มคาดการณ์ถึงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในปีหน้า

 

·         อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ทรุดลงแตะ 1.351%

 

·         ปอนด์อ่อนค่าต่อจากดอลลาร์แข็งรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

ดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้นต่อมาแถว 96.202 จุดหลังจากที่วันศุกร์กลับมาที่ 96.1 จุด ขานรับภาพรวมข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯที่จะเป็นตัวเร่งสนับสนุนให้เฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยปีหน้าได้

 

ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าในคืนวันศุกร์ รับความเป็นไปได้ที่อาจจะเห็นเฟดตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ย จึงยิ่งหนุนให้ดอลลาร์แข็งค่า ท่ามกลางความไม่แน่อนนที่ว่าบีโออีจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยในเดือนนี้หรือไม่

 

หนึ่งในสมาชิกบีโออี แสดงความต้องการข้อมูลที่มากกว่านี้เกี่ยวกับผลกระทบจากสายพันธุ์ Omicron Covid ก่อนจะตัดสินใจว่าจะร่วมลงมติขึ้นดอกเบี้ยเดือนนี้หรือไม่

ค่าเงินปอนด์ปิด -0.6% ที่ 1.3218 ดอลลาร์/ปอนด์ เข้าใกล้ระดับต่ำสุดตั้งแต่ธ.ค. ปี 2020 ที่ระดับ 1.3194 ดอลลาร์/ปอนด์ที่ทำไว้เมื่อวันอังคาร

 

·         ตลาดแรงงานสหรัฐฯแกร่ง อัตราว่างงานร่วงลงสู่ระดับช่วงก่อนไวรัสระบาด ทำต่ำสุดรอบ 21 เดือนที่ 4.2%




ขณะที่รายงานจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯคืนวันศุกร์ขยายตัวได้เพียง  210,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย. จากระดับ 594,000 ตำแหน่ง แต่ภาพรวมตลาดแรงงานดูจะยังแกร่งและค่าแรงรายชั่วโมงก็ยังคงเป็นส่วนช่วยตลาดแรงงาน ที่ทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคยังแกร่ง
 


·         ISM เผยดัชนี  PMI ภาคบริการสหรัฐฯ ทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนพ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากภาคธุรกิจที่มีการจ้างานมากขึ้น จึงทำให้ดัชนีขยายตัวได้ที่ 69.1 จุด ซึ่งเป็นสูงสุดตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลในปี 1997

 

·         กระแสเฟดเร่งทำ Tapeing QE และขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าคาดมาจากอัตราว่างงานลดต่ำลง 


·    นางคริสตาลินา จอร์เจียฟวา ผู้อำนวยการ IMF ชี้ สายพันธุ์ Omicron มีแนวโน้มจะฉุดรั้งให้เศรษฐกิจดิ่งสู่ภาวะขาลง และดูเหมือนจะมีอัตราการแพร่ระบาดที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นจึงอาจยิ่งสกัดความเชื่อมั่น ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนต.ค. อาจเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางขาลง

อย่างไรก็ดี เธอคิดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เป็นบวกในเวลานี้ จะมีผลกระทบต่อทิศทงเศรษฐกิจโลก โดยมีนัยยะสำคัญของสมาชิกเฟดที่มีท่าทีลดการจะใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน เหมือนที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้

ดังนั้น
 IMF เชื่อว่า เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยได้ “เร็วขึ้นในปี 2022”

 

·         Omicron จุดประกายความผันผวนของตลาด และทำให้สถานะการลงทุนของ Hedge Funds เข้าสู่เดือนที่ย่ำแย่อีกครั้ง นับตั้งแต่มี.ค. ปี 2020

 

 

·         หุ้นสหรัฐฯปิดร่วงจากความกังวล Omicron ที่มีแนวโน้มจะแพร่ระบาดรวดเร็วรุนแรงกว่า Delta และเฟดจะเร่งลด QE

ดัชนี Dow Jones ปิด -59.71  จุด หรือ -0.17% ที่ระดับ 34,580.08 จุด

ดัชนี
 S&P500 ปิด -0.84% ที่ระดับ 4,538.43 จุด

ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงกว่า 295.85 จุด หรือ -1.92% ที่ระดับ 15,085.47 จุด

ภาพรวม 3 ดัชนีหลักสหรัฐฯแกว่งตัวรุนแรงและผันผวน ท่ามกลางนักลงทุนที่ให้ความสนใจกับ Omicron และถ้อยแถลงของประธานเฟด

ขณะที่ภาพรายสัปดาห์จะเห็นได้ว่า 
 S&P 500 ยังปิดแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 2 โดยปิด -1.2% ในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ Nasdaq ปิดสัปดาห์ดิ่ง -2.62% ทางด้าน Dow Jones ปิดสัปดาห์แดนลบต่อเนื่อง สัปดาห์ที่ -0.92%

 

·         หุ้นยุโรปปิดร่วงท่ามกลางความกังวล Omicron และข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯออกมาน่าผิดหวัง


·         ตลาดหุ้นญี่ปุ่นจ่อปิดร่วง จากนักลงทุนจับตาไปยังการทรุดตัวของ Bitcoin ที่เคลื่อนไหวผันผวนช่วงปลายสัปดาห์

 

 

·         Bitcoin ทรงตัวต่ำกว่า 50,000 เหรียญ ภาพรวมทรุดตัวกว่า 17% ภายใน 24 ชั่วโมงวานนี้

ล่าสุดซื้อขายที่ 
49,122 เหรียญ ภาพรวมปรับตัวลงต่อเนื่อง วันทำการ

 

·         น้ำมันดิบปิดผสมผสาน จากความกังวล Omicron ที่จะฉุดรั้งอุปสงค์โลก และตลาดรอท่าทีรับมือจาก OPEC+

น้ำมันดิบ Brent futures ปิด +21 เซนต์ หรือ +0.3% ที่ 69.88 เหรียญ/บาร์เรล

น้ำมันดิบ WTI ปิด -24 เซนต์ หรือ -0.4% ที่ 66.26 เหรียญ/บาร์เรล

 

·         WHO ระบุว่า Omicron พบระบาดแล้ว 38 ประเทศทั่วโลก และข้อมูลเบื้องต้นสะท้อนว่ามีการระบาดได้รวดเร็วมากยิ่งกว่า Delta

·         การระบาดของ Omicron ส่งผลต่อแผนการจัดกิจกรรมช่วงเทศกาล Christmas

·         COVID-19 UPDATES


 


·         สถานการณ์ในไทย




·         Goldman Sachs หั่นจีดีพีสหรัฐฯปี 2022 จากความกังวล Omicron สู่ระดับ 3.8% เดิมคาดไว้ที่ 4.2%

นอกจากนี้ ยังหั่นคาดการณ์จีดีพีไตรมาสที่ 4 ปีนี้เมื่อเทียบปีที่แล้วสู่ 2.9% เดิมคาดไว้ที่ 3.3%

 

·         ไต้หวันระบุว่า ความสำคัญของประเทศคู่ค้า อาจจำเป็นต้องหารือเรื่องค่าเงินกับสหรัฐฯต่อ


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com