• ดัชนีดอลลาร์ยังเผชิญแรงกดดัน ปรับตัวลงต่ำกว่า 91 จุด

    20 เมษายน 2564 | Economic News
  

ดอลลาร์ยังคงอ่อนค่าลงต่อหลุด 91 จุด ที่เป็นระดับแนวรับสำคัญของดัชนีดอลลาร์ลงมา XY).

สภาวะ Risk-On กดดันดัชนีดอลลาร์

ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวลงต่ออ่อนค่าแตะต่ำสุดใหม่รอบ 7 สัปดาห์แถว 90.90 – 90.85 จุดในวันนี้


ภาพรวมดอลลาร์ไม่ไดรับอานิสงส์จากการปรับขึ้นรอบใหม่ของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีที่ปรับขึ้นมาแถว 1.63% จากที่ช่วงต้นสัปดาห์เคลื่อนไหวบริเวณ 1.55%



นักลงทุนค่อนข้างพึงพอใจกับ “สินทรัพย์เสี่ยง” เวลานี้ จากคาดการณ์ที่ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจจะฉุดให้เฟด “ขึ้นดอกเบี้ย” ประกอบกับการฉีดวัคซีนที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วในเวลานี้

ขณะที่คืนนี้ ไม่มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญใดๆ แต่สถาบัน API จะมีการเผยรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯคืนนี้


สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าลงมาแถว 91 จุด เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ครั้งแรกช่วงต้นเดือนมี.ค. ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่กลับมาปรับขึ้นอีกครั้ง

ทางด้านความคืบหน้าของเงินเฟ้อและแรงงานเป็นสิ่งที่เฟดให้ความสำคัญ จึงยังทำให้เฟดเลือกเดินหน้าผ่อนคลายทางการเงินต่อไป ประกอบกับความหวังเศรษฐกิจโลกฟื้น ทั้งหมดนี้ได้ช่วยสนับสนุนความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง และมีโอกาสกดดันดอลลาร์ต่อในช่วงครึ่งปีหลังนี้


ปัจจัยสำคัญประจำสัปดาห์:


วันพฤหัสบดี

- จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
- ดัชนีชี้นำธุรกิจจาก Conference Board
- ประชุมสุดยอดผู้นำด้านสภาพอากาศของนายไบเดน


วันศุกร์
- Markit เผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้น


ปัจจัยอื่นๆ:
- แผนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับใหม่ของนายไบเดน มูลค่าราว 3 ล้านล้านเหรียญ
- ความตึงเครียดทางการค้าสหรัฐฯ-จีน ภายใต้ทีมบริหารไบเดน
- กระแสคาดการณ์ลดการกระตุ้นเศรษฐกิจ vs การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
- อัตราดอกเบี้ยแท้จริงของสหรัฐฯ vs ยุโรป
- มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะนำไปสู่ภาวะ “ฟื้นตัวร้อนแรง” เกินไปหรือไม่?

วิเคราะห์ดัชนีดอลลาร์

ภาพรวมดัชนีดอลลาร์อ่อนค่ามาแถว 90.96 จุด หรือ -0.13% ดังนั้น หากไม่สามารถทรงตัวได้ มีโอกาสกลับลงทดสอบแนวรับถัดไปบริเวณ 90.85 เหรียญ (ที่เป็นต่ำสุดตั้งแต่ 20 เม.ย.) ก่อนที่จะกลับหาเป้าหมายต่อไปที่89.68 จุด (ต่ำสุดเมื่อ 25 ก.พ. ในภาพรายเดือน) และ 89.20 จุด (ต่ำสุดตั้งแต่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา)


ในทางตรงกันข้าม หากดัชนีดอลลาร์กลับมายืนได้เหนือ 91.60 จุดที่เป็นแนวเส้นค่าเฉลี่ย SMA ราย 50 วัน ก็อาจเห็นดัชนีไปต่อแตะ 92.16 จุด (SMA ราย 200วัน) และอาจกลับไปได้ถึง 93.43 จุด ที่เป็นสูงสุดเมื่อ 31 มี.ค. ของปีนี้


ที่มา: FXStreet

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com