• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 24 เมษายน 2563

    24 เมษายน 2563 | Economic News

·         ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่ารายสัปดาห์มากที่สุดตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. เนื่องจากราคาน้ำมันที่ตกต่ำเป็นประวัติการณ์เป้นปัจจัยกดดันค่าเงินของประเทศที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน ขณะที่เงินยูโรอ่อนค่าเนื่องจากความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับกองทุนฉุกเฉินเพื่อรับมือวิกฤติไวรัสโคโรนาที่บรรดาผู้นำในยุโรปสามารถตกลงกันได้เมื่อคืน

โดยดัชนีดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ครึ่ง ขระที่ภาพรวมรายสัปดาห์ดัชนีมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นประมาณ 0.9% และ 1% เมื่อเทียบกับเงินยูโร

 

การเคลื่อนไหวของค่าเงินในตลาดเอเชียวันนี้ค่อนข้างเบาบาง ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียและดอลลาร์นิวซีแลนด์อ่อนค่าลงจากรายงานข่าวที่ว่าผลการทดสอบยารักษา COVID-19 ของสถาบัน Gilead ไม่ได้ประสิทธิภาพอย่างที่คาดหวัง

 

นักวิเคราะห์จากสถาบัน Westpac FX ประเมินว่าทิศทางของสินทรัพย์เสี่ยงในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้าจะยังคงเป็นขาลง เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างที่ถูกคาดว่าจะประกาศออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด แม้ตลาดบางส่วนอาจคาดการณ์เอาไว้แล้ว แต่ความเชื่อมั่นก็น่าจะอ่อนแอลงไปอีก หากตัวเลขออกมาย่ำแย่

 

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าทำระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์แถว 1.0756 ดอลลาร์/ยูโร เนื่องจากความไม่มั่นใจเกี่ยวกับกองทุนเงินฉุกเฉินที่ผู้นำประเทศในยุโรปสามารถตกลงกันได้ก็จริง แต่ยังคงไม่มีรายละเอียดใดๆถูกเปิดเผยออกมา

ด้านค่าเงินปอนด์ทรงตัวแถว 1.2352 ดอลลาร์/ปอนด์ ขณะที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าเล็กน้อยแถว 107.64 เยน/ดอลลาร์



·         EUR/USD Forecast: แนวโน้มขาลงเริ่มมีกำลังมากขึ้น

บทวิเคราะห์ทางเทคนิคจาก FX Street ระบุว่าค่าเงินยูโรเมื่อคืนปิดต่ำกว่าระดับ 61.8% Fibonacci retracement แถวระดับ 1.0830 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งภาพรวมระยะสั้นของค่าเงินเป็นแนวโน้มขาลง โดยจากกราฟราย 4 ช.ม. จะเห็นว่าเส้นค่าเฉลี่ยหลายเส้นเริ่มที่จะเคลื่อนตัวลง โดยที่เส้นค่าเฉลี่ยราย 20 วัน กำลังเคลื่อนไหวในระดับเดียวกันกับระดับ Fibonacci ข้างต้น ดังนั้นภาพรวมทางเทคนิคส่วนใหญ่จึงชี้ไปในฝั่งขาลง ค่าเงินจึงมีแนวโน้มที่จะย่อตัวลงไปถึงระดับ 1.0678 ดอลลาร์/ยูโร

 

แนวรับ: 1.0750 1.0710 1.0680

แนวต้าน: 1.0790 1.0830 1.0860


·         EUR/USD: ยูโรอ่อนค่าหลุด 1.0770 ดอลลาร์/ยูโร

รายงานจาก FX Street ระบุว่าค่าเงินยูโรได้อ่อนค่าหลุดระดับ 1.0770 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่นักวิเคราะห์ระบุว่าเป็นการยืนยันถึงทิศทางขาลงทางเทคนิค เนื่องจากค่าเงินในกราฟราย 4 ช.ม. ได้เคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยราย 50, 100, และ 200 วัน

 

โดยมีแนวรับถัดไปที่ระดับ 1.00720 ดอลลาร์ หากหลุดระดับนี้ลงมาอาจอ่อนค่าลงไปถึงระดับ 1.0640 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ระดับ 1.0770 ดอลลาร์/ยูโรได้ขยับมาเป็นแนวต้านใหม่ และแนวต้านถัดไปจะอยู่ที่ 1.0810 ดอลลาร์/ยูโร




·         USD/JPY Price Analysis: มีแรงเข้าซื้อแถว 108 หลังเกิดสัญญาณ Spinning top เมื่อวาน

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าค่าเงินเยนมีการปรับขึ้นมาแถว 107.65 เยน/ดอลลาร์ ในวันนี้ หลังจากยืนยันสัญญาณ Spinning top ที่เกิดขึ้นในกราฟรายวัน

 

โดยสัญญาณ Spinning top สะท้อนถึงภาวะการอ่อนแรงของทิศทางขาลง ในขณะที่ค่าเงินเผชิญแนวต้านที่ระดับ  107.95 – 108.00 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับ 61.8% Fibonacci retracement วัดระดับต่ำสุดของเดือน ก.พ. - มี.ค. และเส้นค่าเฉลี่ยราย 21 วันมากบรรจบกันคอยกดดันการฟื้นตัวของค่าเงินอยู่

 

หากค่าเงินสามารถฟื้นตัวเหนือแนวต้าน 108.00 เยน/ดอลลาร์ ได้ จะมีเป้าหมายถัดไปอยู่ที่ 109.40 เยน/ดอลลาร์ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของเดือนนี้ หากผ่านมาได้อีกก็จะมีโอกาสไปต่อถึงระดับ 110.00 เยน/ดอลลาร์

 

ในทางกลับกัน ค่าเงินจะมีแนวรับสำคัญอยู่ที่ระดับ 106.90 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดของเดือนนี้ หากหลุดลงมาจะมีแนวรับถัดๆไปที่ 106.90 106.00 และ 105.90 เยน/ดอลลาร์


 

  •         สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 2,732,737

Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 191,152 ราย

Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 210 ประเทศ

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 886,709 (+267) ราย และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 50,243 (+7) ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสเปนล่าสุดมีผู้ติดเชื้อที่ 213,024 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 22,157 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีอยู่ที่ระดับ 189,973 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 25,549 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,854 (+15) ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นรวมสะสม 50 ราย


·         รายงานจาก Reuters ระบุว่า ในเร็วๆนี้เฟดจะเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการกู้ยืมภายใต้นโยบายอัดฉีดสภาพคล่องครั้งใหญ่เป็นมูลค่าหลายล้านล้านเหรียญเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา ว่าองค์กรใดมีการกู้ยืมไปจากเฟดมากเท่าใด และถูกคิดอัตราดอกเบี้ยเท่าใด รวมถึงงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ไปสำหรับการดำเนินนโยบายดังกล่าว


·         ผลสำรวจรอยเตอร์สชี้ เศรษฐกิจโลกจะหดตัว 2% ปีนี้ และจะฟื้นตัวกลับแบบ U Shape

ผลสำรวจบรรดานักเศรษฐศาสตร์ล่าสุดจากรอยเตอร์ส คาดการณ์ในเชิงเดียวกันเกี่ยวกับการหดตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ อันเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่นำไปสู่การ Lockdown และภาคธุรกิจที่ชะงักงัน และภาพรวมเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวจากขาลงได้แบบ U-Shaped

 

ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์กว่า 55% หรือ 87 จาก 155 ราย มองว่าจะฟื้นตัวแบบ U-Shaped ขณะที่ 31 ราย คาดจะเคลื่อนไหวแบบ V-Shaped และน้อยรายนักที่คาดว่าจะเป็นลักษณะแบบ หรือ L Shaped

 

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกถูกคาดว่าจะหดตัวแตะ -2% ในปีนี้ เทียบกับ 1.2% ที่เคยคาดการณ์ไว้ในช่วง 3 สัปดาห์ก่อนหน้า และคาดการณ์ในวันที่ 20 มี.ค. ที่ 1.6% ก่อนจะเผชิญวิกฤตกันถ้วนทั่ว

 

สำหรับคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีหน้าน่าจะรีบาวน์กลับมาได้ที่ 4.5%

 

ภาพรวมนักเศรษฐศาสตร์เกือบ 90% หรือ 147 ราย จาก 165 ราย กล่าวถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไตรมาสที่ 2/2020 จะเป็นขาลงมากขึ้น และอาจทำให้เกิดการหั่นคาดการณ์การเติบโตลงได้อีกหากการระบาดยังคงเลวร้าย


·         ธนาคารกลางจีนประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้ พร้อมอัดฉีดเงินเพิ่ม

รายงานจาก Reuters ระบุว่าในวันนี้ ธนาคารกลางจีนมีประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (TMLF) หรือระยะ 1 ปีลง 0.20% จากระดับ 3.15% สู่ระดับ 2.95% ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งล่าสุด หลังจากที่มีการประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจตลอดช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

 

นอกจากนี้ ในรายงานฉบับเดียวกัน ธนาคารกลางยังได้ทำการอัดฉีดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจเพิ่มอีกเป็นมูลค่า 5.61 หมื่นล้านหยวน (7.93 พันล้านเหรียญ) เนื่องจากนโยบายปล่อยกู้ระยะกลางเป็นมูลค่า 2.674 แสนล้านหยวนกำลังจะหมดอายุ


·         ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ประกาศขยายระยะเวลา Lockdown ออกไปถึงวันที่ 15 พ.ค. เฉพาะกรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ รวมไปถึงพื้นที่อื่นๆที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ำจะพิจารณาผ่อนคลายมาตรการลงเป็นลำดับ


·         โพลสำรวจเผย โจ ไบเดน มีคะแนนความนิยมนำทรัมป์

โพลสำรวจคะแนนความนิยมระหว่างนายโจ ไบเดน และนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะมาชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯในเดือน พ.ย. โดยวัดคะแนนความนิยมเฉพาะภายในรัฐมิชิแกน วิสคอนซิน และเพนซิลวาเนีย จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 15 – 20 เม.ย. ที่ผ่านมา พบว่านายไบเดนมีคะแนนความนิยมสูงกว่านายทรัมป์ ที่ 45% ต่อ 39% ซึ่งทั้ง รัฐดังกล่าว ถูกคาดว่าจะเป็นตัวแปรสำคัญต่อผลการเลือกตั้งในเดือน พ.ย.


·         นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ ส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯจะไม่กลับไปสนับสนุนงบประมาณให้กับองค์กรอนามัยโลกหรือ WHO รวมทั้งมีความเป็นไปได้ที่จะพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานที่จะมาทำหน้าที่แทน WHO


·         รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจแห่งญีปุ่นเผยคาดการณ์ว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือผลกระทบของไวรัสโคโรนาในประเทศจะสามารถช่วยกระตุ้นให้อัตรา GDP ที่แท้จริงสามารถเติบโตได้ 4.4%

นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นจะทำการหารือกับบรรดาผู้เชี่ยวชาญเร็วๆนี้ และตัดสินใจว่าจะประกาศขยายระยะเวลาของภาวะฉุกเฉินออกไปจากกำหนดการเดิมในวันที่ 6  พ.ค. นี้หรือไม่


·         นักวิเคราะห์จากสถาบัน Fitch Solutions ระบุว่ายังไม่มีความชัดเจนว่าสหรัฐฯหรือยุโรปจะกลับมาเปิดเศรษฐกิจได้อย่างปลอดภัยเมื่อไหร่ เมื่อดูจากการที่ประเทศเหล่านี้ยังคงมีการรายงานยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในแต่ละวันมากกว่าหลายพันราย

เมื่อเปรียบเทียบกับจีนหรือเกาหลีใต้ที่เริ่มกลับมาเปิดเศรษฐกิจบ้างแล้ว หลังจำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มชะลอตัวลง แต่ยังมีความเสี่ยงและสัญญาณของการเกิดการระบาดระลอกที่ อยู่ โดยที่รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ยังคงมีการใช้มาตรการ Social Distancing และทยอยลดมาตรการควมคุมลงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ดังนั้นจึงไม่มีความชัดเจนว่าสหรัฐฯและยุโรปจะสามารถเปิดเศรษฐกิจได้เมื่อไหร่และจะทำได้อย่างปลอดภัยหรือไม่


·         ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นต่อจากเมื่อคืน หลังจากที่ประเทศคูเวตและผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นๆประกาศให้ความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันลง ประกอบกับการที่สหรัฐฯผ่านร่างนโยบายเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนาเพิ่มเติมเมื่อคืน

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 0.24 เหรียญ หรือประมาณ 1.1% แถว 21.57 เหรียญ/บาร์เรล หลังปรับขึ้นมาได้มากกว่า เหรียญก่อนหน้าและขึ้นกว่า 5% เมื่อวาน ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 0.38 เหรียญ หรือประมาณ 2.3% แถว 16.88 เหรียญ/บาร์เล หลังจากเมื่อคืนปรับขึ้นมาได้ถึง 20%



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com