• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 2 ธันวาคม 2563

    2 ธันวาคม 2563 | Gold News

·         ทองคำยืนเหนือ 1,815 เหรียญ ชี้โอกาสฟื้นตัวขึ้นต่อ

 

รายงานมุมมอง Confluence Detector ระบุว่า ระดับสำคัญของทองคำที่ต้องจับตามองในทางเทคนิคของทองคำคือบริเวณแนวต้าน 1,813 และ 1,815 เหรียญ เพราะหากผ่านไปได้จะมีโอกาสขึ้นไปเจอแนวต้านถัดไปที่ 1,818 เหรียญที่เป็นเส้นค่าเฉลี่ย SMA50 ในกราฟราย 4 ชั่วโมง

 

และภาพของทองคำ จะยิ่งตอกย้ำขาขึ้น หากผ่านแนวต้าน 1,825 เหรียญ ที่เป็นระดับเส้น SMA10 ในราย 1 วัน เพราะมีโอกาสจะขึ้นต่อไปหา Pivot Point ราย 1 วันที่เคยเป็นแนวต้านแรกบริเวณ 1,829 เหรียญ

 

ในทางกลับกัน หากราคาทองคำหลุดแนวรับ 1,807 เหรียญ ที่เป็นระดับเส้น Fibonacci 23.6% ของภาพรายวัน ก็มีโอกาสเห็นทองคำร่วงกลับลงมาแนว 1,803 เหรียญ ที่เป็นระดับเส้น Fibonacci 38.2% และ SMA200 ในกราฟรายวัน

 

โดยทองคำจะมีแนวรับถัดไปที่ 1,800 เหรียญ ที่เป็นระดับเส้น SMA5 ราย วัน และ Fibonacci 23.6% ราย สัปดาห์  เพราะหากหลุดลงมามีโอกาสกลับมาเจอ "แรงเทขายรอบใหม่" และลงมาที่ 1,791 เหรียญ ที่เป็นระดับสำคัญของ Fibonacci 61.8% ของกราฟรายวัน และเส้น SMA50 ของกราฟ ชั่วโมง

 

·         FXStreet | จับตาทองคำแตะ 1,850 เหรียญ จากสัญญาณขาขึ้นในกราฟราย 1 ชั่วโมง

ราคาทองคำปรับขึ้นจากต่ำสุดรอบ 5 เดือนบริเวณ 1,765 เหรียญ และมีสัญญาณปรับขึ้นต่อ ฉายแววทดสอบแนวต้าน 1,850 เหรียญ

 

นักวิเคราะห์จาก FXStreet มองภาพทางเทคนิคเป็น "ขาขึ้น" หลังจากกราฟรายชั่วโมงมีการ Breakout พร้อมๆกับการกลับมาปิดเหนือแนวต้านของเส้น Trendline ที่ 1,815 เรียญ ขณะที่เส้นค่าเฉลี่ย HMA ราย 200 ชั่วโมงอยู่ที่บริเวณ 1,819 เหรียญ หากผ่านไปได้จะยิ่งตอกย้ำภาวะขาขึ้นครั้งใหญ่

 

ด้าน RSI เข้าสู่ภาวะ Overbought ปัจจุบันอยู่ที่ 74.05 จุด จึงสะท้อนถึงโอกาสที่ราคาทองคำอาจกลับมาทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย HMA ราย 200 ชั่วโมงอีกครั้ง ก่อนจะกลับขึ้นไปหา 1,850 เหรียญ

 


เส้นค่าเฉลี่ย HMA ราย 200 ชั่วโมง จะมีแนวรับที่ 1,815 เหรียญ หากหลุดลงมาจะมาเจอเป้าหมายบริเวณเส้น HMA ราย 24 ชั่วโมงที่บริเวณ 1,812 เหรียญ ก็ยังบ่งชี้ถึงขาขึ้นอยู่หากยืนได้ ซึ่งภาพของราคาทองคำยังเป็น "ขาขึ้น" อยู่ตราบเท่าที่ยังยืนได้เหนือ 1,800 เหรียญ

 

·         สหรัฐฯ-รัสเซีย เข้าซื้อทองคำมากสุดช่วงไวรัสระบาดกว่า 157 ตัน

 

วิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะส่งผลให้หลายๆประเทศเลือกเสริมสภาพคล่องด้วยการสำรองทองคำ

 

ข้อมูลจาก Finbold.com สะท้อนให้เห็นว่า 4 จาก 12 ประเทศเศรษฐกิจรายใหญ่มีการสำรองทองคำเพิ่มกว่า 208.34 ตัน ระหว่างเดือนมี.ค. - ธ.ค. ปีนี้ และยังมีอีก 8 ประเทศที่เข้าซื้อทองรวมกว่า 12.78 ตันในช่วงเวลาเดียวกัน

 

สหรัฐฯ เพิ่มการสำรองทองคำมากสุด 92.23 ตัน สู่ระดับ 9,057.38 ตัน จากเดิมที่ 8,965.15 ตันในเดือนมี.ค.

 

เยอรมนี ลดการสำรองทองคำ 5.4 ตัน สู่ระดับ 3,703.74 ตัน จากเดิมที่ 3,709.14 ตันในเดือนมี.ค.

 

IMF ลดการสำรองทองคำจาก 3,101.53 ตัน มาที่ 3,100.38ตัน

 

รัสเซีย เพิ่มการสำรองทองคำ 65.51 ตัน ที่ระดับ 2,596.72 ตัน จากเดิมที่ระดับ 2,504.21 ตันในเดือนมี.ค.

 

จีน เพิ่มการสำรองทองคำ 36.75 ตัน สู่ระดับ 2,196.55 ตัน จากระดับ 2,159.8 ตันในดือนมี.ค.

 





สถานะของบรรดาธนาคารกลางยังเป็น "การซื้อทองคำในฐานะ Safe-Haven

 

จากข้อมูลล่าสุดสะท้อนว่าธนาคารกลางต่างๆมีการสำรองทองคำเพิ่มในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา ท่ามกลางตลาดหุ้นที่ดิ่งลงทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ จึงทำให้ธนาคารกลางต่างๆต้องเลือกถือครองทองคำเพื่อความมั่งคั่

 

ขณะที่วิกฤตทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ก็ยังส่งผลต่อความไม่แน่นอนของแนวโน้มทองคำด้วยเช่นกัน  เพราะเมื่อเศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัวก็จะเห็นได้ถึงตลาดหุ้นที่ทำ All-Time Highs ใหม่ แม้ว่าจะเผชิญกับ Second Wave อยู่ และวัคซีนก็อาจเกิดขึ้นได้ในอีกไม่กี่วันนี้

 

ภาพรวมทองคำก็ยังมีสถานะที่ดีในฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่หลายๆคนเลือกเข้าถือครองทองคำอยู่ ขณะที่หลายๆประเทศเลือกเสริมสภาพคล่องด้วยการสำรองเงินสด และธนาคารกลางต่างๆก็ชะลอการซื้อทองจากระดับราคาที่อยู่สูง และแรงเทขายทองคำที่เกิดขึ้นก็เพื่อ *ต้องการเงินสดเพิ่ม* โดยเฉพาะประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงการระบาดของไวรัส

 

ผลกระทบจาก Covid-19 ต่อทองคำ ไม่ชัดเจน

 

แม้ธนาคารกลางๆหลายแห่งจะถือทองคำในฐานะ Safe-Haven แต่จะเห็นได้ว่าแม้จะมีการระบาดแต่ทองคำก็ยังมีราคาที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะสภาวะ Risk-Off

 

ส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์หลายๆรายมองว่าสถานะของทองคำนั้นค่อนข้างผันผวนจากทิศทางเศรษฐกิจ และธนาคารกลางเลือกที่จะถือครองหรือขายทองเพื่อกลยุทธ์เท่านั้นจากมูลค่าและความแข็งแกร่ง

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com