• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 26 กรกฎาคม 2564

    26 กรกฎาคม 2564 | Gold News


·       DailyFX แนะทองคำชะลอภาวะขาลง

นักวิเคราะห์จาก DailyFX ชี้ ทองคำปรับตัวลงและดูจะเห็นการย้ายออกจากแพทเทิร์นขาลงจากกราฟ Candlestick  ในรูป  Evening Star ดังนั้นทองคำต้อง Break หลุดจากแนวรับ 1,797 เหรียญ จึงอาจเห็นทองคำปรับลงมาปิดแถว 1,755 - 1,764 เหรียญได้เป็นลำดับต่อไป

แต่หากทองคำจะกลับเป็นภาวะขาขึ้นต้องปิดให้ได้เหนือ 1,870.75 เหรียญ หากราคาผ่านระดับดังกล่าวไปได้ก็อาจกลับขึ้นไปเหนือ 1,900 เหรียญ และอาจไปได้ถึงสูงสุดเมื่อช่วงเดือนมิ.ย. ที่ 1,916 เหรียญ


·       ปริมาณซื้อขายในตลาดปานกลาง นักลงทุนจับตาแนวต้าน  1,811 เหรียญ



นักวิเคราะห์จาก FXLeaders ระบุว่า ทองคำทรงตัวในกรอบ เคลื่อนไหวแถว 1,805 เหรียญ และมีแนวต้านแตะ 1,811 เหรียญ ซึ่งทำให้ภาพของทองคำในตลาดเอเชียดูจะมีการปรับขึ้น จากการที่ดอลลาร์อ่อนค่า

ทั้งนี้ นักลงทุนทองคำรอ ประชุมเฟด ว่าจะตัดสินใจอย่างไรในช่วงปลายสัปดาห์นี้

ความต้องการทองคำร่วง ท่ามกลางราคาผันผวน

ความต้องการทองคำในอินเดีย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางความต้องการทองคำลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางราคาทองคำที่ผันผวน กดดันการตัดสินใจของกลุ่มผู้ซื้

 

วิเคราะห์ราคาทองคำทางเทคนิค

ราคาทองคำยังคงเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways เหนือ 1,795 เหรียญ ซึ่งทองคำจะมีแนวต้านถัดไปที่ 1,832 เหรียญ ที่เป็นระดับสำคัญของเส้น  EMA ราย 50 วัน หากผ่านแนวต้าน 1,810 เหรียญไปได้ โดยทองคำจะกลับเป็นขาขึ้นได้หากผ่าน 1,832 เหรียญ เพราะมีโอกาสขึ้นไปถึง 1,844 เหรียญ

อย่างไรก็ดี หากทองคำหลุดต่ำกว่าแนวรับ 1,795 เหรียญ ก็มีโอกาสที่จะเห็นทองคำเผชิญแรงเทขายและกดดันให้ทองคำกลับลงมาแนว 1,776 เหรียญ และ 1,753 เหรียญได้ ท่ามกลางเส้น MACD และ RSI ที่ยังคงยืนเหนือค่ากลาง

สิ่งสำคัญคือแนะนำให้นักลงทุนรอซื้อจับตาบริเวณ 1,811 เหรียญให้ดี เพราะดูจะเป็นจุดเดียวกับที่นักลงทุนฝั่งขายรออยู่

ดอลลาร์ปรับแข็งค่าต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ ท่ามกลางสภาวะความผันผวนในตลาด ขณะที่ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงลดลงก่อนประชุมเฟด 27-28 ก.ค.นี้

นอกจากนี้ ตลาดยังให้ความสำคัญกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และข้อมูลเงินเฟ้อต่างๆด้วย

ภาพรวมประชุมเฟดสัปดาห์นี้ ดูจะเกิดกาคาดหวังเห็น การทำ Tapering QE เร็วสุดในช่วงไตรมาสที่ 4/2021 ควบคู่กับความเป็นไปได้ที่จะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงไตรมาสที่ 4/2022

ทั้งนี้ หากจีดีพีสหรัฐฯปีนี้ขยายตัวได้ตามคาด 8-9% ในรายไตรมาสเทียบไตรมาส ควบคู่กับข้อมูลเชิงบวกจากการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล และ Core PCE ที่วัดเงินเฟ้อ ก็อาจทำให้ดอลลาร์อาจยิ่ง "แข็งค่า" และเข้ากดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในอีกหลายสัปดาห์

นักวิเคราะห์จาก TD Securities กล่าวว่า ทองคำยังผันผวน โดยจับตาไปยังการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยแท้จริงและเงินเฟ้อ รวมทั้งการปรับนโยบายดอกเบี้ยสู่ระดับปกติ


·       ออสเตรเลียเล็งเห็นยอดติด Covid-19 เพิ่มสูงขึ้น จาก Delta Covid โดยพบยอดติดเชื้อใหม่แตะ 145 ราย จาก 141 รายในสัปดาห์ก่อน - ตำรวจเตือนการชุมนุมต้าน Lockdown

 

·       กลุ่มผู้สนับสนุน นายโยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ลดลงประมาณ 9 จุด แตะ 34% ท่ามกลางสถานการณ์ Covid-19 ช่วงแข่งกีฬาโอลิมปิกที่เลวร้าย


·       บีโอเจ นัดนักเศรษฐศาสตร์จาก PhD เพื่อปรับมุมมองการร่างแผนการดำเนินนโยบายการเงินที่ซับซ้อนและได้รับผลกระทบเชิงซ้อนจาก Covid-19 ด้วยความพยายามคาดการณ์ทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจ


·       
จับตาสัมพันธ์จีน - "ลอยด์ ออสติน" รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงสหรัฐฯ มุ่งหน้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สัปดาห์นี้

จึงเป็นการตอกย้ำความพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งในภูมิภาคเพื่อสนับสนุนการต่อต้านจี


·       
จีนคุมเข้มระดับหนี้สินรัฐบาลท้องถิ่นที่ยังไม่ถูกเปิดเผยออกมา


·       นักเศรษฐศาสตร์ ชี้ การดำเนินการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศสามารถเตรียมเครื่องมือรับมือกับการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก

นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยการลงทุนจาก TS Lombard กล่าวว่า การเพิ่มนโยบายการลงทุนและเทคโนโลยีในการรับมือกับการเปลี่ยนทางสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลต่อทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางการระบาดของไวรัสระบาด

การเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการช่วยเหลือเศรษฐกิจหลัง Covid ที่อาจเริ่มได้รับผลกระทบจากประเด็นดังกล่าว


·       ดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับแข็งค่ารอบหลายเดือน - ตลาดสนใจประชุมเฟด หาสัญญาณกรอบเวลาดำเนินนโยบาย

ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับแข็งค่ามากสุดในฐานะ Safe-Haven เช่นเดียวกับเงินเยน แม้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯจะได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นสินทรัพย์เสี่ยง

ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวแถว 92.920 จุดช่วงเริ่มต้นสัปดาห์ อยู่ไม่ห่างจากสูงสุดที่ทำไว้บริเวณ 93.194 จุดในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นแข็งค่ามากสุดรอบ 3 เดือนครึ่ง

ภาพรวมดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมาแล้ว 3.8% จากต่ำสุดเมื่อ 25 พ.ค. ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าจะได้รับแรงหนุนเพิ่มจากการที่เฟดจะเริ่มต้นลดการเข้าซื้อพันธบัตรเร็วสุดปีนี้

ดอลลาร์ปรับขึ้นได้ 0.2% ในสัปดาห์ที่แล้ว จากอานิสงส์ความต้องการ Safe-Haven จากความกังวลเกี่ยวกับไวรัสระบาดเพิ่มจำนวนยอดติดเชื้อ ส่งผลให้อาจเป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจโลก แม้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯจะแกร่งจากรายงานผลประกอบการ

ค่าเงินเยนแข็งค่าที่ 110.56 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่ามากสุดแถวช่วง 14 ก.ค. ที่ผ่านมา

ค่าเงินยูโรทรงตัวแถว 1.17655 ดอลลาร์/ยูโร หลังไปทำอ่อนค่ามากสุดตั้งแต่ 5 เม.ย. ในสัปดาห์ที่แล้ว บริเวณ 1.1752 ดอลลาร์/ยูโร

Commonwealth Bank of Australia คาด ดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นได้ต่อในสัปดาห์นี้ จากโอกาส "เฟด" ที่จะเข้าใกล้การถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากการประชุมช่วง 2 วันในสัปดาห์นี้

นักกลยุทธ์จาก CBA คาดว่า เฟดอาจจะลดมุมมอง "เสถียรภาพ" จากสัญญาณชี้นำเรื่อง "ความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน" แต่อาจมีผลจำเป็นต่อเงื่อนไข "ตลาดแรงงาน"  ก่อนทำการถอดถอนนโยบายสนับสนุนทางการเงิน และหากเฟดลดการกล่าวถึงความยั่งยืนดังกล่าว ก็เชื่อได้ว่าจะเกิดการปรับนโยบายให้เป็นไปอย่างเหมาะสมสำหรับการเข้าซื้อสินทรัพย์ และ มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นการประกาศลด QE เกิดขึ้นในเดือนก.ย.

มุมมองความเสี่ยงจากยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่เพิ่มมากขึ้นในสหรัฐฯ หลังจากที่เฟดจบประชุม 16 มิ.ย. อาจเห็นเฟดกล่าวถึงประเด็นนี้ได้อีกครั้ง


·       Bitcoin ปรับขึ้นกว่า 12% ทดสอบสูงสุดเดิม - Ether ทำ High รอบ 3 สัปดาห์

ท่ามกลางนักลงทุนฝั่งขายที่ปิดสถานะหลังตลาดดิ่งลงในสัปดาห์ที่แล้ว หนุนแรงซื้อกลับ ประกอบกับตลาดรอถ้อยแถลงเชิงบวกของนักลงทุนที่มีอิทธิพลต่อตลาด Crypto ที่ดูจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนได้

 

·       น้ำมันดิบเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย นักลงทุนกังวล Covid-19 กระทบอุปสงค์น้ำมัน - อุปทานตลาดจะตึงตัวต่อช่วงที่เหลือของปี

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับลงเพียง 8 เซนต์ ที่ 71.99 เหรียญ/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับลง 3 เซนต์ ที่ 74.07 เหรียญ/บาร์เรล

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com