• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 15 ตุลาคม 2564

    15 ตุลาคม 2564 | Gold News



ราคาทองคำปรับขึ้นทำสูงสุดรอบ 1 เดือน จากดอลลาร์อ่อน-อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯร่วง

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.2% ที่ 1,796.59 เหรียญ
ระหว่างวันทำสูงสุดตั้งแต่ 15 ก.ย. ที่ 1,800 เหรียญ

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ตลาด Comex ปิด +0.2% ที่ 1,797.9 เหรียญ


 ราคาทองคำตลาดโลกปรับขึ้นทำสูงสุดรอบ 1 เดือน แม้ว่ากระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐฯที่ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 300,000 รายเป็นครั้งแรกรอบ 19 เดือน ถือเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึง การขาดแคลนแรงงานชะลอตัวลง




ภาพรวมจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ที่แล้วลดลงราว 36,000 ราย สู่ระดับ 293,000 ราย ถือเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่กลางเดือนมี.ค.






จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ต่อเนื่องลดลงไป 134,000 ราย สู่ระดับ 2.59 ล้านราย ถือเป็นต่ำสุดตั้งแต่ที่มีการระบาดของ Covid-19


ทั้งนี้ ทองคำได้รับอานิสงส์จาก


- ดอลลาร์อ่อนค่าปิดต่ำกว่า 94 จุด หลังความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงฟื้น
โดยดัชนีดอลลาร์ปิด -0.036% ที่ระดับ 93.982 จุด ช่งต้นตลาดทำต่ำสุดรอบ 10 วันทำการบริเวณ 93.754 จุด


อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับตัวลดลงแตะ 1.518หลังดัชนี PPI ขยายตัวได้น้อยกว่าคาด

ข้อมูลเงินเฟ้อภาคการผลิต พบว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ขยายตัวได้ 0.5% ในเดือนก.ย. ซึ่งถือว่าขยายตัวได้น้อยที่สุดในรอบ 9 เดือน หลังจากที่ขยายตัวได้ 0.7% ในเดือนส.ค.

ขณะที่ดัชนี PPI รายปีในเดือนก.ย. พบว่า ขยายตัวขึ้นไปสู่ระดับ 8.6% ถือเป็นการเพิ่มขึ้นในภาพรายปีที่มากที่สุดตั้งแต่ พ.ย. ปี 2010 หลังจากที่ปรับขึ้นมาแตะ 8.3% ในเดือนส.ค. 

 

- ความเชื่อมั่นในตลาดโลกยังเป็นไปอย่างเปราะบางจากวิกฤตพลังงาน ที่ดูจะเป็นตัวเร่งเงินเฟ้อ กระทบการเติบโตทางเศรษฐกิจ


- ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของจีนรายปีทำสูงสุดครั้งประวัติศาสตร์ ขณะที่เงินเฟ้อสหรัฐฯยังอยู่ระดับสูง อาจทำให้บรรดาธนาคารกลางยังไม่สามารถถอนการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจได้เร็วกว่าคาด


- นักลงทุนต้องการถือครองทองคำเพื่อเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อ

 

·         นักวิเคราะห์จาก Kitco กล่าวว่า เทรดเดอร์และนักลงทุนกำลังรับข่าว “เงินเฟ้อสูง” ครั้งประวัติศาสตร์ จึงเป็นปัจจัยเด่นที่ทำให้ทองคำเป็นขาลง ไม่ว่าเฟดจะเดินหน้าปรับนโยบายอย่างไร ประกอบกับความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นที่ดูจะส่งผลให้อุปสงค์ Safe-Haven ในทองคำเพิ่มขึ้นบางส่วน

 

·         นักวิเคราะห์จากหน่วยงานอิสระ ระบุว่า แนวโน้มเฟดทำ Tapering QE ดูจะเป็นปัจจัยลบต่อทองคำแต่ก็ดูจะเป็นไปอย่างน้อยลง จึงทำให้ภาพรวมทองคำในเวลานี้เคลื่อนไหวในแดนบวก โดยทองคำจะมีแนวต้านสำคัญทางเทคนิคที่ระดับ 1,800 เหรียญ และ 1,835 เหรียญ

 

·         รายงานประชุมเฟดก.ย. สะท้อนว่า การประชุมเฟด 2 – 3 พ.ย. นี้ ดูจะสะท้อนโอกาสเฟดเริ่มทำ Tapering QE

 

·         นักวิเคราะห์จาก TD Securities กล่าวว่า แม้ตลาดจะมีการประเมินถึงโอกาสเฟดถอนนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน แต่ภาวะความเสี่ยงแบบ Stagflatioin ที่เพิ่มขึ้น ก็ดูจะเพิ่มความต้องการทองคำในเวลานี้ ประกอบกับเรื่องวิกฤตพลังงาน ที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้นักลงทุนยังเลือกถือครองทองคำ

 

·         ราคาในกลุ่มโลหะมีค่าก็ปิดปรับตัวสูงขึ้นได้เมื่อคืนนี้
- ซิลเวอร์ปิด +1.7
% ที่ 23.45 เหรียญ ต้นตลาดทำสูงสุดรอบ 1 เดือน
- พลาเดียมปิด +1.4
ที่ 2,136.18 เหรียญ ช่วงต้นตลาดมีการปรับขึ้นทำสูงสุดรอบ 1 เดือน
- แพลทินัมปิด +3.1
% ที่ 1,051.78 เหรียญ ถือว่าเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ช่วงต้นส.ค.

  

·         สรุปถ้อยแถลงสมาชิกเฟดเมื่อวานนี้

- นายแพทริค ฮาร์เกอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดเฟีย หนุนเฟดควรเริ่มต้นทำTapering QE  เร็วๆนี้ แต่ยังไม่ควรขึ้นดอกเบี้ยตามมา และควรรออย่างน้อย 1 ปี


- นายโธมัส บาร์กิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ กล่าวว่า การลดการซื้อพันธบัตรของเฟดจะไม่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ที่แข็งแกร่ง รวมถึงเศรษฐกิจ และอาจเป็นการดีกว่าที่จะเห็นเฟดลด QE จากกระแสเงินเฟ้อเวลานี้


- นายเจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ ระบุว่า  เฟดควรเร่งทำ Tapering QE ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับ “เงินเฟ้อ” ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น


- นางแมรี ดาลีย์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก ชี้ เวลานี้เหมาะสำหรับการทำ Tapering QE แต่ยังเร็วเกินไปที่จะหารือเรื่อง “ขึ้นดอกเบี้ย” พร้อมมองเงินเฟ้อและจ้างงานมีความคืบหน้าเพียงพอที่เฟดจะเริ่มลด QE


นายราฟาเอล บอสติค ประธานเฟดสาขาแอตแลนต้า มองว่า ค่าเงินดิจิทัลดอลลาร์ดูจะก่อให้เกิดข้อสงสัยมากขึ้นสำหรับกฎระเบียบภาครัฐและเอกชน และยังมีอีกหลายขั้นตอนที่จำเป็นจะต้องนำมาใช้


- “นางโลแกน” สมาชิกอาวุโสของเฟดสาขานิวยอร์ก คาดหวังว่า การใช้ Reverse Repo จะลดลงตามอัตราการลงทุนอื่นๆที่เริ่มลดน้อยลงไป

 

·         Reuters เผยว่า  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง หนุนให้ธนาคารสหรัฐฯรายใหญ่ๆ มีการนำเงินสดมาถือครองพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้น  หลังจากที่ตลาดมีกระแสคาดการณ์ถึงเฟดจะเริ่มทำ Tapering QE

บรรดาธนาคารต่าๆง ได้แก่ Bank of America และ Citigroup Inc รวมถึง JPMorgan Chase & Co ด้วย

 

·         กระแสคาดการณ์บีโออีขึ้นดอกเบี้ย หนุนเงินปอนด์ทำแข็งค่ามากสุดรอบ 2 สัปดาห์ บริเวณ 1.3734 ดอลลาร์/ปอนด์ ประกอบกับเทรดเดอร์หวังจะเห็นข้อตกลงการค้า Post-Brexit ระหว่างอังกฤษและอียูสามารถหลีกเลี่ยงไปได้

 

·         ค่าเงินรูเบิลรัสเซียทำแข็งค่ามากสุดนับตั้งแต่ก.ค. ปี 2020 ด้านหุ้นรัสเซียพุ่งทำสูงสุดประวัติการณ์ จากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง

 

·         “ปูติน” ประธานาธิบดีรัสเซีย กล่าวว่า “Cryptocurrency มีมูลค่า” แต่ไม่คิดว่าจะมาแทนที่ค่าเงินดอลลาร์ ในการใช้ซื้อขายน้ำมันได้

 

·         Goldman Sachs คาดราคาน้ำมันดิบมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้อีก

 

·         ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เป็นหนึ่งในแผนงานของนายไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดูจะทำให้เขามีการพบกับบรรดาผู้นำยุโรปในอีก 2 สัปดาห์นี้

 

·         ออสเตรเลียเตรียมรับมือกับการเผชิญการชะลอตัวในกลุ่ม “เทคโนโลยีรายใหญ่”

 

·         ไอเอ็มเอฟเรียกร้องบรรดาธนาคารกลางจับตา “เงินเฟ้อ” ใกล้ชิด และควรดำเนินการอย่างเหมาะสม

 

·         สมาชิกบีโออี ระบว่า สามารถอดทนรอต่อการขึ้นดอกเบี้ยได้

 

·         ประธานธนาคารกลางแคนาดา ระบุว่า ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน สะท้อนเรื่องเงินเฟ้อที่น่าจะใช้เวลานานกว่าที่จะปรับตัวลดลงได้

 

·         COVID-19 UPDATES:

ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกทะลุ 240 ล้านรายแล้ว โดยวานนี้พบติดเชื้อใหม่เพิ่ม 433,946 ราย เสียชีวิตสะสม 4.89 ล้านราย ขณะที่รักษาหายเพิ่มมากขึ้น 394,554 ราย รวมสะสม 217.65 ล้านราย




 

·         ที่ปรึกษาองค์กรอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) เผยการสนับสนนุนวัคซีน Covid-19 ของ Moderna ในการฉีดกระตุ้นภูมิแก่ผู้สูงอายุและกลุ่มเสียงสูง

 

·         ไทยยังรั้งอันดับ 11 ติดเชื้อใหม่เพิ่มมากสุดของโลก  โดยล่าสุดรายงานวันนี้พบไทยติดเชื้อใหม่เพิ่ม 10,486 ราย เสียชีวิตอีก 94 ราย





ขณะที่ยอดตรวจพบเชื้อแบบ ATK มากถึง 3,577 ราย

ยอดรวมติดเชื้อสะสมในประเทศแตะ 1.76 ล้านราย เสียชีวิตสะสมทะลุ 18,000 ราย


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com