• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 12 ตุลาคม 2564

    12 ตุลาคม 2564 | Gold News



ราคาทองคำอ่อนตัวจากดอลลาร์แข็งค่า รับความกังวล Stagflation

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.1% ที่ระดับ 1,754.54 เหรียญ

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด -0.1% ที่ 1,755.7 เหรียญ

 

·         นักวิเคราะห์ฝ่ายการตลาดอาวุโสจาก OANDA กล่าวว่า ดอลลาร์กำลังเป็นปัจจัยหลักในเวลานี้ และอาจยังคงอยู่ในแนวโน้มแข็งค่าจนกว่าเฟดจะตัดสินใจทำ Tapering QE  ขณะที่แรงกดดันขาลงของทองคำดูจะเริ่มเข้าใกล้จุดสิ้นสุด

ดังนั้น นักลงทุนจึงควรเตรียมตัวให้เหมาะสมกับจุดสูงสุดที่จะเกิดขึ้น เมื่อทองคำสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น รวมทั้งปรับขึ้นอีกครั้งตามประวัติศาสตร์แนวโน้มขาขึ้นของทองคำที่เกิดขึ้น

 

·         ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นทำสูงสุดรอบเกือบ 3 ปี เมื่อเทียบกับเงินเยน ท่ามกลางนักลงทุนที่ยังมั่นใจว่าเฟดจะทำการประกาศ Tapering QE ในเดือนหน้า แม้จ้างงานจะอ่อนตัว  ส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าแตะ 113 เยน/ดอลลาร์ เป็นครั้งแรก และถือเป็นระดับอ่อนค่ามากสุดของเงินเยนนับตั้งแต่ ธ.ค. ปี 2018

 

นอกจากนี้ เงินเยนยังได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของค่าเงินที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงต่างๆ และราคานำมันที่สูงขึ้นในรอบหลายปี ท่ามกลางวิกฤตพลังงานที่ดูจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศหลักๆที่กำลังมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัว

 

·         ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.054% ที่ 94.215 จุด  อยู่ไม่ห่างจากสูงสุดรอบ 1 ปีที่ทำไว้ช่วงต้นเดือนบริเวณ 94.504 จุด

 

·         อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ยังคงเคลื่อนไหวแถว 1.6% หลังวันศุกร์ที่ผ่านมาไปทำสูงสุดรอบ 4 เดือนที่ 1.617%

 

·         หัวหน้านักกลยุทธ์ฝ่ายการตลาดจาก Blue Line Futures กล่าวว่า แรงสนับสนุนในทองคำอาจเกิดขึ้นจากหลายๆฝ่ายที่กำลังพิจารณาถึงเรื่อง Stagflation ในเวลานี้ และน่าจะมองว่าทองคำถือเป็นสินทรัพย์ที่ดีที่สุดในสภาวะที่เงินเฟ้อยังอยู่ระดับสูง

 

·         แรงหนุนเงินเฟ้อให้สูงขึ้นดูจะส่งผลชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจและกระทบตลาดหุ้น ท่ามกลางราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น

 

·         ราคาซิลเวอร์ปิด -0.3% ที่ 22.60 เหรียญ

·         พลาเดียมปิด +1.6ที่ระดับ 2,110.93 เหรียญ ท่ามกลางแรง Short-Covering  หลังจากที่ปรับตัวลง

·         แพลทินัมปิดปรับลง -1.8% ที่ 1,008.17 เหรียญ หลังไปทำสูงสุดช่วงต้นตลาดรอบ 2 เดือน

 

·         นักวิเคราะห์ ANZ ระบุว่า พลาเดียมกำลังเผชิญแรง Technical Rebound หลังราคาทดสอบแนวรับ 1,870 เหรียญ  ขณะที่ปัจจัยอื่นๆยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากนัก ท่ามกลางกลุ่มยานยนต์ที่กำลังเผชิญกับความท้าทายเรื่องการขาดแคลน Micro-Chip เว้นแต่ว่าจะเห็นการผลิตฟื้นตัว ซึ่งอาจจะขึ้นอยุ่กับความพร้อมของกลุ่มเซมิคอนดัคเตอร์ส ท่ามกลางกลุ่ม PGMs (Platinum Group Metals) ยังผันผวน

 

·         Bitcoin พุ่งทำสูงสุดตั้งแต่พ.ค. ณ ขณะนี้ปรับขึ้นแล้ว 30% ในเดือนต.ค. โดยเมื่อคืนนี้ปรับขึ้นได้ราว 3% บริเวณ 57,530.81 เหรียญ หลังจากที่ระหว่างวันทำสูงสุด 57,740.82 เหรียญ

 

·         หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ World Bank ชี้ เศรษฐกิจเกิดใหม่กำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่เรื่อง “การเติบโต”


ทั้งการแก้ไขปัญหาความยากจน และการสร้างรายได้ของรัฐบาลเพื่อเพิ่มพื้นที่ทางการคลังสำหรับด้านความปลอดภัยทางสังคมและสินค้าสาธารณะ ซึ่งประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนามีการเผชิญปัญหาดังกล่าวก่อนหน้าไวรัสระบาด ที่จะเริ่มเห็นได้ถึงการเติบโตที่ชะลอตัวลงในปี 2015 เป็นต้นมา

 

·         CEO ของ JPMorgan Chase ชี้ ปัญหาห่วงโซ่อุปทานจะบรรเทาลงในเร็วๆนี้ ท่ามกลางอุปสงค์ที่แข็งแกร่งอย่างมากของบรรดากลุ่มผู้บริโภค

 

·         จิม เครเมอร์” จาก CNBC ระบุว่า ความกังวลเรื่อง Stagflation จะค่อยๆคลี่คลายไป ดังนั้น นักกลงทุนไม่ควร Panic และตอบรับเกินเหตุการณ์นี้มากเกินไป

 

·         รายงานผลประกอบการสหรัฐฯแกร่ง แต่นักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯยังกังวลกับปัญหาห่วงโซ่อุปทานและเงินเฟ้อ

 

·         ผู้อำนวยการ IMF เสี่ยงหลุดตำแหน่งจากข้อกล่าวหา “อคติกับจีน”  หลังเธอกล่าวกับเจ้าหน้าที่ของ World Bank ในการแก้ไขการจัดอันดับเพื่อประโยชน์แก่จีน

 

อย่างไรก็ดี เธอปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และตลาดกำลังรอดูว่า IMF จะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร

 

·         แหล่งข่าวเผยว่า สมาชิกบอร์ดบริหาร IMF จะยังให้การสนับสนุนนางคริสตาลินา จอเจียฟวา ผู้อำนวยการ IMF

 

หลังจากที่มีการปรับทบทวนการถอนตำแหน่งของเธอจากเจ้าหน้าที่ของ World Bank ที่เธอต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เป็นการสนับสนุนจีน

 

·         นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจาก Rand Corporation ระบุว่า ท่าทีทางการทหารของจีนต่อไต้หวันยังมีอยุ่ และน่าจะดำเนินต่อไปเป็นเวลาเกือบปี เนื่องจากความตึงเครียดระหว่าง “จีน-ไต้หวัน” รุนแรงขึ้น และส่วนหนึ่งดูเหมือนจีนจะต้องการได้รับความสนใจจากสหรัฐฯ

 

·         “คิม จอง อึน” ผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือ กล่าวว่า สหรัฐฯ-เกาหลีใต้ กำลังคุกคาม “สันติภาพ” จากการเสริมทัพทางทหาร โดยเฉพาะบริเวณบริเวณคาบสมุทรเกาหลี

 

·         COVID-19 UPDATES:

ยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกสะสมใกล้ทะลุ 239 ล้านรายในเร็วๆนี้ ท่ามกลางยอดเสียชีวิตสะสมรวม 4.87 ล้านราย

ทั้งนี้ ยอดการรักษาหายทั่วโลกเพิ่มสูงกว่าอัตราการติดเชื้อใหม่ โดยเมื่อวานรักษาหายมากเกือบ 370,000 ราย ขณะที่ติดเชื้อใหม่เพิ่ม 298,539 ราย

 

 


 

เมื่อวานนี้ไทยรั้งอันดับ 7 ของโลก สำหรับจำนวนยอดติดเชื้อใหม่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่สหรัฐฯ หล่นจากตำแหน่งอันดับ 1 มาเป็นอันดับ 2 โดยติดเชื้อลดลงจากหลักแสนสู่ระดับ 37,488 ราย ขณะที่อังกฤษครองอันดับ 1 โดยมียอดติดเชื้อใหม่เพิ่มมากสุดของโลก 40,224 ราย เมื่อวานนี้

 

·         สหรัฐฯเข้าใกล้การเสริมประสิทธิภาพวัคซีนด้วยการฉีดบูสเข็มถัดไปสำหรับ Moderna และ J&J ในสัปดาห์นี้

 

·         Moderna เผย ไม่มีแผนจะแบ่งปันข้อมูลส่วนผสมด้านวัคซีน

 

·         Merck ได้รับอนุมัติใช้ตัวยา Covid-19 จากทางสหรัฐฯเป็นที่แรก

 

·         ยอดติดเชื้อในซิดนีย์ลดลง ส่งผลให้รัฐบาลมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ

 

·         รายงานยอดติดเชื้อไทยเพิ่มขึ้น 9,445 ราย เสียชีวิตใหม่ 84 คน แต่หายป่วยเพิ่ม 11,452 ราย ขณะที่ศบค.เผยยอดฉีดวัคซีนไทยใกล้แตะ 60 ล้านโดสแล้ว



 

·         BBC News รายงานว่า นายกัฐมนตรีไทย ระบุ 1 พ.ย. ไทยเปิดรับผู้มาเยือน 10 ชาติ วัคซีนครบ ไม่กักตัว

 

·         เงินบาทเปิดเช้านี้ “แข็งค่า” ที่ระดับ 33.70 บาท/ดอลลาร์

นักบริหารการเงินคาดกรอบเงินบาทวันนี้อยู่ระหว่าง 33.60 – 33.80 บาท/ดอลลาร์ แม้ว่าจะเห็นเงินบาทแข็งค่าได้ แต่ไม่น่าจะกลับแข็งค่าได้มากนักในระยะสั้นๆ เนื่องด้วยปัจจัยพื้นฐานยังไม่ได้ฟื้นตัวดีนัก ประกอบกับดอลลาร์ยังอยุ่ในทิศทางแข็งค่า

ภาพรวมเงินบาทยังได้รับแรงหนุนจาก
- Fund Flow ของผู้เล่นบางส่วนที่เข้ามาเก็งกำไร
- ตลาดรับข่าวทยอยเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว พ.ย.
- นายกฯ ประกาศเตรียมรับนักท่องเที่ยว โดยไม่กักตัว
- จับตาประมูลบอนด์ยีลไทยวันนี้ ที่อาจเห็นนักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อสุทธิ และทำให้เงินบาทจะยังแข็งค่าได้ระยะสั้นๆ



- กกร. มองเศรษฐกิจไทยปี 64 ดีขึ้น อาจโตได้ในกรอบ 0.0ถึง 1.0%


จากเดิมที่เคยคาดไว้ในกรอบ -0.5
% ถึง 1.0% จากสถานการณ์ติดเชื้อลดลง – การกระจายวัคซีนดีขึ้น รวมทั้งรัฐบาลออกมาตรการต่างๆสนับสนุนการใช้จ่าย

ด้านส่งออกคงเป้าหมายเดิมขยายตัวได้ 12ถึง 14% จากเศษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีขึ้น


อัตราเงินเฟ้อไทยทั่วไปอยู่ในกรอบ 1.0% ถึง 1.2%


อย่างไรก็ดี กกร. เล็งทำจดหมายถึงนายกฯ หวั่นไทยเข้าร่วม CPTPP ห่วงเสียโอกาสหากล่าช้า รวมถึงยังคงจับตาสถานการณ์น้ำท่วมและราคาน้ำมันที่กำลังปรับตัวสูงขึ้น


 

·         อ้างอิงจากไทยรัฐ


SCBS มองวัฏจักรเศรษฐกิจกำลังเปลี่ยน แนะโฟกัสหุ้นไทยกลุ่มใหญ่-เชิงรับ

บล.ไทยพาณิชย์ มองวัฏจักรเศรษฐกิจกำลังจะเปลี่ยนจากภาวะ Reflation เข้าสู่ Stagflation โดยประเมินระดับเหมาะสมของ SET Index ปี 2565 อิงกับปัจจัยพื้นฐานอยู่ที่ 1,600 จุด แนะนำกลยุทธ์การลงทุน ถือครองหุ้นขนาดใหญ่และกลุ่มหุ้นเชิงรับ 

ทั้งนี้คาดว่าเฟดจะประกาศลด QE จริงใน 4Q21 การปรับลดวงเงินมาตรการซื้อสินทรัพย์ หรือ QE tapering อาจจะส่งผลทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงและเพิ่มความเสี่ยงให้กับสินทรัพย์ทางการเงิน เมื่อสินทรัพย์รวมของธนาคารกลางปรับตัวลดลง ผลตอบแทนของตลาดจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ

ส่วนความกังวลจากประเทศจีน คือ กฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นของสถาบันการเงินส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ ตัวอย่างเช่น กรณีของบริษัท Evergrande ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่อันดับสองในจีนมีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ นอกจากนี้เมื่อ yield curve เปลี่ยนเป็น Bear หรือ Bull flattening ผลตอบแทนโดยรวมของสินทรัพย์เสี่ยง (รวมถึง SET) ยังคงเป็นบวกแต่จะลดลงสู่ตัวเลขหลักเดียว


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com