• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 1 มีนาคม 2564

    1 มีนาคม 2564 | SET News


· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ชิงพื้นที่ “เสถียรภาพของตลาด” กับตลาดพันธบัตร

ในวันนี้ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นได้จาก
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรวันนี้เริ่มอ่อนตัวหลังจากที่ปรับขึ้นแรงในสัปดาห์ที่แล้ว
- ความคืบหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ของสหรัฐฯ
- มุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก (ตัวช่วยหลักหนุนตลาดน้ำมันเวลานี้)

ขณะที่ข้อมูล PMI ภาคการผลิตจีนเดือนก.พ. แย่กว่าคาด แต่ข้อมูลการผลิตของญี่ปุ่นกลับออกมาเติบโตได้อย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 2 ปี

นักลงทุนรอคอยข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะ “การจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯ”

นอกจากนี้ ตลาดตอบรับข่าว “วัคซีน Johnson & Johnson” ที่ได้รับอนุมัติใช้อย่างเป็นทางการในสหรัฐฯ โดยจะเริ่มต้นใช้วัคซีนได้ตั้งแต่วันพรุ่งนี้


· ดัชนีนิกเกอิปิดพุ่งกว่า 2% แม้ข้อมูล PMI จีนจะชะลอตัวในเดือนก.พ.

ดัชนีนิกเกอิปิด +2.41% ที่ 29,663.50 จุด โดยกลับมาปิดแดนบวกหลังปิดวันศุกร์ร่วงกว่า
ดัชนี Topix ปิด +2.04% ที่ระดับ 1,902.48 จุด

ตลาดหุ้นจีนก็ปิดปรับขึ้นในวันนี้
ดัชนี Shanghai composite ปิด +1.21% ที่ระดับ 3,551.40 จุด
ดัชนี Shenzhen component ปิด +2.412% ที่ 14,857.34 จุด

ดัชนี HSI ของประเทศฮ่องกงปิด +1.63% ที่ 29,452.57 จุด แม้ว่าหุ้น CNOOC จะร่วงลงกว่า 1.008% หลังตลาดหุ้นนิวยอร์ก (NYSE) ประกาศถอนรายชื่อบริษัทดังกล่าวที่ได้รับอนุญาตเป็นการฉุกเฉินจากอดีตประธานาธิบดีทรัมป์

ดัชนี S&P/ASX200 ปิด +1.74% ที่ 6,789.60 จุด

ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นปิด +1.34%

ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดทำการในวันนี้เนื่องในวันหยุดประจำชาติ


· หุ้นยุโรปเปิดบวก – ตามการฟื้นตัวตลาดหุ้นทั่วโลก, อัตราผลตอบแทนพันธบัตรดิ่ง

ตลาดหุ้นยุโรปเปิดบวกขานรับทิศทางการปรับขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลก ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง ประกอบกับตลาดได้รับอานิสงส์เชิงบวกจากข่าววัคซีน Covid-19

ดัชนี Stoxx 600 เปิด+1.7% ขณะที่หุ้นกลุ่มทรัพยากรพื้นฐานพุ่ง 2.7% หนุนหุ้นกลุ่มหลักอื่นๆเคลื่อนไหวแดนบวกตาม

ดัชนีฟิวเจอร์สของสหรัฐฯเองก็ปรับตัวสูงขึ้นได้ต่อในวันนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอ่อนตัวลงหลังปรับขึ้นแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงทำให้ตลาดหุ้นกลับมาเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนในตลาดอีกครั้

นอกจากนี้ โดยองค์รวม ดัชนีหลักๆในตลาดยังคงตอบรับกับการประกาศรายงานผลประกอบการเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมา ที่เป็นไปในเชิงบวก ควบคู่กับข่าววัคซีนและความหวังเกิดแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังจากที่วันศุกร์ ส.ส.สหรัฐฯสามารถผลักดันร่างกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านเหรียญได้ภายใต้ชื่อ the American Rescue Plan Act of 2021

ท่ามกลางการตัดสินใจร่างกฎหมายดังกล่าวของ “วุฒิสภาสหรัฐฯ” ในสัปดาห์นี้


· อ้างอิงจากสำนักข่าว Sanook.com

- โควิดวันนี้ ศบค.แถลงไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 80 ราย รวมป่วยสะสม 26,031 ราย


· อ้างอิงจากสำนักข่าว Thai PBS

- "อนุทิน" ฉีดคนแรก วัคซีน COVID-19 - นายกฯร่วมเป็นพยาน

"อนุทิน" รมว.สาธารณสุข ประเดิมฉีดวัคซีน COVID-19 คนแรกของไทย ขณะที่ "พล.อ.ประยุทธ์" นายกฯ ร่วมเป็นสักขีพยาน

วันนี้ (28 ก.พ.64) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 07.30 น.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางถึงที่สถาบันบำราศนราดูร เพื่อตรวจเยี่ยมการฉีดวัคซีนซิโนแวคพร้อมลงนามในการฉีดวัคซีนเป็นครั้งแรกของประเทศไทย


· อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ

- มองเศรษฐกิจไทย ผ่าน ‘เศรษฐพุฒิ’ผว.ธปท.

“การเดินหน้าสู่ new world landscape เป็นสิ่งที่เราเผชิญอยู่แล้วก่อนหน้า แต่สถานการณ์โควิด 19 สร้างการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายทำให้ตอนนี้แม้ระยะทางจะใกล้ขึ้นแต่หนทางอาจขรุขระกว่าเดิมจากปัจจัยเสี่ยงใหม่ ๆ ที่เหนือความคาดหมาย ผมมองว่าเป็นการทดสอบความสามารถในการปรับตัวของประเทศไทยและเราทุกคน

“เราต้องระวังไม่ให้การมุ่งแก้ปัญหาระยะสั้น ทำให้เราไม่ใส่ใจการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะยาวไปพร้อมกัน เพื่อให้เรามีแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ชัดเจนและสอดรับกับภูมิทัศน์ใหม่ของโลกหลังวิกฤตโควิด 19 จบลง ไม่อย่างนั้น อาจกลายเป็นความท้าทายที่ใหญ่กว่าได้”


ผู้ว่าการ ธปท. ได้หยิบยก 3 เทรนด์สำคัญที่จะส่งผลต่อภูมิทัศน์ของโลกในระยะยาวมาพูดคุย ได้แก่
1) ข้อมูลและเทคโนโลยี (data & technology)
2) กระแสความยั่งยืน (sustainability)
3)การเพิ่มขั้วอำนาจของโลก (multipolar world)


รวมถึงยังมีข้อเสนอแนะในการปรับตัวของภาคประชาชนและภาคธุรกิจรวมถึงการทำงาน ของ ธปท. ที่สอดรับกับเทรนด์เหล่านี้อีกด้วย


- 'เศรษฐกิจไทย' ฟื้นตัวช้า

แม้มีข่าวดีวัคซีนโควิด-19 พร้อมแล้ว แต่ไทยยังต้องเผชิญความไม่แน่นอนทางการเมือง ภาคเอสเอ็มอีที่อ่อนแอ โครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาท่องเที่ยวเป็นหลัก ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเปราะบาง เสี่ยงฟื้นตัวช้า ขณะที่เวิลด์แบงก์มองว่าจีดีพีไทยจะลดลงต่ำกว่าคาดการณ์ 4%

ท่ามกลางปัจจัยความเชื่อมั่นของโลกในสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ที่มีความชัดเจนจากการที่วัคซีนทยอยออกมา ส่งผลให้บรรยากาศเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวในปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยจากที่เคยมีโอกาสคึกคักตามทิศทางเศรษฐกิจโลก วันนี้เริ่มมีความไม่แน่นอน เนื่องจากการอัพเดทดัชนีสำคัญ ยังมีปัญหาในการทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในระยะอันใกล้ ขณะนี้อาจจะต้องทบทวนใหม่ประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจกันใหม่

ข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ปี 2563 ภาพรวมสินเชื่อยังเติบโตต่ำ โดยทั้งระบบขยายตัว 5.1% มาจากสินเชื่อธุรกิจ เนื่องจากธุรกิจขนาดใหญ่กลับมาขอสินเชื่อแทนการออกหุ้นกู้มากขึ้น สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวลดลงเหลือ 4.6% ส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีติดลบ สอดรับกับหนี้เสียภาคเอสเอ็มอียังอาการหนักสุด โดยเฉพาะกลุ่มที่มียอดสินเชื่อต่ำกว่า 500 ล้านบาท หนี้เสียเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.8% และมีแนวโน้มที่หนี้เสียจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากหนี้ก่อนจะนับเป็นเอ็นพีแอลมีสัญญาณพุ่ง

มุมมองนักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักเริ่มมองเศรษฐกิจไทยในมุมที่แตกต่าง โดยเฉพาะประเด็นระยะเวลาที่จะกลับมาฟื้นตัว จากที่เคยคาดการณ์ 1 ปีนับจากปี 2563 ขณะนี้เริ่มยืดระยะเวลาออกไป ผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลกเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะต้องใช้เวลา 2 ปี และหากจะให้ฟื้นตัวชัดเจนต้องใช้เวลาถึง 4 ปี ภายใต้เงื่อนไขต้องลงทุนเพิ่มอีกเท่าตัว หรือจาก 17% เป็น 35% ของจีดีพี และต้องเพิ่มผลิตภาพอีกเท่าตัว


- เวิลด์แบงก์ยอมรับว่ากำลังประเมินจีดีพีไทยปีนี้ จากที่คาดการณ์โต 4% จะต้องลดลงมาอีก

เหตุผลหลักๆ เวิลด์แบงก์มองว่าเศรษฐกิจไทยมีการพึ่งพาการท่องเที่ยว ผนวกกับความไม่แน่นอนทางการเมืองและสงครามการค้าที่ดำเนินการต่อเนื่อง ยิ่งพิจารณาตัวเลขความยากจนที่เพิ่มขึ้นถึง 1.5 ล้านคนในปี 2563 ทำให้แม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ ก็จะฟื้นตัวไม่ทั่วถึง สอดคล้องกับมุมมองค่ายทีเอ็มบีที่เห็นว่าการฟื้นตัวกระจุกเฉพาะกลุ่ม หากแบ่งกลุ่มธุรกิจพบว่ามีกลุ่มที่ไปได้ดี มาคู่กับโรคโควิด เช่นธุรกิจสุขภาพ อาหาร ไอที อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนกลุ่มธุรกิจที่เหลือมีประเภทค่อยๆ ขยับดีขึ้น และกลุ่มที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะฟื้น


· อ้างอิงจากสำนักข่าวไทยรัฐ

- แนวทางเปิดประเทศ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ไทยต้องฉีดวัคซีนโควิด 70% ของประชากร

การจะเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ต้องดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป “อนุสรณ์ ธรรมใจ” อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มองว่า การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติต้องดำเนินการตามมาตรฐานสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เนื่องจากการฉีด "วัคซีนโควิด" ในแต่ละประเทศจะเริ่มที่กลุ่มเสี่ยงก่อน ส่วนการที่ประชากรทั่วโลก 7,000 กว่าล้านคนเข้าถึง หรือประชากรไม่ต่ำกว่า 70% ของประชากรโลก หรือประมาณ 5,000 ล้านคนที่ได้รับการป้องกันการติดเชื้อด้วยวัคซีนนั้น เป็นกระบวนการที่ใช้เวลาและงบประมาณมหาศาล

ส่วนไทยต้องวางระบบบริหารจัดการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้มากที่สุดอย่างน้อย 70% ของประชากรทั้งหมดภายในเดือน พ.ค. หรือเดือน มิ.ย.เป็นอย่างช้า จึงค่อยตัดสินใจเปิดประเทศอย่างเต็มที่เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และควรวางแผนให้คนไทยและชาวต่างชาติที่อยู่อาศัย ได้รับวัคซีนเดือนละ 15-20 ล้านโดส เพื่อจะสามารถเปิดให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และเปิดประเทศได้อย่างเต็มที่


- เพื่อไทย ประณาม ยัน ไม่ยอมรับใช้ความรุนแรง เหตุชุมนุม 28 ก.พ.


· อ้างอิงจากสำนักข่าว BBC

- ชุมนุม 28 ก.พ.: นายกรัฐมนตรีวอนสื่ออย่านำเสนอข่าวเพียงด้านเดียว พร้อมแจงเจ้าหน้าที่ใช้มาตรการตามหลักสากล


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com