• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 22 กรกฎาคม 2563

    22 กรกฎาคม 2563 | Economic News

· ดอลลาร์อ่อนค่าจากความไม่แน่นอนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่จากความกังวลที่พรรครีพับลิกันและเดโมแครตดูจะยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกรุต้นเศรษฐกิจสหรัฐฯรอบใหม่ได้ ขณะที่ยูโรแข็งค่าขานรับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของอียู

นักลงทุนคาดหวังว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหญ่จะช่วยหนุนการเติบโตได้ แต่ก็ดูว่าอาจเกิดความน่าผิดหวังได้หากมาตรการดังกล่าวน้อยกว่าที่คาดไว้

ยูโรอ่อนค่าปรับแข็งค่าไปทำสูงสุดตั้งแต่ 10 ม.ค. ก่อนที่จะอ่อนมาเล็กน้อยแนว 1.1538 ดอลลาร์/ยูโร ส่วนดอลลาร์ทรงตัวที่ 106.85 เยน/ดอลลาร์ สำหรับเงินหยวนแข็งค่าแตะ 6.9649 ดอลลาร์/หยวน ซึ่งเป็นแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่ 11 มี.ค.

ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลหลักส่วนใหญ่ โดยวันนี้ขยับขึ้นได้เล็กน้อยหลังลงไปทำต่ำสุดที่ 95.007 จุด ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าที่ไม่เห็นมาตั้งแต่ต้นมี.ค.

· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับลงจากการระบาดของไวรัสและกังวลการกระตุ้นเศรษฐกิจ

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวลงแตะ 0.6036% ด้านผลตอบแทนอายุ 30 ปีปรับลงมาที่ 1.3090% หลังนายทรัมป์ ระบุถึงว่าสถานการณ์อาจเข้าขั้นเลวร้ายก่อนที่จะกลับมาดีขึ้น

รายงานจาก CNBC ยังระบุถึงการที่นายทรัมป์มีสัญญาณความตั้งใจจะดำเนินการร่วมกับจีน และนานาประเทศเพื่อให้วัคซีนประสบความสำเร็จ แม้ว่าจะมีความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนอยู่ก็ตาม

พรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตยังคงหาโอกาสขยายมาตรการเยียวยาจากไวรัสโคโรนาครั้งใหม่ ซึ่งทางเดโมแครตเรียกร้องให้ทำการเพิ่มเม็ดเงินมากขึ้น และเพิ่มรายละเอียดของแพ็คเกจวงเงิน 1 ล้านล้านเหรียญ หลังมีการเข้าพบกับที่ปรึกษาทำเนียบขาววานนี้

ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญคืนนี้ คือ ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯในเดือนมิ.ย. เวลา 21.00น. ในคืนวันนี้

· EUR/USD: ยูโรอาจชะลอทิศทางแข็งค่าจากนโยบายการเงินของสหรัฐฯ

นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้นในรอบ 18 เดือน ทำสูงสุดที่ระดับ 1.1547 ดอลลาร์/ยูโรในตลาดเอเชีย ท่ามกลางภาวะทางการเมืองของสหรัฐฯที่ต้องจับตามองในเรื่องของนโยบายการเงินสหรัฐฯรอบใหม่ ที่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อยูโร แต่เป็นประโยชน์ต่อดอลลาร์

ในทางเทคนิคระยะสั้นค่าเงินยูโรมีการเคลื่อนไหวแบบสะสมพลัง โดยหากยืนได้เหนือ 1.1570 ดอลลาร์/ยูโรก็มีโอกาสที่จะไป 1.1600 ดอลลาร์/ยูโรได้ ในทางกลับกันหากค่าเงินร่วงลงจากกรอบ 1.1500 – 1.1495 ดอลลาร์/ยูโรก็จะกลับมาเป็นทิศทางอ่อนค่า และมีแรงขายทำกำไรอีกครั้ง ซึ่งอาจเห็นราคากลับทดสอบขาลงได้บริเวณ 1.1430 ดอลลาร์/ยูโร

· GBP/USD: เงินปอนด์อ่อนค่าจากสูงสุดรอบ 1 เดือนครึ่งเหนือ 1.2700 ตลาดกังวล No-deal Brexit

นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ความกังวล No-deal จากกรณี Brexit ได้ส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ปรับอ่อนค่าลงมาแถว 1.2700 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ไปทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่ 10 มิ.ย. ที่ผ่านมา นอกจากนี้ความกังวลเรื่องไวรัสโคโรนาก็ดูจะท้าทายทิศทางเศรษฐกิจของอังกฤษ

ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงจาก 1.2740 ดอลลาร์/ปอนด์ สู่ระดับ 1.2725 ดอลลาร์/ยูโร โดยทิศทางอ่อนค่าจากภาพกราฟแบบ Candlestick มีสัญญาณแบบ Doji เกิดขึ้นในราย 4 ชั่วโมง ร่วมกับสัญญาณ Overbought ที่เกิดขึ้นใน RSI ที่อาจกดดันให้ค่าเงินยูโรร่วงลงต่อลงมาแถว 1.2670 – 1.2685 ดอลลาร์/ปอนด์ แต่ภาวะแข็งค่าของเงินปอนด์จะกลับมาแข็งแกร่งได้ต้องปิดเหนือ 1.2815 ดอลลาร์/ปอนด์ และจะมีโอกาสไปแถว 1.2840 และ 1.2880 ดอลลาร์/ปอนด์ได้ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้มีเป้าหมายถัดไปบริเวณระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 1.3000 ดอลลาร์/ปอนด์

· ยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกพุ่งเหนือ 15 ล้านราย


รายงานจาก Reuters ระบุว่า ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นทะลุเหนือ 15 ล้านรายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่ามกลางหลายๆประเทศที่หาวิธีรับมือกับวิกฤตในเวลานี้

สหรัฐฯ ถือเป็นประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อมากที่สุดของโลกจำนวน ตามมาด้วย บราซิล,อินเดีย, รัสเซีย และแอฟริกาใต้ ที่พบอัตราผู้ติดเชื้อที่พุ่งเร็วที่สุด และภาพรวมทั่วโลกในเวลานี้อัตราการติดเชื้อใหม่นั้นยังไม่มีแนวโน้มที่จะชะลอตัว

· การระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะกระทบเศรษฐกิจเป็นเวลานาน แม้ว่าวัคซีนจะได้รับการอนุมัติก็ตาม

นาย Raghuram Rajan นักเศรษศาสตร์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินประจำ Chicago’s Booth School of Business รวมทั้งเคยเป็นอดีตผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดีย ระบุว่า ตลาดมีการตอบรับเชิงบวกในสัปดาห์นี้จากข่าวความเป็นไปได้ของวัคซีนไวรัสโคโรนา แต่ก็ต้องระมัดระวังว่าการระบาดที่เกิดขึ้นน่าจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นระยะเวลานาน

อย่างไรก็ดี ไม่เพียงแต่การระบาดของไวรัสเท่านั้น แต่การที่มีนโยบายกีดกันทางการค้าที่มากขึ้นทั่วโลกก็ดูจะกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ และนี่จะยิ่งทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะยิ่งถูกเลื่อนออกไป เพราะท่าทีที่แข็งกร้าวทางการค้าทั่วโลกจะทำให้เกิดภาวการณ์ชะลอตัว และอาจสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และประเทศตลาดเกิดใหม่ด้วย

· โพลล์สำรวจจาก Reuters เผย ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเดือนมิ.ย.ฟื้นตัวหลังจากการระบาดไวรัสโคโรนา

โพลล์สำรวจจากสำนักข่าว Reuters ระบุว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นประจำเดือนมิ.ย.มีแนวโน้มฟื้นตัวหลังจากการลดลงในเดือนก่อนหน้า ซึ่งส่งสัญญาณว่าอาจจะผ่านจุดต่ำสุดหลังได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัวเล็กน้อยจะชี้ให้เห็นถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระดับค่อยเป็นค่อยไป แต่คาดว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบหลาย 10 ปีซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่ยืดเยื้อจากวิกฤตการระบาดของไวรัสดังกล่าว

· ญี่ปุ่นเปิดแคมเปญ "Go To Travel" หวังหนุนท่องเที่ยวในประเทศฟื้นตัว

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศเปิดตัวโครงการมอบเงินอุดหนุนเพื่อการท่องเที่ยวในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศให้ฟื้นตัวขึ้นหลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา แต่โครงการดังกล่าวไม่ครอบคลุมการท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงโตเกียว เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น

ขณะที่ผู้ว่าราชการของญี่ปุ่นหลายคนต้องการให้โครงการล่าช้าหรือแก้ไขเพราะกลัวว่าจะแพร่เชื้อไวรัสไปยังพื้นที่ชนบทที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อต่ำ ด้านผลสำรวจหนังสือพิมพ์ของ Mainichi ในสัปดาห์นี้แสดงให้เห็นว่าประชาชน 69% ต้องการให้แคมเปญนี้ถูกยกเลิกทั้งหมด

ทั้งนี้ แคมเปญดังกล่าวซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลจะมอบเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวแก่ประชาชน ได้เปิดตัวขึ้นท่ามกลางความกังวลว่า โครงการนี้อาจทำให้การแพร่ระบาดของไวรัสนั้นกลับมาทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อทั่วญี่ปุ่นที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

· ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง จากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯและความกังวลไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้น

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง เนื่องจากข้อมูลอุตสาหกรรมเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าที่คาด รวมทั้งยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาที่ปรับตัวสูงขึ้นอาจลดความต้องการเชื้อเพลิงในผู้บริโภคน้ำมัน

โดยกลุ่มอุตสาหกรรม American Petroleum Institute (API) รายงานว่า สหรัฐฯมีสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 7.5 ล้านบาร์เรลเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.1 ล้านบาร์เรล

ซึ่งราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 1 เหรียญ ในช่วงวันก่อนหน้านี้ นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค.

ทั้งนี้ นักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ของสหรัฐ โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในวันนี้

· เลขาฯ สมช. ย้ำ ความจำเป็น ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน-ส.ค.ไม่ขวาง ชุมนุมการเมือง

พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึงความจำเป็นในการใช้มาตรา 9 ใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ควบคุม ป้องกันโควิด-19 ไปอีกระยะหนึ่ง ว่า เนื่องด้วยเพราะตอนนี้ในต่างประเทศยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อนี้อยู่เป็นจำนวนมาก แล้วช่วงนี้ประเทศไทยเราจำเป็นต้องเปิดประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการรับแรงงานต่างด้าวมาทำงานมากขึ้น และยังมีโปรแกรมการท่องเที่ยวมากขึ้น ทั้งยังจะให้ต่างชาติมาถ่ายทำภาพยนตร์ในไทยเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อเป็นการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจในประเทศ เครื่องมือที่จะทำได้ก็คือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เท่านั้น เพราะยังไม่มีกฎหมายฉบับอื่นที่มีประสิทธิภาพ แต่ยืนยันว่าเราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะให้มีการกฎหมายฉบับอื่น โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ควบคุมโรค ที่ต้องมีการปรับปรุง และกำลังดำเนินการอยู่ แต่ต้องคงรออีกสักระยะหนึ่ง ก่อนที่จะสามารถไปใช้กฎหมายอื่นแทน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

· พบแผ่นดินไหวขนาด 7.8 แม็กนิจูตในช่วงบ่ายวันนี้บริเวณคาบสมุทรอลาสกา ส่งผลให้เกิดสัญญาณเตือนถึงสึนามิ โดยแผ่นดินไหวดังกล่าวกินระยะทาง 6 ไมล์ หรือ (9.6 กิโลเมตร) โดยมีจุดศูนย์กล่าวลึกถึง 60 ไมล์ทางตอนใต้ของหมู่บ้าน Perryville

ดังนั้น จึงเกิดสัญญาณเตือนสึนามิทางตอนใต้ของอลาสกา, คาบสมุทรอลาสกา และเกาะอะลูเชียน พร้อมกันนี้มีสัญญาณเตือนในบริเวณใกล้เคียงด้วย แต่ชายฝั่งสหรัฐฯ และแคนาดา และทางตอนเหนือของสหรัฐฯยังไม่มีสัญญาณการแจ้งเหตุใดๆ

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com