• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 2 มีนาคม 2564

    2 มีนาคม 2564 | Economic News
   

ดอลลาร์ทรงตัวในระดับแข็งค่า ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลง – ค่าเงินสินทรัพย์เสี่ยงอ่อนค่า

ค่าเงินดอลลาร์ยังทรงตัวในทิศทางที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ แม้ว่าอัตราผลออบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯจะอ่อนตัวลง ภาพรวมตลาดได้รับแรงหนุนจาก
1) การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯที่จะเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น
2) กระแสคาดการณ์เฟดอาจแสดงท่าทีตอบรับกับความผันผวนของอัตราผลตอบแทนพันธฐัตรที่ปรับตัวสูงขึ้น “มากกว่าธนาคารกลางอื่นๆ”
3) ความเชื่อมั่นในค่าเงินที่เสี่ยงกว่าอ่อนตัวลงจากวันก่อน
4) เจ้าหน้าที่การเงินระดับสูงของจีน หารือถึงความมจำเป็นในการใช้ “มาตรการ” เพื่อสร้างเสถียรภาพของตลาดที่อยู่อาศัย และ “กังวล” เรื่องภาวะฟองสบู่แตกของตลาดต่างประเทศ

ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าอีก 0.2มาที่ 91.176 จุด หลังจากที่ไปทำสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์ ขยับใกล้สูงสุดเดิมเรื่อยๆที่เคยทำไว้ล่าสุดช่วงต้นเดือนก.พ. ที่ระดับ 91.60 จุด


ค่าเงินเยนอ่อนค่าแตะ 106.93 เยน/ดอลลาร์ อ่อนค่ามากสุดนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนส.ค. โดยล่าสุดทรงตัวที่ 106.78 เยน/ดอลลาร์

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงต่อ 0.2%  ที่ระดับ 1.2026 ดอลลาร์/ยูโร  และมีการทำต่ำสุดในรอบเกือบ 1 เดือน

ค่าเงินยูโรได้รับ “แรงกดดัน” จากเจ้าหน้าที่ของอีซีบีที่ส่งสัญญาณเตือนเรื่อง การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร

·         นางคริสติน ลาการ์ด ประธานอีซีบี กล่าวว่า อีซีบีจะป้องกันไม่ให้ต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มขึ้นก่อนกำหนดเพื่อสนับสนุนกลุ่มบริษัทและภาคครัวเรือน


·         นายฟรองซัวร์ วิลเลอครอย เดอ กัลป์โฮล เจ้าหน้าที่อีซีบี กล่าวว่าการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเมื่อไม่นานมานี้ อาจทำให้ “อีซีบีจะต้องกลับมาใช้นโยบายเพื่อสร้างความยืดหยุ่น” ในโครงการเข้าซื้อพันธบัตรเวลานี้


·         เทรดเดอร์ค่อนข้างตอบรับอย่างรวดเร็วต่อ “มุมมองที่แตกต่างกัน” ระหว่าง เฟด vs อีซีบี


·         นายโธมัส บาร์กิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ มองว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวนั้น สะท้อนถึง “ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ” และ “แนวโน้มเงินเฟ้อ”


·         นายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ มองว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังส่งผลกระทบต่ำ


·         นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ไม่แสดงความกังวลใดๆ ในเรื่อง “การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร”


·         ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจและการตลาดประจำ National Australian Bank กล่าวว่า แนวทางที่แตกต่างกันในต่อมุมมองของธนาคารกลางต่างๆในเรื่องการเพิ่มขึ้นดอกเบี้ยดูจะเห็นชัดขึ้น โดยเฉพาะเฟดที่ค่อนข้างตอบรับกับทิศทางเชิงบวกมากกว่าที่อื่นๆ


·         The Global CIO Office ระบุว่า การเคลื่อนไหวของตลาดพันธบัตรกำลังสะท้อนถึง “ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นด้านเงินเฟ้อ” โดยเฉพาะหากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว


·         Bitcoin ปรับขึ้นแม้ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงจะเพิ่มขึ้น โดยล่าสุดทรงตัวที่ 49,129 เหรียญ หลังจากที่วันอาทิตย์ทำต่ำสุดรอบ 3 สัปดาห์บริเวณ 43,021 เหรียญ

 

·         ศูนย์กลางเหมือง Bitcoin รายใหญ่ในจีนกำลังปิดตัวจากแนวทางการจัดการ Cryptocurrency  

ทั้งนี้ จีนมี่แนวคิดที่จะดำเนินแผน “การห้ามโครงการเหมือง Cryptocurrency แห่งใหม่” และมีการปิดกิจการบางแห่งที่มีอยู่เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า


·         CDC เผย วัคซีน Covid-19 ของบริษัท J&J ค่อนข้างใช้งานได้ดีกว่า เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้หรือมีผลข้างเคียงของการใช้วัคซีนบริษัท Pfizer หรือ Moderna

 

·         CEO บริษัท Novavax คาดว่า FDA ของสหรัฐฯ จะอทำการประกาศอนุมัติใช้วัคซีนของบริษัทเร็วสุดช่วงต้นเดือนพ.ค.

 

·         สหรัฐฯลดความเป็นไปได้ในการแบ่งปันวัคซีน Covid-19 แก่ประเทศเม็กซิโก

 

·         ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดวิทยาของจีน เผยว่า จีนและสหรัฐฯควร “ยกเลิก” มาตรการจำกัดการเดินทางหากมีการบรรลุเป้าหมายการฉีดภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนแล้ว 90% ซึ่งคาดอาจเกิดขึ้นได้ช่วง ส.ค.

รางานล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนสหรัฐฯได้รับการฉีดวัคซีนแล้วไม่น้อยกว่าคนละ 1 เข็มเป็นจำนวนเฉลี่ย 15%

ขณะที่หัวหน้าฝ่ายนักระบาดวิทยาของศูนย์ควบคุมโรคระบาดและโรคติดต่อของจีน มองว่า “ประมาณเดือน ส.ค. ทั้งสองประเทศน่าจะบรรลุเป้าการฉีดวัคซีน 90%” ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็น่าจะช่วยถอนมาตรการจำกัดการเดินทางให้เกิดความเป็นเสรีได้

 

·         ที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขระดับอาวุโสของจีน เผยถึงการตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้ 40% ในช่วงสิ้นเดือนก.ค.

 

·         แม้จะเห็นเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว แต่ที่ประชุมรัฐสภาจีนยังเล็งเห็นถึงความอันตรายในระยะยาว

การประชุมประจำปีของรัฐสภาจีน จะมีการนำเสนอข้อมูลประกอบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและมีการเปิดเผยแผน 5 ปี (2021-2025) เพื่อป้องกันภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางการแข่งขันเชิงกลยุทธ์กับสหรัฐฯ ที่เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปยังการพึ่งพาการอุปโภคบริโภค รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศจีน

ทั้งนี้ การประชุมแผน 5 ปีครั้งที่ 14 จีนดูจะเน้นไปในเรื่อง
- การปฏิรูปเชิงเร่งด่วนเพื่อหนนุการเติบโตทางเศรษฐกิจครั้งใหม่
- การสนับสนุนทางเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มด้านนวัตกรรม
- กำหนดเป้าหมายการเติบโตโดยเฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ 5
% โดยประมาณ

นอกจากนี้ อาจเห็นจีนกำหนดการปฏิรูปการเลือกตั้งในฮ่องกงด้วย ซึ่งจีนมีการใช้ข้อกฎหมายที่เข้มงวดนับตั้งแต่ที่มีการมีการออกกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติในปีที่แล้วจากเหตุการณ์ไม่สงบในฮ่องกงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2019

และการปฏิรูปการเลือกตั้งในฮ่องกงจะเป็นการ “ตอกย้ำ” ว่าฮ่องกงอยู่ภายใต้การควบคุมของจีน รวมทั้งเป็นการควบคุมกลุ่มผู้รักชาติ และกลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตยลดน้อยลง

 

·         จีนพิจารณาทางเลือกในการจัดการกับความเสี่ยงของระบบการเงินจากเม็ดเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ประเทศ ท่ามกลางการจับตาความเสี่ยงที่จะเกิด “ภาวะฟองสบู่แตก” ในตลาดต่างประเทศ

อย่างไรก็ดี จีนกำลังมีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของมาตรการในการจัดการกับเงินทุนที่ไหลเข้ามาเพื่อไม่ให้สร้างความผันผวนแก่ตลาดภายในประเทศ

ทั้งนี้ ตลาดต่างๆทั่วโลกเริ่มมีการแสดงถึง “ผลกระทบ” จากการใช้มาตรการทางการเงินและนโยบายการสนับสนนุทางการเงินเพื่อรับมือและต่อสู้กับ Covid-19

 

·         แพลทฟอร์มระบบ FinTech ของจีน ถูกคาดว่าจะตอบสนองต่อความต้องการในตลาดเงินทุนภายในช่วง 2 ปี

 

·         SMIC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของจีน ถือเป็น “ความสำคัญอย่างมาก” ที่อาจเอาชนะทั่วโลกที่กำลังขาดแคลนเซมิคอนดัคเตอร์

 

·         หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านของไต้หวัน ระบุว่า ไม่เร่งรีบในการดเดินทางไปร่วมเจรจากับ “นายสี จิ้นผิง” ประธานาธิบดีจีน เนื่องด้วยข้อเสนอของจีนคือการให้ไต้หวันยอมรับกฎเกณฑ์ “คอมามิวนิสต์”  ที่จะทำให้ “ไม่มีตลาด” ใดบนเกาะไต้หวัน

 


·         ทีมบริหารของนายไบเดน  ระบุว่า “จะใช้เครื่องมือทั้งหมดที่มี”  ในการต่อสู้กับความไม่ยุติธรรมทางการค้ากับจีน แม้ว่าในรายงานจะไม่ได้ระบุเป็นการเจาะจงว่าจะใช้เครื่องมือใดบ้าง  แต่ก็เป็นการส่งสัญญาณที่ยังตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนอยู่

 


·         นักวิเคราะห์คาดกาณ์ แผนงบประมาณของอังกฤษ จะประกอบไปด้วย “การขึ้นภาษี” และการขยายเวลาการช่วยเหลือคนว่างงาน ประกอบกับ “ท่าทีทีคุมเข้มทางการเงินมากขึ้น”

 

รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษมีการเตรียมจะเปิดเผยแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในวันพรุ่งนี้ โดยกล่าวกับทาง BBC ว่า แผนงบประมาณจะเป็นการ “เตรียมการสนับสนุน” แต่ขณะเดียวกันก็จะมีความระมัดระวังไม่ให้เศรษฐกิจเผชิญภาวะ “Shock” ดังนั้น จึงไม่น่าจะเกิดการเร่งฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว แต่เป็นลักษณะ “ค่อยเป็นค่อยไปดังกล่าซ”

 

มุมมองนักวิเคราะห์ คาดความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นใน 3 กรณีข้างต้น 

 

ขณะที่การผ่อนคลาย Lockdown ของประเทศ จะเป็นลักษณะค่อยๆถอนนโยบายออกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และน่าจะมีการยกเลิกมาตรการดังกล่าวอย่างเต็มรูปแบบได้ในวันที่ 21 มิ.ย. 

 

รายงานล่าสุดพบว่า ประชาชนกว่า 20 ล้านคนในอังกฤษได้รับการฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อยคนละ 1 เข็ม

 

 

·         อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ไม่คาดว่า อิหร่านจะทำข้อตกลงนิวเคลียร์ในปีนี้ จึงยิ่ง “ตอกย้ำความตึงเครียดเพิ่มขึ้น”

 

·         ตำรวจพม่ายังคงกระหน่ำยิงใส่กลุ่มผู้ชุมนุม ขณะที่บรรดารัฐมนตรีในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เตรียมตั้งเป้าเจรจากับผู้นำรัฐบาลทหารพม่า เกี่ยวกับการระงันเหตุความรุนแรงและการหาวิธีก้าวออกจากวิกฤตในเวลานี้



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com