• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 10 พฤษภาคม2564

    10 พฤษภาคม 2564 | Gold News


ทองปิดสัปดาห์ดีที่สุดในรอบ 6 เดือนจากข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯอ่อนแอ

·         ทองคำปรับขึ้นกว่า 1ปิดสัปดาห์ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. ปีที่แล้ว โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมาแย่กว่าที่คาด โดยมีการจ้างงานขยายตัวได้เพียง 266,000 ตำแหน่ง ท่ามกลางการขาดแคลนความต้องการแรงงานแม้เศรษฐกิจของประเทศจะกลับมาเปิดทำการได้ จึงกดดันดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรให้ปรับตัวลดลง


·         กองทุน SPDR เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาทำการเช้าซื้อทองคำเพิ่ม 5.82 ตัว โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,025.15 ตัน  ขณะที่ภาพรวมเดือนพ.ค. กองทุน SPDR กลับมาถือครองสถานะซื้อ 8.11 ตัน

อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ม.ค. - ปัจจุบัน ปี 2021 กองทุน SPDR ขายทองคำออกแล้วทั้งสิ้น สุทธิ 145.59 ตัน

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.84% ที่ 1,830.41 เหรียญ

·         ราคาทองคำปิด +3.5% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดีที่สุดนับตั้งแต่พ.ย. ปี 2020


·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนมิ.ย. ปิด +0.9ที่ 1,831.30 เหรียญ

·         นักวิเคราะห์ทองคำอาวุโสจาก Kitco กล่าวว่า รายงานจ้างงานล่าสุดน่าจะเป็นการชะลอตัวชั่วคราว แต่ก็เพียงพอจะทำให้เฟดยังไม่เร่งรีบขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไปนักอย่างที่หลายๆคนคาดการณ์ 

·         นักวิเคราะห์อาวุโสจาก OANDA กล่าวว่า ราคาทองคำระยะสั้นๆ อาจปรับขึ้นไปได้แถว 1,857 เหรียญ และหากผ่านไปได้ มีลุ้นทดสอบแนวต้านสำคัญ 1,925 เหรียญ

·         FXStreet ชี้ทองคำปิดต่ำหว่า 1,840 เหรียญแม้ข้อมูลจ้างงานจะออกมาน่าผิดหวัง ตลาดจับตาแนว DMA-200 วัน


สรุปภาพรวม

ข้อมูลจ้างงานรัฐบาลสหรัฐฯที่ออกมาแย่กว่าคาดการณ์ หนุนโอกาส เฟดคงดอกเบี้ยระดับต่ำเป็นเวลานาน

ทองคำอ่อนตัวลงจากระดับสูงสุดรอบหลายเดือน

ทองคำยังคงเป้าหมายเพื่อทดสอบ DMA ราย 200 วันบริเวณ 1,852 เหรียญ

สัปดาห์นี้ทองรอข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่

   พุธที่ 12 พ.ค. - U.S. CPI (เงินเฟ้อสหรัฐฯ) เวลา 19.30น.

   ศุกร์ที่ 14 พ.ค. - Retail Sales (ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ) เวลา 19.30น.

   FedSpeak (บรรดาแถลงการณ์ของสมาชิกเฟด)

ทองคำยังเคลื่อนไหวได้แถวสูงสุดรอบ 3 เดือนที่ทำไว้ในช่วงต้นตลาดเอเชียวันศูกร์บริเวณ 1,823 เหรียญ

ทองคำปิดสัปดาห์ที่ผ่านมาเกือบ 3% เป็นระดับปิดสัปดาห์ที่ดีที่สุดรอบ 6 เดือน

ดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอยู่ในแนวโน้มขาลง หลังถ้อยแถลงบรรดาสมาชิกเฟดยังมีท่าทีแบบ “Dovish”

ปัจจัยทั้งหมดนี้ จึงมีส่วนช่วยสนับสนุนราคาทองคำ

 

·         ความต้องการทองคำในอินเดียปรับตัวลดลง และมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นทองคำผันผวน เนื่องด้วยอินเดียถือเป็นประเทศที่มีการบริโภคทองคำมากที่สุดเป็นลำดับที่ 2 ของโลก ขณะที่สถานการณ์วิกฤตในประเทศยังคงย่ำแย่

 

·         นักวิเคราะห์จาก StoneX กล่าวว่า การ Lockdown ในอินเดีย ไม่ช่วยให้เกิดความต้องการทองคำเพิ่มมากขึ้น  และปัจจัยต่างๆก็ดูจะช่วยหนุนทองคำได้บ้างในเวลานี้ ประกอบกับสภาวะการปรับฐานของตลาดทองคำ

 

·         ราคาพลาเดียมปิด -0.7% ที่ 2,925.15 เหรียญ
หลังไปทำ
 All-Time High ในช่วงต้นสัปดาห์ที่แล้วบริเวณ 3,017.18 เหรียญ


·         ซิลเวอร์ปิด +0.4ที่ 27.41 เหรียญ และปิดสัปดาห์ +5.8%


·         แพลทินัมปิด -0.2ที่ 1,250.48 เหรียญ

 

·         Dogecoin ทรุดกว่า 30% ช่วง อีลอน มัสก์” CEO จาก Tesla ออกรายการดัง “Saturday Night Live (SNL)” ทางช่อง NBC ท่ามกลางตลาดที่ไม่คาดคิดว่าจะเห็นการปรับตัวลง

โดยระบุถึง Doegecoin ว่าเป็นอนาคตของสกุลเงินและเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ไม่อาจหยุดยั้งการเข้าถึงทุกมุมโลก พร้อมระบุถึงการเคลื่อนไหวของ Dogecoin ที่ผ่านมาว่าเป็นการปั่นราคา จึงทำให้ราคา Dogecoin ในตลาดร่วงลงทันที

 

·         จ้างงาน-อัตราว่างงานสหรัฐฯปรับตัวลดลงในเดือนเม.ย.เกินคาด!

แม้จะมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วทางด้านสาธารณสุข และมีการช่วยเหลือทางการเงินครั้งใหญ่ของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ทำให้ทิศทางเศรษฐกิจนั้นฟื้นตัว

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯมองว่า การปรับลงของข้อมูลล่าสุดนั้นเป็นการปรับลงชั่วคราวเท่านั้น และจะมีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น  ขณะที่การลดกำลังคนงานในกลุ่มการผลิต, ค้าปลีก และภาคบริการ เป็นผลให้อัตราว่าง่านปรับตัวสูงมากขึ้นด้วยในเวลานี้

 

·         รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เผยว่า สหรัฐฯยังต้องใช้เวลาอีกนานจึงจะสามารถฟื้นตัวได้จากวิกฤตไวรัสโคโรนา

ทั้งนี้ ชาวสหรัฐฯหลายคนยังคงไม่สามารถกลับไปทำงานได้ หลังจากที่เผชิญวิกฤตไวรัสโคโรนา อันจะเห็นได้จากผลสะท้อนของข้อมูลจ้างงานที่ออกมาแย่กว่าที่คาด

ดังนั้น จึงน่าจะใช้เวลาอีกนานกว่าที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ ท่ามกลางประชากรกว่า 8 ล้านคนที่ยังคงตกงานแม้จะน้อยกว่าช่วงเกิดการระบาดก็ตาม

 

·         จีนเรียกร้อง U.N. ไม่เข้าร่วมการต้านสิทธิมนุษยชนมณฑลซินเจียง กับเยอรมนีสหรัฐฯ และอังกฤษ ในสัปดาห์นี้ พร้อมเตือนถึง การเผชิญหน้าที่เพิ่มมากขึ้น

 

·         CEO จาก Commerzbank ยังบรรลุข้อตกลงไม่ได้ จึงปูทางไปสู่โอกาสการปรับลดตำแหน่งงานในภาคธนาคารในเครือทั่วโลกกว่า 10,000 ราย

 

 

·         สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุด

ยังพบรายงาน 31 ประเทศที่พบยอดผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้น


ผู้ติดเชื้อทั่วโลกใกล้ทะลุ 159 ล้านราย ขณะที่เสียชีวิตสะสมทั่วโลกพุ่งแตะ 3.3 ล้านรายเป็นที่เรียบร้อย




·         สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย:

ยอดรายวันทำยังคงเพิ่มขึ้นทะลุเหนือ 2,000 ราย

วันศุกร์ พบติดเชื้อใหม่เพิ่ม 2,044  ราย เสียชีวิตเพิ่ม 27 ราย รวมเสียชีวิต 363 ราย

วันเสาร์ พบติดเชื้อใหม่เพิ่ม  2,419 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 19 ราย รวมยอดเสียชีวิตสะสม 382 ราย

วันอาทิตย์ พบติดเชื้อใหม่เพิ่ม  2,101 ราย  เสียชีวิตเพิ่ม 17 ราย รวมยอดเสียชีวิตสะสม 399 ราย

รวม 3 วันพบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่ม รวม  6,564 ราย

ยอดติดเชื้อสะสมในประเทศไทย 83,375 ราย

ยอดเสียชีวิตสะสมในประเทศ  399 ราย

โดยสถานการณ์ในกรุงเทพยังน่าเป็นห่วง พบการระบาดหนักติดนับพัน-เสียชีวิตสูง ต้องขยายจุดฉีดวัคซีน

 

·         ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า นายกรัฐมนตรีไทยจะระดมวัคซีน 200 ล้านโดส พร้อมระบุถึงวัคซีน Pfizer มาแน่ ถึงไทยไตรมาส 3

นายกฯได้สั่งการให้เร่งเจรจาหาวัคซีนอื่น ๆ เพิ่มเข้ามาให้ครบ 100 ล้านโดส ฉีดให้คนทั้งไทยและเทศที่อยู่ในประเทศไทย 50 ล้านคน เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ซึ่งที่อยู่ระหว่างการเจรจามีทั้ง จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย.แล้ว)ไฟเซอร์ (รอขึ้นทะเบียน) และสปุตนิก วี (รอขึ้นทะเบียน)

สำหรับโพสต์ทูเดย์ มีการรายงานว่า ผลศึกษาชี้ "ซิโนแวค-แอสตร้าฯ" สร้างภูมิต้านโควิดได้ดีในคนไทย

การศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนโดยทั่วไปจะทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ให้วัคซีนกับกลุ่มที่ให้วัคซีนหลอกหรือไม่ได้ให้วัคซีน แล้วติดตามไปดูว่ากลุ่มไหนจะมีการเกิดโรค covid-19 มากน้อยแค่ไหนแล้วจึงนำมาเปรียบเทียบเป็นประสิทธิภาพที่ออกมาเป็นรูปเปอร์เซ็นต์




ระดับภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นนี้ก็แสดงให้เห็นว่าวัคซีนทั้งสองชนิดที่ฉีดในประเทศไทย กระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทานได้ดีในประชากรไทย ทั้งวัคซีน Sinovac และ AstraZeneca

อย่างไรก็ดี ระดับภูมิต้านทานจะอยู่ไปได้นานแค่ไหน ขณะนี้กำลังติดตามระยะยาว โดยเฉพาะถ้าภูมิต้านทานลดลงมาก ก็อาจจะต้องมีการกระตุ้นด้วยวัคซีนให้ภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นได้สูงอยู่ตลอดเวลา เพราะโรคโควิด 19 มีระยะฟักตัวสั้น จึงต้องอาศัยภูมิต้านทานที่สูงอยู่ตลอดรายการป้องกันการติดเชื้อ

 

ไทยโพสต์ เผย ข่าวดี 'วัคซีนโควิด'ของสยามไบโอไซเอนซ์ผ่านการตรวจสอบจากยุโรปและอเมริกา

 

ฐานเศรษฐกิจ รายงานอ้างอิง CEO ของบริษัท AstraZeneca ประเทศไทย ที่ระบุว่า วัคซีนของบริษัท  Pfizer เอาสายพันธุ์อินเดียไม่อยู่ ไทยอาจต้องฉีดวัคซีนใหม่ไตรมาส 3-4 หลังเชื้ออยู่รอบประเทศ  

 


 

·         สถานการ์ณการฉีดวัคซีนทั่วโลก:
พบรายงาน 179 ประเทศเดินหน้าฉีดวัคซีนต่อ และมีการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนทั่วโลกแล้วไม่น้อยกว่า 1,281 ล้านโดส

โดยเมืองยิบรอลตาร์ ถือเป็นประเทศที่มีการฉีดวัคซีนได้อย่างเพียงพอมากที่สุด ล่าสุดฉีดไปให้แก่ประชากรแล้ว 109รวมการประเมินการฉีดวัคซีนจำนวน 2 โดส

 




·         สหรัฐฯต้องการละเว้นสิทธิบัตรวัคซีน COVID เพื่อเอื้อประโยชน์ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศยากจนในการสู้วิกฤตไวรัส แต่ไม่สนับสนุนเทคโนโลยีด้านไบโอเทคของ จีนและรัสเซีย

นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯให้การสนับสนุนสหรัฐฯเจรจากับองค์การค้าโลก (WTO) สำหรับการละเว้นลิขสิทธิ์สินทรัพย์ทางปัญญา ในเรื่อง สิทธิบัตรวัคซีน” เพื่อสนับสนุนอุปทานวัคซีนทั่วโลก ด้วยการอนุญาตให้กลุ่มประเทศยากจนสามารถผลิตวัคซีนได้ด้วยตนเอง

 

·         อียูไม่มั่นใจเรื่องการละเส้นสิทธิบัตรวัคซีน แต่พร้อมหารือข้อเสนอดังกล่าว

 

·         อียูเห็นพ้องขยายข้อตกลงการซื้อวัคซีน Pfizer เพิ่ม 1.8 พันล้านโดส จนถึงปี 2023 จากเดิม 900 ล้านโดส (ซื้อเพิ่ม 900 ล้านโดส)

ข้อตกลงฉบับใหม่ดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนประเทศสมาชิกอียู ที่ไม่เพียงเพิ่มการเข้าถึงการผลิตวัคซีน แต่ยังสร้างความมั่นใจว่าจะได้รับส่วนประกอบของวัคซีนที่เพียงพอในการผลิตในอียู

 

·         คณะกรรมาธิการฝ่ายการตลาดอียู เผยว่า อียูจะยังไม่สั่งวัคซีนจาก AstraZeneca เพิ่มหลังสัญญาหมดอายุมิ.ย. นี้

ขณะเดียวกัน คาดการณ์ว่า อียูจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นจากการสั่งซื้อวัคซีนของ Pfizer-BioNTech ที่เพิ่มสูงกว่าราคาสั่งซื้อก่อนหน้า

 

·         WHO อนุมัติใช้วัคซีน Covid ของบริษัท Sinopharm เพื่อใช้ฉุกเฉิน

WHO อนุมัติใช้วัคซีน Covid-19 ที่ต้องใช้เป็นจำนวน 2 โดส ที่ผลิตโดยบริษัท Sinopharm เพื่อใช้ฉุกเฉินในประเทศจีนสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบาห์เรน

ขณะที่บริษัทเอกชนในจีนอย่าง Sinovac ยังไม่ได้รับการอนุมัติจาก WHO

สำหรับในประเทศสหรัฐฯ วัคซืรที่ได้รับอนุมัติใช้ฉุกเฉินจากองค์กรอาหารและยา (FDA) ได้แก่

Pfizer/BioNTech

Moderna

Johnson & Johnson

นอกจากนี้ WHO มีการรับรองการใช้วัคซีน 3 โดส ที่ผลิตโดย

AstraZeneca-SK BIO

Serum Institute of India

 

·         สหราชอาณาจักรเผย “Green List” สำหรับพลเมืองอังกฤษสามารถเดินทางเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัว ตั้งแต่ 17 พ.ค. แม้ว่าบางประเทศเหล่านั้นจะยังมีการใช้มาตรการคุมเข้มก็ตาม

ขณะที่นักท่องเที่ยวจากประเทศกลุ่มนี้จำเป็นต้องมีใบผลตรวจเชื้อก่อนเดินทางออกจากประเทศและเดินทางกลับ แต่ไม่จำเป็นต้องมีการกักตัวพวกเขาอีกรอบ

 

·         นิวซีแลนด์ กลับมาจับมือออสเตรเลียเดินหน้า “Travel Bubble” หรือโครงการจับคู่เดินทางระหว่างประเทศ หลังสถาการณ์ Covid-19 ในซิดนีย์ผ่อนคลายลงไป

 

·         ไทยหนุนโครงการฉีดวัคซีนเพิ่ม คาดจะมีการผ่านอนุมัติใช้วัคซีนบริษัท Moderna

 

·         อียู-อินเดีย กลับมาเจรจาการค้าเสรี-การต่อสู้กับภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศในการประชุมสุดยอดผู้นำวันเสาร์นี้

แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับจีนในการที่อียู-อินเดียสานสัมพันธ์กันมากขึ้น

 

·         อิสราเอลและเกาหลีใต้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีร่วมกันเป็นที่เรียบร้อย

 

·         รัฐบาลทหารพม่าอนุมัติงบ 2.8 พันล้านเหรียญสำหรับการการลงทุน ที่รวมถึงโรงงานผลิตแก๊สธรรมชาติมูลค่า 2.5 พันล้านเหรียญ

 

·         ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ-วัคซีน หนุนกรอบเงินบาท 31.00 - 31.40 บาท/ดอลลาร์
เกาะติดตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ-แนวทางการจัดหาวัคซีนของไทย หนุนความเชื่อมั่นเปิดประเทศ

ส่วนการเคลื่อนไหวสกุลภูมิภาค ตั้งแต่ 1 พ.ค.-7 พ.ค.ที่ผ่านมาพบว่า วอน-เกาหลีใต้อ่อนค่า 0.78% ริงกิต-มาเลเซีย 0.68% บาท-ไทย 0.29% ดอลลาร์-สิงคโปร์ 0.07%ดอง-เวียดนาม 0.05% ยกเว้นรูปี-อินเดียแข็งสุด 1.12% รูเปียห์-อินโดนีเซีย 0.55%เปโซ-ฟิลิปปินส์ 0.46% หยวน-จีน 0.24%ดอลลาร์-ไต้หวัน 0.08% อย่างไรก็ตาม โดยผู้ประกอบการควรป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อรับมือความผันผวน

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาชาติ

เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบจำกัด จับตาสัปดาห์หน้า 3 ปัจจัยสำคัญ

- สถานการณ์โควิด 19 ในประเทศ

- สัญญาณเดินหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯในสภาคองเกรส

- สถานการณ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีน

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย

- ดัชนีราคาผู้บริโภค

- ดัชนีราคาผู้ผลิต

- ยอดค้าปลีก

- การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.

- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค. (เบื้องต้น)

- จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามข้อมูลยอดปล่อยกู้สกุลเงินหยวน ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนเม.ย. ของจีนด้วยเช่นกัน



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com