• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 20 เมษายน 2563

    20 เมษายน 2563 | Economic News



·         สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 2,407,282

Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 165,049 ราย

Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 210 ประเทศ และติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 746,303 ราย และมีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 1 ของโลกที่ระดับ 40,548 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสเปนปรับตัวขึ้นมาอยู่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก โดยล่าสุดมีผู้ติดเชื้อที่ 198,674 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 20,453 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีอยู่ที่ระดับ 178,972 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 23,660 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,765 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นรวมสะสม 47 ราย




บรรดาผู้ว่าการรัฐต่างๆในสหรัฐฯที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนามีเสียงคัดค้าน นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่มองว่ามีผลทดสอบพลเมืองเพียงพอ และจะสามารถเปิดทำการได้อย่างรวดเร็วว่า สหรัฐฯเองควารที่จะขยายเวลาคำสั่งการอยู่ในที่พักอาศัยออกไปก่อน

โดยผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กชี้แจงถึงจำนวนยอดส่งรักษาตัวในโรงพยาบาลลดลงจาก 18,000 ราย สู่ระดับ 16,000 ราย และมีคนไข้ที่รอดชีวิตเพิ่มสูงขึ้น โดยระดับการเสียชีวิตเองก็ปรับลงจาก 700 ราย/วัน สู่ระดับ 507 ราย  แต่เราก็ควรรอให้แนวโน้มของข้อมูลนั้นทรงตัวมากกว่านี้ เนื่องจากข้อมูลล่าสุดเป็นเพียงการบ่งชี้ว่าเราได้ผ่านจุดสูงสุดของการระบาดมาแล้ว แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นความสำเร็จแค่เพียงครึ่งหนึ่ง ดังนั้น ประชาชนควรเฝ้าระวังและกักตนเองไว้ก่อน จนกว่าจะแน่ใจว่าการระบาดของไวรัสโคโรนานั้นทุเลาลงไปเป็นที่เรียบร้อย


- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่แถวระดับ 750,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตพุ่งสูงกว่า 40,000 ราย หรือเป็นอัตราเฉลี่บกว่า 25% ของการเสียชีวิตทั่วโลก ท่ามกลางการระบาดในนิวยอร์กที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงกว่า 500 ราย/วัน ขณะที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะให้การช่วยเหลือโรงพยาบาลในชนบทให้มากขึ้น และเร่งให้หน่วยงาน DPA เพิ่มการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ยังขาดแคลนเครื่องมือวัดผลการทดสอบหาผู้ติดเชื้


- นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เผยว่า พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันเข้าใกล้ข้อตกลงการเพิ่มวงเงินฉุกเฉินพิเศษเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นที่เรียบร้อย และอาจบรรลุข้อตกลงได้รวดเร็วที่สุดในวันจันทร์นี้


- นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาในฝรั่งเศสดีขึ้นและมีการชะลอตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จึงอาจมีการผ่อนคลายมาตรการได้บางส่วน แต่ภาพรวมก็ไม่ได้หมายความว่าวิกฤตไวรัสรอบนีจะจบลงไปแล้ว


- สเปนเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการเสียชีวิตปรับตัวลงทำระดับต่ำสุดในรอบเดือน โดยข้อมูลเมื่อวันอาทิตย์พบว่ามียอดผู้เสียชีวิตลดลงมาแตะ 410 ราย ซึ่งเป็นต่ำสุดรอบ 1 เดือน จากวันเสาร์ที่อยู่ที่ 565 ราย


- นางอังเกลาร์ แมร์เคล นายรัฐมนตรีเยอรมนี ส่งสัญญาณที่จะให้การช่วยเหลือภาคธุรกิจและกลุ่มผู้บริโภคที่เผชิญกับวิกฤตไวรัสโคโรนา โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มโรงแรม, ร้านอาหาร และการจ่ายค่าแรง สอดคล้องกับที่รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนี กล่าวไว้ว่า ภาครัฐบาลจะทำการอัดฉีดมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมให้แก่บริษัทต่างๆที่เผชิญกับปัญหา รวมทั้งความหน้าผิดหวังต่างๆในตลาดเวลานี้


- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเยอรมนี มองว่า เยอรมนีอาจไม่สามารถรับมือกับผลกระทบางการเงินจากไวรัสโคโรนาโดยปราศจากการขยายเพดานหนี้ไปได้ หากต้องการเห็นเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังฟื้นตัว โดยระดับหนี้มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น นับตั้งแต่ที่วันที่ 25 มี.ค. มีการใช้งบประมาณกว่า 1.56 แสนล้านยูโร (1.697 แสนล้านเหรียญ) ขณะที่อีก 1 แสนล้านยูโรที่เป็นงบสำหรับเสริมสภาพคล่องกองทุนให้มีเสถียรภาพอาจเข้าสู่ภาคบรฺษัทในตลาดหุ้นได้โดยตรง และอีก 1 แสนล้านยูโรเป็นการเพิ่มเครดิตให้แก่ธนาคารอื่นๆ และหากถามว่างบ 1.56 แสนล้านยูโรจะเพิ่มระดับหนี้ก้อนใหม่หรือไม่ ก็ตอบได้ว่ามีโอกาสเห็นระดับหนี้เพิ่มสูงขึ้นได้อีก


- หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก IMF เผยว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจโลกดูจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาและไม่น่าจะฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ตลอดจนถึงช่วงสิ้นปี 2021

ทั้งนี้ IMF มีการปรับลดคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจ โดยขณะนี้คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะหดตัวลงไปประมาณ -3ในปีนี้ ก่อนจะค่อยๆฟื้นตัวกลับมาแถว 5.8ในปีหน้า


- สถานการณ์ในอังกฤษพบว่าเกิดสภาวะปรับตัวลงหนักของการเข้าซื้อสินค้าในประเทศกว่า 83จากมาตรการการกักตัวเองในที่พักอาศัย


- ออสเตรเลียสร้างแรงกดดันแก่จีนเพิ่ม เกี่ยวกับการบริหารจัดการการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ ให้มีความโปร่งใส และขอให้มีการสืบสวนสอบสวนระดับนานาชาติเพื่อหาต้นตอของเชื้อไวรัสว่ามีการระบาดอย่างไร

นางมาริส เพย์น รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่าออสเตรเลียต้องการทราบรายละเอียดที่คณะกรรมการอิสระจะเป็นผู้หาข้อมูล เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของไวรัส วิธีการรับมือและการเปิดกว้างในการแบ่งปันข้อมูล เนื่องจากออสเตรเลียยังรู้สึกเป็นกังวลเช่นเดียวกับสหรัฐที่มีการกล่าวหาองค์การอนามัยโลกว่า บริหารจัดการผิดพลาดและปกปิดความรุนแรงของการระบาดในประเทศจีนก่อนที่จะเชื้อไวรัสจะแพร่ไปทั่วโลก




- ล่าสุดพบว่าในเมืองอู่ฮั่นของจีนพบการระบาดของยอดผู้ติดเชื้อใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการเสียชีวิต โดยล่าสุดมีการทบทวนข้อมูลในวันพฤหัสบดีเพิ่มขึ้นอีก 325 ราย สู่ระดับรวมทั้งสิ้น 50,333 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 3,869 ราย จากเดิมที่มีการแจ้งผลที่ 1,290 รายสำหรับเมืองอู่ฮั่นนี้


- หน่วยงานพลังงานของสหรัฐฯ หรือ IEA คาดว่าวิกฤตของไวรัสโคโรนาจะทำให้อุปสงค์น้ำมันปรับตัวลงมากที่สุดในรอบกว่า 10 ปี ในปี 2020 นี้ ท่ามกลางทั่วโลกที่ต่างก็เผชิญกับภาวะ Shutdown เช่นเดียวกัน ขณะที่วิกฤตทางสุขภาพที่เกิดขึ้นดูจะส่งผลต่อภาพรวมกิจกรรมของตลาดน้ำมันต่างๆด้วย

ซึ่งจากการประเมินจะพบว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี คาดอุปสงค์น้ำมันโลกจะปรับตัวลดลงไปประมาณ 9.3 ล้านบาร์เรล/วัน เมื่อเทียบกับปีก่อน และน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี ขณะที่รายงานประจำเดือนก็ยังคงต้องให้ความสำคัญและติดตามใกล้ชิด เนื่องจากอุปสงค์น้ำมันในเดือนเม.ย.นี้ คาดจะลดลงไปมากถึง 29 ล้านบาร์เรล/วันเมื่อเทียบปีก่อน และจะเป็นระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตั้งแต่ปี 1995

ภาพรวมไตรมาสที่ 2/2020 คาดจะมีระดับอุปสงค์น้ำมันปรับตัวลงแตะ 23.1 ล้านบาร์เรล/วัน และจะค่อยๆฟื้นกับ แต่แนวโน้มในเดือนธ.ค. ปีนี้อุปสงค์ก็ยังมีแนวโน้มจะชะลอตัวลงไปประมาณ 2.7 ล้านบาร์เรล/วัน เมื่อเทียบรายปี


- คณะกรรมาธิการของอีซีบี เผยว่า อีซีบีจะดำเนินมาตรการต่างๆที่จำเป็นเพื่อรักษาระดับและเสถียรภาพของราคา โดยจะเห็นได้จากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ท่ามกลางอีซีบีที่ตรึงระดับดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำมาก และสภาพคล่องก็ค่อนข้างมีความผันผวน


·         ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ค่อนข้างระมัดระวังต่อมุมมองเชิงบวกของบริษัทยาที่เผยถึงข้อมูลความเป็นไปได้ในการรักษาไวรัสโครโรนา ประกอบกับแผนของนายทรัมป์ที่ต้องการกลับมาเปิดทำการ

อย่างไรก็ดี ภาพรวมความเชื่อมั่นในตลาดได้รับแรงหนุนจากสื่อที่ระบุถึงการมีตัวยาที่สามารถช่วยรักษาอาการไวรัสโคโรนาได้ที่โรงพยาบาล University of Chicago Hospital

ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบยูโร และปอนด์ ขณะที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน และค่าเงินสกุลสินทรัพย์ปลอดภัยอื่นๆ โดยดัชนีดอลลาร์ทรงตัวแถว 99.807 จุด หลังไปยืนเหนือ 100 จุดได้ในช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่เงินเยนอ่อนค่าขึ้นแตะ 107.68 เยน/ดอลลาร์ จาก 107.4 เยน/ดอลลาร์


·         ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวผสมผสานกันในคืนวันศุกร์ ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีน โดยจีดีพีจีนหดตัวลงไป -6.8เมื่อเทียบรายปีในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ และข่าวสต็อกน้ำมันดิบจีนปรับตัวลดลงทำต่ำสุดรอบ 15 เดือน แม้จะมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้นภายในประเทศจากการระบาดของไวรัสโคโรนาและการผ่อนปรนมาตรการต่างๆ  โดยน้ำมันดิบ WTI ยังคงปรับตัวลงทำต่ำสุดในรอบ 18 ปี และมีอัตราการปรับตัวลงมากกว่า Brent

น้ำมันดิบ Brent ปิด +26 เซนต์ หรือ +0.9% ที่ 28.08 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ WTI ปิด -50 เซนต์ หรือ -2% ที่ระดับ 25.03 เหรียญ/บาร์เรล

ในส่วนของสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. ปิดร่วงลงไปกว่า 8.1ที่ 18.27 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงก่อนที่สัญญาจะหมดอายุลงในวันที่ 21 เม.ย. นี้ และทำให้เราเห็นสัญญาซื้อขายน้ำมัน WTI ทำต่ำสุดตั้งแต่พ.ย. ปี 2001

สำหรับแผนการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ของสหรัฐฯก็ดูจะเป็นปัจจัยบวกให้แก่ตลาดน้ำมัน


·         เช้านี้สัญญาส่งมอบน้ำมันดิบฟิวเจอร์สเปิดปรับตัวลดลงไปทำระดับต่ำสุดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตั้งแต่พ.ย. ปี 2001 โดยปรับตัวลงต่อจากสัญญาณอุปสงค์น้ำมันที่ลดลง โดยน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลงแตะต่ำสุด 17.29 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นต่ำสุดตั้งแต่ พ.ย. ปี 2001 โดยเช้านี้ปรับลงไปประมาณ 4%

นอกจากนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันยังมีแนวโน้มจะปรับลดกำลังการผลิต จากอุปสงค์ทั่วโลกที่ฉายแววการร่วงลงกว่า 30ในปีนี้




บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com