• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 22 เมษายน 2563

    22 เมษายน 2563 | Economic News

·         ค่าเงินดอลลาร์และเงินเยนแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ท่ามกลางแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ตกต่ำเป็นประวัติการณ์ แม้จะเริ่มฟื้นตัวขึ้นได้ในวันนี้ก็ตาม ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่า หลังรายงานตัวเลขการค้าปลีกที่ออกมาที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

โดยค่าเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ ในภาพรวมค่าเงินดอลลาร์ยังไม่มีการเคลื่อนไหวแตกต่างจากเดิมมากนัก

 

ขณะที่ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวแถวระดับ 107.83 เยน/ดอลลาร์ ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสแตรเลียแข็งค่า 0.5% แถว 0.6354 ดอลลาร์ หลังตัวเลขค้าปลีกออสเตรเลียเมื่อเดือนก่อนออกมาทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

 

ในภาพรวมรายสัปดาห์ ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าได้ประมาณ 0.6% เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก และเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดในรอบหลายสัปดาห์

ค่าเงินยูโรยังคงเคลื่อนไหวในกรอบเดิมแถวระดับ 1.0856 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ค่าเงินปอนด์เคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ หลังมีคาดการณ์เกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอังกฤษหลังวิกฤติไวรัสที่ดูค่อยสดใสนักถูกเปิดเผยออกมาอย่างเป็นทางการ


·         EUR/USD Price Analysis: ทิศทางไม่ชัดเจน

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าค่าเงินยูโรกำลังเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทางที่ชัดเจน หลังจากมีการก่อตัวในลักษณะ Doji Candle ไปเมื่อวันจันทร์และอังคารที่ผ่านมา

 

สัญญาณ Doji Candle คือลักษณะที่เกิดขึ้นเมื่อค่าเงินมีการแกว่งตัวไปมาทั้งสองทิศทางภายในระยะเวลาหนึ่ง แต่จบช่วงระยะเวลาดังกล่าวในแดนทรงตัว ซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความไม่ชัดเจนของตลาด ในอีกมุมหนึ่ง สมมุติเป็นกรณีที่สินค้ามีการปรับขึ้นหรือลงอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะเกิดสัญญาณดังกล่าว ก็จะเป็นบ่งชี้ถึงความอ่อนแรงของทิศทางนั้นๆได้เช่นกัน

 

สำหรับค่าเงินยูโร สัญญาณ Doji Candles ได้เกิดขึ้นตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา หลังจากค่าเงินได้ปรับตัวหลุดเส้นเทรนขาขึ้นของวันที่ 3 มี.ค. ถึงวันที่ 6 เม.ย. บ่งชี้ถึงความไม่แน่ใจของฝั่งขาย

 

ดังนั้น แนวโน้มระยะสั้นของค่าเงินดูจะเป็นขาลง หากหลุดต่ำกว่าระดับ Doji Candle ของวันอังคารจะทำให้มีโอกาสลงไปทดสอบระดับต่ำสุดของปี 2020 ที่ 1.0636 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ฝั่งขาขึ้นต้องดูว่าค่าเงินจะสามารถยืนเหนือระดับ Doji Candle ของวันจันทร์ได้หรือไม่


·         UOB คาดกรอบเงินยูโรระหว่าง 1.0830 – 1.0900

นักวิเคราะห์จากธนาคาร UOB ประเมินว่าค่าเงินยูโรมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวในกรอบเดิมของเมื่อวานที่ระหว่าง 1.0830 และ 1.0900 ดอลลาร์/ยูโร


โดยค่าเงินมีการย่อตัวลงไปทดสอบระดับ 1.0817 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนที่จะดีดกลับขึ้นมาแถว 1.0880 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นยังคงมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาวะสะสมพลัง ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานและทางเทคนิคเริ่มจะสร้างฐานได้ แต่การปรับขึ้นของค่าเงินน่าจะเผชิญแนวต้านที่ระดับ 1.0900 ดอลลาร์/ยูโร (แนวต้านถัดไปที่ 1.0925 ดอลลาร์/ยูโร) ขณะที่แนวรับมองไว้ที่ระดับ 1.0840 ดอลลาร์/ยูโร หากหลุดแนวรับนี้ลงจะทำให้ค่าเงินกลับมามีกำลังขาลงมากขึ้น และมีโอกาสลงต่อไปยังระดับ 1.0815 ดอลลาร์/ยูโร



สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 2,558,975 ราย

Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 177,704 ราย

Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 210 ประเทศ และติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 819,175 ราย (+431) และมีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 1 ของโลกที่ระดับ 45,343 ราย (+25)

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสเปนปรับตัวขึ้นมาอยู่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก โดยล่าสุดมีผู้ติดเชื้อที่ 204,178 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 21,282 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีอยู่ที่ระดับ 183,957 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 24,648 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,826 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึนรวมสะสม 49 ราย


·         CEOs ทั่วโลกคาดเศรษฐกิจโลกชะลอตัวแบบ U-Shape

โพลสำรวจโดยสถาบัน YPO ที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 15-19 เม.ย. ที่ผ่านมา และมี CEOs ของบริษัทรายใหญ่กว่า 3,534 แห่งร่วมตอบแบบสำรวจ โดยพบว่าบรรดา CEOs ส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติไวรัสโคโรนาจะถดถอยลงแบบ U-shaped

 

โดย 60% ของ CEOs มองว่าเศรษฐกิจจะถดถอยลงแบบ U-Shape ซึ่งจะเป็นลักษณะที่เศรษฐกิจจะมีช่วงชะลอตัวและฟื้นตัวยาวนานพอๆกัน ขณะที่ CEOs อีก 22% คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงแบบ Double-Dip


·         Mark Mobius คาดหลังผ่านวิกฤติไวรัส ผู้ประกอบจะย้ายฐานผลิตออกจากจี

Mark Mobius ผู้ก่อตั้งสถาบัน Mobius Capital Partners คาดการณ์ว่าหลังจากผ่านวิกฤติไวรัสโคโรนาไปแล้ว บรรดาผู้ประกอบการจะเริ่มพิจารณาย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีน และหันมาให้ความสำคัญกับฐานการผลิตที่อยู่ใกล้ตัวมากขึ้น อย่างเช่นผู้ประกอบการในสหรัฐฯ ก็จะหันมาให้ความสนใจภายในสหรัฐฯเอง รวมถึงประเทศที่อยู่ใกล้เคียงอย่างแคนาดาและเม็กซิโกมากขึ้

 

อย่างไรก็ตาม ก็มีความเป็นไปได้ที่ผู้ประกอบการจะไม่โยกย้ายฐานการผลิตออกทั้งหมด แต่จะปรับให้มีฐานการผลิตที่หลากหลายมากขึ้น และยังมีความเป็นไปได้ที่ผู้ประกอบการจะหันมาให้ความสนใจกับประเทศที่มีโอกาสในการพัฒนากำลังการผลิตให้มีศักยภาพสูงอย่างเวียดนาม บังกลาเทศ ตุรกี และบราซิล ด้วยเช่นกัน


·         ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน ตกต่ำที่สุดในช่วงวิกฤติไวรัส

James Crabtree ศาสตราจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประจำสถาบัน Lee Kuan Yew School of Public Policy ในสิงคโปร์ให้สัมภาษณ์ในรายการของ CNBC โดยมีมุมมองว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและจีนในปัจจุบันกำลังอยู่ในระดับที่ ตกต่ำ” ที่สุดของช่วงชีวิตหนึ่ง หรือตั้งแต่ปี 1970 เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศที่กล่าวโทษกันไปมาเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา

 

โดยเห็นได้จากรายงานที่ว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวโทษจีนเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในการรายงานยอดผู้ติดเชื้อไวรัสภายในประเทศ ขณะที่จีนก็ตอบโต้โดยอ้างว่าแท้จริงแล้วไวรัสตัวนี้อาจมีแหล่งกำหนดมาจากสหรัฐฯเองก็เป็นไป


·         เมืองปักกิ่งประกาศปิดโรงยิมอีกครั้งเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลมีความกังวลว่าอาจเกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นระลอกสอง


·         สำนักข่าวทางการในเกาหลีเหนือยังคงไม่มีการรายงานเกี่ยวกับสถานภาพในปัจจุบันของนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ขณะที่สำนักข่าวต่างประเทศก็ยังคงมีรายงานเกี่ยวกับสุขภาพของนายคิมแตกต่างกันออกไป นับตั้งแต่ที่มีรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่านายคิมมีอาการสาหัสหลังเข้ารับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ


·         รายงานจาก Reuters ระบุว่าองค์กร IMF คาดการณ์ว่าระดับหนี้สินของรัฐบาลภายในสหภาพยุโรปจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากท่ามกลางวิกฤติไวรัสโคโรนา แต่มีความเป็นไปได้ต่ำที่ยุโรปจะเผชิญกับวิกฤติหนี้สินอีกครั้ง

โดย IMF ประเมินว่าระดับหนี้สินของทั้ง 19 ประเทศในยุโรปจะเพิ่มสูงขึ้นจากระดับ 13% ของ GDP สู่ระดับ 97% เนื่องจากใช้มาตรการ Lockdown ทั่วทวีปยุโรปเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจยุโรปอาจหดตัวลงไปได้ 7.5% ขณะที่การกู้ยืมครั้งใหญ่ในแต่ละประเทศ ถูกคาดว่าจะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร

 

ปัจจัยที่ทำให้ยุโรปไม่มีความเสี่ยงที่จะเผชิญวิกฤติหนี้สินเหมือนเมื่อปี 2010 – 2012 นั่นก็คือการที่ ECB ประกาศว่าจะดำเนินการ ทุกวิถีทาง” เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจยุโรป แตกต่างกับสมัยวิกฤติหนี้สินเมื่อกลางปี 2012  ที่กว่า ECB จะตัดสินใจออกนโยบาย วิกฤติดังกล่าวก็จลลงไปเสียก่อน

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่น่าจับตาคือด้านการเมือง โดยยุโรปต้องพยายามควบคุมไม่ให้เกิดกระแสลุกฮือของการเมืองแบบชาตินิยมหรือกระแสต่อต้านการรวมตัวเป็นสหภาพ ท่ามกลางระดับหนี้สินในแต่ละประเทศที่ปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะในอิตาลี ที่กำลังเผชิญความยากลำบากทางเศรษฐกิจมากที่สุด ไม่เหมือนกับเยอรมนีหรือเนเธอแลนด์ 


·         รัฐบาลออสเตรเลียประกาศโยกย้ายงบประมาณเป็นมูลค่า 94 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (59 ล้านเหรียญ) เพื่อจัดซื้อน้ำมันจากสหรัฐฯมาเก็บสำรองไว้ภายในประเทศ ซึ่งเป็นการฉวยโอกาสจากราคาน้ำมันสหรัฐฯที่ตกต่ำเป็นประวัติการณ์จากภาวะน้ำมันล้นตลาด


·         โพลสำรวจโดยสถาบัน Refinitiv ประเมินว่าบรรดาบริษัทยุโรปที่จดทะเบียนในดัชนี STOXX 600 มีแนวโน้มที่จะรายงานผลประกอบการออกมาอ่อนแอเฉลี่ยลงมากถึง 37% ภายในไตรมาสที่ 2/2020 เทียบกับคาดการณ์เดิมที่จัดทำเมื่อสัปดาห์ก่อน ที่คาดไว้ที่ระดับ 34.2% โดยเป้นผลกระทบมาจากวิกฤติไวรัสโคโรนา

สำหรับผลประกอบการในไตรมาสที่ 3/2020 ถูกคาดว่าจะประกาศออกมาอ่อนแอลง 27.6% เทียบกับคาดการณ์เดิมที่ 25.5%


·      น้ำมันดิบ Brent ร่วงลงทำต่ำสุดในรอบ 21 ปี  และไปทำต่ำสุดในรอบศตวรรษ และ Spread ระหว่างน้ำมันดิบ WTI และ Brent เริ่มกลับมาแคบลง และมีโอกาสที่จะเห็นน้ำมันดิบ Brent ร่วงลงได้อีกหรือต่ำกว่าศูนย์ ท่ามกลางแรงเทขายในน้ำมันที่เกิดขึ้นที่จะทำให้น้ำมันลงไปทำต่ำสุด

ขณะที่การร่วงลงของราคาน้ำมันดิบ Brent ในวันนี้ดูจะกระตุ้นให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะเผชิญแรงกดดันมากขึ้นว่ากลุ่มโอเปกและพันธมิตรจะทำการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่ม ดังนั้น จึงน่าจะมีการจัดประชุมฉุกเฉินภายในสัปดาห์นี้ เนื่องจากตามความเป็นจริงสภาพเศรษฐกิจของซาอุดิอาระเบียที่โดยส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาน้ำมัน ขณะที่สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาในเวลานี้ก็ดูจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายตัวดังกล่าว

 

อีซีบีและจังก์บอนด์ (Junk Bonds)

 

ในส่วนของยุโรป ประเด็นที่บรรดาผู้นำทางการเงินในยุโรปจะมาถกกันในที่ประชุมวันนี้ ดูจะเกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ขยะ หรือ Junk bond เป็นหลัก โดยที่ตลาดคาดหวังว่าทาง ECB จะพิจารณาดำเนินการตามรอยเฟด และประกาศควบคุมให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับสูงขึ้น เนื่องจากมีหลายประเทศในยุโรปที่เผชิญผลกระทบจากไวรัสโคโรนาอย่างหนัก อย่างเช่น อิตาลี ซึ่งทำให้ตราสารหนี้ในประเทศนั้นๆไม่เป็นที่ต้องการ ตลาดจึงคาดหวังว่าการประชุมคืนนี้จะมีประกาศบางอย่างเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

 

จำนวนบริษัทที่เข้าข่ายหนี้ขยะเริ่มมีสูงขึ้นเรื่อยๆในยุโรป และหากบริษัทเหล่านี้ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ จะทำให้มีจำนวนบริษัทล้มละลายสูงขึ้นอย่างมาก และเมื่อมีบริษัททีล้มละลายมากขึ้น จะทำให้มีอัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้นตามมา

 

สถาบัน S&P Global Ratings คาดการณ์ว่าจะมีการประกาศดำเนินการอะไรบางอย่างเกี่ยวกับภาวะเครดิตของอิตาลีภายในวันศุกร์นี้ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ทางสถาบันกำลังพิจารณาความน่าเชื้อถือของเศรษฐกิจอิตาลีอยู่ และมีความเป็นไปได้ที่หากอิตาลีถูกปรับลดความน่าเชื่อถือ อิตาลีจะถูกตัดออกจากโปรแกรมเข้าซื้อสินทรัพย์ของทาง ECB

 

ดังนั้นจึงสรุปไดว่าการประชุมดังกล่าวน่าจะสร้างความผันผวนให้กับตลาดและค่าเงินยูโรได้ค่อนข้างมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังดัชนี STOXX600 ได้ด้วยเช่นกัน


·         ราคาน้ำมัน WTI ยังเป็นขาลงต่ำกว่า 11 เหรียญ ตลาดจับตาข้อมูล EIA คืนนี้

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่านอกจากที่ราคาน้ำมัน WTI กำลังเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับต่ำสุดของเดือน มี.ค. ด้วยแล้ว ราคายังต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยราย 21 วัน แถว 20.60 เหรียญ/บาร์เรล ดังนั้นโอกาสฟื้นตัวของราคาจึงมีอย่างจำกัด ขณะที่ฝั่งขายจะจับตาที่ระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 10 เหรียญ/บาร์เรล หากหลุดลงมาจะมีความเสี่ยงที่ราคาอาจย่อลงไปใกล้ระดับ 0 เหรียญ/บาร์เรล

 

นอกจากนี้ ตลาดจะจับตาการประกาศข้อมูลสต็อกน้ำมันสหรัฐฯคืนนี้ โดยคาดว่าจะมีปริมาณน้ำมันลดลงสู่ระดับ 16.133 ล้านบาร์เรล จากเดิม 19.248 ล้านเหรียญ


·         รายงานจาก Reuters ระบุว่า ในการประชุมผ่านทางวีดีโอคอลระหว่างตัวแทนของกลุ่ม OPEC และประเทศพันธมิตรเมื่อคืนที่ผ่านมา พบว่ายังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเพิ่มเติมเพื่อช่วยพยุงตลาดน้ำมันแต่อย่างใด

แต่ได้ระบุว่าทางกลุ่ม OPEC+ มีความพร้อมที่เข้าแทรกแซงตลาดทันที หากตลาดยังเผชิญแรงกดดันจากภาวะวิกฤติไวรัสโคโรนา


·         ราคาน้ำมันปรับร่วงอีกครั้งในวันนี้ โดยที่ราคาน้ำมัน Brent ปรับลดลงทำระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 1999 ท่ามกลางตลาดที่ยังเผชิญแรงกดดันจากภาวะน้ำมันล้นตลาด ขณะที่ปริมาณอุปสงค์ในพลังงานตั้งแต่น้ำมันไปจนถึงเชื้อเพลิงเครื่องบินยังคงอ่อนแอเนื่องจากวิกฤติไวรัสโคโรนา

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลงประมาณ 12% หรือ 2.37 เหรียญ แถวระดับ 16.96 เหรียญ โดยในช่วงต้นปรับลดลงไปมากถึง 24% ทำระดับต่ำสุดที่ 15.98 เหรียญ/บาร์เรลซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 1999

 

ด้านราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 4.4% หรือ 0.51 เหรียญ แถว 11.06 เหรียญ/บาร์เรล 

 




บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com