• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2563

    29 กรกฎาคม 2563 | Economic News

·         · ดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับอ่อนค่ามากที่สุดรอบ 2 ปี จับตาประชุมเฟด

ดอลลาร์อ่อนค่าลงใกล้ระดับต่ำสุดรอบ 2 ปี ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯท่ี่ดูจะหั่นความหวังการฟื้นตัวที่เร็วของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่เฟดมีแนวโน้มจะคงท่าทีผ่อนคลายทางการเงินไว้ และจะมีการทบทวนแนวทางการดำเนินนโยบายในการประชุมคืนนี้

ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ระดับ 93.72 จุด ใกล้ระดับอ่อนค่ามากที่สุดนับตั้งแต่มิ.ย. ปี 2018

ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1723 ดอลลาร์/ยูโร โดยอยู่ในทิศทางแข็งค่าหลังจากที่วันจันทร์ที่ผ่านมาไปทำสูงสุดรอบ 22 เดือนที่ 1.17815 ดอลลาร์/ยูโร

ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 105.05 เยน/ดอลลาร์ ใกล้กับระดับแข็งค่ามากสุดรอบ 4 เดือนครึ่งที่ทำไว้วานนี้ที่ 104.955 เยน/ดอลลาร์

กระแสคาดการณ์ที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะแข็งแกร่งกว่าประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆในโลกเริ่มเลือนหายไป และนั่นกลายมาเป็นปัจจัยที่ลบต่อดอลลาร์

4 รัฐในสหรัฐฯทางตอนใต้และตะวันตกของสหรัฐฯพบผู้เสียชีวิตรายวันจากไวรัสโคโรนามากที่สุด และยังเป็นประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูง

นักลงทุนให้ความสนใจกับการประชุมๆเฟดคืนนี้ที่คาดว่าอาจเห็นเฟดตัดสินใจเข้าซื้อพันธบัตรนานขึ้น


· เฟดเผชิญกับการระบาดของไวรัสที่สร้างความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

การระบาดของไวรัสโคโรนาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วดลกดูจะไม่เป็นไปอย่างที่สมาชิกเดเคยคาดหวังไว้ในช่วงต้นเดือนมิ.ย. โดยมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจในช่วงต้นตลาดที่ดูจะทรงตัวในทิศทางที่ปรับลง

และตลอดช่วง 7 สัปดาห์มานี้ก็ดูเหมือนสถานการณ์ที่เลวร้ายมากขึ้น โดยการระบาดของไวรัสโคโรนาได้ส่งผลให้เศรษฐกิจมีการปรับโครงสร้างครั้งใหม่ ที่ดูจะสร้างความเป็นไปได้ที่จะเห็นการชะลอตัวในภาคธุรกิจและการจ้างงาน ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯยังคงเจรจากันถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับใหม่

ความเสี่ยงทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะสั้นก็ดูจะมีเสถียรภาพ และต้องจับตาไปยังถ้อยแถลงนโยบายการประชุมเฟดในคืนนี้ ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวงเงินกู้ที่จะหมดอายุ 30 ก.ย. มีการขยายเวลาออกไปวันที่ 31 ธ.ค. แทน และภาพรวมการเติบโตทางเศรษฐกิจดูจะเป็นไปแบบ "V Shaped"

คืนนี้เฟดจะเปิดเผยผลการประชุมในช่วงเวลาประมาณตี 1 ตามเวลาประเทศไทย และนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดก็จะมีการกล่าวให้หลังการประชุมในอีกครึ่งชั่วโมงต่อมา โดยครั้งนี้จะไม่มีการประกาศคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจรอบใหม่

เฟดถูกคาดว่าจะคงนโยบายในการประชุมวันนี้ หลังจากที่เงินเฟ้อยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมาย ซึ่งเฟดอาจต้องรอที่จะเห็นเงินเฟ้อและข้อมูลอัตราว่างงานถึงระดับเป้าหมายก่อนจะพิจารณาเรื่องการกลับมาขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งจากระดับปัจจุบันที่อยู่ใกล้ศูนย์

นอกจากนี้ การจ้างงานที่เริ่มกลับมาเพิ่มขึ้นเกินคาดหมายในเดือนพ.ค. และมิ.ย. ก็ดูจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่ทำให้เฟดตัดสินใจขยายโครงการเงินกู้ฉุกเฉินออกไปอย่างน้อยสิ้นปีนี้

รายงานอัตราว่างงานร่วงลงจาก 14.7% ในเดือนเม.ย. สู่ระดับ 11.1% ในเดือนมิ.ย. ถือเป็นตัวอย่างประกอบข้างต้น แต่ผลสำรวจของเฟดสาขาดัลลัส ควบคู่กับคาดการณ์ของเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ดูจะมีการออกมาแย่ลงในเดือนนี้ ท่ามกลางจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มี.ค. ที่ผ่านมา

· ผลสำรวจ Reuters ระบุว่า ข้อมูลภาคอุตสาหกรรมจีนอาจดิ่งลงต่อในเดือนก.ค. ท่ามกลางภาวะน้ำท่วม และอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอ

กิจกรรมภาคโรงงานอุตสาหกรรมจีนขยายตัวได้ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ในเดือนก.ค. แต่อาจมีการชะลอตัว ท่ามกลางภาวะน้ำท่วมที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิต และการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกที่เป็นภัยคุกคามต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่โตอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ทั้งนี้ ดัชนี PMI ของจีนที่จะประกาศในวันศุกร์นี้ถูกคาดว่าจะอ่อนตัวลงแตะ 50.7 จุดในเดือนก.ค. จากระดับ 50.9 จุดในเดือนมิ.ย. ซึ่งดัชนีที่ยืนเหนือระดับ 50 จุด ถือเป็นระดับการขยายตัว


· ผลสำรวจจาก Reutrs ระบุว่า ยอดส่งออกเกาหลีใต้ร่วงลงต่อเนื่องเดือนที่ 5 ในเดือนก.ค.

โดยคาดว่าจะหดตัว -9.7% ในปีนี้ ขณะที่เดือนมิ.ย.ปรับลง 10.9% ท่ามกลางอุปสงค์ทั่วโลกอ่อนตัว แม้ว่าจะมีการคลาย Lockdown และสถานการณ์ที่ย่ำแย่อาจสิ้นสุดลงในเวลานี้ จากการที่เศรษฐกิจสามารถกลับมาเปิดทำการได้อีกครั้ง ขณะที่การยอดติดเชื้อใหม่ในสหรัฐฯและประเทศอื่นๆ เริ่มมีอัตราชะลอตัวลง


· ญี่ปุ่นเผยคาดการณ์เศรษฐกิจสำหรับปีงบประมาณ 2020, 2021 ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา

4 แหล่งข่าววงในของรัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยกับสำนักข่าว Reuters โดยระบุว่า ญี่ปุ่นมีแผนจะเผยข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับปีงบประมาณ 2020 และปี 2021 จากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับว่าสถานการณ์ไวรัสโคโรนาจะยืดเยื้ออย่างไร ประกอบกับความไม่แน่นอนจากการใช้นโยบายที่ไม่อาจคาดเดาได้เพื่อจัดการกับวิกฤตทางสุขภาพ

จีดีพีถูกคาดว่าจะหดตัวปีนี้ภายใต้คาดการณ์ที่อาจปรับตัวลงกว่า 5% ขณะที่ปีงบประมาณจนถึงมี.ค.ปี 2020 รัฐบาลคาดจะเห็นเศรษฐกิจทรงตัว


· โรงกลั่นน้ำมันสหรัฐฯออกมาย่ำแย่ที่สุดในไตรมาส 2/2020 แย่ที่สุดนับ 10 ปี

โรงกลั่นน้ำมันสหรัฐฯในอีกไม่กี่วันที่จะถึงนี้ รายงานจาก Reuters คาดว่าจะเห็นผลลัพธ์ที่ออกมาแย่ที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 2/2020 จากอุปสงค์การผลิตที่คาดว่าจะลดลง

การอุปโภคบริโภคพลังงานร่วงลง หลังข้อมูลล่าสุดเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานในการเดินทางด้วยรถยนต์ที่ลดลง 25% ขณะที่การโดยสารทางอากาศที่ปรับลง 75%


· ราคาน้ำมันดิบเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย จากความกังวลเกี่ยวกับปริมาณความต้องการท่ามกลางการแะร่ระบาดไวรัสโคโรนา

ราคาน้ำมันดิบเคลื่อนไหวผสมผสานกันในวันนี้ เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในบางรัฐของสหรัฐฯจึงเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับปริมาณความต้องการเชื้อเพลิงในผู้ใช้น้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก และบดบังกำไรก่อนหน้านี้หลังจากที่สต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯลดลงอย่างน่าประหลาดใจ

โดยสถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) เผยเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลดกว่า 6.8 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 531 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งสวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 357,000 ล้านบาร์เรล

อย่างไรก็ดี การแพร่ะบาดของไวรัสโคโรนากำลังสร้างความกังวลเกี่ยวกับความต้องการเชื้อเพลิงที่ลดลงทำให้เกิดภาวะอุปทานล้นตลาด เนื่องจากมีรายงานยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทั่วโลกรวมถึงในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกด้วย

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 0.1% ที่ระดับ 43.25 เหรียญ/บาร์เรล หลังปรับลงไป 0.4% ด้านราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 0.2% ที่ะรดับ 40.98 เหรียญ/บาร์เรล หลังร่วงลงไป 1.4% ในช่วงก่อนหน้านี้

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com