• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 21 เมษายน 2563

    21 เมษายน 2563 | Economic News

สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 2,484,314 ราย

Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 170,501 ราย

Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 210 ประเทศ และติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 792,938 ราย (+179) และมีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 1 ของโลกที่ระดับ 42,518 ราย (+4)

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสเปนปรับตัวขึ้นมาอยู่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก โดยล่าสุดมีผู้ติดเชื้อที่ 200,210 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 20,852 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีอยู่ที่ระดับ 181,228 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 24,114 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,811 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึนรวมสะสม 48 ราย

 

- นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการทวีตข้อความในวันนี้ โดยระบุว่าเขาจะทำการลงนามในคำสั่งระงับการอพยพเข้าสหรัฐฯเป็นการชั่วคราว เพื่อปกป้องชาวอเมริกันจากการระบาดของไวรัสโคโรนา


- นายกรัฐมนตรีอิตาลีระบุว่าในช่วงปลายสัปดาห์นี้ รัฐบาลจะทำการเปิดเผยแผนผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และการเปิดเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไปที่อาจเริ่มต้นในวันที่ พ.ค. เป็นต้นไป


- ผู้บริหารองค์กรอนามัยโลกหรือ WHO ในภูมิภาคแปซิฟิกฝั่งตะวันตก แนะนำว่าการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในแต่ละประเทศ ควรดำเนินแบบค่อยเป็นค่อยไป หากผ่อนคลายมาตรการเร็วเกินไปจะมีความเสี่ยงที่เชื้อไวรัสจะกลับมาระบาดอีกครั้ง 

 

S&P Global  คาด อัตราตกงานในเอเชีย-แปซิฟิกอาจเพิ่มเป็นเท่าตัว ท่ามกลางวิกฤติไวรัส

สถาบัน S&P Global คาดการณ์ว่าอัตราการตกงานภายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอาจเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ท่ามกลางวิกฤติการระบาดของไวรัสโคโรนา และตำแหน่งที่สูญเสียไปบางตำแหน่งอาจไม่กลับเข้าสู่ตลาดในระยะยาวได้

โดยทางสถาบันประเมินว่าอัตราการว่างงานในภูมิภาคมีแนวโน้มจะขยายตัวมากกว่าระดับ 3% ซึ่งมากเป็นสองเท่าตัวของอัตราว่างงานเฉลี่ยในภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจสมัยก่อน

ขณะที่อุตสาหกรรมการบริการจะเป็นอุตสาหกรรมที่น่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะ Lockdown หนักที่สุด ซึ่งภาคอุตสาหกรรมนี้เองที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างตำแหน่งงานในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ 

อัตราว่างงานในแต่ละประเทศ

ภายใต้สมมติฐานว่าภาพรวมเศรษฐกิจในภูมิภาคจะถดถอยลงไป 7.5% แต่ละประเทศจะมีอัตราการว่างงานในระดับสูงสุดภายใน 4 ไตรมาสหลังจากที่เศรษฐกิจเริ่มถดถอยลง แตกต่างกันดังนี้:

ออสเตรเลีย: มากกว่า 3%

ญี่ปุ่น: มากกว่า 2%

เกาหลีใต้: มากกว่า 4%

นิวซีแลนด์: ใกล้เคียงระดับ 3%

ไทย: ต่ำกว่า 1%

 

- Eurasia Group เตือน ตลาดเกิดใหม่อาจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง สำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

นักวิเคระห์จาก Eurasia Group ระบุว่าบรรดาตลาดเกิดใหม่มีความเสี่ยงที่จะถูกทิ้งเอาไว้ข้างหลัง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่เผชิญแรงกดดันจากวิกฤติไวรัสโคโรนา เนื่องจากบรรดาตลาดเกิดใหม่เหล่านี้ ขาดทรัพยากรสำหรับการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้มข้นมากพอจะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวจากวิกฤติได้

แตกต่างกับประเทสที่พัฒนาแล้ว ยกตัวอย่างเช่นสหรัฐฯหรือเยอรมนีที่เพิ่งประกาศออกมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นวงเงินมหาศาลเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งเป็นการดำเนินการบรรดาตลาดเกิดใหม่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้เลย 

นอกจากนี้ แม้บรรดาตลาดเกิดใหม่อาจจะเผชิญอัตราการระบาดของไวรัสที่ดูจะน้อยกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่มีความเสี่ยงสูงที่ตลาดเกิดใหม่จะเผชิญภาวะถึงจุดพีคของการระบาดช้ากว่าบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่จะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้ากว่า ซึ่งก็อาจมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความสามารถในการตรวจคัดกรองโรคและการใช้มาตรการควบคุมโรคของแต่ละประเทศด้วย

 

- เฟดสาขามินนีแอโพลิส พบว่าการ Shutdown สหรัฐฯอาจ คุมเข้มเกินไป

งานวิจัยโดยเฟดสาขามินิแอโพลิสประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่การใช้มาตรการ Shutdown ประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯอาจคุมเข้มมากเกินไปถึงเท่าตัวที่จะช่วยให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

โดยงานวิจัยประเมินว่าสหรัฐฯควรใช้มาตรการที่มีความผ่อนคลายมากกว่าสำหรับแรงงานอายุน้อย และคุมเข้มสำหรับแรงงานสูงอายุที่มีความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสมากกว่า ดังนั้นรัฐบาลจึงควรหามาตรการที่เป็น ทางสายกลาง” ระหว่างแรงงานทั้ง 2 แบบ และประกาศใช้ไปจนถึงเดือน ก.ค. เป็นอย่างน้อย เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

 

·       ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าต่อเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศที่เกี่ยวกับการส่งออกน้ำมัน โดยนักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะราคาสัญญาน้ำมัน WTI ที่ตกต่ำทำระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ต่ำกว่าระดับ 0 เหรียญ/บาร์เรล

ขณะที่รายงานข่าวเกี่ยวกับนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ที่ล้มป่วยสาหัส เป็นปัจจัยช่วยหนุนค่าเงินดอลลาร์ แม้ข่าวดังกล่าวยังไม่ได้รับการยืนยันก็ตาม

ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสวิสฟรังก์แถว 0.9702 ดอลลาร์ ส่วนเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ ดอลลาร์แข็งค่า 0.2% แถว 1.2411 ดอลลาร์/ปอนด์

เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์ทรงตัวแถว 107.47 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินยูโรอ่อนค่าแถว 1.0840 ดอลลาร์/ยูโร

 

·       EUR/USD Price Analysis: ยูโรเคลื่อนไหวแดนลบหลังเกิดสัญญาณ Doji candle

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าค่าเงินยูโรวันนี้กำลังเคลื่อนไหวในแดนลบประมาณ -0.12% แถว 1.0850 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากเมื่อวานที่ค่าเงินมีการเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทางที่ชัดเจน

เมื่อวานนี้ ค่าเงินไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านที่เป็นเส้นเทรนขาขึ้นตั้งแต่ระดับต่ำสุดของวันที่ 23 มี.ค. และ 6 เม.ย. และก่อตัวเป็นลักษณะ Doji candle ที่สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มขาลง โดยในภาพรวมระยะยาวค่าเงินกำลังเคลื่อนไหวในทิศทางขาลง โดยเฉพาะหลังจากที่ค่าเงินมีการ Break ต่ำกว่าเส้นเทรนเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

จากปัจจัยทางเทคนิคข้างต้นที่กล่าวมา รวมกับสัญญาณ RSI ราย 14 วันที่เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 50 จุด สะท้อนถึงแนวโน้มทิศทางขาลง จึงคาดการณ์ว่าค่าเงินมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงแตะระดับ 1.0812 ดอลลาร์/ยูโร (ระดับต่ำสุด 17 เม.ย.) หากหลุดต่ำกว่าระดับดังกล่าวจะมีโอกาสย่อลงต่อไปถึงระดับ 1.0636 ดอลลาร์/ยูโร

ในทางกลับกัน หากค่าเงินปิดเหนือระดับสูงสุดของ Doji candle ที่ 1.0897 ดอลลาร์/ยูโร จะช่วยค่าเงินฟื้นตัวขึ้นมาเป็นขาขึ้นและมีโอกาสทดสอบระดับ 1.10 ดอลลาร์/ยูโร

 

·       EUR/USD Forecast: มีความเสี่ยงอ่อนค่าต่ำกว่าระดับ 1.0700 ดอลลาร์/ยูโร

บทวิเคราะห์ทางเทคนิคจาก FX Street ประเมินว่าทิศทางระยะสั้นของค่าเงินยูโรยังดูเป็นขาลง ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากเมื่อคืนที่ค่าเงินอ่อนค่าหลุดเส้นเทรนขาขึ้นระยะหลายสัปดาห์ ซึ่งนับเป็นการยืนยันถึงทิศทางขาลง ดังนั้นโอกาสที่ค่าเงินจะอ่อนค่าลงต่อจึงมีค่อนข้างสูง โดยอาจมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นอ่อนค่าต่ำกว่า 1.0800 ดอลลาร์/ยูโร หากหลุดบริเวณนี้ลงมา ค่าเงินจะมีโอกาสอ่อนค่าลงต่อไปยังระดับ 1.0770 – 1.0765 ดอลลาร์/ยูโร และถัดไปจนถึงระดับ 1.0700 ดอลลาร์/ยูโร

ในทางกลับกัน ค่าเงินจะมีแนวต้านที่ระดับ 1.0900 ดอลลาร์/ยูโร หากปรับขึ้นเหนือระดับนี้จะมีแนวต้านถัดไปที่ 1.0925 ดอลลาร์/ยูโร หากค่าเงินสามารถยืนเหนือระดับนี้ได้ จะมีโอกาสกลับขึ้นไปแถวเส้นค่าเฉลี่ยราย 50 วันแถว 1.0955 – 1.0960 ดอลลาร์/ยูโร หากยืนเหนือบริเวณนี้จะมีโอกาสขึ้นต่อไปถึงระดับ 1.10 ดอลลาร์/ยูโร

 

·       USD/JPY Price Analysis: เงินเยนเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบ Symmetrical triangle ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 ช.ม.

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าค่าเงินเผชิญแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า ทำให้ค่าเงินปรับสูงขึ้นเล็กน้อยประมาณ 0.10% แถวระดับ 107.70 เยน/ดอลลาร์ในวันนี้

โดยค่าเงินมีการก่อตัวเป็นลักษณะ Symmetrical triangle ในกราฟรายสัปดาห์ และกำลังเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 ช.ม.

ดังนั้นจึงประเมินว่าจะมีแรงเข้าซื้อค่าเงินเยนกลับมาอีกครั้ง หากค่าเงินปรับขึ้นเหนือระดับ 107.85 – 107.90 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญที่เป็นส่วนปลายด้านของบนของสามเหลี่ยมและเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 ช.ม. มาบรรจบกัน ในขณะที่ฝั่งรอขายจะจับตาการที่ค่าเงินลงต่ำกว่าระดับ 107.50 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นแนวรับสำหรับวันนี้

หากค่าเงินยืนเหนือแนวต้าน 107.90 เยน/ดอลลาร์ จะทำให้ค่าเงินมีโอกาสขึ้นทดสอบ 108.60 เยน/ดอลลาร์ ในทางกลับกัน หากค่าเงินลงต่ำกว่าแนวรับ จะมีลงต่อไปถึงระดับ 107.20 และ 106.90 เยน/ดอลลาร์ และถ้าหากปรับลงต่ำกว่าระดับ 106.90 เยน/ดอลลาร์ ไปอีก อาจทำให้ค่าเงินร่วงหนักไปจนถึงระดับ 105.90 เยน/ดอลลาร์ ที่เป็นระดับสูงสุดของวันที่ 10 มี.ค.

 

·       รายงานจาก Reuters ระบุว่ามีความเป็นไปได้สูงที่การประชุมร่วมกันระหว่างบรรดาผู้นำประเทศในสหภาพยุโรปวันนี้ จะยังไม่สามารถตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับการออกนโยบายเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนาได้แต่อย่างใด

ขณะที่การประชุมที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ ที่ประชุมคาดการณ์ว่าผลกระทบของไวรัสได้ทำให้ภูมิภาคยุโรปสูญเสียกำลังผลิตโดยรวมลงไปกว่า ใน 10

 

·       ค่าเงินวอนเกาหลีใต้อ่อนค่าลงอย่างหนัก หลังมีรายงานว่า คิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ กำลังล้มป่วยด้วยอาการรุนแรง โดยรายงานดังกล่าวยังไม่ได้รับการยืนยันแต่อย่างใด

รายงานล่าสุดจากสำนักข่าว Yonhap ของเกาหลีใต้ ระบุว่านายคิม จอง อิน ผู้นำเกาหลีเหนือ ไม่ได้ล้มป่วยด้วยอาการสาหัส” ขัดแย้งกับรายงานของ CNN ที่ระบุว่าผู้นำเกาหลีล้มป่วยสาหัสหลังเข้ารับการผ่าตัด

 

·       นักวิเคราะห์จาก Bank of America ระบุว่าสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินวอนเกาหลีใต้อ่อนค่าตอบรับกับข่าวการล้มป่วยของนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ เป็นเพราะความไม่ชัดเจนว่ารัฐบาลชุดใหม่ของเกาหลีเหนือจะเป็นเช่นไร ในกรณีที่นายคิมล้มป่วยสาหัสจริง และไม่แน่ชัดว่าจะส่งผลกับความสัมพันธ์ของทั้งสองชาติเกาหลีอย่างไร ดังนั้นค่าเงินซึ่งถือเป็นสินทรัพย์เสี่ยงจึงถูกเทขายลงก่อน ท่ามกลางความไม่ชัดเจนของสถานการณ์

 

·       ธนาคารกลางออสเตรเลียคาดการณ์ว่าอัตราการผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศจะหดตัวลงไปประมาณ 10% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 โดยที่การหดตัวของเศรษฐกิจจะสาหัสที่สุดในเดือน มิ.ย. เนื่องจากผลกระทบของไวรัสโคโรนา ขณะที่อัตราว่างงานถูกคาดการณ์ว่าน่าจะอยู่ที่ราวๆ 10% ภายในเดือน มิ.ย. เทียบกับ 5.2% ในเดือน มี.ค.

 

·       ราคาน้ำมัน WTI เริ่มฟื้นตัวกลับขึ้นมาแดนบวก หลังจากเมื่อคืนปรับร่วงลงอย่างรุนแรงหลุดต่ำกว่า 0 เหรียญ/บาร์เรล เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ขณะที่ราคาน้ำมัน Brent ยังคงปรับตัวลดลง เนื่องจากภาวะความอ่อนแอของอุปสงค์ในน้ำมันทั่วโลก

โดยราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน พ.ค. ที่จะหมดอายุภายในวันนี้ ปรับขึ้นประมาณ 38.99 เหรียญ แถว 1.36 เหรียญ/บาร์เรล ท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง หลังจากย่อตัวลงทำระดับต่ำสุดที่ -37.63 เหรียญ/บาร์เรล ในช่วงก่อนหน้า ขณะที่สัญญา WTI ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปรับขึ้น 0.94 เหรียญ หรือประมาณ 4.6% แถว 21.37 เหรียญ/บาร์เรล

ด้านราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปรับลดลงประมาณ 0.48 เหรียญ หรือ 1.9% แถว 25.09 เหรียญ/บาร์เรล

 

·       นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เปิดเผยว่าทีมบริหารของเขากำลังพิจารณาระงับการนำเข้าน้ำมันมาจากซาอุดิอาระเบีย เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯที่กำลังได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันในระดับต่ำ พร้อมระบุว่าสหรัฐฯมีปริมาณน้ำมันเหลือเฟือ จึงสามารถพิจารณาระงับการนำเข้าน้ำมันได้

 

·       Lukoil บริษัทน้ำมันรายใหญ่ในรัสเซีย ประกาศลดกำลังการผลิตลง 290,000 บาร์เรล/วัน

ประธานบริษัท Lukoil ที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ ของรัสเซีย ประกาศจะลดกำลังการผลิตลง 18% หรือประมาณ 290,000 บาร์เรล/วัน ตามข้อตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่ม OPEC และประเทศพันธมิตร

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com