ในขณะที่สภาคองเกรสกำลังถกเถียงกันเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ตลาดพันธบัตร ก็ดูเหมือนจะพร้อมรับกับการจะใช้มาตรการทางการเงินครั้งใหญ่ รวมถึงการรีบาวน์ทางเศรษฐกิจ ที่อาจเป็นตัวจุดประกายความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อให้เพิ่มสูงขึ้น
มาตรวัดของตลาดพันธบัตรที่กำลังเป็นที่จับตามองคือ “อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ” หรือความแตกต่างของอัตราผลตอบแทนและตราสารหนี้ต่างๆ โดยจะเห็นได้ว่า “อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ” มีการปรับขึ้นไปทำสูงสุดนับตั้งแต่พ.ค. ปี 2017
การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเป็นผลมาจาก
- สัญญาณเชิงบวกทางเศรษฐกิจ
- สัญญาณขาขึ้นในตลาดหุ้น
- ผลประกอบการของบริษัทต่างๆ
แต่สิ่งที่กำลังเป็นตัวเตือนถึงภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอก็ยังมีอยู่ เมื่อจะเห็นได้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวกับระยะสั้นค่อนข้างมีความแตกต่างกันในการเคลื่อนไหว
อัตราผลตอบแทนอายุ 2 ปี เคลื่อนไหวแถว 0.11%
อัตราผลตอบแทนอายุ 10ปี เคลื่อนไหวแถว 1.12%
และส่งผลให้เกิดความถ่างระหว่างอัตราผลตอบแทนสองชนิดนี้สูงถึง 1.01% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนก็มีแนวโน้มจะปรับขึ้นต่อ
Morgan Stanley Investment Manangement กล่าวว่า ปัจจัยขับเคลื่อนตลาดพันธบัตรมาจากความเป็นจริงของ “การใช้นโยบายทางการเงิน” และ “มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ” ที่จะช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งเมือปราศจากแนวทางของเฟด ก็ยังมีแนวโน้มจะเห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้ต่อในอนาคต
ขณะที่ “เงินเฟ้อ” ถูกคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น และทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดพันธบัตร
หัวหน้านักกลยุทธ์จาก Bank of America กล่าวว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเริ่มปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ที่มีการกระจายวัคซีน จึงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีในช่วงสิ้นปี 2021 น่าจะอยู่บริเวณ 1.75% จากคาดการณ์เดิมที่ 1.5%
.png888)
มาตรการเยียวยา Covid-19 และวงเงินสนับสนุนเพิ่มเติม
ตลาดดูจะให้ความสนใจกับข้อเสนอแพ็คเกจ Covid-19 ของนายไบเดน ที่วงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญ ที่ถูกคาดว่าจะได้รับความเห็นชอบเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่เดือนธ.ค. มีการผ่านร่างช่วยเหลือ Covid-19 วงเงิน 9 แสนล้านเหรียญ
นักวิเคราะห์บางส่วนเชื่อว่า “การสนับสนุนเป็นวงเงินล้านล้าน หรือมากกว่าล้านล้าน” ก็อาจจะมีผลต่อประเทศในระดับท้องถิ่น จึงคาดว่าน่าจะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ก็อาจจำเป็นที่จะต้องเห็นเศรษฐกิจโตต่อได้ในปีหน้าด้วย
ตลาดไม่ตอบรับกับคาดการณ์ที่ว่า “ระดับหนี้สินจะเพิ่มสูงขึ้น” จากการใช้งบที่สูงขึ้น
แต่ตลาดให้ความสนใจต่อผลที่จะเกิดขึ้นได้ทางเศรษฐกิจเมื่อมีมาตรการกระตุ้นมากกว่า
สัญญาณการฟื้นตัวอื่นๆทางเศรษฐกิจ
หัวหน้านักกลยุทธ์ฝ่ายการลงทุนจาก The Leuthold Group ระบุว่า เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้นมาจาก “ความหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัว” โดยเขาคาดว่าอาจเห็นสัญญาณทางเศรษฐกิจปรับขึ้นได้ต่อ ซ่างอาจทำให้จีดีพีปีนี้น่าจะโตได้ในกรอบ 6-8% โดยมีเงินเฟ้อเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาณนี้
รายงานของ Moody’s Analytics/CNBC Rapid Update เปิดเผยข้อมูล ค่าเฉลี่ยทิศทางเศรษฐกิจจากบรรดานักเศรษฐศาสตร์ ที่มองว่าปี 2021 จะเห็นเศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโตได้ 5%
แต่หากเงินเฟ้อยิ่งสูงขึ้น ก็อาจส่งผลลบต่อตลาดหุ้นได้ รวมไปถึงอาจเห็นแรงกดดันในรายงานผลประกอบการของบริษัทด้วย
ค่าเฉลี่ย 5-year breakeven inflation rate พบว่าตลาดพันธบัตรมีมุมมองต่อคาดการณ์เงินเฟ้อที่ 2.30 จุด ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เม.ย. ปี 2013 จึงหมายความว่าในช่วง 5 ปีข้างหน้ามีโอกาสเห็นเงินเฟ้อปรับขึ้นแตะ 2.5% ได้
หัวหน้าฝ่ายเจ้าหน้าที่ด้านการลงทุนของ Bleakley Advisory Group กล่าวว่า สำหรับเรื่อง “อัตราดอกเบี้ย” เป็นสิ่งที่ตลาดเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น แต่ประเด็นนี้ก็ยังไม่น่าจะสร้างความเสี่ยงครั้งใหญ่ให้แก่ตลาดได้
ขณะที่เฟดมีการกล่าวถึงการจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำเป็นเวลานาน รวมทั้งยังสนับสนุนการเข้าซื้อพันธบัตรเพื่อให้เงินเฟ้อนั้นปรับตัวสูงขึ้นมาในกรอบค่าเฉลี่ยเหนือ 2% โดยปราศจากการขึ้นดอกเบี้ย
และเฟดมองว่าการปรับขึ้นของเงินเฟ้อนั้นถือเป็น “ผลดี”
Cabana said the Fed would see the rising inflation expectations as positive.
ความแตกต่างของช่วงเวลาที่ผ่านมา
กลุ่มนักกลยุทธ์ในตลาดพันธบัตร ระบุถึง นโยบายทางการเงินมีส่วนช่วยให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้นได้ในเวลานี้ และล่าสุด Spread หรือความถ่างระหว่างผลตอบแทน 2 ปี และ 10 ปี ช่วง 2-3 เดือนนี้ค่อนข้างห่างกันโดยที่อัตราผลตอบแทนอายุ 2 ปี อยู่ที่ 1.26% ทางด้านผลตอบแทน 10 ปี อยู่แนว 2.27% ท่ามกลางตลาดการเงินที่ยังให้ความสนใจเรื่อง “การลดภาษี” ที่จะยังมีอยู่ต่อไปจากยุคของนายทรัมป์
หัวหน้านักกลยุทธ์จาก Wells Fargo กล่าวว่า ในท้ายที่เศรษฐกิจจะสามารถฟื้นตัวได้จากวิกฤตทางการเงิน
ทุกๆคนมีการพิจารณาว่านโยบายทางเศรษฐกิจจะช่วยหนุนการฟื้นตัวได้ จึงทำให้เริ่มเห็นบางส่วนมีการพูดคุยถึงเรื่องการกลับมาขึ้นดอกเบี้ยของเฟด
Morgan Stanley ไม่คิดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรนั้นจะปรับขึ้นได้ต่อในระยะยาว และการปรับขึ้นในเวลานี้ก็ไม่น่าจะส่งผลต่อตลาดต่างๆ เนื่องด้วยเฟดมีแนวโน้มว่าอีกนานกว่าจะดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งปกติเมื่อเฟดพร้อมจะถอนดอกเบี้ยก็จะเห็นเศรษฐกิจเริ่มมีการชะลอตัวลง
อย่างไรก็ดี ในเวลานี้ เฟดยังคงมีการดำเนินนโยบายการเงิน และรัฐบาลสหรัฐฯก็มีแนวโน้มจะเพิ่มค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจที่อาจส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้มากขึ้น
ที่มา: CNBC