· ดอลลาร์แข็งค่าปิดสัปดาห์ที่ดีที่สุดในรอบ 3 เดือน - สถานการณ์ระบาดที่คลี่คลายมากขึ้น
ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่ามีแนวโน้มปิดสัปดาห์ที่ดีที่สุดในรอบ 3 เดือน บริเวณ 1.1% ซึ่งปรับขึ้นได้มากที่สุดตั้งแต่ 1 พ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวได้มากกว่าประเทศอื่นๆในโลก
ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับแข็งค่ามากสุดรอบ 2 เดือน หลังสัญญาณตลาดแรงงานแข็งแกร่งและตลาดรอคอยข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯคืนนี้ เวลา 20.30น. (ตามเวลาไทย)
ดอลลาร์มีทิศทางแข็งค่าต่อในรอบหลายสัปดาห์ แต่ภาพรวมทิศทางเศรษฐกิจในยุโรปและเอเชียยังไม่สดใส แต่การที่เฟดยังคงเลือกใช้นโยบายผ่อนคลายฉบับพิเศษต่อไป ยังจำกัดการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
ดัชนีดอลลาร์ทรงตัววันนี้ที่ 91.529 จุด ในช่วงต้นตลาดเอเชีย หลังจากแข็งค่ามากขึ้นในทุกวันสัปดาห์นี้ และไปแตะ 91.581 จุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ 1 ธ.ค.
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่และนักลงทุนยังเชื่อว่าปีนี้การแข็งค่าของดอลลาร์จะเกิดขึ้นเป็นการชั่วคราว หลังจากที่ปรับลงไป 7% ในปี 2020
ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 105.585 จุด หลังจากที่ช่วงต้นขึ้นไปได้ 105.70 เยน/ดอลลาร์ครั้งแรกนับตั้งแต่ 20 ธ.ค.
ค่าเงินยูโรทรงตัวแถว 1.1966 ดอลลาร์/ยูโร และยังต่ำกว่า 1.2 ดอลลาร์/ยูโรเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ 1 ธ.ค.
นักกลยุทธ์จาก Westpac มองว่า การกระจายวัคซีนในยุโณปที่รวดเร็วขึ้นน่าจะเกิดขึ้นได้ในช่วงสิ้นไตรมาสนี้ และการที่เฟดยังคงนโยบายการเงินจะเป็นปัจจัยที่กดดันดอลลาร์ และหากดอลลาร์ยังขึ้นได้ต่อ ดัชนีดอลลาร์ก็มีโอกาสเจอแรงเทขายที่ระดับ 92 จุด
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับขึ้นจากการคาดหวังถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ควบคู่กับการจะเห็นเงินเฟ้อที่ปรับขึ้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ทรงตัวที่ 1.137% หลังจากที่ขึ้นไปทำสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์บริเวณ 1.162% เมื่อวานนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 30 ปี ทรงตัวที่ 1.931% ใกล้สูงสุดรอบ 1 เดือนครึ่งที่ 1.951% เมื่อวานนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในยุโรปก็ปรับตัวขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมนีอายุ 30 ปี ปรับขึ้นมาเคลื่อนไหวแดนบวกครั้งแรกนับตั้งแต่ก.ย.
ตลาดส่วนใหญ่จับตาไปยังมาตรวัดเงินเฟ้อสหรัฐฯที่เคลื่อนไหวใกล้สูงสุดตั้งแต่ต.ค. ปี 2018 ขณะที่เงินเฟ้อยูโรโซนที่ทำสูงสุดตั้งแต่พ.ค. 2019
· สหรัฐฯกล่าวขอบคุณไต้หวันที่ช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนชิปรถยนต์ในการประชุมการค้าครั้งสำคัญ
· Nomura ชี้ อังกฤษอาจจำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยต่อจากสำหรับการสนับสนุนทางเศรษฐกิจ
· รัฐบาลอังกฤษได้สั่งให้พลเมืองชาวอังกฤษที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีความเสี่ยงสูงจะต้องกักตัวเป็นเวลา 10 วันในที่พักที่รัฐบาลอนุมัติ เช่น โรงแรม โดยจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.นี้
· "นายมาริโอ ดรากี" ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกฯอิตาลี จะทำการหารือกับสหภาพแรงงานก่อนจะเข้าสู่ที่ประชมเพื่อตัดสินใจว่าจะมีเสียงสนับสนุนเพียงพอต่อการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หรือไม่
อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความชัดเจนว่า นายดรากี จะมีการเข้าพบกับสหภาพแรงงานเมื่อใด
· นายจูเซปเป คอนเต นายกรัฐมนตรีอิตาลี ส่งสัญญาณสนับสนุนคณะรัฐบาลชุดใหม่ของนายมาริโอ ดรากีที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำนายกรัฐมนตรีคนใหม่เมื่อไม่นานมานี้
· โครงการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาของตุรกียังคงดำเนินไปอย่างราบรื่น ด้วยวัคซีนที่ผลิตโดยบริษัท Sinovac Biotech บริษัทเวชภัณฑ์สัญชาติจีน
จนถึงปัจจุบัน ตุรกีได้รับวัคซีนจากจีนแล้ว 13.5 ล้านโดส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงจัดซื้อวัคซีนจำนวน 50 ล้านโดส และมีชาวตุรกีมากกว่า 2.2 ล้านคน ได้รับวัคซีนเข็มแรกไปแล้วนับแต่โครงการฉีดวัคซีนขนานใหญ่ ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา
· กระทรวงสาธารณสุขและกีฬาของเมียนมา เปิดเผยว่า กลับมาดำเนินการโครงการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาทั่วประเทศอีกครั้งในวันนี้
โดยได้ทำการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาให้กับบุคลากรด้านสาธารณสุขและอาสาสมัครที่ทำงานด่านหน้าในการรับมือกับไวรัสดังกล่าว จำนวน 103,142 รายตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเฟสแรกของโครงการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสทั่วประเทศ
สำหรับกลุ่มที่จะได้รับการฉีดวัคซีนเป็นกลุ่มต่อไปซึ่งเริ่มตั้งแต่วันนี้ จะประกอบด้วย รัฐมนตรี, รัฐมนตรีช่วงและเจ้าหน้าที่ระดับกระทรวง, พนักงานรัฐบาลอาวุโส, ผู้สูงวัยที่มีอายุเกิน 65 ปีและอาศัยอยู่ในเมืองภายใต้คำสั่งให้อยู่กับบ้าน, อดีตรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วงกระทรวงต่าง ๆ และสมาชิกรัฐบาลระดับภูมิภาคหรือระดับรัฐ
· ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี ท่ามกลางสัญญาณการเติบโตที่ดีขึ้นอย่างแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจสหรัฐฯและความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของผู้ผลิตในการระงับอุปทานน้ำมันดิบ
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 28 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.5% ที่ระดับ 59.12 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากแตะระดับสูงสุดที่บริเวณ 59.41 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสดนับตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ.เมื่อปีที่แล้ว สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวสูงขึ้นได้ 6%
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 29 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.5% เช่นเดียวกัน ที่ระดับ 56.52 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่บริเวณ 56.84 เหรียญ/บาร์เรล นับตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค.เมื่อปีที่ผ่านมา สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นได้ 8%
DailyFX วิเคราะห์ราคาน้ำมันดิบ WTI ในทางเทคนิค
.png441)
ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นมาแถวระดับเส้น Fibonacci Retracement 23.6% ที่ 56.26 เหรียญ/บาร์เรล หากผ่านไปได้มีโอกาสเห็นราคาขึ้นทดสอบ Fibonacci Retracement 59.19 เหรียญ/บาร์เรล
อย่างไรก็ดี ต้องระวังเนื่องจากสัญญาณ RSI เตือนถึงภาวะที่อาจกลับมาอ่อนตัว
ดังนั้น อาจเห็นราคาน้ำมันดิบ WTI อาจอ่อนตัวลงมาที่ 56.26 เหรียญ/บาร์เรล ได้ ซึ่งหากหลุดแนวรับนี้ลงมามีโอกาสกลับมาทดสอบแนวรับขาลงต่อไปที่ 53.90 เหรียญ/บาร์เรล ที่เคยเป็นระดับแนวต้านสำคัญมาก่อน