• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 4 พฤษภาคม2564

    4 พฤษภาคม 2564 | Gold News


ดอลลาร์อ่อน - ผลตอบแทนพันธบัตรปรับลง หนุนทองคำปิดปรับขึ้นกว่า 1%

 

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด +1.3% ที่ 1,791.26 เหรียญ หลังทำสูงสุดนับตั้งแต่ 22 เม.ย. บริเวณ 1,797.75 เหรียญ

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนมิ.ย. ปิด +1.4% ที่ 1,791.80 เหรียญ


ทองคำปรับตัวสูงขึ้นได้ โดยได้รับอานิสงส์จาก

- ดัชนีดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลง  0.4% ที่ 90.88 จุด

- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับลงมาแถว 1.608%

- กองทุนทองคำ SPDR เข้าซื้อทองคำเพิ่ม

- ข้อมูลการผลิตสหรัฐฯชะลอตัวลงในเดือนเม.ย.

 

เมื่อวานนี้ กองทุน SPDR ทำการซื้อทองคำเพิ่ม 1.16 ตัน  โดยปัจจุบันถือครองทองคำเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 1,018.2 ตัน


 

·         ผู้อำนวยการฝ่ายการซื้อขายจาก High Ridge Futures กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯและค่าเงินดอลลาร์ ประกอบกับแรงอัดฉีดเงินจากเฟดและรัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งหมดนี้ ดูจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับราคาทองคำและซิลเวอร์

 

 

·         กลุ่มนักลงทุนรอคอยข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯคืนวันศุกร์ ที่จะเป็นตัวชี้วัดสำคัญของทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

 

·         นักวิเคราะห์จาก U.S. Global Investors กล่าวว่า ความแข็งแกร่งของข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดูจะเป็นปัจจัยที่ยังช่วยทำให้ทองคำสูงขึ้นได้อีกด้วยในเวลานี้เพราะเป็ฯตัวสะท้อนถึงเงินเฟ้อที่จะขยับขึ้นตามมาคู่กัน แต่ทองคำต้องยืนได้เหนือ 1,800 เหรียญ ถึงจะเริ่มเห็นการปรับขึ้นได้อย่างมั่นคง และมีลุ้น 2,000 เหรียญอีกครั้ง

 

·         ภาพรวมทองคำยังถูกถือครองในฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ

 

·         ราคาพลาเดียมปรับขึ้น 0.9% ที่ 2,961.81 เหรียญ หลังจากไปทำ All-Time High ที่ 3,007.73 เหรียญ

 

 

·         ซิลเวอร์ปรับขึ้น 3.7% ที่ 26.86 เหรียญ หลังทำสูงสุดตั้งแต่ 1 มี.ค. ที่ 26.95 เหรียญ

 

·         แพลทินัมปิด +2% ที่ 1,222.53 เหรียญ

 ·         สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) เผยข้อมูลดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯชะลอตัวลงในเดืนอเม.ย. แตะ 60.7 จุด จากระดับ 64.7 จุดในเดือนมี.ค. ที่เป็นสูงสุดตั้งแต่ปี 1983

ท่ามกลางการขาดแคลนอุปกรณ์การผลิต แม้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนต้าน Covid-19 ได้มากขึ้น รวมทั้งมีการอัดฉีดเม็ดเงินจากรัฐบาลที่หนุนอุปสงค์ให้สูงขึ้น


·         ไบเดน – แมคคอนเนล ยังยึดมั่นต่อแนวทางการขึ้นภาษีสหรัฐฯ!

นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายมิทช์ แมคคอนเนล ผู้นำเสียงข้างน้อยของวุฒิสภาสหรัฐฯ ต่างยังยืนหยัดจุดยืนของตัวเองในเรื่องการขึ้นภาษีนิติบุคคลและภาษีคนรวย ท่ามกลางไบเดนที่เสนอให้เก็บภาษีเพิ่มเพื่อนำมาสนับสนุนแผนโครงสร้างพื้นฐานและการศึกษาของเขา


·         ไบเดน โปรโมทแผน ล้านล้านเหรียญ เกี่ยวกับแผนโครงสร้างพื้นฐานและแผนการช่วยเหลือกลุ่มครอบครัว ตลอดจนระบบการศึกษาในสหรัฐฯ ระหว่างเยี่ยมโรงเรียนในรัฐเวอร์จิเนีย


 

·         นายจอห์น วิลเลียม ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก ชี้ แนวโน้มเศรษฐกิจที่สดใสไม่เพียงพอจะส่งผลกระทบต่อแนวทางดำเนินนโยบายการเงินของเฟด

ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯแม้จะเติบโตในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบหลายสิบปี (นับตั้งแต่ปี 1980) ได้ในปี 2021 จากการรีบาวน์วิกฤตทางเศรษฐกิจ โดยมีคาดการณ์จีดีพีสูงถึง 7% แต่เงื่อนไขทางการเงินยังไม่ใกล้พอที่จะให้เฟดพิจารณาถอนนโยบายสนับสนุนการเงิน เพราะยังโตไม่พอกับเป้าหมายที่เฟดกำหนดในเรื่องเงินเฟ้อ และอัตราเงินเฟ้อ.

·         นายโธมัส บาร์กิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ ระบุว่า แม้จะเห็นเงินเฟ้อขยับขึ้นในปีนี้ แต่ก็มีโอกาสอ่อนตัวลงในปี 2022


 

·         นายโรเบิร์ต เคพแลนด์ ประธานเฟดสาขาดัลลัส กล่าวว่า เฟดควรรเริ่มหารือเรื่อง "การลดนโยบายเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือน" 1.2 แสนล้านเหรียญ

 

อย่างไรก็ดี ภาพรวมของเฟดดูจะยังไม่เริ่มต้นหารือเรื่องการถอนการเข้าซื้อพันธบัตรได้ จนกว่าจะมีความก้าวหน้าของเป้าหมายเงินเฟ้อและการจ้างงานตามที่เฟดกำหนดไว้


 

·         "วอเร็น บัฟเฟตต์" ระบุว่า Berkshire Hathaway เล็งเห็นเสถียรภาพด้านเงินเฟ้ออย่างมาก รวมทั้งเรื่องการปรับขึ้นของดัชนีราคา พร้อมระบุว่า ภาคธุรกิจต่างๆได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจฟื้นตัว รวมทั้งการก้าวออกอย่างรวดเร็วจากการระบาด Covid-19


นอกจากนี้ ถึงราคาสินค้าต่างๆจะสูงขึ้นแต่ประชาชนก็มีการยอมรับได้ และจะเห็นได้จากกลุ่ม ผู้รับเหมาก่อสร้างบ้าน มีการเพิ่มกำลังการผลิตบ้านและการจัดการกับบริษัทของเขา จึงสะท้อนว่ามีความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาเหล็กในทุกวันนี้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก

 

·         สหรัฐฯ พบข้อมูลประชาชนกว่า 1.63 ล้านคนบริเวณสนามบินต่างๆในประเทศ ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดตั้งแต่ มี.ค. ปี 2020


 

·         กลุ่มองค์กรสายการบิน-ท่องเที่ยว เรียกร้องเปิดตลาดท่องเที่ยว สหรัฐฯ-อังกฤษ ให้กลับมาเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบ เร็วที่สุดตามความเป็นไปด้านความปลอดภัย

 

 

·         สถานการณ์ไวรัสโคโรนาทั่วโลกล่าสุด พบรายงานยอดติดเชื้อรายวันลดลงเหลือเพียง 37 ประเทศที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

 



ยอดสะสมทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 154.17 ล้านราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสม 3.22 ล้านราย




3 อันดับที่พบยอดติดเชื้อใหม่รายวันเพิ่มขึ้นมากสุด คือ อินเดีย ที่มียอดติดเชื้อเพิ่มวานนี้ 355,828 ราย รวมสะสม 20.27 ล้านราย รองมาเป็นสหรํฐฯและบราซิล โดยยอดติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นใกล้ 40,000 ราย ยังเป็นระดับลดลงมาจากก่อนหน้า

3 อันดับพบยอดเสียชีวิตรายวันมากสุด ได้แก่ อินเดีย ที่ยอดเสียชีวิตรายวันเพิ่มเกินต้าน 3,438 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 222,383 ราย ขณะที่รองลงมาคือ Brazil พบเสียชีวิตเพิ่ม 1,054 ราย และอาร์เจนตินา เสียชีวิตมากถึง 540 ราย


·         โครงการฉีดวัคซีนในปัจจุบันพบ 181 ประเทศเดินหน้าโครงการฉีดวัคซีนภาพรวมมีการฉีดวัคซีนแล้ว 1.16 พันล้านโดส



CNN รายงานยอดติดเชื้อและเสียชีวิตตามภูมิภาค

 



·         สถานการณ์ระบาดในประเทศไทย

- ยอดตายพุ่ง 31 ราย! พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 2,041 ราย รวมติดเชื้อสะสม 29,765 ราย และเสียชีวิตสะสมรวม 276 รา

 


 

·         ไทยระวัง! มาเลเซียพบผู้ติดเชื้อ โควิด-19’‘สายพันธุ์อินเดียรายแรก

มาเลเซียตรวจพบผู้ป่วยรายแรกของประเทศ ติด โควิด-19” สายพันธุ์อินเดีย มีฤทธิ์แพร่ระบาดรุนแรง ส่งสัญญาณไทยเฝ้าระวังการระบาด

กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย เปิดเผยการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่ากลายพันธุ์จากอินเดียรายแรกเมื่อวันอาทิตย์(2พ.ค.) แม้ใช้มาตรการห้ามเที่ยวบินจากอินเดียเข้าประเทศตั้งแต่หลายวันก่อน

·         FDA สหรัฐฯเตรียมอนุมัติให้วัคซีนของบริษัท Pfizer ใช้กับกลุ่มวัยรุ่นได้ช่วงต้นสัปดาห์ ตั้งแต่อายุ 12-15 ปี หลังจากที่อนุมัติใช้ในกลุ่ม 16 ปีขึ้นไปในปัจจุบัน

 

·         ดร.สก็อต ก็อตท์เลียบ อดีตคณะกรรมาธิการ FDA สหรัฐฯ ชี้ความสำคัญการฉีดวัคซีนเข็มสอง

ภาพรวมยังมีความไม่แน่นอนว่าประชาชนจะไม่ต้องกลับมาฉีดวัคซีนใหม่หรือไม่ แต่ชาวสหรัฐฯจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านภูมิคุ้มกันอย่างสูงที่สุดจากวัคซีนภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

- Pfizer และ Moderna ใช้วัคซีน 2 เข็ม

- Johnson & Johnson ใช้เข็มเดียว


·         แหล่งข่าวอียู เผย Novavax กำหนดแผนขนส่งวัคซีนให้แก่ยุโรปตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้


 

·         ประชาชนชาวแคนาดาเผชิญความเสี่ยงระดับสูงจากการขาดแคลนวัคซีน Covid-19 รวมทั้งปัญหาจากระบบการจอง ที่ทำให้การฉีดวัคซีนอาจล่าช้าออกไป


 

·         ประธาน UNICEF เรียกร้องทั่วโลกให้การช่วยเหลืออินเดียเป็นการด่วนจากยอดติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเวลานี้


 

·         G7 หารือเรื่องการดำเนินขั้นเด็ดขาดในการต่อต้านภัยคุกคามจาก "รัสเซีย" - "จีน"

ในวันนี้อังกฤษจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเพื่อหารือต่อแนวทางการตัดสินใจของกลุ่ม G7 ในการปกป้องระบอบประชาธิปไตยและภัยคุกคามที่เกิดขึ้นทั่วโลกจากประเทศจีนและรัสเซีย เพื่อหวังสร้างโอกาสและการเปิดความร่วมมือกันในเชิงสังคมและความเป็นหนึ่งเดียว จากความท้าทายและภัยคุกคามที่เพิ่มสูงขึ้น

ในการประชุม  G7 ประกอบด้วยชาติสมาชิก:

แคนาดาฝรั่งเศสเยอรมนีอิตาลีญี่ปุ่นสหรัฐฯ และอังกฤษ และยังมีการเชิญประเทศออสเตรเลีอินเดียแอฟริกาใต้ และเกาหลีใต้ เข้าร่วมการประชุมในสัปดาห์นี้ด้วย

 

·         รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ ทวิตเตอร์ข้อความตรงด้วยท่าที แข็งกร้าว

กับจีน กรณีจีนเดินหน้าขนกองทัพฝึกซ้อมรบบริเวณทะเลจีนใต้ ท่ามกลางสองประเทศที่ส่งสัญญาณสงครามทางการพูดเรื่องทะเลจีนใต้ระหว่างกัน

 

·         นักบริหารการเงิน มองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับวันนี้ไว้ที่ระหว่าง 31.00-31.25 บาท/ดอลลาร์ฯ โดยมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ

-แบงก์ประเมินเงินบาทขยับกรอบแคบ 31.10-31.40 บาทต่อดอลลาร์ ชี้ ธุรกรรมเบาบางตามวันหยุด เกาะติดประชุม กนง.-บีโออี-ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ

นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผย ประชาชาติธุรกิจ ว่า กรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ (วันที่ 3-7 พ.ค. 64) เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.10-31.40 บาทต่อดอลลาร์ โดยทิศทางการเคลื่อนไหวจะอยู่ในกรอบแคบ เนื่องจากมีวันหยุดติดต่อหลายวัน ทำให้ธุรกรรมค่อนข้างบาง ปัจจัยเงินปันผลชะลอตัวลง อาจจะเห็นเงินบาทแตะกรอบล่างที่ระดับ 31.10 บาทต่อดอลลาร์ได้

ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตามสำคัญในสัปดาห์นี้ จะเป็นการประชุมคณะกรรมการนโนบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ พ.ค.นี้ โดยมีการส่งสัญญาณทบทวนประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) อย่างไรก็ดี อาจจะไม่ได้มีการปรับประมาณการจีดีพีในรอบนี้ เนื่องจากยังไม่ได้อยู่ในรอบปรับประมาณการ ส่วนปัจจัยต่างประเทศยังคงต้องรอติดตามการฟื้นตัวของยุโรปที่อาจมีผลต่อค่าเงินสกุลดอลลาร์ปรับตัว

ล่าสุดพล.อ.ประยุทธิ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เตรียมงบประมาณกว่า 3.8 แสนล้านบาท เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งต้องรอเคาะมาตรการต่างๆว่าจะออกมาอย่างไร พร้อมทั้งเดินหน้าแผนฉีดวัคซีนต้านโควิด 3 แสนรายต่อวันให้ครอบคลุมประชาชน 70%ทั่วประเทศในสิ้นปีนี้

คลัง-ธปท. หั่นจีดีพีระลอกใหม่ ขยายตัวที่ 2.3% ต่อปี ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่คาดว่าจะโตได้ 2.8% ต่อปี ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 เร่งรับมือ ท่องเที่ยว-บริโภค สะดุด

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินความเสียหายด้านเศรษฐกิจหลังเกิดการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ ไว้ที่ 2-3 แสนล้านบาท โดยอยู่ในกรอบระยะเวลา 2-3 เดือนภายใต้การควบคุมการแพร่ระบาดได้ และประเมินว่า หากรัฐบาลอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆก็จะสามารถประคองให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยหรือจีดีพีอยู่ในกรอบ 2.5-3 %

นักวิเคราะห์ชี้ มุมมองนโยบายการเงินในปีนี้ เชื่อว่ามีโอกาส 50/50 ที่กนง.จะตัดสินใจลดดอกเบี้ย ถ้าเศรษฐกิจไม่ฟื้น แต่ทุกอย่างอยู่ที่เงื่อนไขเรื่องวัคซีนเป็นหลัก กรณี ลดดอกเบี้ย จะเกิดขึ้นได้ถ้าเศรษฐกิจไทยไม่สามารถกลับมาได้ทันกับการฟื้นตัวของทั่วโลกจึงจำเป็นต้องช่วยผ่อนคลายทางการเงินเข้ามาช่วยด้วย

ไทยเตรียมรับไม้ต่อจากนิวซีแลนด์เป็นเจ้าภาพประชุมเอเปค ในปี 65 ด้านกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมด้านการค้าทั้งระดับรัฐมนตรีการค้าเอเปค และการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน พร้อมเตรียมเสนอประเด็นสำคัญให้สมาชิกเอเปคร่วมขับเคลื่อน

อัดงบกองทุนพลังงานฟื้นเศรษฐกิจ 6,306 ล้านบาท รายจังหวัดลุ้นโครงการอนุมัติ มิ.ย.นี้


อ้างอิงจากเดลินิวส์

"จุรินทร์"ชี้เศรษฐกิจไทยเดือนมี.ค. มีสัญญาณเป็นบวก

จุรินทร์ชี้เศรษฐกิจไทยเดือน มี.ค. มีสัญญาณเป็นบวก ตัวเลขการส่งออก-ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ราคาพืชผลยังสูง คาดเดือน เม.ย.ยังดีต่อเนื่อง


อ้างอิงจาก The Standard

CIMBT ชี้ไตรมาส 2/64 เศรษฐกิจไทยถดถอย หั่น GDP ปี 2564 เหลือ 2.2% จับตาการกระจายวัคซีน


อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

ประยุทธ์ เร่งทีมเศรษฐกิจ ชงมาตรการเยียวยาโควิด เข้า ครม. พ.ค. นี้ รวมทั้งการพิจารณาลดค่าน้ำ-ค่าไฟช่วยเหลือประชาชน


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com