• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 11 ตุลาคม 2564

    11 ตุลาคม 2564 | Gold News


ทองชะลอขาขึ้น ท่ามกลางเทรดเดอร์รับกระแสจ้างงานแย่แต่เฟดจะยังทำ Tapering QE


ราคาทองคำชะลอการปรับตัวสูงขึ้นหลังจากที่ช่วงประกาศข้อมูลจ้างงานรัฐบาลสหรัฐฯปรับขึ้นได้แรงกว่า 1% แต่นักลงทุนในตลาดก็ยังเล็งเห็นโอกาสที่เฟดยังมี “เหตุผลต่างๆ” เพียงพอในการสนับสนุนการถอนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจปีนี้


·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.2% ที่ 1,758.86 เหรียญ
ระหว่างวันทำสูงสุดที่ 1,781.20 เหรียญ ถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ 22 ก.ย. ที่ผ่านมา

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด -0.1% ที่ 1,757.4 เหรียญ


·         กองทุน SPDR กลับมาเทขายออกเป็นครั้งแรกในรอบ 5 วันทำการ



โดยวันศุกร์ขายออก 1.49 ตัน ปัจจุบันลดการถือครองลงมาที่ระดับ 985.05 ตัน ทำระดับต่ำสุดตั้งแต่ 7 เม.ย. 2020

ภาพรวมเดือนต.ค. ขายออกแล้ว 4.98 ตัน ส่งผลให้เป็นการเทขายต่อเนื่องเดือนที่ 4 ขณะที่ตลอดทั้งปี ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 8 ต.ค. กองทุนทองคำ SPDR ขายมากถึง 185.69 ตัน


·         จ้างงานสหรัฐฯแย่ แต่ไม่มีแนวโน้มจะยับยั้งเฟดทำ Tapering QE

ประชากรในสหรัฐฯกว่า 11 ล้านคนได้รับการฉีดวัคซีนเป็นที่เรียบร้อย แต่การจ้างงานในสหรัฐฯกลับพบว่ามีเพียง 194,000 ตำแหน่งเท่านั้นในเดืนอก.ย. สะท้อนว่า "ปัญหาอุปทาน" ยังไม่สัมพันธ์กับ "อุปสงค์"

แม้ว่าการจ้างงานจะออกมาน่าผิดหวัง แต่อัตราว่างงานก็ลดลงจาก 5.2% สู่ระดับ 4.8%







ด้านข้อมูลค่าแรงโดยเฉลี่ยรายชั่วโมงสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนก.ย. หนุนภาพรายปีทะยานแตะ 4.6% ตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาเฉลี่ยค่าแรงรายปีเพิ่มมาแล้ว 6% ดูเหมือนจะยิ่งติกย้ำแรงหนุนเงินเฟ้อ ณ ปัจจุบันที่อาจอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์หลายๆรายคาดการณ์ไว้






·         ING ชี้ว่า ค่าแรงขึ้น = แรงกดดันเงินเฟ้อสูง = เฟดจะทำ Tapering QE

 

·         รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ไม่ปฏิเสธว่า ปัญหาห่วงโซ่อุปทานกำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

·         “นางแมรี ดาลีย์” ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก ชี้ ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าตลาดแรงงานชะลอตัว  แม้จ้างงานสหรัฐฯจะออกมาแย่ต่อเนื่อง 2 เดือนติดในเดือนก.ย. แต่สถานการณ์ระบาดของ Delta Covid-19 กำลังลดลง

 

·         U.S.10 Yield และดอลลาร์ยังมีแรงหนุนจากโอกาสเฟดทำ Tapering QE

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับขึ้นทำสูงสุดตั้งแต่ 4 มิ.ย. บริเวณ 1.617% หลังจากที่อ่อนตัวลงไปบริเวณ 1.558% เมื่อทราบข้อมูลจ้างงาน

ดอลลาร์ทรงตัวหลังจ้างงานสหรัฐฯแย่ แต่โอกาสเฟดคุมเข้มทางการเงินยังหนุน โดยภาพรวมเฟดอาจมีการทำ Tapering QE ได้เร็วสุดคือการประชุม 2-3 พ.ย.นี้

ดัชนีดอลลาร์ปิดอ่อนตัวลงเล็กน้อย 0.1% ที่ระดับ 94.067 จุด

 

·         นักวิเคราะห์ทางเทคนิคอาวุโสจาก Kitco กล่าวว่า ทองคำมีแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจขาลง แต่ก็ดูเหมือนภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ไม่ได้แย่มาก มีผลให้เกิดกระแสคาดการณ์ในตลาดที่จะยังเห็นเฟดทำ Tapering QE อยู่ในเร็วๆนี้ และทั้งหมดนี้จึงกดดันทองคำให้อ่อนตัว

 

·         นักวิเคราะห์จาก Standard Chartered วิเคราะห์ว่า ตลาดมองเห็นโอกาสการทำ Tapering QE จึงกดดันทองคำขาลง แม้จะมีแรงหนุนจากอุปสงค์ในตลาดที่เพิ่มขึ้นก็ตาม

อย่างไรก็ดี การจะเห็นทองคำกลับมาเป็นขาขึ้นได้ต้องยืนให้ได้เหนือ 1,950 – 1,960 เหรียญ หรือช่วงเดียวกับจุดพีคที่เกิด Covid-19 และสัญญาณดังกล่าวก็ดูไม่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้ในเวลานี้


·         ราคาแพลทินัมปิด +4.1% ที่ 01,019.74 เหรีญญ
ราคาพลาเดียมปิด +5.8
% ที่ 2,073.52 เหรียญ

·         ราคาซิลเวอร์ปิด +0.5% ที่ 22.70 เหรียญ

 

·         Bitcoin ปิดตลาด +1.5% ที่ 54,569.9 จุด ในคืนวันศุกร์ทำสูงสุดรอบ 5 เดือนที่ 56,168 จุด (ช่วงต้นตลาด) ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วปิด +13% ถือเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่องสัปดาห์ที่ 2

 

·         Goldman Sachs หั่นคาดการณ์จีดีพีสหรัฐฯปี 2021 และปี 2022 อันเนื่องจากการลดมาตรการสนับสนุนทางเศรษฐกิจจนถึงปีหน้า และการฟื้นตัวอย่างล่าช้าของค่าใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภคที่นานกว่าคาด

จีดีพีปี 2021 คาดจะโตได้ 5.6จากเดิมคาดไว้ 5.7%
จีดีพีปี 2022 คาดจะโตได้ 4
จากเดิมที่คาดไว้ 4.4%

 

·         “แมคคอนเนล” ย้ำ รีพับลิกันจะไม่ให้ความช่วยเหลือเดโมแครตอีกครั้งสำหรับการขยายเพดานหนี้ หลังจากที่ช่วยเพิ่มเพดานหนี้ชั่วคราวจนถึง ธ.ค. นี้

 

·         บรรดาผู้ว่าการบอร์ดบริหารอีซีบี คาดว่า จะเห็นความขัดแย้งกับบรรดารัฐบาลต่างๆ เมื่อสิ้นสุดการใช้มาตรการสนับสนุนทางการเงิน

ทั้งนี้ การที่อีซีบีต้องมีการพิจารณาถึงการก้าวออกจากนโยบายสนับสนุนทางการเงิน รวถึงมาตรการทางการคลังที่ใช้ในวิกฤตการระบาดระลอกใหญ่ จะเป็นสาเหตุที่ทำให้บรรดารัฐบาลต่างๆไม่พอใจ แต่ทางอีซีบีก็กำลังมีการหารือเกี่ยวกับการสิ้นสุดการใช้มาตรการสนับสนุนฉบับพิเศษที่น่าจะทำการตัดสินใจในการประชุมเดือนธ.ค. นี้

 

·         “นายแอนดรู ไบเลย์” ผู้ว่าการบีโออี ชี้ เงินเฟ้อที่ยืนเหนือเป้าหมายเป็นเรื่อง “น่ากังวล”  และต้องได้รับการจัดการเพื่อไม่ให้เกิดการปรับขึ้นเป็นการถาวร

ทั้งนี้ นายไบเลย์ ดูจะมีท่าที Hawkish มากขึ้นในการหารือเกี่ยวกับแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ แม้ว่าจะเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอังกฤษชะลอตัว

 

·         “ซอนเดอร์ส” สมาชิกบีโออี หนุน “พร้อม” ที่จะขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอังกฤษ

จะเห็นได้ว่า อัตราเงินเฟ้อมีการปรับขึ้นอย่างรวดเร็วและยืนเหนือระดับ 4% จึงยิ่งตอกย้ำว่าบีโออีอาจเป็นธนาคารกลางรายใหญ่เจ้าแรกที่ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยนับตั้งแต่ที่เกิดการะรบาดของไวรัส

 

·         จ้างงานรีบาวน์ – เงินเฟ้อพุ่ง หนุนแนวโน้มาธนาคารกลางแคนาดาจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย

 

·         “นางเจเน็ต เยลเลน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ มั่นใจว่า สภาคองเกรสจะผ่านร่างกฎหมาย “ภาษีบริษัทขั้นต่ำทั่วโลก” ที่ทำข้อตกลงกับ 136 ประเทศ

อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังสหรัฐฯ จะทำการเปิดเผยรายละเอียดการปรับทบทวนร่วมกับทีมบริหารของนายไบเดนอีกครั้ง

 

·         CIO ของ AIA ชี้ ข้อตกลงภาษีบริษัททั่วโลกอาจกระทบผลกำไรบริษัทได้มากถึง 1.5% - 2% รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

·         “เจน ปาสกี” โฆษกทำเนียบขาว ปฏิเสธให้ความเห็นเกี่วกับรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานสหรํฐฯ ต่อความเป็นไปได้เรื่องการส่งออกน้ำมันดิบสหรัฐฯ สำหรับเครื่องมือที่จะใช้เพื่อบรรเทาปัญหาราคาน้ำมันในตลาด

 

·         ผู้เชี่ยวชาญเตือน ภาคอุตสาหกรรมอังกฤษเสี่ยง “ปิดโรงงาน” หากปราศจากการช่วยเหลือเรื่องราคาพลังงาน ท่ามกลางราคาก๊าซขายส่งที่เพิ่มสูงกว่า 400% ในปีนี้ โดยที่สต็อกน้ำมันอยู่ระดับต่ำ แม้อุปสงค์จากเอเชียจะแกร่ง จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ “กำลังสร้างแรงกดดัน” ต่อภาคอุตสาหกรรมพลังงานของอังกฤษ

 

·         ประธานาธิบดีไต้หวัน ย้ำจุดยืน จะสนับสนุนการป้องกันของตนต่อไปและไม่ถูกบังคับให้ก้มหัวให้จีน!

เนื่องด้วยแนวทางที่จีนวางไว้ไม่ได้เป็นการให้เสรีภาพหรือประชาธิปไตย์ พร้อมกล่าวถึงจีนที่อ้างว่าไต้หวันเป็นอาณาเขตของตน ทำให้เกิดแรงกดดันทางการทหารและการเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะภารกิจของกองทัพอากาศจีนในเขตป้องกันภัยทางอากาศของไต้หวันซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก่อใหเกิดความกังวลระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น

 

·         จีนเสนอเพิ่มการขุดเจาะ “Cryptocurrency” เข้าสู่บัญชีลบ (Negative Lists) ของภาคอุตสาหกรรม ที่มีข้อจำกัดและการห้ามนักลงทุนจีนและนักลงทุนต่างชาติเข้าถึงการดำเนินการดังกล่าว

หน่วยงานกำกับดูแลในจีนมีคำสั่งห้ามซื้อขายและการขุด Cryptocurrency ปีนี้ ท่ามกลางธนาคารกลางจีนที่ให้คำมั่นจะ “กำจัด” Cryptocurrency ที่เป็นไปอย่างผิดกฎหมายเมื่อเดือนที่แล้ว

 

·         Evergrande เผย บรรดาผู้บริหาร 6 คน ทำการคืนเงินผ่านการไถ่ถอนผลิตภัณฑ์ซื้อขายล่วงหน้าแล้ว

 

·         คณะผู้แทนตอลิบานยุติการหารือร่วมกับผู้แทนสหรัฐฯ ในกรุงโดฮา

 

·         COVID-19 UPDATES:


ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกทะลุ 238 ล้านราย ล่าสุดรวมสะสม 238.62 ล้านราย

เสียชีวิตสะสมทั่วโลกอยู่ระดับ 4.86 ล้านราย

ทางด้านรักษาหายทั่วโลกปรับขึ้นมาที่ 215.79 ล้านราย

 

·         สิงคโปร์เผยพร้อมเปิดช่องทางการเดินทางสำหรับประเทศที่มีการฉีดวัคซีนสูงกว่า 8 ประเทศ ท่ามกลางการปรับวิถีทางแบบ New Normal

 

·         สถานการณ์ติดเชื้อในไทย

9 ต.ค. ติดเชื้อใหม่เพิ่ม 10,630 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 73 ราย
10 ต.ค. ติดเชื้อใหม่เพิ่ม 10,817 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 84 ราย

ข้อมูลตลอดช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา ยอดติดเชื้อยังทรงตัวแถวหลักหมื่น และเสียชีวิตใหม่เพิ่มต่ำกว่าหลักร้อย แต่โดยภาพรวมติดเชื้อสูงสุดยังเป็นกทม.-ปริมณฑล


รายงานล่าสุดติดเชื้อใหม่เพิ่มในวันนี้ 10,035 ราย เสียชีวิตใหม่เพิ่ม 60 ราย

 



·         นักบริหารการเงิน ประเมินว่า เงินบาทสัปดาหืนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.40-34.20 บาท/ดอลลาร์ จับตาโควิด-ทิศทางฟันด์โฟลว์ หลังจากระหว่างสัปดาห์ที่ผ่านมาทำอ่อนค่ามากสุดรอบกว่า 4 ปีครั้งใหม่บริเวณ 33.99 บาท/ดอลลาร์ โดยทยอยอ่อนค่าสอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาคหลายสกุลท่ามกลางดอลลาร์ที่อยู่ในทิศทางแข็งค่า

 

·         อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

- กรุงไทย เผยบอนด์ยีลด์จ่อแตะ 2% ดันเงินไหลเข้า ทำเงินบาทแข็งค่า

ประเมินกรอบเงินบาทอยู่ที่ 33.50-34.00 บาทต่อดอลลาร์ เกาะติดประชุมเฟด-เงินเฟ้อ-ความเสี่ยงบริษัทในจีนผิดนัดชำระหนี้ ดันเงินทุนไหลตลาดอาเซียน จับตาบอนด์ยีลด์ไทยปรับขึ้นแตะ 2% นักลงทุนไหลเข้าตลาดพันธบัตร หลังมีการประมูลบอนด์วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท กดดันบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า

ปัจจัยความเสี่ยงที่ยังต้องติดตามและมีผลกับกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย (ฟันด์โฟลว์) จะเป็นเรื่องความเสี่ยงในกลุ่มโซนเอเชีย เช่น บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในจีนที่อาจจะมีบริษัทอื่นๆ มีความเสี่นงจะผิดนัดชำระหนี้ ดังนั้น จะเริ่มเห็นนักลงทุนทยอยเข้าลงทุนในตลาดอาเซียน จึงเริ่มเห็นฟันด์โฟลว์เป็นบวก ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าได้ แต่การแข็งค่าจะไม่เร็วมากนัก เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของไทยยังไม่ดีขึ้นมาก แต่หากสถานการณ์ในประเทศดีขึ้นจะเริ่มเห็นฟันด์โฟลว์เข้ามากขึ้น

 

- โควิดทำไทยขาดดุลครั้งแรกรอบ 16 ปี ttb ลั่นจุดเปราะบางเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินโควิด-19 ระบาด ทำไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดครั้งแรกในรอบ 16 ปี นับจากปี 48 คาดปี 64 ไทยขาดดุลที่ 3.3% ของจีดีพี เชื่อปัญหาคลี่คลายหลังเปิดประเทศ พร้อมระบุเงินบาทที่อ่อนค่า 12.3% เป็นอันดับ 1 ในภูมิภาค แต่ความเปราะบางจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนน้อย เหตุหนี้ต่างประเทศต่ำ 36% ของจีดีพี หนี้สาธารณะใกล้เคียงเพื่อนบ้าน

 

·         อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ

- สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ชี้ ถึงเวลาต้องโฟกัสฟื้นฟูเศรษฐกิจจริงจัง โดยเฉพาะในเรื่องการท่องเที่ยว สิ่งสำคัญ คือ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรจัดระบบให้มีประสิทธิภาพ ปราบมาเฟีย ที่ทำให้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยเสียหายให้หมดไปอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันนักท่องเที่ยวถูกเอารัดเอาเปรียบ


ในเรื่องการท่องเที่ยว สิ่งสำคัญ คือ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรจัดระบบให้มีประสิทธิภาพ ปราบมาเฟีย ที่ทำให้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยเสียหายให้หมดไปอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันนักท่องเที่ยวถูกเอารัดเอาเปรียบ

 

·         อ้างอิงจากอินโฟเควสท์

- “อนุสรณ์” ชี้ไทยเสี่ยงเผชิญ Stagflation ชั่วคราว คาด Q1/65 น้ำมันแตะ 100 ดอลลาร์


นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันตลาดโลกขึ้นไปสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 หรือในรอบเกือบ 7 ปี คาดการณ์แนวโน้มราคาน้ำมันเป็นขาขึ้นไปจนถึงกลางปี 2565 เป็นอย่างน้อย และมีโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทะเลเหนือปรับตัวทะลุระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้ในช่วงไตรมาสแรกปี 2565


แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ต้นทุนภาคการผลิต การขนส่งคมนาคมสูงขึ้น และค่าใช้จ่ายครัวเรือนปรับตัวเพิ่มขึ้น การปรับขึ้นของราคาพลังงานเป็นผลจากราคาพลังงานในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าช่วงปลายปี ราคาน้ำมันน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 75-95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล


นายอนุสรณ์ มองว่า มีความเสี่ยงมากขึ้นที่เศรษฐกิจไทยอาจเผชิญภาวะ Stagflation คือ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เติบโตต่ำและเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นมาก สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่เผชิญอยู่เวลานี้ คือ รายได้ชะลอตัว หนี้สินท่วม ค่าครองชีพสูงขึ้น แถมยังว่างงานอีก จึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องเร่งดำเนินการนโยบายเข้มงวดทางการเงินเพิ่มขึ้น หรือปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ เพราะช่องว่างการผลิต (Output Gap) ของเศรษฐกิจไทยยังติดลบค่อนข้างมาก มีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่จำนวนมาก




บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com