• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 3 พฤษภาคม2564

    3 พฤษภาคม 2564 | Gold News




ทองปิดสัปดาห์แดนลบ แต่ปิดรายเดือนดีที่สุดในปี 2021

 

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนมิ.ย. ปิด -60 เซนต์ หรือ -0.03% ที่ระดับ 1,767.70 เหรียญ สัปดาห์ที่ผ่านมาปิด -0.6% แต่ปิดเดือนเม.ย. +3%

 

·         สัญญาซิลเวอร์ปิด -21 เซนต์ หรือ -0.8% ที่ 25.87 เหรียญ ปิดสัปดาห์ -0.8% แต่ปิดเม.ย. ปิด  +5.5%

 

·         อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ทรงตัว 1.629%  แต่ปิดเดือนเม.ย. ในทิศทางอ่อนตัว

 

·         นักวิเคราะห์อาวุโสจาก FXTM กล่าวว่า ทองคำได้รับอานิสงส์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯดอลลาร์การซื้อขายแบบ Reflation Trade และความเชื่อมั่นสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดโลก

 

·         ขณะที่แรงเทขายและความต้องการทองในช่วงราคาอ่อนตัวส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในช่วง 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ที่อาจเห็นความผันผวนของราคาได้ แต่ภาพรวมทองคำยังเคลื่อนไหวปานกลางในกรอบของภาพรายวัน จนกว่าจะสามารถ Breakout ออกจากกรอบดังกล่าวได้

 

·         หัวหน้าฝ่ายการลงทุนจาก Wolfpack Capital ระบุว่า ทองคำเผชิญความท้าทาย และยังมีปัจจัยในตลาดที่ผสมผสานกัน รวมไปถึงประเด็นเรื่องเงินเฟ้อด้วย แต่การเคลื่อนไหวในกรอบของทองคำจะดำเนินต่อไป จนกว่าจะมีปัจจัยเพิ่มเติมมาดันให้ราคาเคลื่อนไหวออกนอกกรอบราคา โดยเฉพาะแผนข้อเสนอเพิ่มค่าใช้จ่ายรัฐบาลสหรัฐฯที่จะมาสนับสนุนราคาทองคำ



·         นักวิเคราะห์บางราย แนะจับตาค่าเงินดอลลาร์เงินเฟ้อ และสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในเดือนพ.ค. และทองคำอาจรีบาวน์ขึ้นออกจากกรอบได้ โดยระยะสั้นทองคำเคลื่อนไหวในกรอบ 1,700-1,800 เหรียญ แต่การปราศจากความสนใจใน Safe-Haven แม้สถานการณ์ตึงเครียดจะเพิ่มก็ยังคงกดดันทองคำ

 

·         ทองคำสูญเสียปัจจัยหนุนจากอินเดีย ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตในอินเดี

 

รายงานจาก WGC ระบุว่า สถานการณ์ Covid-19 ในอินเดีย กดดันอุปสงค์ทองคำและทองรูปพรรณในอินเดียที่มักเป็นปัจจัยหนุนนำความต้องการทองทั่วโลก


แม้ว่าปีนี้จะมีสัญญาณต้องการทองคำมากขึ้นในทองคำช่วง เดือนแรก โดยมีการนำเข้าทองคำมากขึ้น 164 ตันในเดือนมี.ค. เพราะได้รับแรงหนุนจากความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคสำหรับเทศกาลแต่งงานที่ถูกเลื่อนมาตั้งแต่ปี 2020 ประกอบกับการเพิ่มสต็อกทองช่วงเทศกาลทางศาสนาของอินเดีย (Akhaya Tritiya) ในเดือน พ.ค. นี้

 

 

 

·         วอเร็น บัฟเฟต” ชี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯที่แกร่งเกินคาดเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจบริษัท Berkshire Hathaway แม้ว่านักลงทุนในฝั่งยุโรปจะยากต่อการอัดฉีดเงินสดเพื่อลงทุน


·      ·          เยอรมนีมีคำสั่งให้ Deutsche Bank ดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อขจัดปัญหาการฟอกเงิน


·     ·        เยอรมนี-ฝรั่งเศส-สเปน จะทำข้อตกลงเรื่องเครื่องบินรบสัปดาห์หน้า หลังกำหนดเส้นตายเรื่องแก้ไขสินทรัพย์ทางปัญหาหมดอายุและไม่สามารถทำข้อตกลงร่วมกันได้

 

 

·         เมืองเพิร์ธของออสเตรเลียเสี่ยงประกาศ Lockdown รอบสองเหตุพบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่ม 3  ราย

 

 

·         รายงานจาก PLA เผย เรือบรรทุกเครื่องบินรบจีนส่งกองกำลังจีนไปฝึกซ้อมรบบริเวณทะเลจีนใต้

 

 

·         รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์อินเดียชี้ อินเดียเผชิญยอดขาดดุลการค้าแตะ 1.524 หมื่นล้านเหรียญ

 

 

·         เกาหลีเหนือ ระบุ นโยบายไบเดนแสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯมีท่าทีที่เป็นศัตรู และเกาหลีเหนือพร้อมตอบโต้

 

เกาหลีเหนือตำหนินโยบายต่างประเทศของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ใช้กับรัฐบาลกรุงเปียงยาง พร้อมกล่าวเตือนว่าสหรัฐฯ จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เศร้าสลด หลังจากที่ทำเนียบขาวเพิ่งประกาศทบทวนมาตรการทางการทูตที่จะนำมาใช้กับเกาหลีเหนือ

 

·         ผู้แทนเจรจาอิหร่าน เผย จะตกลงกับสหรัฐฯได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการถอนมาตรการคว่ำบาตรน้ำมัน-ธนาคาร

 

 

·         KBANK คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 31.00-31.50 จับตาประชุมกนง.-โควิดในปท.

 

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับสัปดาห์หน้า (3-7 พ.ค.) ที่ 31.00-31.50 บาทต่อดอลลาร์ฯโดยมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ

 

- ธปท. ระบุว่า จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกสามในประเทศที่มีความรุนแรง และเป็นการระบาดในวงกว้างนั้น ในเบื้องต้น ธปท.ได้เห็นถึงผลกระทบที่มีต่อภาคเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีการปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปีนี้ใหม่จากที่เคยประเมินไว้ที่ 3% ซึ่งต้องติดตามความชัดเจนจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในครั้งหน้า

 

- ธปท. มองภาคการส่งออกจะเป็นแรงส่งสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ เนื่องจากเห็นแนวโน้มการเติบโตที่ดีต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 63 จากที่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของสหรัฐ ที่มีผลส่งผ่านถึงการค้าโลกให้มีแนวโน้มดีขึ้น


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com