• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 20 เมษายน 2563

    20 เมษายน 2563 | Economic News

·      ค่าเงินดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวในแดนบวก ท่ามกลางตลาดที่ยังคงมีความกังวลกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนาและความอ่อนแอของตลาดที่น้ำมันที่ทำให้ค่าเงินที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันเคลื่อนไหวอ่อนแอลงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่าหลังรัฐบาลส่งสัญญาณเกี่ยวกับการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ภายในสัปดาห์หน้า

ค่าเงินในตลาดเอเชียยังคงเผชิญแรงกดดันจากสถานการณ์ไวรัส โดยค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลง แต่ดอลลาร์นิวซีแลนด์กลับแข็งค่า 0.5% หลังนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ส่งสัญญาณจะผ่อนคลายมาตรการ Lockdown เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย. นี้

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียเคลื่อนไหว 0.6354 ดอลลาร์ คิดเป็นอ่อนค่าลงจากระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนประมาณ 1.5% ซึ่งขึ้นไปได้เมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะที่ดอลลาร์นิวซีแลนด์ทำระดับสูงสุดในรอบ 3 วันที่ 0.6059 ดอลลาร์

 

ขณะที่ค่าเงินสกุลหลักอื่นๆมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างเบาบางในวันนี้ เนื่องจากตลาดดูจะมีความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่อ่อนแอ ท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโคโรนา

ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักแข็งค่าเล็กน้อย โดยแข็งค่าประมาณ 0.1% เมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์ และแข็งค่า 0.3% เมื่อเทียบกับเงินเยน โดยเคลื่อนไหวแถว 107.80 เยน/ดอลลาร์ 1.2478 ดอลลาร์/ปอนด์ และ 1.0870 ดอลลาร์/ยูโร  



·      EUR/USD short-term technical outlook

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าค่าเงินยูโรมีแนวโน้มที่จะเปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกแถว 1.0870 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากเมื่อสัปดาห์ก่อนถูกเทขายลงมาจากระดับ 1.0890 ดอลลาร์/ยูโร จึงกลายเป็นแนวต้านสำหรับวันนี้ ขณะที่สัญญาณทางเทคนิคเริ่มปรับสูงขึ้นแต่ยังอยู่ในแดนลบ และค่าเงินก็ยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ แม้เส้นค่าเฉลี่ย 20 วันจะเริ่มชะลอทิศทางขาลง ดังนั้นสำหรับภาพรวมระยะสั้น ทิศทางค่าเงินเป็นแบบทรงตัวจนถึงค่อนข้างเอียงไปฝั่งขาลง โดยจะมีแนวรับสำคัญระยะสั้นที่ 1.0830 ดอลลาร์/ยูโร

 

แนวรับ: 1.0830 1.0800 1.0765

แนวต้าน: 1.0890 1.0925 1.0960



·      EUR/USD Forecast: ภาพรวมทางเทคนิคระยะสั้นยังสนับสนุนฝั่งขาลง

บทวิเคราะห์ทางเทคนิคจาก FX Street ระบุว่าค่าเงินยูโรเมื่อสัปดาห์ก่อนได้ยืนยันการ Breakout ลงจากเส้นเทรนขาขึ้นระยะตั้งแต่เดือน มี.ค. ดังนั้นค่าเงินจึงมีแนวโน้มที่จะปรับอ่อนค่าลงต่อ โดยวันนี้น่าจะทรงตัวแถว 1.0815 – 1.0810 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนที่จะเริ่มย่อตัวลงอีก โดยมีแนวรับแรกที่บริเวณ 1.0770 – 1.765 ดอลลาร์/ยูโร และถัดไปที่ระดับ 1.0700 ดอลลาร์/ยูโร 

 

ในทางตรงกันข้าม ค่าเงินจะมีแนวต้านระยะสั้นที่ 1.0900 ดอลลาร์/ยูโร หากยืนเหนือระดับนี้ได้จะมีโอกาสขึ้นต่อ เนื่องจากตลาดจะเริ่มหันมาพิจารณาทำ Short-covering แต่โอกาสที่จะปรับขึ้นได้มีค่อนข้างต่ำ เนื่องค่าเงินถูกกดดันโดยเส้นค่าเฉลี่ยราย 50 วันแถว 1.0960 ดอลลาร์/ยูโร แต่หากยืนเหนือได้จะเป็นการลบล้างทิศทางขาลง และมีโอกาสขึ้นทดสอบระดับ 1.10 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นระดับสำคัญทางจิตวิทยา



·      USD/JPY Price Analysis: มีแรงเข้าซื้อแถว 107.80 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่เกิดสัญญาณ Descending Triangle Breakout

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยนกำลังเคลื่อนไหวแดนบวกแถว 107.80 เยน/ดอลลาร์ โดยมีแรงเข้าซื้อเงินเยนมากขึ้นท่ามกลางกระแส Risk-off ในตลาดหุ้น

 

ขณะที่ในกราฟราย 4 ช.ม. มีการเกิดลักษณะ Descending Triangle Breakout ซึ่งเป็นสัญญาณว่าคู่เงินมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นไปอีก และมีโอกาสขึ้นเหนือระดับ 108.00 เยน/ดอลลาร์

 

ในทางกลับกัน หากค่าเงินย่อต่ำกว่า 106.92 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นฐานของลักษณะ Triangle จะเป็นสัญญาณของทิศทางขาลง และมีโอกาสที่ค่าเงินจะย่อตัวลงไปถึงระดับ 105.00 เยน/ดอลลาร์ แต่ก่อนหน้านั้นค่าเงินจะเผชิญแนวรับที่ระดับ 106.92 และ 107.30 เยน/ดอลลาร์ก่อน


 

สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

Ø จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 2,414,595 ราย

Ø จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 165,174 ราย

Ø จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 210 ประเทศ และติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam

Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 764,265 ราย และมีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 1 ของโลกที่ระดับ 40,565

Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในสเปนปรับตัวขึ้นมาอยู่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก โดยล่าสุดมีผู้ติดเชื้อที่ 198,674 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 20,453 ราย

Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีอยู่ที่ระดับ 178,972 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 23,660 ราย

Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,792 ราย (+27) และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึนรวมสะสม 47 ราย


·      นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ประกาศขยายระยะเวลา Lockdown ประเทศออกไปอีก สัปดาห์ พร้อมระบุว่าจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวภายในวันที่ 27 เม.ย. นี้


·      นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs ระบุว่าวิกฤติไวรัสโคโรนาอาจทำให้ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนในเศรษฐกิจโลกขึ้นทำระดับสูงสุดไปแล้ว ซึ่งเป็นสัญญาณของการฟื้นตัวจากมลพิษในระยะยาวของโลก

ทั้งนี้ เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ได้ทำให้ประเทศและอาณาเขตทั่วโลกมากกว่า 187 แห่ง ทำการประกาศใช้มาตรการ Shutdown เพื่อลดอัตราการระบาดของไวรัสผ่านการจำกัดวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน จึงนำไปสู่อัตราการปล่อยมลพิษจากภาคอุตสาหกรรมที่ลดน้อยลงอย่างมาก

 

Goldman Sachs ประเมินว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่คิดเป็น 2 ใน 3 ของปริมาณการปล่อยก๊าศเรือนกระจก จะลดลงไปอย่างน้อย 5.4% เฉพาะในปีนี้เพียงปีเดียว

 

นักวิเคราะห์ระบุว่า อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระตะมักจะกลับมาสูงขึ้นหลังผ่านพ้นช่วงวิกฤติทางเศรษฐกิจไป ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นมาตลาดนับตั้งแต่ยุค 1970 แต่ครั้งนี้อาจแตกต่างออกไป เนื่องจากอัตราการปล่อยก๊าซคาณืบอนในเศรษฐกิจโลกอาจแตะระดับสูงสุดไปแล้ว 

 

คาดการณ์เดิมของสำนักงาน IEA ประเมินว่าอัตราการก๊าซเรือนกระจกจะทำระดับสูงสุดในปี 2030 แต่รายงานล่าสุดจากทางสำนักงานเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ระบุว่าอัตราการปล่อยก๊าซเริ่มที่จะหดตัวลงไปแล้ว จึงมีความเป็นไปที่เราจะเห็นระดับสูงสุดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเร็วกว่าคาดการณ์ถึง ทศวรรษ


·      โคโรนาไวรัสอาจเปลี่ยนแปลงมุมมองทางสังคมของชาวอเมริกัน ให้เสาะหาความปลอดภัยเหมือนกับชาวยุโรปมากขึ้น

Morgan Housel พาร์ทเนอร์ของสถาบัน Collaborative Fund และผู้เขียนหนังสือ “ จิตวิทยาแห่งเงินตรา (The Psychology of Money)” มีมุมมองว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯ อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญครั้งประวัติศาสตร์ ที่จะทำให้ชาวอเมริกันเลือกนโยบายการเมืองที่รับรองความปลอดภัยทางสังคมให้กับพวกเขามากขึ้น

 

โดยนาย Morgan ระบุว่าชาวอเมริกันแทบจะไม่เคยเผชิญเหตุการณ์รุนแรงที่ทำให้เกิดความเสียหายลึกมากพอที่จะเปลี่ยนแนวคิดของพวกเขาเลย โดยอาจมีข้อยกเว้นเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ Pearl Harbor และสงครามโลกครั้งที่ 2

 

แต่ทั้งนี้ สหรัฐฯก็ไม่ได้เผชิญความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่ากับฝั่งยุโรป ซึ่งเหตุการณ์สงคามโลกครั้งที่ 2 เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ชาวยุโรปหันมาเรียกร้องนโยบายทางการเมืองที่สามารถรับรองความปลอดภัยทางสังคมให้กับพวกเขากันมากขึ้น

 

ดังนั้นจึงมองว่า วิกฤติไวรัสโคโรนานี้อาจผลักดันให้ชาวอเมริกันเห็นความความสำคัญของความปลอดภัยทางสังคมกันมากขึ้น จึงอาจเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองครั้งสำคัญของชาวอเมริกันให้เป็นเหมือนกับยุโรปเมื่อ 60 ปีก่อน และนำไปสู่ระดับทางสังคมของสหรัฐฯที่มีความปลอดภัยกับชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้นได้


·      สถาบัน Natixis ประเมินว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจจะมีความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระยะกลาง ท่ามกลางผลกระทบจากวิกฤติไวรัสโคโรนา

โดยสำหรับเศรษฐกิจในระดับมหภาค (Macroeconomic) คาดว่าจะเผชิญภาวะที่อัตราเงินเฟ้อและหนี้สินของภาคเอกชนมีสูงขึ้น รวมถึงภาวะที่ปริมาณเงินเก็บมีสูงกว่าปริมาณเงินที่นำมาลงทุน

 

ส่วนเศรษฐกิจในระดับจุลภาค (Microeconomic) จะเผชิญภาวะที่มีความผันผวนของตลาดในระดับสูงขึ้น รวมถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นสำหรับการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง




·      จับตาแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อาจกลายเป็นแหล่งการระบาดของไวรัสโคโรนาแห่งใหม่ ท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อที่เิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความกังวลของผู้เชี่ยชาญที่ว่าอาจกลายเป็นศูนย์กลางการระบาดแห่งใหม่ โดยรายงานเมื่อวันอาทิตย์พบว่าในภูมิภาคมีอัตราการติดเชื้อที่ 28,000 ราย โดยส่วนใหญ่มาจากอินเดียฟิลิปปินส์มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่คิดเป็นผลรวม 87.9% ของยอดการติดเชื้อทั้งหมดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


·      ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงเป็นครั้งที่สองของปีนี้ตามคาด โดยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ ปี ลง 0.20% จากระดับ 4.05% สู่ระดับ 3.85% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ ปี ลง 0.10% จากระดับ 4.75% สู่ระดับ 4.65% เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา จนอัตราการเติบโตของ GDP รายไตรมาสหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ


·      ทีมบริหารทรัมป์อนุมัติเลื่อนการจ่ายภาษีนำเข้าออกไป 3 เดือน

ทีมบริหารประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศอนุมัติให้ผู้นำเข้าในประเทศสามารถเลื่อนการจ่ายภาษีนำเข้าสินค้าออกไปได้เป็นเวลา 3 เดือน สำหรับผู้นำเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

 

โดยนายสตีเว่น มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามในคำสั่งดังกล่าวแล้ว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องการจ้างงานและผู้ประกอบการในสหรัฐฯ ให้สามารถก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกัน

 

อย่างไรก็ตาม คำสั่งอนุมัติเลื่อนการจ่ายภาษีออกไป ไม่ได้ครอบคลุมไปยังกลุ่มสินค้าที่พัวพันกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่แผงโซล่าเซลส์ เหล็กและอลูมิเนียม รวมถึงสินค้าอื่นๆจากประเทศจีน ซึ่งสินค้าในกลุ่มนี้ ผู้นำเข้ายังจำเป็นต้องมีการจ่ายภาษีภายในระยะเวลาเดิมที่กำหนดไว้



·      ยอดส่งออกของญีปุ่นในเดือน มี.ค. ชะลอตัวลงด้วยอัตราที่มากที่สุดในรอบ 4 ปี ท่ามกลางจำนวนสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐฯ จีน และยุโรปที่ลดลงด้วยอัตราที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2011 โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มรถยนต์ จึงตอกย้ำถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

โดยข้อมูลทางการจากกระทรวงการคลังญี่ปุ่นระบุว่ายอดส่งออกในเดือน มี.ค. หดตัวลงถึง 11.7% เทียบกับคาดการณ์ที่ระดับ 10.1% ขณะที่ยอดส่งออกเดือน ก.พ. หดตัว 1% จึงนับเป็นการชะลอตัวของภาคการส่งออกที่สาหัสที่สุดตั้งแต่เดือน ก.ค. ปี 2016




 

·      Crude Oil Technical Outlook

บทวิเคราะห์จาก Daily FX ระบุว่า เมื่อพิจารณาจากกราฟรายวันของราคาน้ำมัน WTI ราคากำลังเผชิญแนวรับสำคัญในรอบ 18 ปี บริวเณ 17.12 - 17.80 เหรียญ/บาร์เรล หากราคาหลุดแนวรับนี้ภายในสัปดาห์นี้ ราคาจะมีโอกาสร่วงลงมาถึงระดับ 10.65 เหรียญ/บาร์เรล ตามเส้นเทรนขาลงระยะยาว (เส้นสีชมพู)

 

กรณีที่ราคาสามารถยืนเหนือแนวรับสำคัยดังกล่าวได้ ก็ไม่ได้หมายความราคาจะสามารถกลับตัวเป็นขาขึ้นได้แต่อย่างใด โดยโอกาสที่จะราคาจะกลับเป็นขาขึ้นได้ ราคาต้องยืนเหนือเส้นเทรนขาลงดังกล่าวให้ได้เสียก่อน ซึ่งหมายความว่าอย่างน้อยราคาต้องกลับขึ้นแถว 29.10 เหรียญ/บาร์เรลให้ได้

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจแล้ว ราคาน้ำมันยังเผชิญแรงกดดันในฝั่งขาลงมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปริมาณอุปสงค์ในน้ำมันที่อ่อนแออย่างมาก เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา และถึงแม้ทางกลุ่ม OPEC+ จะสามารถตกลงปรับลดกำลังการผลิตได้ก็ตาม ก็ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถช่วยหนุนความเชื่อมั่นของตลาดน้ำมันได้แต่อย่างใด



·      ราคาน้ำมันในช่วงบ่ายของตลาดเอเชียวันนี้ยังคงเคลื่อนไหวในแดนลบ หลังจากปรับลดลงอย่างหนักท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนา โดยที่นักวิเคราะห์ระบุสถานการณ์ของตลาดน้ำมันในปัจจุบันว่า เลวร้าย

ราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน พ.ค. ปรับลดลงมากถึง 18% ทำระดับต่ำสุดที่ 14.47 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งใกล้ระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. ปี 1999 ที่ 14.40 เหรียญ/บาร์เรล ก่อนจะฟื้นตัวขึ้นมาแถว 14.93 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับลง 2.3% แถว 27.43 เหรียญ/บาร์เรล

 

นักวิเคราะห์จาก ANZ ระบุว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมัน WTI ปรับลดลงมากถึงขนาดนี้ เป็นเพราะว่าสัญญาส่งมอบเดือน พ.ค. กำลังจะหมดอายุลงในวันอังคารนี้ ขณะที่ ราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปรับลงกว่า 5% แถว 23.67 เหรียญ/บาร์เรล



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com