• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 21 กรกฎาคม 2563

    21 กรกฎาคม 2563 | Economic News

· ข้อตกลงอียูและวัคซีนโคโรนากดดันดอลลาร์

ยูโรทำสูงสุดใหม่รอบ 4 เดือน ขณะที่ค่าเงินในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ก็ได้รับแรงหนุนจากการที่อียูบรรลุข้อตกลงช่วยเหลือเศรษฐกิจจากวิกฤตไวรัสโคโรนา ที่ได้รับชัยชนะค่อนข้างยากลำบาก โดยค่าเงินยูโรวันนี้ปรับแข็งค่าขึ้น 0.2% ที่ 1.1470ดอลลาร์/ยูโร เป็นระดับแข็งค่ามากสุดตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค. ด้านดัชนีดอลลาร์ร่วงลงทำต่ำสุดใหม่รอบ 4 เดือนที่ 95.634 จุด ขณะที่เงินเยนทรงตัวที่ 107.21 เยน/ดอลลาร์


· นักเศรษฐศาสตร์ คาด สหรัฐฯต้องใช้เงินอีกไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านเหรียญในการเลี่ยงเศรษฐกิจสู่หายนะ

วิกกฤตไวรัสโคโรนาที่กินเวลานานเกือบปี ดูจะส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯด้วยเช่นกันที่ประสบความเสียหายจากวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้น

บรรดานักเศรษฐศาสตร์ มีการกล่าวเตือนว่าสหรัฐฯกำลังเข้าสู่ภาวะอันตรายเกี่ยวกับประเด็นทางการเงิน เว้นแต่สภาคองเกรสจะให้การอนุมัติแพ็คเกจช่วยเหลือเพิ่ม 2 ล้านล้านเหรียญ ท่ามกลางแพ็คเกจช่วยเหลือคนตกงานที่จะหมดอายุลงในสิ้นเดือนนี้ ขณะเดียวกันก็พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสูงขึ้น

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก JPMorgan เผย หากสภาคองเกรสล้มเหลวในการจัดการแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้ ก็จะถือเป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจสหรัฐฯด้วย


· หนึ่งในเจ้าหน้าที่ผู้แทนการประชุมสุดยอดผู้นำอียู เผยว่า ผู้นำอียูบรรลุข้อตกลงกองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการระบาดของไวรัสโคโรนา ในวงเงิน 7.5 แสนล้านยูโรที่รวมทั้งเงินทุนช่วยเหลือและเงินกู้

ยูโรจากที่ลงไปแถว 1.14227 ดอลลาร์/ยูโร ล่าสุดทรงตัวที่ 1.14332 ดอลลาร์/ยูโร


· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเยอรมนี เผย ตุลาคมนี้มีความเป็นไปได้เห็นข้อตกลง Brexit แต่ก็ยังมีจุดที่ยากอยู่ในการเจรจาในประเด็น Political Declaration


· ยอดติดเชื้อในสเปนพุ่ง 3 เท่าในเวลา 3 สัปดาห์หลังคลาย Lockdown

รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของสเปน เผยว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาในสเปนกลับมาเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า ตลอดช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่มีการคลาย Lockdown โดยเฉพาะในรัฐแคตาโลเนีย และอาเรกอน


· ยอดเงินเฟ้อญี่ปุ่นทรงตัว แต่ความเสี่ยงเรื่องเงินฝืดยังมีอยู่

ดัชนีราคาผู้บริโภคหรือ Core CPI ของญี่ปุ่นค่อนข้างทรงตัวเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนมิ.ย. ที่ระดับ 0.4% เช่นเดียวกับข้อมูลในเดือนพ.ค. แต่ภาพของความเสี่ยงจากการที่เศรษฐกิจดิ่งตัวอันเนื่องจากวิกฤตไวรัสโคโรนายังมีอยู่ที่เข้ากดดันการอุปโภคบริโภค และทำให้เกิดความกังวลมากขึ้นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะกลับมาเผชิญภาวะเงินฝืด

ประเทศญี่ปุ่นมีการถอนมาตรการฉุกเฉินออกไปเมื่อช่วงปลายเดือนพ.ค. แต่การที่ยอดติดเชื้อในกรุงโตเกียวที่เพิ่มมากขึ้น ก็ดูจะจุดประกายความกลัวเรื่องการระบาดระลอกสองที่จะส่งผลต่อการใช้จ่ายและยิ่งตอกย้ำให้เศรษฐกิจเผชิญกับความผันผวน

ด้านบีโอเจมีการเปิดเผยข้อความของเงินเฟ้อที่คาดว่าปีนี้จะมีอัตราลดลงไปมากถึง 0.5% จนถึงเดือนมี.ค. ปีหน้า และเป็นระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ทางบีโอเจกำหนดไว้ที่ 2% จนถึงปี 2023

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะหดตัวลงไปมากกว่า 20% ในระหว่างเดือนเม.ย. - มิ.ย. ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เข้ากระทบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอาจทำให้เกิดการกลับมา Shutdown ทางเศรษฐกิจอีกครั้ง


· จีดีพีเกาหลีใต้ทรุดลงมากที่สุดในรอบกว่า 20 ปีในไตรมาสที่ 2/2020

ผลสำรวจรอยเตอร์ส ชี้ว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้มีแนวโน้มที่จะหดตัวลงมากที่สุดในรอบกว่า 20 ปี ในไตรมาสที่ 2/2020 จากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่กระทบกับการใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภค, ตลาดแรงงาน, และอุปสงค์การส่งออกทั่วโลก โดยคาดจีดีพีไตรมาส 2/2020 จะหดตัวลงประมาณ -2.0% ซึ่งดูจะแย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1998 ขณะที่เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในช่วงไตรมาสแรกหดตัวไป 1.4%

อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบรายไตรมาสจะพบว่าจีดีพีมีแนวโน้มที่จะหดตัวลงประมาณ -2.3% ซึ่งเป็นระดับการร่วงลงมากที่สุดตั้งแต่ช่วงปลายปี 2008 หลังจากที่ Q1/2020 หดตัวไป -1.3%


· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น จากความหวังด้านวัคซีนต้านไวรัสโคโรนา

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางข่าวเชิงบวกเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา

แต่การซื้อขายยังคงอยู่ในกรอบแคบ ๆ ในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการ Lockdown ครั้งใหม่อาจกดดันการฟื้นตัวของความต้องการน้ำมัน

ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 21 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.5% ที่ระดับ 43.49 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 11 เซนต์ที่ระดับ 40.92 เหรียญ/บาร์เรล

โดยราคาได้รับแรงหนุนจากความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัส ขณะที่ในประเทศจีน โรงภาพยนตร์บางแห่งกลับมาเปิดทำการใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ปิดตัวลงเป็นเวลา 6 เดือน ท่ามกลางความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com