• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 30 เมษายน 2564

    30 เมษายน 2564 | Economic News
  
 
·         เฟดผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อ กดดัน ดอลลาร์ร่วงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 - แคนาดาดอลลาร์ แข็งค่ารอบ 3 ปี

ค่าเงินดอลลาร์ดูจะปิดสัปดาห์อ่อนค่าต่อเป็นสัปดาห์ที่ 4 ถือเป็นการอ่อนค่านานที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนก.ค. เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ  จากการที่เฟด ส่งสัญญาณว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำพิเศษในระยะยาว

ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.11% ที่ 90.714 จุด หลังจากที่สัปดาห์ก่อนยืนเหนือ 91.2 จุด

ค่าเงินแคนาดาดอลลาร์ แข็งค่ามากสุดในรอบ 3 ปี ที่ระดับ 1.2268 ดอลลาร์/แคนาดา โดยทำระดับแข็งค่ารายสัปดาห์ได้มากที่สุด 1.6% นับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย.

ทั้งนี้ จากการสรุปการประชุมนโยบายครั้งล่าสุดของเฟด นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ยอมรับว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯมีการฟื้นตัว แต่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าการฟื้นตัวนั้นมีความคืบหน้ามากขึ้น พอจะให้เฟดเปลี่ยนแปลงแนวทางการใช้นโยบายดอกเบี้ยพิเศษ

ขณะที่การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในไตรมาสแรก ได้รับอานิสงส์จากเช็คกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ถูกคาดว่าจะหนุนทิศทางเศรษฐกิจในปีนี้ให้แข็งแกร่งสุดในรอบเกือบ 4 ทศวรรษ

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯแข็งแกร่ง โดยเฉพาะภาคแรงงาน ส่งสัญญาณเชิงบวก อาจส่งผลให้เฟดเข้าซื้อสินทรัพย์ลดลง และหนุนให้ดัชนีดอลลาร์ แตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน นับตั้งแต่สิ้นเดือนมี.ค.

ทั้งนี้ การผ่อนคลายนโยบายการเงินของเฟด อยู่ในทิศทางตรงกันข้ามกับ บีโอซี ที่เริ่มลดการเข้าซื้อพันธบัตร ขณะที่ค่าเงินลูนีย์ของแคนาดามีความสัมพันธ์กับกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ดังนั้น การแข็งค่าจึงส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นทำสูงสุดรอบ 6 สัปดาห์ ควบคู่กับราคาไม้ที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้นส่วนหนึ่งได้รับแรงหนนุนจากค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.2% ที่ระดับ 0.77785 ดอลลาร์/ออสเตรเลีย หลังเมื่อวานนี้ทำแข็งค่ามากที่สุดในรอบ  6 สัปดาห์ที่ระดับ 0.78180 ดอลลาร์/ออสเตรเลีย

ค่าเงินยูโรยังคงทรงตัวที่ 1.21165 ดอลลาร์/ยูโร ใกล้กับระดับแข็งค่ามากสุดในรอบ 2 เดือนที่ระดับ 1.2150 ดอลลาร์/ยูโร ที่ทำไว้เมื่อวานนี้ และสัปดาห์นี้มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น 0.2% ขณะที่เดือนเม.ย. ปรับแข็งค่าขึ้นราว 3.3%

ค่าเงินเยนที่เป็นสกุลเงินกลุ่ม Safe-Haven ได้รับผลกระทบจากการฟื้นตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และการปรับขึ้น ขณะที่หุ้นทั่วโลกปรับขึ้นทำสูงสุดประวัติการณ์ จึงกดดันความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย และเงินเยนอ่อนค่ามาแถว 108.81 เยน/ดอลลาร์ ใกล้ระดับอ่อนค่ามากสุดตั้งแต่เมื่อวานนี้ที่ 109.22 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ภาพรายสัปดาห์นี้มีแนวโน้มอ่อนค่า 0.9%

ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวใกล้ระดับแข็งค่ามากสุดตั้งแต่ 3 มี.ค. โดยล่าสุดทรงตัวที่ 6.4635 หยวน/ดอลลาร์ แม้ข้อมูลกิจกรรมภาคการผลิตจีนจะออกมาแย่ลงในเดือนเม.ย.

ภาพรวมค่าเงินหยวนเดือนเม.ย. ปรับแข็งค่าได้ 1.5% แม้ช่วง 1 เม.ย. จะทำระดับอ่อนค่ามากที่สุดรอบ 4 เดือนที่บริเวณ 6.5875 หยวน/ดอลลาร์ ขณะที่นักกลยุทธ์จาก Mizuho มองว่า กลุ่มลูกค้ากำลังกลับมาประเมินทิศทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯและจีน จึงทำให้เงินหยวนกลับมาแข็งค่าต่อ

Ether ทรงตัวต่ำกว่าระดับสูงสุดประวัติการณ์ที่ทำไว้วานนี้บริเวณ 2,800.89 เหรียญ หลังจากที่มีรายงานว่าธนาคาร อีไอบี มีแผนที่จะเปิดตัวการขาย "พันธบัตรดิจิทัล" ด้วยการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน Ethereum

Bitcoin เคลื่อนไหวที่ระดับ 54,256.24 เหรียญ โดยในสัปดาห์นี้ ดิ่งลงต่ำสุดที่ 47,004.20 เหรียญเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ทำให้ภาพการเคลื่อนไหวอยู่ต่ำกว่าระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ทำไว้ในช่วงกลางเดือนเม.ย. บริเวณ 64,895.22 เหรียญ

 

·         ดอลลาร์อ่อนค่ารายสัปดาห์ยาวนานที่สุดตั้งแต่เดือนก.ค. ปีที่แล้ว โดยมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 ในสัปดาห์นี้

ภาพรวมดอลลาร์ถูกกดดันจากการที่เฟดยังคงส่งสัญญาณเดินหน้าใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อ พร้อมด้วยอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำเป็นเวลานาน คาดปิดสัปดาห์นี้ -0.2% เดือนเม.ย. อาจอ่อนค่ามากถึง -2.7%  ขณะที่สัปดาห์ที่ยาวนานที่สุดกว่า 6 สัปดาห์ต่อเนื่องเกิดขึ้นช่วงก.ค. ปีที่แล้ว และเดือนดังกล่าวดอลลาร์อ่อนค่าไปกว่า 4%

 

·         ราคาบ้านอังกฤษพุ่งขึ้นทำสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2004 แตะ 2.1% ในเดือนเม.ย. (เป็นเดือนที่ขยายตัวได้มากที่สุดรอบกว่า 17 ปี)  ท่ามกลางการขยายเวลาลดภาษีการขายสินค้าในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

ขณะที่เทียบกับปีที่แล้วจะพบว่า ราคาบ้านมีการปรับตัวขึ้นสูงกว่า 7.1%และเข้าใกล้ระดับเติบโตช่วงเดือนธ.ค. ในปีที่แล้วบริเวณ 7.3% สูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี หลังการ Lockdown ช่วยหนุนอุปสงค์สำหรับบ้านที่มีเนื้อที่มาก


·         ผลผลิตเยอรมนีในช่วงไตรมาสแรกหดตัวลงราว -1.7% จากภาวะ Lockdown และภาวะอุปโภคบริโภคลดน้อยลง


·         เศรษฐกิจฝรั่งเศสโตได้ดีกว่าคาดที่ 0.4% ในช่วง Q1/2021 ขณะที่ไตรมาสที่ 4/2020 ทรุด -1.4%

รายงานล่าสุด ได้รับอานิสงส์จาก การใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภคและการลงทุนในภาคธุรกิจที่ปรับตัวสูงขึ้น แม้จะมีการใช้มาตรการเข้มงวด สกัดการระบาดของไวรัสโคโรนา


·         จีดีพีไตรมาสแรกของอิตาลีหดตัวลง -0.4% จากภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการใช้มาตรการสกัด Covid-19


·         กิจกรรมภาคการผลิตจีนขยายตัวได้อย่างช้าๆจากปัญหาขาดแคลนอุปทาน-อุปสงค์อ่อนตัว

สถาบันสถิติแห่งชาติจีน กล่าวว่า กิจกรรมภาคโรงงานอุตสาหกรรมจีนเดือนเม.ย. ออกมาน้อยกว่าคาดโดยได้รับแรงกดดันจากปัญหาขาดแคลนอุปทาน และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น กดดันภาคการผลิตและอุปสงค์จากต่างประทศ

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเม.ย. ออกมาที่ 51.1 จุด เดิม 51.9 จุด เดือนมี.ค.

ภาพรวมเศรษฐกิจจีนยังคงขยายตัวได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี ทำสูงสุดประวัติการณ์ 18.3% ตั้งแต่ที่ได้รับผลกระทบในปีที่ผ่านมา  ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ถึงภาพรวมจีดีพีจีนปี 2021 นี้จะโตได้ 8.6%

ทั้งนี้ กลุ่มเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายจีนดูจะส่งสัญญาณหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงการใช้มาตรการใดๆ เพราะอาจสร้างอุปสรรคต่อการขยายตัวได้

 

·         สถาบันสถิติแห่งชาติจีน ชี้ ดัชนี PMI ภาคการบริการจีนชะลอตัวลงในเดือนเม.ย. แตะ 54.9 จุด จาก 56.3 จุดในเดือนมี.ค. แม้จะมีการอุปโภคบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องก็ตาม

 

·         จีดีพีไตรมาสแรกของไต้หวันขยายตัวเร็วสุดในรอบกว่า 10 ปี โตแตะ 8.16%

แม้จะมีการ Work From Home มากขึ้นในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ แต่ประเทศได้รับปัจจัยหนุนจากการส่งออกทางด้านเทคโนโลยี

 

·         รัฐบาลญี่ปุ่น เผย ข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเดือนมี.ค. รีบาวน์ขึ้นจากการผลิตรถยนต์ที่สูงขึ้น โดยข้อมูลล่าสุดแตะ 2.2% ในเดือนมี.ค.

ข้อมูลการผลิตญี่ปุ่นขยายตัวเร็วสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2018

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตญี่ปุ่นขยายตัวเร็วสุดในเดือนเม.ย. นี้ โดยเป็นการขยายตัวที่รวดเร็วมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2018 แตะระดับ 53.3 จุด 

ขณะที่การระบาดของไวรัสโคโรนาในญี่ปุ่น ยังคงเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มทางเศรษฐกิจโดยองค์รวมของประเทศ

 

·         AstraZeneca รายงานยอดขายวัคซีน Covid-19 ในไตรมาสแรก รวมมูลค่าสูงกว่า 2.75 ล้านเหรียญ แต่คาดว่าอาจเห็นการอ่อนตัวตามมา


·         ญี่ปุ่นรับมอบวัคซีนโควิดล็อตแรกจากโมเดอร์นาแล้ว รออนุมัติใช้เร็วๆนี้

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชุดแรกของบริษัทโมเดอร์นา อิงค์ส่งมาถึงญี่ปุ่นแล้วในวันนี้ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมนำวัคซีนดังกล่าวไปฉีดตามศูนย์ฉีดวัคซีนขนาดใหญ่ หลังจากที่วัคซีนดังกล่าวได้รับการอนุมัติซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนพ.ค.นี้

 

·         อินเดียขาดแคลนวัคซีน Covid-19 ส่งผลให้เกิดโครงการฉีดวัคซีนล่าช้าออกไป

หลายๆจังหวัดในอินเดียเผชิญกับการขาดแคลนวัคซีน Covid-19 ท่ามกลางจำนวนยอดติดเชื้อใหม่ที่พุ่งไม่หยุด ส่งผลให้เกิดวิกฤตการระบาดในประเทศ ขณะที่ยอดเสียชีวิตรายวันยังคงพุ่งสูงขึ้น

สาธารณสุขอินเดีย รายงานว่า รายงานล่าสุดอินเดียมียอดติดเชื้อใหม่เพิ่ม 386,452 ราย และเสียชีวิตจาก Covid-19 เพิ่มขึ้น 3,498 ราย

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเชื่อว่า อาจเห็นยอดติดเชื้อเพิ่มขึ้น 5 - 10 เท่า ได้

อินเดียมียอดติดเชื้อใหม่เพิ่มสูงกว่า 7.7 ล้านราย นับตั้งแต่สิ้นเดือนก.พ. ที่ผ่านมา จากภาวะ Second Wave


·         การฟื้นตัวอย่างร้อนแรงของตลาดที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์เผชิญความเสี่ยงจากการชะลอการใช้มาตรการควบคุมต่างๆ


·         ราคาน้ำมันลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์ จากความกังวลต่ออุปสงค์น้ำมันในอินเดีย

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงในวันนี้หลังจากที่แตะระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์ จากความกังวลเกี่ยวกับการใช้มาตรการ Lockdown เพิ่มขึ้นในอินเดียและบราซิลเพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19  กดดันความต้องการเชื้อเพลิงในช่วงฤดูร้อนและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

น้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 31 เซนต์ หรือ 0.5% ที่ระดับ 68.25 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในการซื้อขายวันสุดท้ายของสัญญาเดือนมิถุนายน

น้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 42 เซนต์ หรือ 0.7% อยู่ที่ระดับ 64.59 เหรียญ/บาร์เรล

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com