• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2563

    1 กรกฎาคม 2563 | SET News
 

· ดัชนี S&P500 ปิดไตรมาสที่ดีที่สุดตั้งแต่ปี 1998

ดัชนี S&P500 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อคืนนี้ และมีอัตราการเพิ่มขึ้นในไตรมาสล่าสุดกว่า 19.95% จึงถือเป็นการปรับขึ้นรายไตรมาสที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1998 จากข้อมูลการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับนักลงทุนเชื่อว่าจะเห็นการกระตุ้นทางเศรษฐกิจเพิ่มเติ

ขณะที่ช่วงไตรมาสแรกของปีดัชนี S&P500 ร่วงลงไปมากถึง 20% ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตทางการเงินเมื่อปี 2008

ดัชนีดาวโจนส์ปิด +217.08 จุด หรือคิดเป็น +0.85% ที่ระดับ 25,812.88 จุด ด้าน S&P500 ปิด +1.54% ที่ 3,100.29 จุด และดัชนี Nasdaq ปิด +1.87% ที่ระดับ 10,058.77 จุด

สำหรับดัชนีดาวโจนส์เองในไตรมาสที่ 2/2020 นี้ก็ถือเป็นการปรับขึ้นรายไตรมาสที่ดีที่สุดหากเทียบกับการเก็บข้อมูลไตรมาสแรกของปี 1987 โดยล่าสุดปรับขึ้นได้ 21.56% ขณะที่ Nasdaq ก็ทำไตรมาสที่ดีที่สุด โดยปรับขึ้นมา 30.63% ซึ่งเป็นระดับที่ดีที่สุดรองจากช่วงไตรมาสที่ 4/1999 ที่มีการปรับขึ้นในไตรมาสนั้นมากถึง 48.18%

รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯยังคงเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคล่าสุดออกมาดีขึ้นเกินคาดในเดือนมิ.ย. โดยการเพิ่มขึ้นล่าสุดนี้ตลาดได้รับแรงหนุนจากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการเงิน รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการLockdown

อย่างไรก็ดี ถึงไตรมาสนี้ S&P500 จะทำระดับที่ดีที่สุด แต่ภาพรวมปีนี้ก็ยังมีการปรับตัวลดลงไปแล้วประมาณ 4% และตลาดยังมีอุปสรรคจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ที่อาจก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งประธานเฟดเองก็ตระหนักดีและยังกล่าวถึงความไม่แน่นอนอย่างมาก

นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนก็ยังคงมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างความผันผวนให้แก่ตลาดสหรัฐฯ โดยที่สหรัฐฯได้เริ่มทำการลดสถานะการค้าพิเศษฮ่องกงลงเพื่อตอบโต้จีนภายใต้กฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ และเราอาจเห็นจีนใช้มาตรการตอบโต้ด้วยเช่นกัน


· หุ้นยุโรปปิดรายไตรมาสที่ดีที่สุดในรอบ 5 ปี

· ตลาดหุ้นยุโรปปิดได้ โดยเมื่อคืนนี้ Stoxx600 ปิด +0.25% แต่ไตรมาสที่ 2 นี้ปรับตัวขึ้นได้เกือบ 13% ในไตรมาสนี้ถือเป็นระดับการปรับขึ้นรายไตรมาสที่ดีที่สุดเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2015


· ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสานกันในวันนี้ ท่ามกลางการเริ่มต้นซื้อขายช่วงครึ่งปีหลัง

สำนักข่าว Reuters เผยผลการสำรวจ Tankan ของบีโอเจที่แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจในประเทศแย่ลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ประจำเดือนมิ.ย.ร่วงลงถึง -34 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มิ.ย. 2009 ที่ผ่านมา

ขณะที่ในวันนี้เหล่านักลงทุนกำลังรอคอยการประกาศข้อมูลทางเศรษฐกิจของจีน ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)

ดัชนี Kospi เพิ่มขึ้น 1.02% ขณะที่ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.23% ด้านดัชนี Topix เคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัว

ดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น 0.2%

สำหรับวันนี้ตลาดฮ่องกงจะปิดทำการเนื่องในวันหยุด


· นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.85 - 31.00 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทค่อนข้างนิ่งมาก ระหว่างวันเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่ 30.86-30.91 บาท/ดอลลาร์ คาดว่าจะเป็นไปตาม flow ของการค้าที่ภาวะการส่งออกนำเข้าหดตัว ซึ่งปกติแล้วช่วงสิ้นเดือนจะคึกคักมากกว่านี้ ขณะที่ตลาดไม่ได้ตอบรับกับการประมาณการ เศรษฐกิจไทยปีนี้ของธนาคารโลก (World Bank) เท่าใดนักที่ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวลง -5.1%

· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ธนาคารโลก (World Bank) ประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้หดตัว -5% จากผลกระทบที่รุนแรงของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากประเทศไทยมีการเปิดกว้างทางการค้า และเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยว แต่ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งในปี 64 ที่ 4.1% และปี 65 ที่ 3.6%

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่าเศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ค.63 หดตัวสูงต่อเนื่องจากอุปสงค์ต่างประเทศ ทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ยังหดตัวสูงจากการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ และภาคการส่งออกสินค้าที่หดตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่อ่อนแอ ส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยเข้าสู่จุดต่ำสุดในไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยคาดว่า GDP จะหดตัว 2 หลัก หรือมากกว่า -10% และจะเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่องกันทุกไตรมาสได้ตั้งแต่ไตรมาส 3 ขณะที่ทั้งปีคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวที่ -8.1%


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com