• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 30 มิถุนายน 2563

    30 มิถุนายน 2563 | SET News
 

· ดาวโจนส์ปิดบวกกว่า 500 จุด จากหุ้นแอปเปิ้ลและโบอิ้งที่ปรับตัวขึ้น

สำหรับการเริ่มต้นสัปดาห์นี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯมีการเปิดตัวสูงขึ้นจากการที่หุ้นบริษัทโบอิ้งดีดตัวจากข่าวที่จะมีการทดสอบบินของเครื่องบินรุ่น 737 Max และการที่หุ้นบริษัทแอปเปิ้ลปรับตัวขึ้น 2.3% จึงทำให้เหล่าเทรดเดอร์ไม่ได้สนใจต่อข่าวการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาล่าสุด


ดัชนีดาวโจนส์ปิด +580.25 จุด หรือ +2.3% ที่ระดับ 25,595.8 จุด ถือเป็นการปิดระดับวันที่ดีที่สุดตั้งแต่ 25 มิ.ย. ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิด +1.5% ที่ระดับ 3,053.24 จุด และ Nasdaq ปิด +1.2% ที่ 9,874.15 จุด

นักวิเคราะห์บางรายมองว่า ทิศทางขาลงสำหรับตลาดหุ้นยังมีอยู่ และการปรับขึ้นเวลานี้ยังไม่ได้เป็นกาปรับขึ้นอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากราคากำลังอยู่ในช่วงของการสะสมพลัง และเชื่อว่าอาจเห็นดัชนีหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงมาต่อได้ ขณะที่ดัชนีS&P500 จะมีระดับสำคัญที่ต้องจับตาดูคือบริเซณ 3,150 จุด โดยดัชนีจะกลับขึ้นได้ก็ต่อเมื่อยืนได้เหนือระดับดังกล่าว


· หุ้นยุโรปปรับขึ้นได้แม้ว่ายอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาจะเพิ่มสูงขึ้น

ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าจะพบยอดผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งยอดผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยก็ตาม

โดยดัชนี Stoxx600 ปิดเพิ่มขึ้น 0.6% ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนบวก โดยหุ้นกลุ่มธนาคารพุ่งขึ้นกว่า 2%

ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของตลาดดูเหมือนว่าจะดีขึ้นหลังจากที่ บริษัท Gilead Sciences ประกาศตั้งราคายา เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสโควิด-19 สำหรับผู้ใช้สิทธิประกันราคาจะอยู่ที่คอร์สละ 3,120 เหรียญ โดยบริษัทตั้งใจที่จะเริ่มกำหนดค่ายาในเดือนก.ค.ที่จะถึงนี้


· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่กำลังรอคอยการประกาศข้องมูลที่สำคัญทางเศรษฐกิจจีน

ขณะที่ยอดการผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือนพ.ค.ลดลง -8.4% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ตามข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารในรายงานเบื้องต้นจากกระทรวงเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งลดลงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ -5.6%

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนานั้นจะยังคงมีอยู่ต่อไป โดย Tedros Adhanom Ghebreyesu หัวหน้าองค์การอนามัยโลก กล่าวเตือนว่า“ สิ่งที่เลวร้ายที่สุดยังมาไม่ถึง”

เช้านี้ดัชนี Nikkei พุ่งขึ้น 1.75% หลังจากร่วงลงไปกว่า 2% เมื่อวานนี้ ด้านดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 1.5% และดัชนี Kospi เกาหลีใต้เพิ่มขึ้น 1.39%

ดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย ปรับตัวสูงขึ้น 0.66%ฅ

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นเช่นกัน 0.33%


· นักบริหารเงิน คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ระหว่าง 30.80-31.00 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทค่อนข้างทรงตัว อาจเป็นเพราะมีปริมาณธุรกิจที่เบาบาง เนื่องจากการค้าซบเซา ผิดไปจากปกติ ขณะที่เคลื่อนไหวคึกคักจากผู้ส่งออกและนำเข้า


· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 มีมติให้ขยายเวลาการยังคับใช้พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอีก 1 เดือน รวมทั้งผ่อนคลายมาตรการสำหรับกิจการ/กิจกรรมในระยะที่ 5

- บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เผยการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้การผลิตรถยนต์ทั่วโลกของโตโยต้าร่วง ลง 54.4% สู่ระดับ 365,909 คันในเดือนพ.ค.ซึ่งเป็นการทรุดตัวลงหนักสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลเชิงเปรียบเทียบในปี 47

- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวฉุดดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ค.63 ลงมาอยู่ที่ 80.31 หดตัว 23.19% จากเดือน พ.ค.62 แต่ขยายตัว 2.86% จากเดือน เม.ย.63 ที่ MPI อยู่ในระดับ 78.08 ขณะที่ดัชนี MPI ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.63) หดตัว -11.82% โดย สศอ.คาดดัชนี MPI ทั้งปีจะหดตัวที่ -6 ถึง -7% ส่วน GDP ภาคอุตสาหกรรมปีนี้จะหดตัว -5.5 ถึง -6.5%

- สมาคมธนาคารไทย เผยสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันยังไม่มีปัญหาพร้อมเข้าไปดูแลช่วยเหลือลูกค้าทุกรายให้ผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19

· อ้างอิงจาก CH3Plus

- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) กล่าวภายหลังมอบนโยบายการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยระบุว่า เอสเอ็มอี เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตโควิด-19 และหากไม่มีมาตรการช่วยเหลืออาจส่งผลกระทบถึงการจ้างงาน ซึ่งปัจจุบัน ปัญหาหลักของเอสเอ็มอี คือ ขาดสภาพคล่อง โดยเฉพาะในกลุ่มท่องเที่ยว ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อของธนาคาร ดังนั้น จึงมอบหมายให้ สสว. และธนาคารของรัฐ ไปดูเรื่องการช่วยเหลือสภาพคล่องชั่วคราว และ เติมทุนให้เอสเอ็มอี เพื่อให้ประกอบกิจการได้ และมีสถานะที่เข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารได้ โดยมอบหมายให้ธนาคารกรุงไทย หามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่

ขณะที่ เอสเอ็มอีแบงก์ ช่วยผู้ประกอบการขนาดกลาง และ ธนาคารออมสิน ช่วยผู้ประกอบการรายเล็ก พร้อมทั้งหาแนวทางนำผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบ เพื่อสร้างเงื่อนไขให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ และในระยะยาวเมื่อเอสเอ็มอีเข้มแข็ง ก็จะลดความเสี่ยงเรื่องหนี้เสียได้ รวมถึงโครงการช่วยเหลือต่าง ๆ ของ สสว. ให้เร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด เพื่อนำเสนอ ครม. สัปดาห์หน้า

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com