• UBS Survey | เงินเฟ้อ - Covid 19 และหนี้สินระดับสูง เป็นสิ่งที่ "ธนาคารกลางกังวล"

    7 กรกฎาคม 2564 | Economic News

UBS Survey | เงินเฟ้อ - Covid 19 และหนี้สินระดับสูง เป็นสิ่งที่ "ธนาคารกลางกังวล"

 

ผลสำรวจของ UBS สะท้อนว่า บรรดาสมาชิกธนาคารกลางต่างๆ ค่อนข้างกังวล กับ 3 เรื่องสำคัญ คือ

 

"เงินเฟ้อ" อันดับหนึ่งของความกังวล

รองลงมา คือ การยุติ "วิกฤต Covid-19"

เรื่องสำคัญที่ 3 "การเพิ่มสูงขึ้นของระดับหนี้สิน"

 

ความกังวลเรื่อง "เงินเฟ้อ" และอัตรผลตอบแทนระยะยาวที่เกินควบคุม ดูจะสร้างความเสี่ยงสำหรับนักลงทุนตลอดตั้งแต่ในรายงาน  Annual Reserve Manager Survey โดยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามกว่ า57% ในปีนี้ ยังคงกังวลว่า "เงินเฟ้อจะเป็นความเสี่ยงหลักต่อเศรษฐกิจโลก"

 

และเกินกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจ เชื่อว่าสถานการณ์ Covid-19 น่าจะยุติหลังจากปี 2022

 

หัวหน้านักกลยุทธ์และที่ปรึกษาคนสำคัญของ UBS กล่าวว่า เงินเฟ้อคือปัจจัยอันดับแรกที่บรรดาสมาชิกธนาคารกลางค่อนข้างเป็นกังวล  โดยส่วนใหญ่ ยังคาดว่าจะเห็นเงินเฟ้อขึ้นต่อ แต่อาจไม่ขึ้นไปมากนัก จึงทำให้พวกเขาคิดว่าการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อเป็นเพียงสภาวะชั่วคราว

 

อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เชื่อว่าจะกระทบกับ "การลงทุนในการสำรองเงินตรา (FX Reserves)" จึงน่าจะยังเห็นการสำรองอยู่ในระดับต่ำ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลติดลบสำหรับ FixedIncome

 

กว่า 2 ใน ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในปี 2023 ขณะที่มีเพียง 30% คาดหวังจะเห็นการขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า

 

คาดการณ์ดังกล่าวดูจะสวนทางกับโอกาสของอีซีบี โดยมีเพียง 33% ที่มองอีซีบีจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกปี 2023 และ 41% กลับมาองว่าอีซีบีน่าจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในปี 2024 มากกว่า โดยมีเพียง 26% ที่คิดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากปี 2024

 

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามยังเชื่อว่า ธนาคารกลางจะยังคงสนับสนุนตลาดต่างๆ และเศรษฐกิจต่อหากจำเป็น พร้อมมองโอกาสเฟดอาจกลับมาคิดถึงเรื่องการควบคุม Yield Curve

 

สำหรับแนวโน้มของการสำรองสินทรัพย์ต่างๆจะเป็นไปในลักษณะ "กระจายความเสี่ยงมากขึ้น" โดยเชื่อว่า

บรรดาธนาคารกลางจะมีการสำรองหุ้นไว้มากกว่า 40%

บรรดาธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่น่าจะถือตราสารหนี้มากขึ้น 54%

ขณะเดียวกัน ทุกๆแห่งอาจเริ่ม หันมาถือครองสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นด้วย

 

ท้ายที่สุดนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 40% ยังคาดหวังว่า จะเริ่มเห็นธนาคารคารกลางปล่อยค่าเงินดิจิทัลของตัวเองภายในอีก 3 ปีข้างหน้า

 

ที่มา: Reuters

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com