• บาทเปิดทรงตัว - Fund Flow และการเก็งกำไร Reopening ยังหนุนบาทแข็ง

    15 ตุลาคม 2564 | Economic News


เงินบาทเปิดเช้านี้ “ทรงตัว” ที่ระดับ 33.18 บาท/ดอลลาร์



นักบริหารการเงิน มองว่า เงินบาทยังคงได้แรงหนุนฝั่งแข็งค่าจากฟันด์โฟลว์ไหลเข้าสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติ ที่อาจทยอยเข้ามาซื้อหุ้นไทยบนการเก็งกำไรธีม Reopening



นอกจากนี้ เงินบาทยังมีแรงหนุน หากผู้ค้าทองคำเริ่มขายทำกำไรทองคำมากขึ้น หลังราคาทองคำปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 1,800 เหรียญ (ขายทำกำไรทองคำบนสกุลเงินดอลลาร์ แล้วแลกกลับเป็นเงินบาท) ซึ่งจากปัจจัยหนุนการแข็งค่าของเงินบาทดังกล่าว ทำให้เรามองว่า ในระยะสั้นคงยังไม่เห็นการกลับไปอ่อนค่าหนักของเงินบาทและแนวต้านสำคัญของเงินบาทก็ขยับลงมาอยู่ในโซน 33.35-33.50 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ส่งออกบางส่วนต่างรอขายเงินดอลลาร์อยู่



สำหรับวันนี้ ตลาดจะติดตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในเดือนกันยายน ที่อาจหดตัวราว -0.2% จากเดือนก่อนหน้า กดดันโดยยอดขายรถยนต์ที่ลดลง



และนอกเหนือจากการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว เราเชื่อว่า ปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อตลาดการเงินในระยะนี้ คือ การรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ซึ่งถ้าหากงบออกมาดีกว่าคาดและแนวโน้มจะเติบโตได้ในอนาคตก็จะช่วยให้ตลาดทยอยเปิดรับความเสี่ยงต่อได้



ทั้งนี้ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.05-33.30 บาท/ดอลลาร์


 

·         อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

- กนง.จับตาค่าเงินบาทผันผวน สั่งดูแลไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของธุรกิจ

กนง.ชี้ระยะที่ผ่านมาค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากขึ้น ระบุเคลื่อนไหวทั้งสองทิศทาง “อ่อนค่า-แข็งค่า” เห็นควรติดตามตลาดการเงินใกล้ชิด-ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของภาคธรุกิจ พร้อมเร่งปรับโครงสร้างอัตราแลกเปลี่ยนให้สมดุล-ยืดหยุ่นขึ้น

 

·         อ้างอิงจากไทยโพสต์

- ธปท.ฟันธงศก.ฟื้นตัว ห่วงเตะฝุ่น3.4ล้านคน

“แบงก์ชาติ” ฟันธงเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 3/64 ไปแล้ว ลุ้นรัฐเร่งนำเข้า-กระจายวัคซีน หนุนกิจกรรม ศก.คึกคัก แนะเร่งดูแลตลาดแรงงาน ประเมินปีนี้เตะฝุ่นอีก 3.4 ล้านคน ชี้ภาคบริการ-ฟรีแลนซ์หนักสุด นายกฯ ปลื้ม Fitch Ratings ประเมินเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็วขึ้นในปี 65

 

·         อ้างอิงจาก Business Today

เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้ว! ชี้มาตรการคลังเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้ออกรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) โดยระบุว่า คณะกรรมการฯ ประเมินเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาส ปี 2564 และมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในระยะข้างหน้า แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว 0.7% ในปีนี้ และปี 2565 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.9% แม้ในไตรมาส เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดและการส่งออกที่ชะลอลงกว่าคาด แต่พัฒนาการด้านวัคซีนดีขึ้นชัดเจนและการผ่อนคลายมาตรการการระบาดที่เร็วกว่าคาด จะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นและการบริโภคภาคเอกชนในช่วงที่เหลือของปีนี้

 

·         อ้างอิงจากการเงินการธนาคาร
เปิดรายงานกนง. มองเศรษฐกิจไทยผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้วในช่วงไตรมาสที่ 3/2564 ขยายเพดานหนี้ 70
% ช่วยหนุนพื้นคืนเศรษฐกิจ แต่ต้องปรับลดลง


ภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะตลาดการเงิน

การฟื้นตัวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักและกลุ่มประเทศเอเชียแตกต่างกันมากขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้จำนวนผู้ติดเชื้อกลับมาเพิ่มสูงขึ้นจากการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta ส่วนหนึ่งเพราะอัตราการฉีดวัคซีนอยู่ในระดับสูงจึงสามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดได้เร็ว ทำให้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจมีไม่มาก ขณะที่กลุ่มประเทศเอเชียได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta ที่รุนแรงขึ้น และใช้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนแผ่วลงหลังจากที่เร่งขึ้นมากในช่วงก่อนไวรัสกลายพันธุ์ระบาด สำหรับการส่งออกสินค้ายังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว แต่เริ่มได้รับผลกระทบจากปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทานในโลก (global supply disruption) เช่น การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และเซมิคอนดักเตอร์ ที่คาดว่าจะรุนแรงและยืดเยื้อถึงกลางปี 2565

 

ภาวะเศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 0.7 และ 3.9 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ ใกล้เคียงกับประมาณการ ณ เดือนสิงหาคม โดยแม้ในไตรมาสที่ 3 ปี2564 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดและการส่งออกที่ชะลอลงกว่าคาด แต่พัฒนาการด้านวัคซีนที่ดีขึ้นชัดเจนและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดที่เร็วกว่าคาด จะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นและการบริโภคภาคเอกชนในช่วงที่เหลือของปี2564 สำหรับปี2565

สำหรับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังคงยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมายเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง โดยต้องติดตาม


(1) แนวโน้มการระบาดและการกลายพันธุ์ของไวรัส รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและนโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยว


(2) การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นภาคเอกชนหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ซึ่งจะส่งผลต่อการบริโภคและการลงทุน


(3) ความต่อเนื่องของมาตรการของภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในระยะต่อไป


(4) ปัญหา supply disruption และต้นทุนค่าขนส่งสินค้าทางเรือ ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกสินค้า


 

ประเด็นสำคัญที่คณะกรรมการฯ อภิปราย


• คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 และมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในระยะข้างหน้า แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง


• คณะกรรมการฯ เห็นว่าโจทย์สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจไทย ณ ปัจจุบัน คือ การดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดที่เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและรายได้ฟื้นตัวต่อเนื่อง


• คณะกรรมการฯ เห็นว่ามาตรการการคลังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจในปัจจุบันทั้งการเยียวยาและพยุงเศรษฐกิจ โดยในระยะต่อไป


• คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินต้องสนับสนุนให้ภาวะการเงินโดยรวมผ่อนคลายต่อเนื่อง


อ่านต่อhttps://www.moneyandbanking.co.th/article/news/bot-mpc-14102021

 

·         อ้างอิงจากเดลินิวส์

- เปิดประเทศรับต่างชาติเข้าไทย เพิ่มแรงส่งเศรษฐกิจปีหน้าสดใสอาจโตถึง 6%

ศูนย์วิจัยกรุงไทย คอมพาส ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลเตรียมเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในวันที่ 1 พ.ย.นี้ เชื่อว่าจะส่งผลดีหากทำได้รวดเร็ว ทำให้เป็นโอกาสของหลายธุรกิจที่จะกลับมาฟื้นตัวได้หลังจากนี้ และจะฟื้นตัวได้เร็วขึ้น คาดในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีจะมีต่างชาติเดินทางเข้ามาไทยเพิ่มขึ้น จนรวมทั้งปีนี้จะมีนักท่องเที่ยว 2-3 แสนคน และต่อเนื่องไปถึงปี 65 ที่จะมีต่างชาติเดินทางเข้าไทยเพิ่ม 5 แสนคน

ทั้งนี้ในช่วง 1-2 เดือนนี้ ที่เริ่มเปิดประเทศอาจมีขั้นตอนและกระบวนการที่ไม่ราบรื่นนัก แต่เชื่อว่าในปี 65 จะเริ่มดีขึ้นจนเศรษฐกิจไทย หรือจีดีพีปี 65 กลับมาฟื้นได้ 3.9% และขยายตัวต่อเนื่องจากปีนี้ที่คาด 0.5% โดยยังต้องติดตามปัจจัยอื่น ๆ และสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ด้วย ซึ่งหากรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม รวมถึงฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง อาจทำให้เศรษฐกิจไทยปี 65 ขยายตัวได้มากถึง 6% เหมือนกับหลายประเทศ เช่น อังกฤษ และสหรัฐฯ

 

หอการค้าชง ข้อพร้อมเปิดประเทศ ชี้ช่วยทำเศรษฐกิจเสียหายลดลง

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มีข้อเสนอ 4 ประเด็น ได้แก่


1.ภาครัฐต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น และสื่อสารขั้นตอนการเดินทางเข้าไทยที่ชัดเจน ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง รวมถึงการเดินทางภายในประเทศจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่ง และมีหน่วยงานเจ้าภาพที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและปฏิบัติได้ตรงกัน  


2.การเปิดสถานประกอบการ ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อฟื้นเศรษฐกิจในพื้นที่ และมีมาตรฐานเดียวกันตามพื้นที่เสี่ยง พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ว่าจะมีการกระจายวัคซีนได้อย่างทั่วถึงภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งภาคเอกชนพร้อมสนับสนุนการกระจายฉีดวัคซีนเพิ่มเติมทั้งเข็ม และเข็ม 3


3.ใช้ระบบและมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับ เพื่อติดตามนักเดินทาง โดยการนำระบบดิจิทัลมาใช้ ซึ่งจะเกิดความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และรองรับปริมาณนักเดินทางได้มากขึ้น นอกจากนั้น ภาครัฐควรดูแลระบบฐานข้อมูลกลางของระบบ Digital health pass ที่นำมาใช้เก็บข้อมูลการฉีดวัคซีน การตรวจหาเชื้อโควิด-19  และเปิดให้เอกชนเชื่อมต่อระบบได้ เพื่อให้เช็กข้อมูลการฉีดวัคซีน และการตรวจหาเชื้อของผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบการทั้งของคนไทย และชาวต่างชาติได้ 


4.รัฐควรเร่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ เพื่อเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ให้เกิดการกระจายรายได้ พร้อมไปกับการรักษาการจ้างงาน ซึ่งจะช่วยเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส ปีนี้ เพราะการท่องเที่ยวจากต่างประเทศในปีนี้ อาจไม่สามารถช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยได้อย่างรวดเร็ว

 

·         อ้างอิงจากไทยรัฐ

- นายกฯไทย ยินดี Fitch Ratings ประเมินเศรษฐกิจไทย ฟื้นตัวได้เร็วในปี 65



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com