• 7 ชาร์ท แสดงว่าการระบาดของโคโรนาไวรัสกระทบกับเศรษฐกิจโลกอย่างไร

    24 เมษายน 2563 | Economic News

นับตั้งแต่ที่เกิดสภาวะฉุกเฉินในมณฑลอู่ฮั่นของจีนในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ที่ได้ส่งผลให้ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อรวมแล้วกว่า 2.7 ล้านราย และเสียชีวิตรวมกว่า 190,000 ราย ซึ่งเป็นข้อมูลที่อ้างอิงจากมหาวิทยาลัยจอนห์ฮอบกินส์

ขณะที่การระบาดของไวรัสส่งผลให้เกิดมาตรการ Lockdown ในหลายๆประเทศ อันรวมถึงการปิดประเทศ, การสั่งปิดสถานศึกษาและสถานที่ทำงานต่างๆ เพื่อจำกัดการรวมกลุ่มทางสังคม

มาตรการต่างๆเหล่านี้ทาง IMF เรียกได้ว่าเป็น “Great Lockdown” อันจะนำมาซึ่งการส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกนั้นต้องหยุดชะงักงัน, ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบ และการสูญเสียอาชีพ และจะไม่มีประเทศไหนในโลกที่หลีกเลี่ยงภาวะนี้ไปได้ โดยสิ่งที่จะกระทบไปทั่ว

การเพิ่มขึ้นของคนว่างงาน

นักเศรษฐศาสตร์หลายรายกล่าวเตือนถึงมาตรการ Lockdown ทั่วโลกว่าจะส่งผลให้ประชาชนทั่วโลกมีการตกงานเร็วมากยิ่งขึ้น และการว่างงานจะเพิ่มขึ้นในหลายๆประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ดังนี้

จะเห็นได้ว่า สหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจที่มีประชาชนตกงานแล้วรวมกว่า 26 ล้านคนในช่วง 5 สัปดาห์ ท่ามกลางอัตราว่างงานเดือนมี.ค. ที่อยู่ที่ระดับ 4.4% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปส.ค. ปี 2017

ภาคอุตสากรรมการบริการ

อุตสาหกรรมการบริการขนาดใหญ่และการจ้างงานในหลายๆประเทศก็ไม่สามารถหลีกหนีได้ รวมไปถึงสหรัฐฯและจีน ที่เป็นประเทศเศรษฐกิจมหาอำนาจรายใหญ่ในโลกที่มีตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่

จะเห็นได้ว่ามีรายงานถึงยอดค้าปลีกของทั้งสองประเทศที่ดิ่งลงหนักในช่วงที่มีการใช้มาตรการ Lockdown ที่บังคับให้ร้านค้าและห้างสรรพสินค้ามีการปิดชั่วคราว ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่นั้นอาศัยอยู่แต่ที่บ้านเป็นหลัก ขณะเดียวกัน ยอดการซื้อสินค้าออนไลน์ก็ดูจะไม่เป็นที่นิยมและมียอดตกลงเช่นกัน อาทิ Amazon

ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคงกล่าวเตือนว่ากลุ่มผู้บริโภคอาจไม่กลับมาใช้จ่ายในเวลานี้แม้มาตรการ Lockdown จะถูกผ่อนปรนก็ตาม อันจะเห็ฯได้จากยอดค้าปลีกในจีนที่ถึงแม้รปะเทศจะทยอยผ่อนปรน Lockdown และอนุญาตให้มีการค่อยๆกลับมาเปิดทำการได้ในภาคธุรกิจก็ตาม แต่รายงานจาก Oxford Economics ก็ยังมองว่าจะเห็ฯการฟื้นตัวอย่งช้าๆ

การชะลอของการใช้จ่ายในภาคครัวเรือน และก็ยังไม่มีแนวโน้มว่ากลุ่มผู้บริโภคจะเร่งกลับเข้าซื้อสินค้าหลังจากที่มาตรการผ่อนคลายลงในเร็วๆนี้ก็ตาม

กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมการบริการทั่วโลกอาจเรียกได้ว่าเผชิญปัญหาหนัก ทั้งภาคการขนส่ง, การโดยสาร, อสังหาริมทรัพย์, การท่องเที่ยว และการเดินทางต่างๆ ที่ผลสำรวจจาก IHS Mark

กิจกรรมกลุ่มภาคการผลิตทรุดตัว

กลุ่มผู้ผลิตทั่วโลกทรุดตัวตั้งแต่ที่เกิดปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และในปีนี้ก็ดูจะซบเซาและได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาทั่วทุกมุมโลก

การยิ่งใช้มาตรการ Lockdown ที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการ Lockdown ในภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงเผชิญกับการปิดชั่วคราวและยังไม่อาจกลับมาเปิดทำการได้ในเร็วๆนี้จากภาวอุปทานที่ล้นตลาด โดยเฉพาะสหรัฐฯและยุโรป รวมทั้งเอเชีย ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ในการกลับมาเปิดทำการหลังผลผลิตในภาคอุตสาหกรรม ท่ามกลางอุสปงค์ที่อ่อน

ปัญหาการค้าย่ำแย่ที่สุดปีนี

การค้าทั่วโลกที่มีการชะลอตัวแล้วตั้งแต่ปี 2019 ดูเหมือนจะกดดันให้ปีนี้ปรับตัวลดลงต่อ

WTO ล่าสุดเผยถึงคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในเดือนนี้ โดยที่ระบุว่าปริมาณการซื้อขายสินค้าทั่วโลกอาจร่วงมากถึง 12.9% หรือ 31.9% ในปีนี้ ขึ้นอยู่กับการตอบรับของเศรษฐกิจโลกที่จะกระเทือนทั้งยอดส่งออกและนำเข้า โดยเฉพาะมุมมองปีนี้ที่คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะหดตัวลงไปกว่า 3%

ขณะที่ภาพรวม IMF คาดว่าปีหน้าเศรษฐกิจจะโตได้ 5.8% โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะยังอยู่ในระดับต่ำแม้จะเป็นคาดการณ์ของปี 2021 ก็ตาม


ที่มา: CNBC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com